Easy COPD clinic … Easy to Practice and Achieve โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
การจัดตั้ง Easy COPD Clinic ความพร้อม จัดตั้งเมื่อ 18 สิงหาคม 2553 แยกผู้ป่วย COPD ออกจาก asthma ทุกวันจันทร์สัปดาห์ที่ 4 ของเดือน เวลา 08.00-16.00 น. บุคลากร: ทีมงานชุดเดียวกันกับ easy asthma clinic
การจัดตั้ง Easy COPD Clinic ความพร้อม สถานที่: คลินิกโรคเรื้อรัง บริเวณเดียวกันกับ easy asthma clinic ระบบการจัดการ: เครื่องมือชุดเดียวกันกับ easy asthma clinic ยา: ยาชุดเดียวกันกับ easy asthma clinic
การเตรียมการที่เพิ่มเติมจาก Easy Asthma Clinic การวัด 6 minute walk distance BODE index The COPD Assessment Test (CAT) Score อุปกรณ์การสอนให้ความรู้แก่ผู้ป่วย: แผ่นพับ กระดานพลิกให้ความรู้ ความรู้: สอนความรู้กับเจ้าหน้าที่/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แนวทางการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ยังสูบบุหรี่
Practice in Easy COPD Clinic การซักประวัติ ประวัติสูบบุหรี่/ได้รับควันบุหรี่ ประวัติการทำงานในสถานที่ที่มีควัน เผาไหม้ อาการเหนื่อยหอบ หายใจมีวี้ด การประเมินร่างกาย Increased AP diameter, prolonged expiratory phase CXR ไม่มีโรคอื่น เป่า Peak Flow ได้น้อย พ่นยาขยายหลอดลมแล้วยังได้น้อย
Achievement in Easy COPD Clinic การประเมินผู้ป่วย อาการทางคลินิก: ระดับของอาการเหนื่อย ความถี่และความรุนแรงของอาการกำเริบ การรักษาที่ได้ตามมาตรฐานตามแนวทางของ สปสช.
กระบวนการทำงานใน Easy COPD Clinic โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
ขั้นตอนการเข้ารับบริการใน Easy COPD Clinic 1. ยื่นบัตรบริเวณคลินิก 2. เจ้าหน้าที่ทำการลงทะเบียน 3. วัดสัญญาณชีพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
ขั้นตอนการเข้ารับบริการใน Easy COPD Clinic 4. พบพยาบาล ประเมินผู้ป่วย ในรายที่หอบทำการพ่นยาเบื้องต้นบริเวณคลินิก เป่า peak flow ซักประวัติ: CAT, mMRC ฯลฯ ลงคอมพิวเตอร์ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี แนะนำเลิกสูบบุหรี่ คลินิกเลิกสูบบุหรี่ 5. พบเภสัชกร ประเมินการใช้ยาพ่นเป็นรายบุคคล นับจำนวนยาที่เหลือ
ขั้นตอนการเข้ารับบริการใน Easy COPD Clinic 6. พบนักกายภาพบำบัด -สอน breathing exercise active chest mobilization, posture - วัด 6 minute walk distance 7. พบนักโภชนากร โดยเฉพาะในรายที่ BMI < 21
ขั้นตอนการเข้ารับบริการใน Easy COPD Clinic 8. พบแพทย์ เพื่อตรวจรักษาและปรับเปลี่ยนยา 9. พบพยาบาลหลังตรวจ: เช็ควันนัด ให้คำแนะนำเพิ่มเติม 10. รับยากับเภสัชกร สอนการใช้ยาใหม่ที่ได้รับ อธิบายวิธีการใช้ยา
ผลการดำเนินงาน จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่ลงทะเบียนในคลินิก 165 คน ชาย 156 คน หญิง 9 คน สิทธิ์ UC 130 คน ประกันสังคม 1 คน เบิกได้ 34 คน ร้อยละของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบรับไว้รักษาในโรงพยาบาล ลดลง จาก 4.6 1.7 ผู้ป่วยได้รับการประเมิน CAT, mMRC ทุกราย เภสัชกรสอนการใช้ยาพ่น 100%
ผลการดำเนินงาน ผู้ป่วยได้รับการประเมิน pulmonary rehabilitation ทุกคน (กำลังลงข้อมูล) ไม่ได้ทำ 6MWT 48 คน (29%) ทุพพลภาพ เดินไม่ได้ มีอาการเหนื่อยมาก ผู้ป่วยปฏิเสธ ติดธุระ นักกายภาพบำบัดไม่เพียงพอ ผู้ป่วยยังคงสูบบุหรี่ 21 คน (12.72%)
บทเรียนที่ได้รับ ทางโรงพยาบาลไม่มีเครื่อง spirometry ที่ใช้ในการวินิจฉัย COPD บางครั้ง แพทย์สลับวินิจฉัย ระหว่าง Asthma, COPD ไปมา ต่อมาจึงได้ทำ Bronchodilator test ในผู้ป่วยรายใหม่ทุกราย
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ การประสานงานเป็นทีมของทีมสหสาขาวิชาชีพ แนวทางการปฏิบัติการสาธารณสุข โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2553
แผนพัฒนาต่อเนื่อง อบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล และ รพ.สต. จัดการอบรมไปเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555 การคัดกรองผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นในชุมชน เนื่องจากผู้ป่วยบางคน ถ้ายังไม่หอบเหนื่อยมาก ไม่มารักษา การออกเยี่ยมบ้านในรายที่ยังควบคุมไม่ได้ กระบวนการในผู้ป่วยที่ยังสูบบุหรี่อยู่ให้เลิกสูบบุหรี่ พัฒนาเครือข่ายโรคหืดใน CUP
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร