หัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทย สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดย ชลทิชา นารอง สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วันที่ 7 ตุลาคม 2552
หัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทย หัวเรื่องที่กำหนดขึ้นแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หัวเรื่องใหญ่และหัวเรื่องย่อย ข้อมูลจาก คณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา. หัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : คณะทำงาน กลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา, 2547 ประเภทของหัวเรื่อง 1. หัวเรื่องใหญ่ เป็นคำหรือวลีที่กำหนดให้ใช้ได้โดยลำพัง และอาจมีหัวเรื่องย่อยตามหลังเพื่อระบุขอบเขตเฉพาะของหัวเรื่องด้วยก็ได้ หัวเรื่องใหญ่บางหัวเรื่องมีคำขยายเพิ่มเติมในวงเล็บเพื่อแสดงความแตกต่างระหว่างหัวเรื่อง 2 หัวเรื่องที่สะกดเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน ตัวอย่าง : เงาะ เงาะ (ชนพื้นเมือง) หัวเรื่องใหญ่บางหัวเรื่องกำหนดให้ใช้เป็นหัวเรื่องย่อยได้ด้วย เช่น การศึกษา ; จุลชีววิทยา
2. หัวเรื่องย่อย เป็นคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นให้ใช้ตามหลังหัวเรื่องใหญ่ โดยมีขีดสั้น 2 ขีดคั่น เพื่อระบุขอบเขตเฉพาะของเนื้อหา วิธีเขียน ลำดับเหตุการณ์ และขอบเขตทางภูมิศาสตร์ สำหรับหัวเรื่องย่อยที่กำหนดขึ้นในเล่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นหัวเรื่องย่อยที่ระบุขอบเขตเฉพาะของเนื้อหาและวิธีเขียน ตัวอย่าง : เกษตรกรรม -- แง่สังคม ภาษาอังกฤษ -- แบบฝึกหัด หัวเรื่องย่อยที่แสดงลำดับเหตุการณ์จะปรากฏภายใต้หัวเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์วรรณคดี และศิลปกรรม ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- -- กรุงสุโขทัย, 1800-1900 -- -- กรุงศรีอยุธยา, 1893-2310 ศิลปกรรมไทย -- สมัยเชียงแสน -- สมัยทวาราวดี
ไม่ใช่ พุทธศาสนา -- ราชอาณาจักรไทย อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- อินโดนีเซีย หัวเรื่องย่อยที่ใช้เป็นชื่อภูมิศาสตร์ ซึ่งได้แก่ชื่อที่ไม่ใช่ชื่อทางการของทวีป ภูมิภาค ประเทศ รัฐ เมือง และจังหวัด ผู้ใช้สามารถกำหนด ชื่อภูมิศาสตร์ขึ้นเองในกรณีที่หัวเรื่องใหญ่มีคำอธิบายระบุให้แบ่งตาม ชื่อภูมิศาสตร์ ตัวอย่าง : พุทธศาสนา -- ไทย ไม่ใช่ พุทธศาสนา -- ราชอาณาจักรไทย อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- อินโดนีเซีย ไม่ใช่ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สำหรับการใช้ชื่อรัฐ เมือง หรือจังหวัดเป็นหัวเรื่องย่อย จะต้องลงชื่อดังกล่าวตามหลังชื่อประเทศ พุทธศาสนา -- ไทย -- เชียงใหม่ ประเภทของหัวเรื่องใหญ่ และหัวเรื่องใหญ่ที่กำหนดให้เป็นแบบอย่างการใช้หัวเรื่องย่อยเพื่อระบุเนื้อหาเฉพาะ มีดังนี้ ประเภทหัวเรื่องใหญ่ที่กำหนดให้เป็นแบบอย่างการใช้หัวเรื่องย่อย กวี สุนทรภู่ ประเทศ ไทย พืช ข้าว ภาษา ภาษาไทย
3. คำอธิบายการใช้ เป็นคำที่บอกขอบเขตการใช้หัวเรื่องและ/หรือความหมายของหัวเรื่อง 4. รายการโยง เป็นรายการที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยในการพิจารณาเลือกหัวเรื่องที่ตรงหรือสัมพันธ์กับเนื้อหาของหนังสือที่ทำรายการ รายการโยงที่จัดทำมี 2 ประเภท ดังนี้ 4.1 รายการโยงจากคำที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่องไปยังหัวเรื่อง ตัวอักษรย่อที่ใช้เชื่อมโยงสำหรับการโยงประเภทนี้ คือ "USE" 4.2 รายการโยงภายใต้หัวเรื่อง ตัวอักษรย่อที่ใช้เชื่อมโยงสำหรับการโยงประเภทนี้ได้แก่ "UF" (Usc For) ใช้โยงคำที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่อง "BT" (Broader Term) ใช้โยงหัวเรื่องอื่นที่สัมพันธ์กันแต่มีเนื้อหา กว้างกว่า "RT" (Related Term) ใช้โยงหัวเรื่องอื่นที่สัมพันธ์กันและมีเนื้อหา เท่ากัน "SA" (See Also) ใช้โยงหัวเรื่องอื่นที่ขึ้นต้นคำเหมือนกัน "NT" (Narrow Term) ใช้โยงหัวเรื่องอื่นที่สัมพันธ์กันแต่มีเนื้อหา แคบกว่า
ตัวอย่าง : กสิกรรม USE เกษตรกรรม การเกษตร USE เกษตรกรรม เกษตรกรรม (Agriculture) [S1-790.3 ; 630] แบ่งตามชื่อภูมิศาสตร์ UF กสิกรรม การเกษตร BT วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ศิลปะอุตสาหกรรม RT การใช้ที่ดินในชนบท การผลิตอาหารของโลก SA คำที่ขึ้นต้นด้วย เกษตรกรรม NT กฎหมายเกษตรกรรม การเก็บเกี่ยว การคุ้มครองพันธุ์พืช การจัดการดิน