เทคโนโลยีไร้สาย Department of Informatics, Phuket Rajabhat University. THAILAND
การบรรยายครั้งที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสเปกตรัมคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า Department of Informatics, Phuket Rajabhat University. THAILAND
เทคโนโลยีไร้สายคืออะไร เทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์สามารถที่จะส่งข้อมูลข่าวสารถึงกัน และกันได้ผ่านทางอากาศ โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณ การส่งสัญญาณจะใช้เทคนิคการรวมข้อมูลข่าวสารเข้ากับคลื่น ความถี่วิทยุ (Radio Frequency, RF) เริ่มมีการใช้งานในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 โดย มาร์โคนี่ (G. Marconi) นักฟิสิกส์ชาวอิตาลีเป็นคนแรกที่ประสบความสำเร็จใน การส่งข้อมูลโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ
เทคโนโลยีไร้สายที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันเทคโนโลยีไร้สายได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนิน ชีวิตประจำวันของเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ตัวอย่างของ เทคโนโลยีไร้สายที่พบได้ในชีวิตประจำวัน อาทิ โทรทัศน์ (Television) โทรศัพท์มือถือ (Mobile Phone) เครือข่ายไร้สาย (Wireless Network, Wi-Fi) วิทยุกระจายเสียง (Radio) รีโมตคอนโทรล (Remote Control)
เทคโนโลยีไร้สายที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างของเทคโนโลยีไร้สายที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ( ต่อ ) วิทยุสื่อสาร (Walkies-Talkies) ประตูอัตโนมัติ (Automatic Door) อินเตอร์คอม (Intercom) ฯลฯ
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นพลังงานที่อยู่รอบๆ ตัวเรา แหล่งกำเนิดของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น คลื่นแสงจากดวงอาทิตย์ สร้างโดยมนุษย์ เข่น คลื่นวิทยุกระจายเสียง สัญญาณ โทรทัศน์ คลื่นไมโครเวฟ เป็นต้น
คุณลักษณะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ความยาวคลื่น (Wavelength) คือ ระยะห่างระหว่างยอดคลื่น ลูกหนึ่งถึงยอดคลื่นอีกลูกหนึ่ง ที่อยู่ติดกัน แอมพลิจูด (Amplitude) คือ ความสูงของคลื่น ซึ่งจะเป็นตัว บอกความเข้มของสัญญาณ ถ้าคลื่นมีความสูงมากแสดงว่า มีความเข้มของสัญญาณมาก รอบคลื่น (Time of Period) หมายถึงเวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ ได้ครบหนึ่งวงกลมโดยนัย ความถี่ (Frequency) คือ จำนวนครั้งหรือจำนวนรอบต่อ วินาทีที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านไป
หน่วยวัดความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
หน่วยวัดรอบคลื่นของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ความสัมพันธ์กันของคุณลักษณะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ความยาวคลื่น (Wavelength) กับ ความถี่ (Frequency) มี ความกัน ถ้าความยาวคลื่นสูงจะมี ความถี่ต่ำ ถ้าความยาวคลื่นต่ำจะมี ความถี่สูง คลื่นความถี่วิทยุมีความยาว คลื่นสูงที่สุดดังนั้นจึงมีความถี่ ต่ำที่สุด จึงมีความเหมาะสมที่ จะนำมาใช้ในการสื่อสารบนผิว โลก
ความสัมพันธ์ของจำนวนรอบกับความถี่ของคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า สามารถคำนวนได้ตามสูตร f = 1/P, P = 1/f โดยที่ f คือความถี่ของคลื่น (Hertz) P คือรอบคลื่น (Seconds) ตัวอย่างที่ 1 จงคำนวนหารอบ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของไฟฟ้า ที่ใช้กันภายในบ้านทั่วๆ ไปซึ่ง มีความถี่ 50 และ 60 Hz P = 1/50 = s = 20 ms P = 1/60 = s = 16.6 ms
ตัวอย่างที่ 2 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีรอบคลื่นวัดได้ 100 ms จงหา ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้นมีความถี่กี่กิโลเฮริตซ์ 100 ms = 100 x s = s f = 1/P = 1/10 -1 Hz = 10 Hz = 10 x kHz = kHz ความสัมพันธ์ของจำนวนรอบกับความถี่ของคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า
สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความเร็วในการเดินทาง เท่ากับแสงคือประมาณ 3 x 10 8 เมตรต่อวินาที ในขณะที่คลื่นเดินทางผ่าน อากาศ คลื่นจะมีสัญญาณอ่อน ลงเนื่องจากเกิดกระบวนการ ดูดซับสัญญาณ (Absorption) เช่น มีการสัมผัสกับโมเลกุล ของอากาศ ไอน้ำ ความร้อน และสายฝน เป็นต้น คลื่นที่มีความถี่สูงสามารถ เดินทางไปในอากาศได้ ระยะทางสั้นกว่าคลื่นที่มี ความถี่ต่ำ ( ด้วยกำลังส่งที่ เท่ากัน )
คลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency, RF) เป็นส่วนหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความถี่ต่ำที่สุดในสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถทะลุผ่านสิ่งกีดขวางได้ดี
สเปกตรัมคลื่นความถี่วิทยุ
ITU (International Telecommunication Union, ไอทียู.) สหภาพ โทรคมนาคมระหว่างประเทศ FCC (Federal Communication Commission, เอฟซีซี ) คณะกรรมการบริหารความถี่แห่งชาติสหรัฐอเมริกา NBTC (The National Broadcasting and Telecommunications Commission, กสทช.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( องค์กรที่ทำหน้าที่บริหารจัดการคลื่นความถี่วิทยุ
Questions and Answers
Exercises 1