มาจากภาษาอังกฤษว่า Literature เช่นเดียวกับวรรณกรรม สำหรับใน ภาษาไทยนั้นมีการใช้คำว่า " วรรณคดี " ก่อนภายหลังจึงได้เกิดมีคำว่า " วรรณกรรม " ขึ้น คำว่า " วรรณคดี " ตามตัวอักษร หมายความว่า " แนวทางแห่งหนังสือ " เป็นคำสมาส ประกอบด้วยคำว่า “ วรรณ ” แปลว่า หนังสือ กับคำว่า " คดี " แปลว่า การดำเนิน การไป
ชลธิรา กลัดอยู่ วรรณคดี มี ความหมายที่ใช้กันทั่วไปสองประการ คือ ความหมายประการแรกได้แก่ หนังสือทั่วไป แต่มีเงาความหมายว่าเป็น หนังสือเก่าถือเป็นมรดกที่สืบทอดกันมา แต่โบราณ ส่วนความหมายที่สอง มี ความหมายคล้ายคลึงกับคำ " กวี นิพนธ์ " คือถือว่าเป็นหนังสือที่ได้รับการ ยกย่องแล้วจากกลุ่มคนที่นับว่าเป็นคน ชั้นนำในวงการหนังสือ
เจือ สตะเวทิน วรรณคดี คือ หนังสือหรือบันทึกความคิดที่ดีที่สุด ด้วยท่วงทำนองเขียน ที่ประณีต บรรจงครบองค์แห่งศิลปะของการ เขียน สามารถดลใจให้ผู้อ่านผู้ฟัง เกิดความปิติเพลิดเพลิน มีความ สะเทือนอารมณ์ ทั้งต้องประกอบไป ด้วยคุณค่าสาระอีกด้วย ส่วน วิทย์ ศิวะศริยานนท์ วรรณคดี คือ บทประพันธ์ที่มุ่งให้ความ เพลิดเพลินให้เกิดความสำนึกคิด และอารมณ์ต่าง ๆ ตามผู้เขียน ต้องมี รูปศิลปะที่ทำให้วรรณคดีมีความงาม
ศุภชัย รัตนโกมุท และ สะอาด อินทรสาลี วรรณคดีคือ หนังสือแต่งดี ได้รับยกย่องจาก ผู้อ่านหลาย ๆ คนเห็นพ้องต้องกันว่า แต่งดี จะเป็น " ร้อยแก้ว " เช่น สาม ก๊ก ฉบับของเจ้าพระยาพระคลัง ( หน ) หรือจะเป็น " ร้อยกรอง " เช่น ลิลิตพระลอ
สรุปได้ว่า : วรรณคดี ก็คือ หนังสือหรืองานเขียนที่ได้รับการยก ย่องว่าแต่งดี มีความงามด้านภาษา การใช้คำ มีคุณค่าเข้าขั้นวรรณศิลป์ และมีเนื้อหาที่ดีสามารถโน้มน้าวจิตใจ ผู้อ่านให้เกิดความเพลิดเพลิน ความ สำนึกคิด และอารมณ์ต่าง ๆ ตาม ผู้เขียน และเพื่อให้เข้าใจความหมาย ของวรรณคดีให้ชัดเจน
คำว่า " วรรณกรรม " มีความหมาย ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Literature Works" หรือ "General Literature" วรรณกรรม หมายความว่าการทำขึ้น ทุกชนิดในแผนกวรรณคดี แผนก วิทยาศาสตร์ แผนกศิลปะ จะ แสดงออกโดยวิธีหรือรูปร่างอย่างใดก็ ตาม
กุหลาบ มัลลิกะมาส " วรรณกรรม " มาจากการสร้างศัพท์ ใหม่ โดยวิธีสมาส จากคำว่า วรรณ ซึ่งหมายถึงใบไม้ หรือ หนังสือ รวม กับคำว่า กรรม ซึ่งหมายถึงการกระทำ โดยความหมายของวรรณกรรม หมายถึง สิ่งซึ่งเขียนขึ้นทั้งหมด ไม่ว่า จะเป็นไปในรูปใด หรือเพื่อความมุ่ง หมายใด ซึ่งอาจจะเป็นใบปลิว หนังสือพิมพ์ นวนิยาย คำอธิบาย ฉลากยา เป็นต้นก็ได้
พจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน วรรณกรรม หมายถึง งานหนังสือ งานนิพนธ์ที่ทำ ขึ้นทุกชนิด ไม่ว่าแสดงออกมาโดยวิธี หรือในรูปอย่างใด เช่น หนังสือ จุล สาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศัย สุนทรพจน์ สิ่ง บันทึกเสียง ภาพ ม. ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ และเจตนา นาควัชระ วรรณกรรม หมายถึง หนังสือ หรือเอกสาร ที่มี ศิลปกรรมในฐานะที่มีรูปแบบ มีสาระ เนื้อหาที่ผู้เขียนพยายามสื่อความคิด ด้วยวิธีการหนึ่งมายังผู้อ่าน
สิทธา พินิจภูวดล และคณะ วรรณกรรม หมายถึงงานเขียนในรูป บทกวีนิพนธ์ ร้อยกรอง และข้อเขียน ทั้งหมดที่ใช้ภาษาร้อยแก้ว ได้แก่ บทความ สารคดี นวนิยาย เรื้องสั้น เรียงความ บทละคร บทภาพยนตร์ บทโทรทัศน์ ตลอดจนคอลัมน์ต่าง ๆ ในหนังสือพิมพ์ พระยาอนุมานราชธน หรือ เสฐียรโกเศศ วรรณกรรมหมายถึง การกระทำหนังสือหรือหนังสือที่แต่ง ขึ้นทั่วไปโดยมิได้จำกัดว่าเป็น หนังสือพวกใดพวกหนึ่งโดยเฉพาะ
สมพร มันตะสูตร วรรณกรรม ซึ่งหมายความว่า เมื่อผู้แต่งส่งสารไป ยังผู้รับ ผู้รับสามารถสื่อความเข้าใจ จากสารที่ผู้แต่งส่งมาได้ ก็ถือว่ามีการ สื่อสารกันขึ้นแล้วงานเขียนนั้นนับว่า เป็นวรรณกรรม
ความหมายของวรรณกรรมที่มี ผู้ให้ไว้หลากหลายนี้ ตามความหมาย ของหนังสือความรู้ทั่วไปทาง วรรณกรรมนั้นจะมีความหมายกว้าง โดยกินความครอบคลุมงานหนังสือ ทุกชนิดหรือสิ่งพิมพ์ทุกประเภท ทั้ง หนังสือทั่วไป หนังสือตำรา หนังสือ อ้างอิง วารสาร นิตยสาร และเอกสาร ต่าง ๆ เป็นต้น