หน่วยที่ 10 ไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้า

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า
บทที่ 1 การรวมธุรกิจ.
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information Systems)
 เครือข่ายคอมพิวเตอร์  การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและ ความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับ การใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะ.
บทที่5 การควบคุมการผลิตและต้นทุนการผลิต
หน่วยที่ 4 เครื่องวัดไฟฟ้าชนิดขดลวดเคลื่อนที่
หน่วยที่ 3 ภาษาคำสั่งพื้นฐานที่ใช้เขียนโปรแกรม PLC
เพาเวอร์ แฟกเตอร์ หน่วยที่ 15 เครื่องวัด เครื่องวัดไฟฟ้า ( )
บทที่2 การวางแผนการผลิตและกำลังการผลิต
กลุ่มบริหารงานทั่วไป
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 4 เครื่องวัดไฟฟ้าชนิดขดลวดเคลื่อนที่
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
หลักเกณฑ์วิธีที่ดีในการผลิตอาหาร
ชุมชนปลอดภัย.
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
Gas Turbine Power Plant
การใช้หม้อแปลงไฟฟ้า อย่างมีประสิทธิภาพ.
การควบคุมการไหลของกำลังไฟฟ้า
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
การผลิตงานจากโลหะผง คุณลักษณะของโลหะผงที่สำคัญ กรรมวิธีผลิตโลหะผง
DC Voltmeter.
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
บทที่ 1 โครงสร้างคอมพิวเตอร์พื้นฐาน
Basic Electronics.
ประเภทแผ่นโปร่งใส (แผ่นใส) รายวิชา ออปแอมป์และลิเนียร์ไอซี
Watt Meter.
ประเภทแผ่นโปร่งใส (แผ่นใส) รายวิชา ออปแอมป์และลิเนียร์ไอซี
รายวิชา งานไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับครูอุตสาหกรรมศิลป์
นางสาวอิศกฤตา โลหพรหม ผู้นำเสนอ นางสาวปาริชาด สุริยะวงศ์
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
รายวิชา งานไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับครูอุตสาหกรรมศิลป์
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ฟิสิกส์ ฟิสิกส์ กลุ่มเรียนที่ 1 อาจารย์ผู้สอน อ.ดร. วรินทร ศรีทะวงศ์ ห้องทำงาน ห้อง 545 ชั้น 5 อาคารวิชาการ 2 (C2) โทรศัพท์ (office)
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนการออกแบบ ผังงาน (Flow Chart)
บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
KMA หมวด 6 การจัดการกระบวนการ.
ความรู้เบื้องต้นระบบระบายอากาศ
ระบบทำความเย็น.
บทที่ 6 การปันส่วนต้นทุนและต้นทุนฐานกิจกรรม
ระบบไฟฟ้าที่มีใช้ในประเทศไทย แบ่งได้ดังนี้
แผนการตลาดสำหรับ [ชื่อผลิตภัณฑ์]
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
สื่อเทคโนโลยีประกอบการสอน โดย
กฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ.....
รายวิชา งานไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับครูอุตสาหกรรมศิลป์
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
Supply Chain Management
อ.ชิดชม กันจุฬา (ผู้สอน)
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
กรณีศึกษา : เทคโนโลยีชีวภาพกับสิ่งแวดล้อม
สื่อเทคโนโลยีประกอบการสอน เรื่อง กำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า
บทที่ 5 พัลส์เทคนิค
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
การวิเคราะห์สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กบริเวณ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยแบบจำลอง WRF.
แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกบริเวณแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก หรือการปะทุของภูเขาไฟ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ซึ่งหากเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

หน่วยที่ 10 ไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้า . ระบบส่งจ่ายไฟฟ้า ระดับแรงดันสำหรับสายส่งแรงสูง ส่งจากโรงไฟฟ้า ระหว่างสถานีไฟฟ้า 69kv 115kv 230kv 500kv อยู่ในความรับผิดชอบของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ระดับแรงดันสำหรับระบบจำหน่ายแรงสูง สถานีไฟฟ้าย่อยระบบจำหน่าย ไปยังหม้อแปลงระบบจำหน่าย 11kv 22kv 33kv 22kv 24kv ระดับแรงดันสำหรับระบบจำหน่ายแรงต่ำ -ระบบ1 เฟส 2 สาย 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ -ระบบแรงต่ำ 3 เฟส 4 สาย 380 โวลต์ 50 เฮิรตซ์

กระแสไฟฟ้าแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ไฟฟ้ากระแสตรง (direct current : DC) คือการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนมีทิศทางการไหลในทิศทางเดียวจากขั้วลบไปยังขั้วบวก เช่นแบตเตอรี่รถยนต์ 24 volt ถ่านไฟฉาย 1.5 volt ไฟฟ้ากระแสสลับ (alternating current: AC) เป็นการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนมีทิศทางไหลกลับไปกลับมาตลอดเวลา โดยการเคลื่อนที่ประจุไฟฟ้าบวกและลบสลับกันในตัวนำสาย เช่น ไฟฟ้าตามบ้าน220 โวลต์ 50 เฮิรตซ์

หน่วยวัดทางไฟฟ้า ความต้านทานไฟฟ้า (resistance) เป็นคุณสมบัติของสสารที่ต่อต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า สสารที่มีความต้านทานไฟฟ้าน้อยกว่าเรียกว่า ตัวนำไฟฟ้า ส่วนสสารที่มีความต้านทานไฟฟ้ามากกว่าเรียกว่า ฉนวนไฟฟ้า ความต้านทานมีหน่วยเป็นโอห์ม แรงดันไฟฟ้า (voltage) เป็นแรงที่ทำให้อิเลคตรอนเกิดการเคลื่อนที่ หรือแรงที่ทำให้เกิดการไหลของไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โวล์ท V กระแสไฟฟ้า (current) เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ภายในตัวนำไฟฟ้า หน่วยเป็น แอมแปร์ A กำลังงานไฟฟ้า (power) อัตราการเปลี่ยนแปลงพลังงาน หรืออัดตราการทำงาน มีหน่วยเป็น วัตต์ watt W พลังงานไฟฟ้า (energy) คือ กำลังไฟฟ้าที่ใช้ไประยะหนึ่ง มีหน่วยเป็น วัตต์-ชั่วโมง (watt-hour) หรือ ยูนิต(unit) ความถี่ (frequency) คือจำนวนรอบของกระแสไฟฟ้าสลับ มีหน่วยเป็น เฮิรตซ์ Hz รอบ (cycle) คือการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้าครบ 360 องศาซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไฟฟ้าค่าบวกและค่าลบได้สมบูรณ์ แรงม้า (horse power) หรือกำลังม้า เป็นหน่วยวัดกำลังหรืออัตราการทำงาน 1 แรงม้า = 550 ฟุต-ปอนด์ หรือ 745.7 วัตต์ ประมาณ 746 วัตต์

สมการไฟฟ้า กฎของโอห์ม (ohm’s low) ค.ศ. 1862 นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน George Simon Ohm กล่าวว่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรจะแปรผันตรงกับแรงดันไฟฟ้าและแปรผกผันกับค่าความต้านทาน E = IR สมการค่ากำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ P=EI สมการค่าพลังงานไฟฟ้า W = Pt กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง หรือยูนิต(unit)

วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น - วงจรอนุกรม กระแสไฟฟ้าตลอดวงจรมีค่าเดียวกันตลอด แรงเคลื่อนไฟฟ้าเท่ากับแรงดันที่ตกคร่อมอุปกรณ์แต่ละตัว

วงจรขนาน(parallel circuit) กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอุปกรณ์แต่ละตัว รวมกันจะเท่ากับกระแสไฟฟ้าที่ไหลออกจากแหล่งจ่าย แรงดันตกคร่อมอุปกรณ์แต่ละตัว มีค่าเท่ากับแรงเคลื่อนไฟฟ้าของแหล่งจ่าย

ส่วนประกอบของสายไฟฟ้า ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ตัวนำ และฉนวน . ประเภทของสายไฟฟ้า แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ สายไฟฟ้าแรงดันสูง และสายไฟฟ้าแรงดันต่ำ - สายไฟฟ้าแรงดันสูง มีสายเปลือย และสายหุ้มฉนวน - สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ ใช้กับแรงดันไม่เกิน 750 โวล์ท

การเลือกสายไฟฟ้าที่เหมาะสม พิกัดแรงดัน พิกัดกระแส สายควบ แรงดันตก (voltage drop)

อุปกรณ์ป้องกันระบบไฟฟ้า - ฟิวส์ (fuse) อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน ทำมาจากโลหะผสมสามารถนำไฟฟ้าได้ดี มีจุดหลอมละลายต่ำ ฟิวส์ที่ดี เมื่อกระแสไหลเกิน 2.5 ของขนาดทนกระแสของฟิวส์ ฟิวส์ต้องขาด - เซอร์กิตเบรกเกอน์ (circuit breaker :CB) อุปกรณ์ทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้า เมื่อกระแสเกินหรือลัดวงจร สามารถกลับมาใช้ใหม่ได้ไม่เปลี่ยนใหม่เหมือนฟิวส์ การทำงานมี 2 แบบคือ เชิงความร้อน และเชิงแม่เหล็ก

วงจรไฟฟ้าแสงสว่าง ประเภทของหลอดไฟฟ้า มีหลอดไส้ หลอดทัวสเตนฮาโลเจน หลอดเรืองแสง เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์

ประเภทของมอเตอร์ - มอเตอร์เหนี่ยวนำ (induction motor) นิยมใช้มา มี 1 เฟส และ 3 เฟส แบบกรงกระรอก และ แบบวาวด์โรเตอร์ - มอเตอร์ซิงโครนัส (synchronous motor) เป็นมอเตอร์ 3 เฟส มีขดลวดอาร์เมเจอร์ และขดลวดสนาม ความเร็วคงที่ - มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC motor) มีขดลวดสนามอยุ่บนสเตเตอร์และขดลวดอาร์เมเจอร์อยู่บนสเตเตอร์ สามารถควบคุมความเร็วได้ดี แรงบิดเริ่มเดินเครื่องสูง

อุปกรณ์ที่สำคัญในการควบคุมมอเตอร์

การต่อลงดิน 1. ประเภทของการต่อลงดิน แบ่งเป็น 2 ประเภท หมายถึงการต่อสายไฟฟ้าจากอุปกรณ์ไฟฟ้าไปยังสายดิน โดยสายดินคือแท่งตัวนำทองแดงที่ตอดลงไปในดิน เพื่อป้องกันไฟรั่วซ๊อตบุคคลผู้ใช้งาน 1. ประเภทของการต่อลงดิน แบ่งเป็น 2 ประเภท การต่อลงดินที่ระบบไฟฟ้า หมายถึง การต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบไฟฟ้าที่มีกระแสไหลผ่านลงดิน เช่น การต่อจุดนิวทรัล (neutral point) ลงดิน การต่อลงดินที่อุปกรณ์ไฟฟ้า หมายถึงการต่อส่วนที่เป็นโลหะ ที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านของอุปกรณ์ต่างๆ ลงดิน 2. ส่วนประกอบการต่อลงดิน - หลักดิน หรือระบบหลักดิน (grounding electrode) เป็นหลักดิน นิยมใช้ทองแดง - สายต่อหลักดิน

ล่อฟ้า

หน่วยที่ 11 ระบบควบคุมทางวิศวกรรม

องค์ประกอบของเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) เครื่องจักรอุปกรณ์ในการผลิต 2) เครื่องมือวัด 3) เครื่องส่งสัญญาณ 4) สายสัญญาณ 5) เครื่องควบคุม 6) เครื่องบันทึกสัญญาณ

เครื่องมือ อุปกรณ์ควบคุมทางนิวแมติก ส่วนประกอบของเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานและควบคุมการทำงานของระบบนิวแมติกมีดังต่อไปนี้ - เครื่องอัดลม - เครื่องระบายความร้อนของลมอัด - เครื่องทำลมแห้ง - ชุดทำความสะอาดลม - ลิ้นหรือวาล์วลดความดัน - วาล์วควบคุม - ระบบหล่อลื่นในระบบนิวแมติก - กระบอกสูบ - วงจรไฟฟ้าควบคุม หม้อเก็บลมอัด เครื่องอัดลม เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน เครื่องทำลมแห้ง

การควบคุมอัตโนมัติโดยประยุกต์ใช้งานระบบโปรแกรมมาเบิ้ลลอจิคอลคอนโทรลเลอร์ โครงสร้างของตัวเครื่องโปรแกรมมาเบิ้ลลอจิคอลคอนโทรลเลอร์ (พีแอลซี) นั้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 1. หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หรือไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) เป็นหน่วยการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลกลาง และควบคุมการสั่งงานของระบบการทำงาน 2. หน่วยความจำ (program หรือ memory unit) เป็นหน่วยของเครื่องที่ทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมควบคุมการทำงาน ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บไว้สามารถถูกนำออกมาใช้ได้ตามต้องการ 3. หน่วยรับสัญญาณอินพุต (input unit) จะเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณจากอุปกรณ์ภายนอกที่จะนำมาเชื่อมต่อใช้งานกับตัวโปรแกรมมาเบิ้ลลอจิคอลคอนโทรลเลอร์ มี และแรมต้องจ่ายไฟเลี้ยง และแบบรอมอยู่ในรูปโมดูล 4. หน่วยส่งสัญญาณเอาต์พุต (output unit) จะเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณจากอุปกรณ์ที่จะนำมาเชื่อมต่อใช้งานกับตัวโปรแกรมมาเบิ้ลลอจิคอลคอนโทรลเลอร์ สัญญาณแบบอนาล็อก หรือ ดิจิตอล 5. หน่วยจ่ายกำลังไฟฟ้า (power supply unit) ทำหน้าที่ในการจ่ายกำลังไฟฟ้าให้กับตัวโปรแกรมมาเบิ้ลลอจิคอลคอนโทรลเลอร์

PLC

การควบคุมอัตโนมัติโดยประยุกต์ใช้งานระบบควบคุมกลางกระจายการควบคุม ดีซีเอส (distributed control system: DCS) วัตถุประสงค์ของการออกแบบระบบดีซีแอส เป็นความต้องการออกแบบมาใช้ในการควบคุมระบบในลักษณะการกระจายการควบคุม หน่วยการผลิต ควบคุมการทำงานของระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง (continuous process) การทำงานของระบบดีซีแดส ระบบควบคุมแบบ พีแอลซี ในระบบ ดีซีเอส การควบคุมด้วยอุปกรณ์ประเภท พีแอลซี จะสั่งการผ่านอุปกรณ์ควบคุม เช่น การใช้คอมพิวเตอร์บุคคล (personal computer) ผู้ควบคุมระบบจะสามารถทำการตรวจสอบติดตามผล และสั่งการโปรแกรมได้

หน่วยที่ 12 หน่วยการผลิตและกระบวนการผลิตทางวิศวกรรมเคมี การผลิต หรือกระบวนการผลิต (Manufacturing Process) หมายถึง การนำเอาวัตถุดิบที่เป็นสสารหรือสารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งที่อยู่ในรูปของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าซ ที่เรียกว่าสารตั้งต้น (reactant) มาทำการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางด้านกายภาพ ทางด้านเคมี ให้เป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้าการ(Product หรือ Goods) ที่ทำให้คุณสมบัติของสารเปลี่ยนไปจำเป็นต้องมีปัจจัยหรือกระบวนการทางด้านกายภาพ หรือกระบวนการทางด้านเคมีเสริมได้แก่ อุณหภูมิ ความดัน โดยมีถังปฎิกิริยาเคมี หรือเครื่องปฏิกิริยาเคมี (Chemical Reactor งานวิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering) หรือวิศวกรรมระบบ (Process Engineering) เป็นการศึกษาการออกแบบ การควบคุมการทำงานของกระบวนการผลิตในงานอุตสาหกรรมที่เน้นการเลือกกระบวนการปฏิกิริยาเคมี เลือกเงื่อนไขการผลิต การควบคุมการปฏิบัติการที่เหมาะสม

จลนพลศาสตร์ของปฏิกิริยาแบบกวนผสม เครื่องปฏิกิริยาเคมีแบบกะ (Batch Reactor) หลักการทำงานเบื้องต้นของถังปฏิกิริยาเคมีคือการนำสารตั้งต้น หรือสารนำเข้า (reactants หรือ feed) ใส่เข้าไปในถังปฏิกิริยาเคมีในปริมาณที่คำนวณไว้ แล้วให้มีการกวนผสม (Mixing) ให้เกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้นอย่างสมบูรณ์

เครื่องปฏิกิริยาหลายถังแบบต่อเนื่อง (Multiple Continuous Reactor ) เป็นเครื่องปฏิกิริยาเคมีที่มีการเอาถังกวนผสมแบบสมบูรณ์หลายถัง (Continuous Stirred Tank Reactor : CSTR) ต่ออนุกรมกันซึ่งสามารถกำหนดให้ความเข้มข้นของสารตั้งต้นในแต่ละถังมีค่าสม่ำเสมอ (Uniform) และเท่ากับค่าความเข้มข้นในของไหลที่ไหลออกของแต่ละถัง

เครื่องปฏิกิริยาเคมีแบบท่อไหล (Tubular Reactor หรือ Plug Flow Reactor) เป็นเครื่องปฏิกิริยาเคมีที่มีโครงสร้างคล้ายกับเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนระบบท่อ (Heat Exchanger) ที่มีการไหลในท่อไหลขนานกันหลายท่อ

กระบวนการผลิตและระบบการผลิตในงานอุตสาหกรรม ปฏิกิริยาดูดซับระหว่างก๊าซกับของแข็ง ปฏิกิริยาดูดซึมระหว่างก๊าซกับของเหลว

การเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน หน่วยที่ 13 พื้นฐานวิศวกรรมอุตสาหกรรม วิศวกรรมอุตสาหการ คือการวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงการทำงาน และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน วัตถุดิบ เครื่องจักร อุปกรณ์ เพื่อให้องค์กรสามารถเพิ่มผลิตภาพ มีกำไรและประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น การเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน แหล่งวัตถุดิบ ตลาด แรงงานและค่าจ้าง สาธารณูปโภค การจราจรขนส่ง สิ่งแวดล้อม กรรมสิทธิ์ที่ดิน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

การวางผังโรงงานและแผนภูมิการไหลของวัสดุ การวางผังโรงงานแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ใหญ่ๆ ด้วยกันคือ 1 การวางผังโรงงานตามชนิดของผลิตภัณฑ์ (product layout)

2 การวางผังโรงงานตามกระบวนการผลิต (process layout)

3 การวางผังโรงงานแบบตำแหน่งงานคงที่ (fixed position layout)

4 การวางผังโรงงานแบบผสม

รูปแบบในการไหลของวัสดุ 1) การไหลแบบเส้นตรง เป็นการไหลของวัสดุง่ายๆ ตามขั้นตอนการผลิต พื้นที่อาคารโรงงานจะต้องมีความยาวเพียงพอ ด้านข้างของอาคารทั้ง 2 ด้านอาจจะออกแบบเป็นสำนักงานหรือหน่วยงานสนับสนุน เช่น แผนกซ่อมบำรุง แผนกออกแบบ เป็นต้น 2) การไหลแบบตัวเอส หรือซิกแซก เหมาะสำหรับกระบวนการผลิตที่ยาวมากและมีพื้นที่โรงงานที่สั้นกว่า มีการป้อนเข้าของวัตถุดิบและการไหลออกของผลิตภัณฑ์คนละด้านของอาคารโรงงาน

3) การไหลแบบตัว ยู เหมาะสำหรับกระบวนการผลิตที่ยาวมาก แต่มีพื้นที่โรงงานที่สั้นกว่า มีการป้อนวัตถุดิบและการไหลออกของผลิตภัณฑ์ด้านเดียวกัน 4) การไหลแบบวงกลม เหมาะสำหรับกระบวนการผลิตที่มีความยาวมาก อาคารโรงงานที่มีลักษณะทรงจัตุรัส วัสดุและสินค้าเข้า – ออก จุดเดียวกัน เช่น แผนกรับ-ส่งสินค้าและวัตถุดิบอยู่ ณ จุดเดียวกัน 8 7 6 5 1 2 3 4 วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ 1 2 3 4 5 6 7 วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์

5) การไหลแบบไม่เป็นรูปแบบ ดังแสดงในภาพที่ 13 5) การไหลแบบไม่เป็นรูปแบบ ดังแสดงในภาพที่ 13.9 เหมาะสำหรับอาคารโรงงานที่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่และจุดติดตั้งเครื่องจักรขนาดใหญ่ สิ่งอำนวยความสะดวกที่ติดตั้งถาวรอยู่ก่อนแล้ว จำเป็นต้องจัดสายการผลิตให้เข้ากับสิ่งที่มีอยู่ 2 4 5 6 วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ 1 3

1. พัสดุคงคลังประกอบด้วย 1) วัตถุดิบ 2) วัสดุในงานระหว่างทำ 3) วัสดุซ่อมบำรุง 4) สินค้าสำเร็จรูป 2. ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับพัสดุคงคลัง 1) ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ 2) ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา 3) ค่าใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าขาดแคลน 4) ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องจักรใหม่ ลำดับความสำคัญในการวิเคราะห์งาน คือ - มีความเร่งด่วน - มีต้นทุนการผลิตสูง - มีความต้องการความชำนาญสูง - มีความเสี่ยงสูง

หน่วยที่ 14 อันตรายจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม ระบบการผลิตนั้นประกอบไปด้วย 4ขั้นตอน 1. วัตถุดิบนำเข้า 2. กระบวนการ 3. ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ 4. ข้อมูลป้อนกลับ

ประเภทการผลิต4 ประเภท 1. กระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง 2. กระบวนการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง 3. กระบวนการผลิตแบบผลิตซ้ำ 4. กระบวนการผลิตแบบงานโครงการ

ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาในการออกแบบกระบวนการผลิต ปัจจัยสำคัญฯ เหล่านั้นได้แก่ 1. ปัจจัยผลิตภัณฑ์ 2. ปัจจัยทางวัสดุ 3. ปัจจัยเครื่องจักร 4. ปัจจัยการผลิต 5. ปัจจัยต้นทุน

สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ก่อให้เกิดอันตราย แก่ผู้ปฏิบัติงานทางด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม แบ่งออกได้ 5 ประเภทคือ 1. สิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ 2. สิ่งแวดล้อมทางด้านเคมี 3. สิ่งแวดล้อมทางด้านชีวภาพ 4. สิ่งแวดล้อมทางด้านเออร์โกโนมิคส์ 5. สิ่งแวดล้อมทางด้านจิตสังคม

อันตรายจากกระบวนการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ การเตรียมเยื่อกระดาษมี 2 วิธีการ - การเตรียมเยื่อกระดาษโดยกระบวนการทางเคมีและ - การเตรียมเยื่อกระดาษโดยใช้เครื่องจักร อันตรายจากอุตสาหกรรมหลอมเหล็ก เกิดจาก ฝุ่น ความร้อน ก๊าซ CO 2 โลหะหนักหลายชนิด อันตรายจากกระบวนการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ 1. กระบวนการตัดเวเฟอร์ ได้แก่ ฝุ่นที่อยู่ในรูปของตะกอนเปียกของสารหนู (arsenic) 2. กระบวนการเชื่อมชิพลงบนแผ่นเฟรม ได้แก่ ไอระเหยของอะซิโตน 3. กระบวนการหุ้มชิพและเส้นลวดด้วยเรซิน ได้แก่ สารพลวงและ สารประกอบโบรมีน

เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม หมายถึง การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในทางวิศวกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยวัดจากคุณค่าของผลงานด้านวิศวกรรม ซึ่งประกอบด้วย - ประสิทธิภาพเชิงกายภาพ - ประสิทธิภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ การคำนวณรายได้ประชาชาติ มี 3 วิธี คือ - การคำนวณรายได้ประชาชาติด้านผลิตภัณฑ์ - การคำนวณรายได้ประชาชาติด้านรายได้ - การคำนวณรายได้ประชาชาติด้านรายจ่าย

อุปสงค์ หมายถึง ปริมาณความต้องการสินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภคมีความสามารถที่จะซื้อได้และมีความเต็มใจที่จะซื้อ อุปทาน หมายถึง ปริมาณการเสนอขายสินค้าหรือบริการที่ผู้เสนอขายยินดีขายสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ด้วยความเต็มใจ จุดดุลยภาพ หมายถึง จุดที่เส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานตัดกัน ซึ่งมีปริมาณอุปสงค์เท่ากับปริมาณอุปทาน

ค่าเสื่อมราคา หมายถึง การลดคุณค่าของทรัพย์สินตามกาลเวลา หรือตามปริมาณการผลิต แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. การเสื่อมราคาทางกายภาพ 2. การเสื่อมราคาทางการใช้งาน 3. การเสื่อมราคาจากอุบัติเหตุ