Occupational Toxicology II

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

โทร. ๐-๔๕๗๙-๕๐๖๑ “ สุขภาพดีวิถีไทย สมุนไพร ได้มาตรฐาน บริการประทับใจ”
Nickle.
พวกเราต่างคิดว่าการกินผลไม้เป็นเรื่องง่ายๆ แค่ซื้อมา แล้วก็ปอก จากนั้นก็หยิบเข้าปากเท่านั้น คุณจะได้รับประโยชน์มากกว่าถ้าคุณรู้ว่าควรจะกินอย่างไร.
เครื่องชี้วัดคุณภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อให้ผู้เรียน
ภาวะ โลก ร้อน.  ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็น ปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ
อิทธิพลของการเกิดฮอร์โมนเพศ
เกณฑ์การประเมินผลตัวชี้วัด มิติการประเมินประสิทธิผล
แหล่งน้ำธรรมชาติของโลก แหล่งน้ำในบรรยากาศ (Atmospheric Water) ได้แก่ สถานะไอน้ำ เช่น เมฆ หมอก สถานะของเหลว ได้แก่ ฝน และน้ำค้าง และสถานะของแข็ง ได้แก่
เป็นอาหารที่มีคุณค่า
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
โครเมี่ยม (Cr).
องุ่น สตอ เบอร์รี่ เชอร์รี่ แอปเปิ้ล แดง แอปเปิ้ล ชมพู แอปเปิ้ล เขียว แอปเปิ้ล เหลือง โกโก้ บลูเบอร์รี่ ส้มเขียวหวาน ส้มมะปิด ( ส้มจิ๊ด ) สับปะรด แตงโม.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
วิสัยทัศน์ ประเด็น ยุทธศาสตร์ สิ่งสำคัญที่ต้องทำ ให้บรรลุ เพื่อตอบสนอง วิสัยทัศน์ เป้าประสง ค์ หลัก ประสิทธิภ าพ ผลสำเร็จ สูงสุดของ องค์กรซึ่ง ประชาชน.
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
โดย นายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข “เรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สร้างสรรค์” นโยบายการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย.
ชุมชนปลอดภัย.
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
ระดับความเสี่ยง (QQR)
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
น้ำและมหาสมุทร.
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
ตำรับยาเหลืองปิดสมุทร
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง. หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง.
สรุปแนวทางการดำเนินงานตามกลุ่มวัย
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
แนวทางการดำเนินงานเพื่อผู้สูงอายุ
ผลการดำเนินงาน การบริหารจัดการประเมิน และดูแลผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงาน
เรื่อง อันตรายของเสียง
ยาที่ใช้ในโรคไตเรื้อรัง (Pharmacotherapy in CKD) ประกอบการประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพพยาบาล หน่วยปฐมภูมิ เขต 3 ภญ.จันทกานต์ อภิสิทธิ์ศักดิ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม.
พฤติกรรม (Behavior) สิ่งเร้า ภายนอก ภายใน
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
บทที่ 4 การดูแลให้ได้รับการพักผ่อนและความปลอดภัย การจัดการสิ่งแวดล้อม การทำเตียง อ.กรวรรณ สุวรรณสาร.
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จขององค์กรปกครอง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
การเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการน้ำดื่ม คณะแพทยศาสตร์
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
แผ่นดินไหว.
Delirium พญ. พอใจ มหาเทพ 22 มีนาคม 2561.
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
และ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี ปี 2557
การผุพังอยู่กับที่ โดย นางสาวเนาวรัตน์ สุชีพ
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี อ.ปิยะพงศ์ ผลเจริญ
อ.ณัฐวัฒน์ ธนสารโชคพิบูลย์
งานแนะแนว กับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
การวางแผนกำลังการผลิต
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
กรณีศึกษา : เทคโนโลยีชีวภาพกับสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2561
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ของเสียง Doppler Effect of Sound
การวิเคราะห์สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กบริเวณ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยแบบจำลอง WRF.
แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกบริเวณแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก หรือการปะทุของภูเขาไฟ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ซึ่งหากเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

Occupational Toxicology II วิชาอาชีวอนามัย (Occupational Health) รหัสวิชา: 4072319 ผู้สอน: อ. ธนัชพร มุลิกะบุตร (30/11/57) NPRU

เนื้อหา ความหมายและความสำคัญของพิษวิทยา ประวัติความเป็นมาของพิษวิทยา การแบ่งประเภทสารพิษ ลักษณะของการเกิดพิษและปัจจัยที่มีผลต่อร่างกายของสารเคมี กระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อสารเคมีเข้าสู่ร่างกายและปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกาย กลไกในการเกิดสารพิษจากสารเคมี การประยุกต์ใช้พิษวิทยาในงานอาชีวอนามัย NPRU

เส้นทางที่สารเคมีในสิ่งแวดล้อม จะเข้ามาสู่ร่างกายมนุษย์ได้ source media สารพิษออกมาจากแหล่งกำเนิด (source) จะเจอในโรงงาน การเกษตร จากกิจกรรมของเรา เช่น ยาย้อมผม น้ำยาล้างห้องน้ำ เป็นต้น จะผ่านตัวกลาง Media ได้แก่ อากาศ น้ำ ดิน ห่วงโซ่อาหาร เข้าไปสู่คนและสัตว์ ปกติห่างจากแหล่งกำเนิดเท่าใดสารพิษจะเจือจางลงเท่านั้น (Dilution) เช่น ในอากาศ ออกมาจากปากปล่องของโรงงานความเข้มข้นสูง พอสู่อากาศความเข้มข้นจะเจือจาง แต่มีปรากฏการณ์ตรงข้ามกันในห่วงโซ่อาหาร... จะมีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น ตัวอย่าง เช่นโรคพิษปรอท (โรคมินามาตะ) ปรอทในน้ำเสียจากอุตสาหกรรม ถูกปล่อยลงในน้ำทะเล ปรอทเข้มข้นน้อยลงหรือมากขึ้น...ปรอทเข้มข้นน้อยลงเพราะน้ำทะเลมันเยอะ แต่ปรากฏว่ามันไปสะสมเข้มข้นขึ้น เข้มข้นขึ้นได้อย่างไร...แพลงตอน มากินสารปรอท ปลาเล็กมากินแพลงตอน ปลาใหญ่มากินปลาเล็ก....สะสมไปเรื่อยๆ พอคนมากินปลาใหญ่คนได้รับพิษปรอทในปลาใหญ่ที่สะสมในเนื้อเยื่อที่มีความเข้มข้นสูง ปรากฏการณ์นี้เราเรียกว่า เกิดการสะสมทางชีวภาพ (Bioaccumulation) สุดท้ายจะจางลงเข้มขึ้นก็เข้ามาสู่คน...และเกิดพิษในคน Bioaccumulation วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, 2556 NPRU

5. กระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อสารเคมีเข้าสู่ร่างกายและปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกาย NPRU

Toxickinetic & Toxicodynamic เมื่อสารพิษเข้ามาในร่างกาย กระบวนการพิษจลนศาสตร์ (Toxicokinetic) การศึกษาเส้นทางและกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในร่างกาย โดยจะมีอยู่ 5 กระบวนการ การดูดซึม (Absorption) การกระจายตัว (Distribution) การกักเก็บ (Storage) การเปลี่ยนรูป (Biotransformation) การขับออก (Excretion) กระบวนการพิษพลวัต (Toxicodynamic) เป็นการศึกษา ขั้นตอนที่สารพิษออกฤทธิ์ทำปฏิกิริยา (Interaction) กับ โมเลกุลหรืออวัยวะเป้าหมาย ถ้าเคยเรียนเภสัชมาจะได้ยิน Pharmacokinetic / dynamic Toxickinetic ศึกษา 5 กระบวนการ Toxicodynamic กลไกการออกฤทธิ์ ไปทำร้ายโมเลกุลนี้ เนื้อเยื่อนี้ เซลล์นี้ ปล่อยให้นักวิทย์ฯ ศึกษาไป NPRU

5.1 Routes of Exposure 1 2 3 เส้นทางไหนมีพื้นที่การดูดซึมที่มากที่สุด? Inhalation (most common in workplaces) Ingestion Skin absorption 1 2 3 เท่ากับหนึ่งสนามฟุตบอล เท่ากับหนึ่งสนามเทนนิส เท่ากับครึ่งหนึ่งของโต๊ะปิงปอง เส้นทางไหนมีพื้นที่การดูดซึมที่มากที่สุด? NPRU

5.1 Routes of Exposure สารเคมีบางอย่างก็ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีในบางช่องทาง แต่อาจดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ไม่ดีในบางช่องทาง แต่ละช่องทางเมื่อได้รับสัมผัสสารพิษจะมีความแตกต่างกันต่อการเกิดพิษเฉพาะที่ แต่ละช่องทางเมื่อได้รับสัมผัสสารพิษก็จะมีความแตกต่างกันต่อการเกิดพิษเฉพาะที่ Inhalation Ingestion Skin absorption ทางการหายใจก็จะเกิดอาการทางระบบหายใจได้มาก เช่น แสบคอ หอบเหนื่อย ปอดบวมน้ำ ทางการกินก็จะเกิดอาหารในระบบทางเดินอาหาร เช่น แสบท้อง ปวดท้อง ทางเดินอาหารเป็นแผล ทางผิวหนังก็จะเกิดอาการขึ้นที่ผิวหนัง เช่น คัน ผื่นแดง ตุ่มน้ำ NPRU

5.2 ความสัมพันธ์ของกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย กระบวนการดูดซึม ช่องทางการดูดซึมหลักมี 3 ช่องทาง พบบ่อยสุดในการทำงานคือ ทางการหายใจ (Inhalation) รองลงมาคือทางผิวหนัง (Skin absorption) และอันดับสามคือทางการกิน (Ingestion) ช่องทางอื่นๆ มีอีก เช่น ทางการฉีด (injection) ช่องทางการสัมผัสสารเคมีจากการประกอบอาชีพ (Occupational exposure) ส่วนใหญ่จะได้รับจากการสูดหายใจเอาสารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศเข้าไปมากที่สุด ช่องทางการสัมผัสอันดับรองลงมาก็คือทางผิวหนัง โดยการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นของเหลวในระหว่างการทำงาน ในการพิจารณาการสัมผัสสารเคมีนั้น ต้องดูปัจจัยหลายอย่าง เช่น ขนาดการสัมผัส (Dose) ซึ่งหมายถึงปริมาณของสารเคมีที่ร่างกายได้รับเข้าไป ระยะเวลาในการสัมผัส (Duration) และความถี่ในการสัมผัส (Frequency) โดยทั่วไปถ้าระยะเวลาในการสัมผัสยาวนาน และความถี่ในการสัมผัสเกิดขึ้นบ่อย ก็มีแนวโน้มว่า ขนาดที่ได้รับสัมผัสสารพิษนั้นน่าจะสูง นอกจากช่องทางเข้าหลักแล้ว ยังมีกรณีพิเศษที่สารเคมีจะเข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งพบได้ในการให้ยาทางการแพทย์หรือในการทดลอง คือการให้โดยการฉีดเข้าสู่ร่างกายโดยตรง (Injection) การฉีดสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย อาจฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ (Intravenous; IV) ฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อ (Intramuscular; IM) ฉีดเข้าทางหน้าท้อง (Intraperitoneal; IP) หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (Subcu -taneous; SC) การฉีดสารเคมีเข้าสู่ร่างกายในช่องทางต่างกัน ก็จะมีผลต่อการเกิดพิษที่ต่างกันไปด้วย เช่น การฉีดสารเคมีเข้าทางหลอดเลือดดำนั้น เป็นการนำสารเคมีเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง การออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการพิษ (ในกรณีสารพิษ) หรือทำให้เกิดผลการรักษา (ในกรณียา) ย่อมจะรวดเร็วกว่าการฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อหรือทางใต้ผิวหนัง เป็นต้น วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, 2556 NPRU

5.2 ความสัมพันธ์ของกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย 2. กระบวนการกระจายตัว ไปสู่อวัยวะส่วนต่างๆ โดยทางกระแสเลือด จับกับโมเลกุลของโปรตีนในกระแสเลือด สารเคมีบางชนิดเข้าสมองได้ เพราะผ่าน Blood Brain Barrier ได้ บางชนิดผ่านรก และพบในน้ำนมได้ กระดูก ตะกั่วเยอะสุด โซเว้น ไขมัน ยาฆ่าแมลงเก็บในไขมัน บางชนิดกล้ามเนื้อ บางชนิดไม่เก็บ 3. กระบวนการเก็บสะสม ไว้ที่ กระดูก เช่น ตะกั่ว สตรอนเทียม แบเรียม เรเดียม เป็นต้น ไขมัน เช่น แอททานอล สารฆ่าแมลง กล้ามเนื้อ เช่น สารฆ่าแมลง วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, 2556 NPRU

5.2 ความสัมพันธ์ของกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย 4.กระบวนการเปลี่ยนรูป สารเคมีบางตัวอาจถูกเปลี่ยนรูปไปเป็นสารชนิดอื่นโดยผ่านการ Metabolism หมายถึง กระบวนการทำงานของเอนไซม์ในร่างกายอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้ Metabolism มี 2 ขั้นตอนย่อย ถ้าเป็นการแยกสลายโมเลกุล เรียก Catabolism ถ้าเป็นการสร้างโมเลกุลใหม่ เรียก Anabolism เอนไซม์ ส่วนใหญ่อยู่ที่ตับ ที่มีบทบาทมาก เช่น Cytochrome P450 Oxidase, Glutathione S-transferase, UDP-glucoronyltransferase กรณีมีสารแปลกปลอม จะเกิดกระบวนการ Metabolism แบบพิเศษเพื่อทำลายพิษของสารแปลกปลอม (Detoxification) วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, 2556 NPRU

5.2 ความสัมพันธ์ของกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย 5. เมื่อถึงอวัยวะเป้าหมาย ก็ก่อผลกระทบ สารเคมีแต่ละชนิดก็มีอวัยวะเป้าหมายแตกต่างกันไป และเกิดกลไกการออกฤทธิ์ แบบต่างๆ เช่น ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ทำลายรหัสพันธุกรรม ทำลายโมเลกุลโปรตีน ทำลายเซลล์ อวัยวะเป้าหมายในการเกิดพิษ บ่อยที่สุดคือ ระบบประสาทส่วนกลาง รองลงมาคือ ระบบเลือด และอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต หัวใจ ปอด วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, 2556 NPRU

5.2 ความสัมพันธ์ของกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย 6.การขับออก ขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการทางพิษจลนศาสตร์ สารเคมีอาจขับออกจากร่างกายในรูปเดิม หรือในรูปเมตาโบไลต์ที่เปลี่ยนแปลงแล้วก็ได้ ช่องทางในการขับออกนั้นมีหลายทาง ได้แก่ ทางเหงื่อ ทางลมหายใจออก ทางปัสสาวะ ทางน้ำดี (อุจจาระ) อัตราการกำจัดออกบอกด้วยค่า Half-life (T1/2) หมายถึง เวลาที่ร่างกายใช้ในการทำให้สารเคมีนั้นหมดฤทธิ์หรือเสื่อมสภาพไปครึ่งหนึ่ง วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, 2556 NPRU

เส้นทางการดูดซึม การกระจาย และการขับออกจากร่างกายของสารพิษ ทางเข้าสู่ร่างกาย การกิน การหายใจ การดูดซึมผ่านผิวหนัง จมูก/ปาก การกิน ของเหลวนอกเซลล์ ไขมัน ปอด การกระจาย ทางเดินอาหาร ตับ อวัยวะต่างๆ ผม เลือด/น้ำเหลือง น้ำดี เนื้อเยื่อ กระดูก เล็บ ปอด ไต ผิวหนัง การขับออก อุจจาระ กระเพาะปัสสาวะ อวัยวะอื่นที่ขับของเสีย ลมหายใจออก ปัสสาวะ เหงื่อ น้ำนม น้ำตา น้ำลาย NPRU

5.3 ปฏิกิริยาการตอบสนองของร่างกาย กลไกป้องกันอันตรายตามธรรมชาติ (Natural defensive mechanism) เมื่อฝุ่นหรือสารระคายเคืองเข้าตา น้ำตาจะไหลเพื่อล้างและพัดพาสิ่งดังกล่าวออกจากตา การไอ จามเพื่อไล่สิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจ เม็ดเลือดขาวและแอนติบอดีต่างๆ กระบวนการเปลี่ยนรูป (Biotransformation) การเปลี่ยนสารที่มีพิษมากพิษน้อย / ไม่มีพิษ (Detoxification) การปรับสมดุลของระบบการทำงานร่างกาย (Homeostasis) สิ่งเร้าจากภายนอก (Stimuli) มาก Homeostasisจะ เกิดความผิดปกติของร่างกาย ความทนต่อสารพิษ (Tolerance) ภาวะร่างกายที่มีปฏิกิริยาต่อสารเคมี/สารพิษลดน้อยลง เพราะเคยได้รับสารนั้นมาก่อน ระดับความทนได้ของร่างกาย (Threshold) ความสัมพันธ์ของปริมาณสารพิษที่ร่างกายได้รับ (Dose- response relationship) NPRU

5.4 ความสัมพันธ์ของปริมาณสารพิษกับผลกระทบต่อสุขภาพ  (Dose-response relationship) ปัจจัยในการเกิดความรุนแรงของพิษ มีหลายปัจจัย ระดับความรุนแรงในการก่อพิษ ช่องทางในการรับสารเคมี ปัจจัยด้านผู้รับสารพิษ ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการพิษจลนศาสตร์ ขนาด/ปริมาณของสารเคมี “…All substances are poisons; there is none which is not a poison. The right dose differentiates poison from a remedy…” สรุปว่า “ขนาด (Dose)” มีความสำคัญ !!! ขนาดภายนอก (External dose) ขนาดของสารเคมีที่ร่างกายได้รับเข้าไปเมื่อวัดจากภายนอก เช่น ในอากาศที่หายใจ ในน้ำที่ดื่มเข้าไป ขนาดภายใน (Internal dose) ขนาดของสารเคมีที่ร่างกายได้รับเข้าไปเมื่อวัดจากในร่างกาย วัดได้ยากกว่า แต่สะท้อนถึงการเกิดพิษได้ดีกว่า NPRU

Dose-response curve ถ้าเคยเรียนเภสัชมาจะได้ยิน Pharmacokinetic / dynamic Toxickinetic ศึกษา 5 กระบวนการ Toxicodynamic กลไกการออกฤทธิ์ ไปทำร้ายโมเลกุลนี้ เนื้อเยื่อนี้ เซลล์นี้ ปล่อยให้นักวิทย์ฯ ศึกษาไป NPRU

อธิบายกราฟ Dose-response curve เป็นแบบจำลอง (Model) รูปแบบหนึ่ง ที่นักพิษวิทยาพยายาม จะใช้ในการทำนายลักษณะการเกิดพิษของสารพิษส่วนใหญ่ (ยังมีแบบจำลองรูปแบบอื่นอีก) ขนาดสารพิษที่มีปริมาณต่ำกว่าจุด Threshold คือ ระดับที่จะ ได้รับแล้ว ไม่มีใครเกิดพิษขึ้นเลยอยู่ (Safety zone) และขนาดสารพิษที่มีปริมาณสูงกว่าจุด Threshold คือ ขนาด สารเคมีที่ทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบ จากนั้นจะมีผู้ได้รับผลกระทบมากขึ้น ช่วงแรกๆ ยังมีผู้ได้รับ ผลกระทบไม่มากนัก (เกิดผลเฉพาะคนที่ไวรับ) พอถึงขนาด หนึ่ง จะเป็นช่วงขนาดที่มีคนจำนวนมากได้รับผลกระทบ (คน ทั่วไป) และจะมีคนจำนวนน้อยส่วนหนึ่ง (คนที่ทน) ที่ต้องเพิ่ม ขนาดให้สูงขึ้นมากๆ จึงจะได้รับผลกระทบ จนหมดทุกคนใน ที่สุด แบบจำลองนี้ไม่ใช้กับกรณีพิเศษ เช่น การก่อมะเร็ง และ การแพ้ ถ้าเคยเรียนเภสัชมาจะได้ยิน Pharmacokinetic / dynamic Toxickinetic ศึกษา 5 กระบวนการ Toxicodynamic กลไกการออกฤทธิ์ ไปทำร้ายโมเลกุลนี้ เนื้อเยื่อนี้ เซลล์นี้ ปล่อยให้นักวิทย์ฯ ศึกษาไป NPRU

No observed adverse effect level; NOAEL เป็นค่าการได้รับสัมผัสที่ใช้พิจารณาว่าสารเคมีนั้นจะปรากฏความ เป็นอันตรายหรือไม่ NOAEL หมายถึง ค่าระดับความเป็นพิษสูงสุด ที่ไม่ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อสุขภาพที่ปรากฏอาการให้เห็น ถ้าระดับความเป็น พิษสูงกว่าค่า NOAEL ก็อาจมีอาการที่เกิดจากความเป็นอันตราย ปรากฏขึ้น (สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม, 2557) ใช้ในการคำนวณระดับการได้รับสัมผัสสารเคมีที่ยอมรับได้หรือถือ ว่าเป็นระดับปลอดภัยต่อมนุษย์ เรียกว่า Reference Dose (RfD) เช่น สารหนู อินทรีย์ RfD = 3 x 10-4 mg/kg/day แคดเมี่ยม RfD = 5 x 10-4 mg/kg/day (water) RfD = 1 x 10-3 mg/kg/day (food) ถ้าเคยเรียนเภสัชมาจะได้ยิน Pharmacokinetic / dynamic Toxickinetic ศึกษา 5 กระบวนการ Toxicodynamic กลไกการออกฤทธิ์ ไปทำร้ายโมเลกุลนี้ เนื้อเยื่อนี้ เซลล์นี้ ปล่อยให้นักวิทย์ฯ ศึกษาไป ระดับ NOAEL ของสารเคมี A คือปริมาณขนมเค้กที่ไม่เกินกว่า 2 ชิ้น NPRU

แบบจำลองอื่นๆ (บน) แบบจำลองแบบที่ไม่มี Threshold นิยมใช้กับสารก่อมะเร็ง ส่วนแบบจำลองที่มีลักษณะ Hormetic ใช้กับสารบางอย่าง เช่น น้ำ วิตามิน แร่ธาตุจำเป็น (ซ้าย) ลักษณะ Hormetic ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถ้าเคยเรียนเภสัชมาจะได้ยิน Pharmacokinetic / dynamic Toxickinetic ศึกษา 5 กระบวนการ Toxicodynamic กลไกการออกฤทธิ์ ไปทำร้ายโมเลกุลนี้ เนื้อเยื่อนี้ เซลล์นี้ ปล่อยให้นักวิทย์ฯ ศึกษาไป (Grønbæk et al. 1994; reprinted with permission from the BMJ Publishing Group.) NPRU

6. กลไกในการเกิดสารพิษจากสารเคมี และผลกระทบต่อร่างกาย NPRU

6.1 กลไกการเกิดสารพิษจากสารเคมี การทำปฏิกิริยาเคมีของสารเคมีกับเนื้อเยื่อ สารเคมีที่มีพิษต่อระบบประสาทใช้กลไกนี้ เช่น สารเคมีกลุ่ม belladonna alkaloids atropine การรบกวนการทำงานตามปกติของเนื้อเยื่อกั้นประสาท เช่น สาร DDT และสารกลุ่มตัวทำละลายอินทรีย์ การรบกวนการสร้างพลังงานของเซลล์ รบกวนการส่งผ่าน O2 ในปฏิกิริยาออกซิเดชันของคาร์โบไฮเดรต เช่น cyanide, hydrogen sulfide และ azide การยึดจับโมเลกุลของสารชีวภาพ (โปรตีน ไขมัน กรด นิงคลีอิก) เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และสารหนู ก๊าซไซยาไนด์ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสารประกอบไซยาไนด์อื่นๆ ซึ่งก็เอาไปใช้ทำอะไรได้ตั้งหลายอย่างเช่นไนลอน เส้นใยอะครีลิก เรซิน ยาปราบศัตรูพืช เกลือไซยาไนด์ต่าง ๆ ก็มีบทบาทในการผสมโลหะ การแยกแร่ทองคำ การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า และการทำโลหะให้บริสุทธิ์ด้วย NPRU

6.1 กลไกการเกิดสารพิษจากสารเคมี การรบกวนการรักษาสมดุลของแคลเซียมภายในเซลล์ สาเหตุหลักทำให้เซลล์เสียหายและตาย เช่น สาร cyanide, peroxides, nitophenols เป็นต้น การทำให้เซลล์บางชนิดตาย เกิดความผิดปกติของเซลล์ คล้ายเป็นโรคบางโรค เช่น แมงกานีส ทำลายเซลล์บาง ชนิดของสมอง ทำให้เกิดความผิดปกติที่แยกไม่ออกจาก โรค Parkinson's และสารบางชนิดทำลายเซลล์ของตัว อ่อน ทำให้ตัวอ่อนตาย/แท้ง/พัฒนาเป็นทารกไม่สมบูรณ์ การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของเซลล์เนื้อเยื่อโดยไม่ทำ ให้เซลล์ตาย นำไปสู่การเป็นมะเร็ง เช่น สารเคมี estrogen diethyl stilbestol (DES) สังเคราะห์เป็นยา ป้องกันการแท้ง ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกในครรภ์ เมื่อลูกโต ขึ้นอาจเป็นมะเร็งในช่องคลอดได้ Nitophenols สารกำจัดศัตรูพืช ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์สามารถใช้ฟอกเส้นผม สารฟอกขาวในภาคอุตสาหกรรมฟอกย้อม  NPRU

7. การประยุกต์ใช้พิษวิทยาในงานอาชีวอนามัย NPRU

7.1 มาตรการสำคัญในการป้องกันอันตรายจากสารเคมีที่ใช้ในการทำงาน มาตรการป้องกันอันตรายจากสารเคมีในการทำงาน มีดังนี้ การเฝ้าระวังอากาศในสถานที่ทำงาน การเฝ้าระวังทางชีวภาพ การเฝ้าระวังทางสุขภาพ Nitophenols สารกำจัดศัตรูพืช ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์สามารถใช้ฟอกเส้นผม สารฟอกขาวในภาคอุตสาหกรรมฟอกย้อม  NPRU

1. การเฝ้าระวังอากาศในสถานที่ทำงาน แนวคิดการควบคุมสารเคมีในอากาศของที่ทำงาน ยอมให้สารเคมีปะปนอยู่ในอากาศของที่ทำงานได้ใน ระดับที่ถือว่าปลอดภัย ไม่ยอมให้สารเคมีปะปนอยู่ในอากาศของที่ทำงานใน ปริมาณที่สูงเกินกว่าระดับปลอดภัย หลักการพื้นฐานทางพิษวิทยาที่สนับสนุน คือ ความสามารถในการรักษาสมดุลในการควบคุมไม่ให้มีปริมาณสารเคมีเกินกว่าระดับที่จะเป็นอันตราย เช่น biotransformation และการขับถ่ายออกจากร่างกาย รวมทั้งกลไกลการป้องกันอันตรายอื่นๆของร่างกาย NOAEL ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และระดับการได้สัมผัสสารเคมีอย่างปลอดภัย Nitophenols สารกำจัดศัตรูพืช ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์สามารถใช้ฟอกเส้นผม สารฟอกขาวในภาคอุตสาหกรรมฟอกย้อม  NPRU

2. การเฝ้าระวังทางชีวภาพ การเฝ้าระวังทางชีวภาพของผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมี โดยการตรวจวัดตัวชี้วัดที่เหมาะสม เช่น ปัสสาวะ เลือด อุจจาระ ฯลฯ ที่เก็บมาจากคนงานในระยะเวลาที่กำหนดไว้ มีข้อได้เปรียบกว่าการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อม คือ ครอบคลุมการได้รับสารเคมีผ่านทุกทางที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น คนงานได้รับสารตะกั่วทั้งจากการหายใจและการกิน การ ประเมินสารตะกั่วในอากาศ ไม่สะท้อนความเสี่ยงอันตราย ได้ทั้งหมด ไม่มีปัญหากรณีที่ใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล สามารถประเมินความแตกต่างรายบุคคลได้ Nitophenols สารกำจัดศัตรูพืช ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์สามารถใช้ฟอกเส้นผม สารฟอกขาวในภาคอุตสาหกรรมฟอกย้อม  NPRU

3. การเฝ้าระวังทางสุขภาพ การเฝ้าระวังทางสุขภาพผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับสารเคมี คือ การตรวจสุขภาพทางการแพทย์ของผู้ประกอบอาชีพ จะต้องมีการ ตรวจเป็นระยะและมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสุขภาพ การเฝ้าระวังสุขภาพมี 2 ลักษณะ คือ การตรวจสุขภาพเชิงรุก (Active Health Surveillance) การตรวจสุขภาพเชิงรับ (Passive Health Surveillance) ตรวจสุขภาพ ขณะที่ยังไม่มีอาการผิดปกติ ตรวจสุขภาพคนงานที่เสี่ยงต่อการคุกคามของสารเคมี การคัดกรองและเฝ้าระวังทางชีวภาพคนงานที่เสี่ยง ตรวจสุขภาพ ขณะที่มีอาการผิดปกติ หรือเจ็บป่วยแล้ว Nitophenols สารกำจัดศัตรูพืช ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์สามารถใช้ฟอกเส้นผม สารฟอกขาวในภาคอุตสาหกรรมฟอกย้อม  การเฝ้าระวังสุขภาพตามแนวทางองค์การแรงงานระหว่างประเทศ 1.ตรวจสุขภาพ ก่อนทำงาน 2. ตรวจสุขภาพ ครั้งคราวระหว่างทำงาน 3. ตรวจสุขภาพ เมื่อกลับไปทำงานหลังจากพัก 4. ตรวจสุขภาพ ขณะทำงานและเสร็จสิ้นการทำงานกับสารเคมี 5. ตรวจสุขภาพ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการทำงาน 6. การเฝ้าระวังได้สัมผัสสารเคมี NPRU

Thank you NPRU

0861187371