บทที่ 3 หลักการพื้นฐานของพุทธศาสนามหายาน บทที่ 3 หลักการพื้นฐานของพุทธศาสนามหายาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ผศ.ดร. พุทธรักษ์ ปราบนอก สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา
สัมโภคกาย นิรมาณกาย ธรรมกาย ตรีกาย
หลักตรีกาย พระพุทธเจ้าของมหายานมีพระกาย 3 ลักษณะ สัมโภคกาย คือ พระกายที่เป็นทิพย์ เป็นกายที่พระพุทธเจ้าใช้เสวยสุขอยู่ในสวรรค์ที่เรียกว่า สุขาวดีพุทธเกษตร นิรมาณกาย คือ พระกายที่พระพุทธเจ้าทรงนิรมิตขึ้น เป็นกายเนื้อที่คนมองเห็นได้ ได้แก่ พระพุทธเจ้าที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์ ธรรมกาย คือ พระกายที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า เป็นแก่นแท้เป็นสัจธรรมที่ดำรงอยู่อย่างไม่สูญสลาย อยู่เหนือความเข้าใจและการคาดคะเนของมนุษย์ทั่วๆไป สภาวะอันเป็นอมตะ ไม่มีรูปร่าง ไม่อาจรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส หลักตรีกาย พุทธศาสนามหายาน มิถุนายน 2554
สาวกยาน ปัจเจกยาน โพธิสัตวยาน ตรียาน พุทธศาสนามหายาน มิถุนายน 2554
แนวคิดเรื่องตรียาน ยาน หมายถึง พาหนะที่นำไปสู่จุดหมาย หรือวิธีการที่นำไปสู่ความหลุดพ้น สาวกยาน หมายถึง วิธีการหรือหนทางของพระสาวกที่หวังบรรลุเป็นพระอรหันต์ ปัจเจกยาน หมายถึง วิธีการของพระปัจเจกพุทธเจ้าที่บรรลุด้วยตนเอง แต่ไม่สามารถสั่งสอนบุคคลอื่นได้ โพธิสัตวยาน หมายถึง วิธีการหรือหนทางของพระโพธิสัตว์ มุ่งมั่นที่จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พุทธศาสนามหายาน มิถุนายน 2554
หลักจตุรมหาปณิธาน จตุรปณิธาน คือ ความมุ่งมั่น หรือเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ของมหายาน - จักช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากความทุกข์ - จักตัดมวลกิเลสทั้งปวงให้หมดสิ้นไป - จักศึกษาพุทธธรรมให้จบสิ้น - จักบรรลุพุทธภาวะอันประเสริฐ พุทธศาสนามหายาน มิถุนายน 2554
แนวคิดเรื่องพระพุทธเจ้า พระอาทิพุทธเจ้า พระธยานิพุทธเจ้า พระมานุษิพุทธเจ้า แนวคิดเรื่องพระพุทธเจ้า พุทธศาสนามหายาน มิถุนายน 2554
แนวคิดเรื่องพระพุทธเจ้า ตามทัศนะของมหายาน พระพุทธเจ้า มี 3 ประเภทคือ - พระอาทิพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าที่อุบัติขึ้นมาพร้อมกับโลก องค์แรก และประจำอยู่ชั่วนิรันดร เกิดขึ้นเองก่อนสิ่งใดทั้งหมด เป็นผู้ให้กำเนิดพระธยานิพุทธเจ้าและพระมานุษิพุทธเจ้า - แนวคิดเรื่องพระอาทิพุทธเจ้า ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ให้แบ่งภาคมา ปรากฏเป็นพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์เพื่อต่อสู้กับพระพรหม ของศาสนาพราหมณ์ พุทธศาสนามหายาน มิถุนายน 2554
แนวคิดเรื่องพระพุทธเจ้า พระธยานิพุทธเจ้า หมายถึง พระพุทธเจ้าที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจฌานของพระอาทิพุทธเจ้าเพื่อปกครองดินแดนพุทธเกษตรที่มีอยู่มากมาย มีจำนวน 5 องค์ คือ พระไวโรจนพุทธเจ้า พระอักโษภยพุทธเจ้า พระรันตสัมภวพุทธเจ้า พระอมิตาพุทธเจ้า พระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า พุทธศาสนามหายาน มิถุนายน 2554
พระพุทธเจ้าทางทิศตรงกลาง มีพระนามว่า 毘盧遮那佛 (ผีหลูเจอน่าฝอ) หรือ 大日如来 (ต้ายื่อหยูหลาย) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Vairocanabuddha พุทธศาสนามหายาน มิถุนายน 2554
อู่ฟางฝอเตี้ยน พระพุทธเจ้าทางทิศตะวันออก มีพระนามว่า 阿閦佛 (อาชู่ฝอ) หรือ 不动如来 (ปู้ต้งหยูหลาย) หรือ 阿閦鞞佛 (อาชู่ปี้ฝอ) หรือ 不动佛 (ปู้ต้งฝอ) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Aksobhyabuddha พุทธศาสนามหายาน มิถุนายน 2554
พระพุทธเจ้าทางทิศใต้ มีพระนามว่า 寶生佛 (เป่าเซิงฝอ) หรือ 寶生如来(เป่าเซิงหยูหลาย) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Ratnasambhavabuddha พุทธศาสนามหายาน มิถุนายน 2554
พระพุทธเจ้าทางทิศตะวันตก มีพระนามว่า 阿彌佗佛 (อาหมีถัวฝอ) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Amitabuddha พุทธศาสนามหายาน มิถุนายน 2554
พระพุทธเจ้าทางทิศเหนือ มีพระนามว่า 不空成就佛 (ปู้คงเฉิงจิ้วฝอ) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Amoghasiddhibuddha พุทธศาสนามหายาน มิถุนายน 2554
แนวคิดเรื่องพระพุทธเจ้า พระมานุษิพุทธเจ้า หมายถึง พระพุทธเจ้าที่เกิดมาจากพระอาทิพุทธเจ้า โดยแสดงตนออกมาในรูปมนุษย์ เพื่อสั่งสอนสรรพสัตว์ มีจำนวน 5 องค์ คือ พระทีปังกรพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้า พระเมตไตรยพุทธเจ้า พระไภสัชชคุรุพุทธเจ้า พุทธศาสนามหายาน มิถุนายน 2554
แนวคิดเรื่องพุทธเกษตร พุทธเกษตรเป็นดินแดนที่มีแต่ความสุข โดยมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาเป็นผู้ปกครองในแต่และดินแดนพุทธเกษตร พุทธเกษตรแต่ละแห่งจะแตกต่างกันออกไปตามบารมีของพระพุทธเจ้า พุทธเกษตรที่ดีที่สุด ชื่อ สุขาวดีพุทธเกษตร บุคคลผู้เข้าสู่พุทธเกษตรสามารถเข้าถึงนิพพานได้โดยไม่ยากนัก พุทธศาสนามหายาน มิถุนายน 2554
ต้องรู้จักมองในแง่บวก เวลาที่คุณขี้เกียจเรียนให้นึกถึงคนที่เขาไม่มีโอกาสเรียน เวลาที่คุณคิดว่าเงินที่ได้ไม่คุ้มกับงานที่ทำ ให้คิดถึงคนที่เขาไม่มีงานจะทำ เวลาที่คุณคิดว่าอาหารที่กินมันช่างไม่อร่อยเสียนี่กระไร ให้นึกถึงคนที่เขาไม่มีจะกิน พุทธศาสนามหายาน มิถุนายน 2554