การพัฒนาการดำเนินงาน Service Plan เขตบริการสุขภาพที่ 1 สาขาตา โดย นายแพทย์สุรพงศ์ ออประยูร โรงพยาบาลลำพูน
เขตบริการสุขภาพที่ 1 8 จังหวัด ภาคเหนือ ตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน พะเยา
เป้าหมายในการดูแลผู้ป่วยทางตา เพื่อลดอัตราตาบอดของประเทศไทยให้ต่ำกว่า ร้อยละ 0.5 ลดระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยต้อกระจกโดยเฉพาะ blinding cataract ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางจักษุวิทยาทั้งด้านการคัดกรอง รักษา ส่งเสริม ป้องกัน รวมทั้งฟื้นฟูในสถานบริการสุขภาพทุกระดับตามเกณฑ์มาตรฐาน ลดการส่งต่อโรคทางจักษุออกนอกเครือข่ายบริการสุขภาพ
กลุ่มโรคสำคัญ โรคต้อกระจก โรคต้อหิน โรคจอเบาหวานขึ้นจอตา โรคจอประสาทตา ROP ภาวะผิดปกติทางตาในเด็ก โรคกระจกตา
ข้อเสนอแนะในการพัฒนา service plan สาขาตา พัฒนาระบบบริหารจัดการเรื่องการดูแลต้อกระจก พัฒนาระบบคัดกรองสายตาผู้สูงอายุด้วยระบบ IT พัฒนาระบบบุคลากร โดยเฉพาะพยาบาลเวชปฏิบัติในโรงพยาบาลชุมชน พัฒนา retina center พัฒนาระบบคัดกรองจอตาด้วย fundus camera
การจัดทำแผนปฏิบัติการHealth service plan เขตสุขภาพที่ 1 ปีงบประมาณ 2558 Health Service plan สาขาตา Service delivery การดูแลผู้ป่วยต้อกระจก เป้าหมายปี 2558 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัด Baseline data ค่าเป้าหมาย อัตราการคัดกรองวัดสายตาในผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป 52.85 75% ร้อยละของผู้ป่วย Blinding cataract ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกภายใน 30 วัน 67.62 80% ร้อยละของผู้ป่วยต้อกระจกที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกภายใน 90 วัน 87
Gap analysis กำลังคน โรงพยาบาลระดับ M2 ยังไม่มีพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา ความต้องการสนับสนุน โรงพยาบาลระดับ M2,F1 สนับสนุนพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปให้ได้รับการอบรมทางตาแห่งละ 1 คน (หลักสูตรระยะสั้น 2 สัปดาห์)
Gap anaysis สำหรับเครื่องมือ Retina service มีความพร้อมในการรักษา 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลนครพิงค์ และโรงพยาบาลศูนย์ลำปาง ให้มี laser สำหรับ รักษาโรคเบาหวานขึ้นจอตาทั้ง 3 ล้านนา สนับสนุนPattern Laser for PRP รพ.ระดับA ในอันดับแรก สนับสนุน Laser รักษา ROP ระดับ A ที่พร้อม สนับสนุน laser ทุกโรงพยาบาลระดับ S ที่ขาด
Gap analysis เครื่องมือ Fundus camera เห็นควรมี fundus camera 1 เครื่องต่อ 4 โรงพยาบาลชุมชนเพื่อหมุนเวียนใช้ภายในจังหวัด ระบบในการดูแลเครื่องเป็นเรื่องสำคัญ
แผนการดำเนินงาน Service Plan ปี 2558 ตัวชี้วัด Baseline data ค่าเป้าหมาย อัตราการคัดกรองวัดสายตาในผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป 52.85% 75% ร้อยละของผู้ป่วย Blinding cataract ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกภายใน 30 วัน 67.62% 80% ร้อยละของผู้ป่วยต้อกระจกที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกภายใน 90 วัน 87% 4. ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการคัดกรองจอตา 64.85% 60% 5. ผู้ป่วยคลอดก่อนกำหนดได้รับการคัดกรองภาวะผิดปกติที่จอตา 100%
Gap analysis ของ information ข้อมูลเป็น manual มีการพัฒนาโปรแกรมกลางของจักษุแพทย์ www.vision2020 มีปัญหาเรื่องการนำเข้าของข้อมูล
สรุปประเด็นปัญหาการดำเนินงานที่ผ่านมา ปี 2557 2.4 ในบางจังหวัดมีการย้ายจักษุแพทย์ 2.5 เรื่อง Data Center ยังเป็นปัญหาอยู่ ในหลายจังหวัด ขณะนี้มีโปรแกรมกลางที่ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ร่วมกับทีมจักษุแพทย์ โดยน.พ.อนุกูลได้พัฒนาโปรแกรม www.vision2020 แต่มีปัญหาการนำข้อมูลฐานประชากรเข้ามาใน โปรแกรมประโยชน์มากโดยเฉพาะการคัดกรองสายตาในประชากรโดยเฉพาะผู้สูงอายุ
แผนการจัดบริการปี 2558 - ทุกจังหวัดรับผิดชอบ Blinding cataract ในภาพรวมของเขต ยังทำได้ ไม่ถึงเป้าหมาย แต่ละจังหวัดมีแผนการจัดการให้ได้ตามเป้าหมาย - ทุกจังหวัดรับผิดชอบ - การคัดกรองสายตาในผู้สูงอายุ เน้นให้มีการคัดกรอง ให้มากขึ้น
เสนอการดำเนินงานในระดับเขต ปี 2558 การพัฒนา Retina Center อย่างน้อย 1 แห่ง เน้นที่โรงพยาบาลนครพิงค์ เนื่องจากขณะนี้ยังมีการ Refer ไปยังโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่จำนวนมาก โรงพยาบาลนครพิงค์มีแพทย์ทางจอประสาทตา 1 คน
การตัดสินใจ ในการวางแผนการลงทุนโครงการใหญ่ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ขอสนับสนุน กล้องขยายผ่าตัดตา 1 เครื่องเพื่อขยายการผ่าตัดที่โรงพยาบาลญาณสังวร ทดแทนกล้องผ่าตัดเดิม โรงพยาบาลลำพูน,โรงพยาบาลน่านขอสนับสนุน pattern laser สำหรับรักษาโรคเบาหวานขึ้นจอตา จังหวัดลำพูนขอสนับสนุน Fundus camera 1 เครื่อง ที่โรงพยาบาลป่าซาง เพื่อใช้หมุนเวียนในอำเภอต่างๆ ในจังหวัดลำพูน ซึ่งมี 8 อำเภอ ปัจจุบันมีเพียง 1 เครื่อง โรงพยาบาลลำปางขอสนับสนุน Fundus camera 1 เครื่อง สำหรับ การตรวจ คัดกรองเบาหวานในเขตอำเภอเมือง
ความต้องการ การสนับสนุนในภาพเขต ด้านกำลังคนมีการสนับสนุนพยาบาลเวชปฏิบัติทางตาในโรงพยาบาลระดับ M1 หรือ M2 จังหวัดละ 2 คน จังหวัดใดที่โรงพยาบาลชุมชนระดับ M ให้สนับสนุนระดับ F1