การป้องกันและปราบปรามการ ผู้อำนวยการสำนักปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 4

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
Advertisements

ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการยืมเงินทดรองจ่ายเงินรายได้
การเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ความหมายของประชาธิปไตย
ผลสำเร็จการดำเนินการ การดำเนินการในระยะต่อไป
หลักเกณฑ์การวิเคราะห์ความเสี่ยง ตามหลักธรรมาภิบาล
การสืบสวน สอบสวน การสืบสวน
หลักการสำคัญ ในการปรับปรุงกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
กองทุนพัฒนาไฟฟ้ากับ การพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ กับ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
โครงการพัฒนา (Cross Function) กลุ่ม Tsunami2.
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ.2542
ปัญหาเกี่ยวกับการสอบข้อเท็จจริง
เกี่ยวกับการเงินและการพัสดุ
เมื่อ ๕ ก.ย.๕๕ , ๐๙๐๐ ณ ห้องประชุม สธน.ทหาร
ที่มา : ข้อมูลจากกรมบัญชีกลาง
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547
กฎหมายการเงิน การคลังทั่วไป
กฎหมายเกี่ยวกับ การเงินการคลัง
การปรับปรุงโครงสร้างภายในกองพัสดุ เสนอที่ประชุม
การพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ
ประเด็นบรรยาย เรื่อง บทบาทและอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ของผู้ตรวจการสหกรณ์
การตรวจการสหกรณ์ ไพฑูรย์ ชนะชู นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ
การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ประเภทของยา แบ่งตามแผนของการประกอบโรคศิลปะ
วัตถุประสงค์ เพื่ออำนวยความสะดวก(แก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่)
การร่างกฎหมาย การให้ความเห็นทางกฎหมาย และการดำเนินคดีปกครอง
กฎหมายเกี่ยวกับ การเงินการคลัง
นายสุรเกียรติ ฐิตะฐาน
การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการบริหารการจัดเก็บ ข้อมูล จปฐ. และ ข้อมูลพื้นฐาน ปี 2557
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.​ ๒๕๕๑
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การโดยสรุป 1 หน้า
ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความโปร่งใส ในกระบวนงานกระบวนการพัฒนาและคุ้มครองพิทักษ์สิทธิเยาวชน (การเสริมสร้างความเข้มแข็งสภาเด็กและเยาวชน) ของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก.
ค่าใช้จ่ายในการจ้างเอกชนดำเนินงาน
โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร
โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง (รยส.)
องค์การตลาด พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาด พ.ศ. 2496
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร
องค์การคลังสินค้า (อคส.)
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (สสร.)
การตั้งเรื่องกล่าวหา
กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
การประชุมชี้แจงสาระสำคัญของประกาศ คพร.
แนวทางการจัดทำมาตรฐานความโปร่งใสของกรมควบคุมโรค ปีงบประมาณ พ.ศ.2557
ความคิดเห็นของข้าราชการเกี่ยวกับ สวัสดิการการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2546
สรุปผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สิงหาคม.
1.อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ของข้าราชการตำรวจ บก.อก.บช.ศ.
องค์กรนำการปศุสัตว์ไทย
โดย วัชรินทร์ จำปี รองเลขาธิการ กศน.
ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ณ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 5
มาตรการการป้องกันและปราบปราม การทุจริตและประพฤติมิชอบ
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน/ ค่าจ้างประจำ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ
สภาพปัญหาการรักษาคุณธรรม จริยธรรมในภาครัฐ
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร
กลุ่มพัฒนา ระบบบริหาร กรมการข้าว. พระราชบัญญัติข้อมูล ข่าวสารของราชการ พ.ศ ประชาธิ ปไตย ปกปัก รักษา ประโยช น์ คุ้มครอ งสิทธิ ส่วน บุคคล.
การบริหารราชการแผ่นดิน
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหา
สรุปผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ก่อนและหลัง การประกาศสงครามขั้นแตกหักเพื่อเอาชนะยาเสพติด) พ.ศ สำนักงานสถิติแห่งชาติ
สรุปผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชน
หลักการแบ่งแยกอำนาจ และสถาบันทางการเมือง
การสร้างและการบริหารเครือข่าย (เครือข่ายภาครัฐต่อต้านการทุจริต)
พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวก ในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การป้องกันและปราบปรามการ ผู้อำนวยการสำนักปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 4 ทุจริตภาครัฐ โดย นายนพดล เพชรสว่าง ผู้อำนวยการสำนักปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 4 สำนักงาน ป.ป.ท.

กรอบการบรรยาย 3. การป้องกันการทุจริตในภาครัฐ 1. สถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทย และกลไกในการแก้ไขปัญหา 2. การตรวจสอบข้อเท็จจริงและการไต่สวน ข้อเท็จจริง 3. การป้องกันการทุจริตในภาครัฐ

1.สถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชัน ในสังคมไทย

ปัญหาการทุจริตยังเป็นมะเร็งร้ายที่คุกคามสังคมไทยอยู่ตลอดเวลาและทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก 1. รัฐบาลเสียหายต้องสูญเสียงบประมาณโดยไม่จำเป็น และใช้ประโยชน์จากพัสดุไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ 2. ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐและขาดโอกาสได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น 3. ประเทศชาติไม่เจริญ

: การเข้าสู่อำนาจทางการเมือง ปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุให้การทุจริต : การขยายตัวและแข่งขันทางเศรษฐกิจ : โครงสร้างและค่านิยมของสังคมไทย -บุญคุณนิยม -พวกพ้องนิยม -อำนาจนิยม -สุขนิยม : การเข้าสู่อำนาจทางการเมือง

The World's Most Corrupt Countries 23 September 2008 The Transparency International CPI measures the perceived levels of public-sector corruption in a given country and is a composite index, drawing on different expert and business surveys. The 2008 CPI scores 180 countries (the same number as the 2007 CPI) on a scale from zero (highly corrupt) to ten (highly clean). Denmark, New Zealand and Sweden share the highest score at 9.3, followed immediately by Singapore at 9.2. Bringing up the rear is Somalia at 1.0, slightly trailing Iraq and Myanmar at 1.3 and Haiti at 1.4.

Highly clean countries Canada /Australia Iceland /Netherlands Switzerland /Finland Singapore New Zealand /Sweden /Denmark 9.3 9.2 9.0 8.9 8.7 Thailand อยู่ในลำดับที่ 80 จาก 180 ประเทศ ระดับคะแนน 3.5

เปรียบเทียบลำดับในกลุ่มประเทศอาเซียน กับ 180 ทั่วโลก Singapore Malaysia Thailand Vietnam Indonesia Philippines Laos Cambodia Myanmar (141) (151) (4) (168) (47) (126) (178) (80) (121)

เปรียบเทียบในกลุ่มประเทศในเอเชียด้วยกัน Singapore Hongkong Taiwan China Malaysia South Korea Thailand India Vietnam 9.2 5.6 3.5 3.4 8.1 5.1 5.7 2.7 3.6

บริษัทที่ปรึกษาความเสี่ยงด้านการเมืองและเศรษฐกิจ หรือเพิร์ค (คะแนนคอร์รัปชัน) ผลการสำรวจปัญหาการคอร์รัปชั่นในภูมิภาคเอเชีย รวมประเทศออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา ประจำปี 2009 พบว่า อินโดนีเซียและไทย ติดอันดับสองประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นมากที่สุด ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารต่างชาติเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่นในแต่ละประเทศ เผยแพร่เมื่อวันที่ 8 เมษายน ระบุว่า สิงคโปร์ยังคงเป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นน้อยที่สุด รองลงมาคือฮ่องกง (1.89), ออสเตรเลีย (2.40), สหรัฐอเมริกา (2.89), ญี่ปุ่น (3.99), เกาหลีใต้ (4.64), มาเก๊า (5.84), จีน (6.16), ไต้หวัน (6.47), มาเลเซีย (6.70), ฟิลิปปินส์ (7.0), เวียดนาม (7.11), อินเดีย (7.21), กัมพูชา (7.25), ไทย (7.63) และอินโดนีเซีย (8.32)

ประชาชนมองสถานการณ์การทุจริต ในสังคมไทยอย่างไร สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2547) ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญองค์กรหนึ่ง ได้ศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาคอร์รัปชันในสังคมไทย โดยสำรวจความเห็นของผู้นำภาคประชาชนทุกจังหวัดๆละ 100 คน รวม 7,191 คน พบว่า

1. วิธีการและรูปแบบคอร์รัปชัน ร้อยละ 1) รับสินบน 43.9 2) วิ่งเต้นขอตำแหน่งในราชการ 42.7 3) รับส่วย รีดไถประชาชน 40.9 4) คอร์รัปชันเชิงนโยบาย 40.3 5) แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ 40.0 ทุจริตเรื่องเวลาของข้าราชการ (เช้าชามเย็นชาม) 36.1

2. การทุจริตที่ประชาชนพบเห็น 2. การทุจริตที่ประชาชนพบเห็น มากที่สุด ได้แก่ การฮั้วการประมวลในการจัดซื้อ จัดจ้างของทางราชการ (44.3 %) ปานกลาง ได้แก่ 1. การเลือกตั้ง (44.2 %) 2.กินตามน้ำหรือค่าน้ำร้อนน้ำชา(44.0 %) 3. นักการเมืองขาดคุณธรรม (42.5 %)

3. กลุ่มผู้กระทำการทุจริต 3. กลุ่มผู้กระทำการทุจริต มากที่สุด ข้าราชการ (47.8 %) ปานกลาง - พนักงานบริษัทเอกชน (43.1 %) - พนักงานรัฐวิสาหกิจ (39.6 %) - นักวิชาการ (34.0 %) น้อยที่สุด เกษตรกร (31.8 %)

4. องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ ทุจริต 4. องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ ทุจริต มากที่สุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รองลงมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. ,เทศบาล, อบจ.)

5. มูลเหตุสำคัญของการทุจริต 5. มูลเหตุสำคัญของการทุจริต 1. เจ้าหน้าที่ขาดคุณธรรมและไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ 2. ขาดกลไกในการลงโทษและการบังคับใช้กฎหมาย 3. เจ้าหน้าที่ได้รับค่าตอบแทนต่ำไม่สัมพันธ์กับหน้าที่ รับผิดชอบ 4. สภาพการทำงานเปิดโอกาส เอื้ออำนวยต่อการกระทำ ทุจริตกระบวนการปฏิบัติงานมีช่องโหว่

6. การทุจริตที่เป็นปัญหาเรื้อรังมากที่สุด 6. การทุจริตที่เป็นปัญหาเรื้อรังมากที่สุด ได้แก่ การเมืองในระดับชาติรองลงมา ได้แก่ การเมืองระดับท้องถิ่น

7. แนวทางแก้ไข 1. ควรสนับสนุนให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการ ตรวจสอบการทุจริต 2. ควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูล เพื่อสร้างจิตสำนึก ค่านิยม ต้านการทุจริต 3. ควรส่งเสริมให้ภาคประชาชน และองค์กรอิสระทำการตรวจสอบการทุจริตอย่างแท้จริง

ลักษณะการทุจริตคอร์รัปชัน 5 ประเภท ที่มา : โครงการร่วมใจ “คนไทยต้องไม่โกง ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ” การศึกษาเรื่องทุจริตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาสอบสวน และศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตของวุฒิสภา ได้แบ่งกรณีการทุจริตคอร์รัปชัน เป็น 5 ประเภท ได้แก่ (1) การทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ (2) การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง (3) การทุจริตในการให้สัมปทาน (4) การทุจริตโดยการทำลายระบบตรวจสอบ อำนาจรัฐ (5) การทุจริตเชิงนโยบาย

เกษตรและสหกรณ์ 1,928 เรื่อง ข้อมูลการทุจริตในหน่วยงานของรัฐ สำนักงาน ป.ป.ช. ได้รวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปี 2544-2552 พบว่า 12 อันดับ ที่มีการกล่าวหาร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทุจริต จำแนกตาม กระทรวง ณ วันที่ 14 มกราคม 2552 1 มหาดไทย 3,049 เรื่อง เกษตรและสหกรณ์ 1,928 เรื่อง 2 ศึกษาธิการ 1,388 เรื่อง 3 4 คมนาคม 777 เรื่อง การคลัง 621 เรื่อง 5

สำนักนายกรัฐมนตรี 255 เรื่อง 6 สาธารณสุข 436 เรื่อง 7 ทรัพยากรธรรมชาติฯ 366 เรื่อง กลาโหม 309 เรื่อง 8 9 สำนักนายกรัฐมนตรี 255 เรื่อง ยุติธรรม 179 เรื่อง 10 เทคโนโลยี ฯ 164 เรื่อง 11 แรงงานฯ 309 เรื่อง 12

ข้อมูลการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงาน ป. ป. ช ข้อมูลการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงาน ป.ป.ช. ได้รวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปี 2544-2552 (ข้อมูล ณ วันที่ 14 มกราคม 22552)พบว่า เจ้าหน้าที่ ของรัฐ ในสังกัด อปท.ถูกกล่าวหาว่ากระทำการทุจริต รวมทั้งสิ้น 7,452 เรื่อง มีผู้ถูกกล่าวหา 13,683 ราย อันดับ 1 ได้แก่ อบต. 4,321 เรื่องผู้ถูกกล่าวหา 8,038 ราย อันดับ 2 ได้แก่ เทศบาล 2,324 เรื่องผู้ถูกกล่าวหา 4,234 ราย อันดับ 3 ได้แก่ อบจ. 424 เรื่อง ผู้ถูกกล่าวหา 740 ราย อันดับ 4 ได้แก่ กทม. 369 เรื่อง ผู้ถูกกล่าวหา 628 ราย อันดับ 5 ได้แก่ เมืองพัทยา 14 เรื่อง ผู้ถูกกล่าวหา 43 ราย

2. กลไกที่ใช้แก้ไขปัญหาการ ทุจริตคอร์รัปชันของประเทศไทย - ปี 2476 มีข้าหลวงใหญ่และข้าหลวงตรวจการ - ปี 2496 มีกรมตรวจราชการแผ่นดิน - ปี 2514 มีคณะกรรมการตรวจและติดตามผล การปฏิบัติราชการ (กตป.) - ปี 2518 มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป.) - ปี 2540 มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่ชาติ (ป.ป.ช.) - ปี 2551 มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) และสำนักงาน ป.ป.ท.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 301 (3) ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม เพื่อดำเนินการต่อไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2550 มาตรา 250 (3) ได้กำหนดกรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ใหม่ ให้ไต่สวนและวินิจฉัยเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไปกรณีร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม รวมทั้งดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการในระดับ

ต่ำกว่าที่ร่วมกระทำความผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งงดังกล่าว หรือกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือที่กระทำความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเห็นสมควรดำเนินการด้วย ทั้งนี้ ตามพระราชพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือภารกิจของคณะกรรมการ ป. ป. ช ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือภารกิจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และให้รัฐบาลมีกลไกของตนเองในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ จึงได้จัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ท. ขึ้น เป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2551 เป็นต้นไป

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร โครงสร้าง คณะกรรมการ ป.ป.ท. รมว. ยุติธรรม สำนักงาน ป.ป.ท. กลุ่มตรวจสอบภายใน กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขตพื้นที่ 1-9 __ กลุ่มงานกฎหมาย สำนักปราบปราม การทุจริตในภาครัฐ 1 สำนักงานเลขาธิการ _ สำนักปราบปราม การทุจริตในภาครัฐ 4 สำนักคุ้มครอง และป้องกัน สำนักนโยบายฯ สำนักปราบปราม การทุจริตในภาครัฐ 2 _ สำนักปราบปราม การทุจริตในภาครัฐ 5 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สำนักปราบปราม การทุจริตในภาครัฐ 3 กองการต่างประเทศ

3."การตรวจสอบข้อเท็จจริง"

การตรวจสอบข้อเท็จจริง ผลลัพธ์ 1. ส่ง ป.ป.ช. 2. เสนอ ป.ป.ท. 3. รายงานผลต่อ ครม.หรือรมว.ยธ. 4. ส่งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องดำเนินการ วิธีการ 1. ตรวจสอบและ รวบรวมข้อมูลสาธารณะ 2. ขอความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องให้ข้อมูล/เอกสาร ด้วยความสมัครใจ 3. วิเคราะห์และประเมินผล ที่มา เมื่อมีผู้ร้องเรียนหรือกล่าวหา เมื่อมีเหตุต้องสงสัย เมื่อ ครม. หรือรมว.ยธ. มอบหมายให้ดำเนินการ

ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบของ สตง. เกี่ยวกับการพัสดุ 1. ไม่มีการวางแผนการจัดซื้อ จัดจ้าง และไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการจัดซื้อ จัดจ้าง 2. ไม่จัดทำรายงานเสนอก่อนดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้าง ซึ่งต้องประกอบด้วย เหตุผล ความจำเป็น รายละเอียดของพัสดุ ราคามาตรฐานหรือราคากลาง วงเงินที่จะจัดหา วิธีการจัดหา และเหตุผลที่ต้องจัดหาด้วยวิธีการนั้นๆ

ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบของ สตง. เกี่ยวกับการพัสดุ (ต่อ) 3. ไม่ส่งประกาศเผยแพร่การสอบราคาและเอกสารการสอบราคาต้องส่งไปยังผู้มีอาชีพขาย หรือ รับจ้างนั้นโดยตรงไม่น้อยกว่า 5 ราย หรือ โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน กับให้ปิดประกาศเผยแพร่ไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของส่วนราชการ 4. มีการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงวิธีการตามที่ระเบียบฯ กำหนด 5. คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาและผู้มีอำนาจอนุมัติไม่พิจารณาทำสัญญากับผู้เสนอราคาต่ำสุด

ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบของ สตง. เกี่ยวกับการพัสดุ (ต่อ) 6. ตรวจรับพัสดุโดยยังไม่ส่งมอบของและตรวจพัสดุโดยพัสดุนั้น ผิดคุณลักษณะที่กำหนดตามสัญญา 7. คิดค่าปรับกรณีส่งมอบของเกินกำหนด ต่ำกว่าสัญญา / ไม่ได้คิดค่าปรับ 8.จ่ายเงินประกันสัญญาคืนก่อนกำหนด

ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบของ สตง. เกี่ยวกับการพัสดุ (ต่อ) 9. หากในการดำเนินการบางโครงการการจัดหาไม่มีการวางแผน หรือ ไม่ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ หรือไม่มีการเตรียมการเพื่อให้พร้อมที่จะทำสัญญาในเวลาอันควร ทำแล้วอ้างว่าจำเป็นต้องมีการซื้อ หรือ จ้างโดยเร่งด่วน (หากไม่เร่งดำเนินการจะเสียหายแก่ราชการ) ไม่สามารถนำมาเป็นข้ออ้างได้ 10.ไม่แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ การรับ-จ่ายพัสดุ ประจำปี

ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบของ สตง. เกี่ยวกับการพัสดุ (ต่อ) 11.ทรัพย์สินที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพใช้การไม่ได้ ไม่ทำการซ่อมแซม หรือ จำหน่ายออกจากบัญชี ลงรายการในบัญชีไม่ถูกต้อง จัดทำบัญชีแยกประเภทไม่ถูกต้องครบถ้วนตามชนิดและรายการ รวมทั้งไม่ให้เลขหมายประจำครุภัณฑ์

4."การไต่สวนข้อเท็จจริง"

การไต่สวนข้อเท็จจริง ลักษณะของการไต่สวนข้อเท็จจริง เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่และ ที่ไม่อยู่ในอำนาจของ ป.ป.ท. ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการ ไต่สวนข้อเท็จจริง คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีลักษณะบูรณาการและมี มาตรการคุ้มครองความ ปลอดภัยรวมทั้งมีมาตรการ สร้างขวัญกำลังใจ การทุจริตในภาครัฐ กรณีใดบ้างที่ต้องมีการ ไต่สวนข้อเท็จจริง อำนาจที่ใช้ในการไต่สวน ข้อเท็จจริง เรื่องที่ ป.ป.ท. ต้องส่ง ป.ป.ช. ดำเนินการ หรือเรื่องที่ไม่มีอำนาจ รับหรือพิจารณา ผู้ทำหน้าที่ไต่สวน ข้อเท็จจริง

- องค์ประกอบมีจำนวน 7 คน (ม.5) คณะกรรมการ ป.ป.ท. - องค์ประกอบมีจำนวน 7 คน (ม.5) - คุณสมบัติของคณะกรรมการ (ม.6) - ข้อห้ามของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ (ม.7) - วาระคราวละ 4 ปี รวมกันไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน (ม.8) - การพ้นจากตำแหน่งกรรมการ (ม.9) - กรรมการต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินตามกฎหมาย ป.ป.ช. (ม.11)

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ท. (ม.17) 1. เสนอนโยบาย มาตรการ และแผนพัฒนา การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ต่อคณะรัฐมนตรี 2. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ หรือมาตรการต่างๆเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 3. เสนอแนะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.

4. ไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลเกี่ยวกับการกระทำการทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 5. ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งความเห็นส่งพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีอาญา ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ 6. จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีเสนอต่อ คณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบด้วย

7. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตามที่ คณะกรรมการ ป.ป.ท. มอบหมาย 8.ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หรือการอื่นใด เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตใน ภาครัฐตามที่คณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย

การไต่สวนข้อเท็จจริง หมายความว่า แสวงหา รวบรวม และดำเนินการอื่นใดเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในการที่จะทราบรายละเอียดและพิสูจน์เกี่ยวกับการทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่/ไม่อยู่ในอำนาจการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีใครบ้าง มาตรา 3 “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แต่ไม่รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐดังต่อไปนี้ (1) ผู้บริหารระดับสูง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

(2) ผู้พิพากษาและตุลาการ (3) พนักงานอัยการ (4) ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วย ผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกท้องถิ่นขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (5) เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของศาล รัฐสภา องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระจากการ ควบคุมหรือกำกับของฝ่ายบริหารที่จัดตั้งขึ้นตาม รัฐธรรมนูญ

(6) เจ้าหน้าที่ของรัฐในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (7) เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งกระทำความผิดในลักษณะที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรดำเนินการตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด (8) เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งร่วมกระทำความผิดกับบุคคลตาม(1) (2) (3) (4) (5) (6) และ (7)

มาตรา 3 “ทุจริตในภาครัฐ” หมายความว่า ทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติมิชอบ ในภาครัฐ

“ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า มาตรา 3 “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือกระทำการอันเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญาหรือตามกฎหมายอื่น

พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ. ศ. 2551 พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 84 การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (1) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต มาตรา 97 ภายใต้บังคับวรรคสอง ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อน จะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก

มาตรา 3 “ประพฤติมิชอบ” หมายความว่า ใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีที่มุ่งหมายจะควบคุมดูแลการรับ การเก็บรักษา หรือการใช้เงินหรือทรัพย์สินของแผ่นดิน

พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ. ศ. 2551 พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 82 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ (2) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ มาตรา 84 ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามมาตรา 81 และมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย มาตรา 85 การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (7) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง

กรณีใดบ้างจึงจะดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง มาตรา 23 ภายใต้บังคับมาตรา 25 และมาตรา 26 เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ดำเนินการไต่สวนโดยเร็ว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการป.ป.ท. กำหนด (1) เมื่อได้รับการกล่าวหาตามมาตรา 24 (2) เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทำการทุจริตในภาครัฐ

(3) เมื่อได้รับเรื่องจากพนักงานสอบสวนตามมาตรา 30 (4) เมื่อได้รับเรื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง บทบัญญัติตามวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลอื่นเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนด้วย

มาตรา 24 การกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า กระทำการหรือเกี่ยวข้องกับการทุจริตในภาครัฐ จะทำด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือก็ได้ ในกรณีที่กล่าวหาด้วยวาจา ให้พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. บันทึกคำกล่าวหาและจัดให้ลงลายมือชื่อผู้กล่าวหาในบันทึกการกล่าวหานั้นไว้ และในกรณีที่ผู้กล่าวหาไม่ประสงค์จะเปิดเผยตน ห้ามมิให้พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท.เปิดเผยชื่อหรือที่อยู่ รวมทั้งหลักฐานอื่นใดที่เป็นการสำแดงตัวของผู้กล่าวหา

ในกรณีที่กล่าวหาเป็นหนังสือ ผู้กล่าวหาจะต้องลงชื่อและที่อยู่ของตน แต่หากผู้กล่าวหาจะไม่ลงชื่อและที่อยู่ของตนต้องระบุพฤติการณ์แห่งการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งถูกกล่าวหาและพยานหลักฐานเบื้องต้นไว้ให้เพียงพอที่จะดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปได้

เรื่องกล่าวหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ต้องส่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการ

มาตรา 25 ให้คณะกรรมการ ป. ป. ท มาตรา 25 ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ส่งเรื่องกล่าวหาที่รับไว้ดังต่อไปนี้ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการต่อไป (1) เรื่องกล่าวหาบุคคลซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐแต่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (2) เรื่องกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่ากระทำความผิดร่วมกับบุคคลซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (3) เรื่องกล่าวหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. แจ้งให้ส่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณา

ในกรณีเรื่องกล่าวหาตาม (3) ถ้าคณะกรรมการ ป. ป. ท ในกรณีเรื่องกล่าวหาตาม (3) ถ้าคณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงไว้แล้ว ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท.ส่งสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้วย ทั้งนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะถือสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือจะดำเนินการ ไต่สวนข้อเท็จจริงใหม่ก็ได้

เรื่องกล่าวหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ไม่มีอำนาจรับหรือพิจารณา

มาตรา 26 ห้ามมิให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. รับหรือพิจารณาเรื่องดังต่อไป (1) เรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับไว้พิจารณาหรือได้วินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดแล้ว (2) เรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้วินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดแล้ว และไม่มีพยานหลักฐานใหม่ซึ่งเป็นสาระสำคัญของคดี (3) เรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหาถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในประเด็นเดียวกันและศาลประทับฟ้องหรือพิพากษาหรือมีคำสั่งเด็ดขาดแล้วโดยไม่มีการถอนฟ้องหรือทิ้งฟ้อง หรือเป็นกรณีที่ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดี (4) เรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนถูกกล่าวหาเกินกว่าห้าปี

มาตรา 30 ในกรณีที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ อันเนื่องมาจากการกระทำการทุจริตในภาครัฐ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษเพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไป ในการนี้คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเสียก่อนและส่งสำนวนการสอบสวนให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยคณะกรรมการ ป.ป.ท. จะถือว่าสำนวนการสอบสวนดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ก็ได้

การไต่สวนข้อเท็จจริงเป็นอำนาจของ คณะกรรมการ ป. ป. ท การไต่สวนข้อเท็จจริงเป็นอำนาจของ คณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

มาตรา 32 คณะกรรมการ ป.ป.ท. จะแต่งตั้งคณะ อนุกรรมการเพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงแทน หรือมอบหมายให้ พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ดำเนินการแสวงหาข้อมูลและรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือมูลความผิดก็ได้ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและระดับและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหาด้วย คณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่นั้น การปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ พนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

อำนาจที่ใช้ในการไต่สวนข้อเท็จจริง

อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 60 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ อนุกรรมการ พนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ในการดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ อนุกรรมการ พนักงาน ป.ป.ท. เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ โดยให้มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนด้วย เว้นแต่อำนาจในการจับและคุมขัง ให้แจ้งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ดำเนินการ

อำนาจพิเศษตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 1. หนังสือสอบถาม หรือเรียกให้สถาบันการเงิน ส่วนราชการ องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ส่งเจ้าหน้าที่มาชี้แจง หรือส่งเอกสาร รวมทั้งเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจง หรือเอกสารเพื่อประกอบการไต่สวนหรือพิจารณาได้ (ม.18(1) (2))

ในการไต่สวนและการพิจารณา(ม.19) 2. มีอำนาจขอให้ศาลออกหมายค้น (ม.18 (3)) 3. ขอให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ ให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนหรือเข้าร่วมปฏิบัติงาน (ม.18(4)) แจ้งให้หน่วยงานใดจัดให้กรรมการหรืออนุฯเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับผู้กล่าวหาหรือบุคคลอื่น ที่มีเหตุเกี่ยวข้องกับเรื่องที่กล่าวหาได้ เพื่อประโยชน์ ในการไต่สวนและการพิจารณา(ม.19)

การไต่สวนข้อเท็จจริงมีลักษณะ บูรณาการ และมีมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยรวมทั้งมาตรการสร้างขวัญและกำลังใจ

มีการสนธิกำลังบุคลากร/หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมทำงานด้วยกัน มาตรา 18 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 17(4) และ (5)ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย (1) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกให้สถาบันการเงินส่วนราชการ องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ส่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งบัญชีเอกสารหรือหลักฐานใดๆ มาเพื่อไต่สวนหรือเพื่อประกอบการพิจารณา

(2) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งบัญชีเอกสารหรือหลักฐานใดๆ มาเพื่อไต่สวนหรือเพื่อประกอบการพิจารณา (3) ดำเนินการขอให้ศาลที่มีเขตอำนาจออกหมายเพื่อเข้าไปในเคหะสถาน สถานที่ทำการหรือสถานที่อื่นใด รวมทั้งยานพาหนะของบุคคลใดๆ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือในระหว่างเวลาที่มีการประกอบกิจการเพื่อตรวจสอบ ค้น ยึด หรืออายัด เอกสาร ทรัพย์สิน หรือพยานหลักฐานอื่นใดซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไต่สวนข้อเท็จจริง และหากยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จในเวลาดังกล่าวให้สามารถดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะแล้วเสร็จ

(4) ขอให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐให้ความช่วยเหลือสนับสนุนหรือเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม โดยให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐปฏิบัติการตามที่ขอได้ตามสมควรแก่กรณี คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจมอบหมายให้อนุกรรมการ พนักงาน ป.ป.ท. ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ป.ป.ท.กำหนด

มีการนำผู้แทนภาคประชาชนเข้ามาร่วมเป็นคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง มาตรา 33 เพื่อประสิทธิภาพในการไต่สวนข้อเท็จจริง คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจแต่งตั้งผู้แทนภาคประชาชนเข้าร่วมในคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงก็ได้ การได้มาซึ่งผู้แทนภาคประชาชนที่จะแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนดขึ้น โดยให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผู้แทนภาคประชาชนที่ได้รับการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ค่าเดินทาง ที่พัก และสิทธิประโยชน์อื่น ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง

มีการนำผู้มีประสบการณ์มาช่วยเหลือในการไต่สวนข้อเท็จจริง มาตรา 34 คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจแต่งตั้งบุคคลเป็นที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือคณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงหรือ ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มอบหมายแล้วแต่กรณี การแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ป.ป.ท.กำหนด โดยให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ค่าเดินทาง ที่พัก และสิทธิประโยชน์อื่น ตามระเบียบ กระทรวงยุติธรรม โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง

มีมาตรการคุ้มครองความปลอดภัย รวมทั้งมาตรการในการสร้างขวัญและกำลังใจ การคุ้มครองพยาน การให้รางวัลหรือประโยชน์อื่นใด การเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือระดับตำแหน่ง เป็นกรณีพิเศษ การจัดย้ายหน่วยงานให้กับข้าราชการ ที่เป็นพยาน การกันผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำผิดไว้เป็น พยาน

มีมาตรการคุ้มครองพยานผู้ให้ข้อมูลหรือแจ้งเบาะแส มาตรา 53 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ สำนักงานอาจจัดให้มีมาตรการคุ้มครองเบื้องต้นสำหรับผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ทำคำร้อง ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้ให้ถ้อยคำหรือ ผู้ที่แจ้งเบาะแส หรือข้อมูลใดเกี่ยวกับการทุจริต ในภาครัฐ หรือข้อมูลอื่นอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตามระเบียบ ที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนด

มาตรา 54 ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นว่า คดีใดสมควรให้จัดให้มีมาตรการคุ้มครองช่วยเหลือแก่บุคคลตามมาตรา 53 ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้มีมาตรการในการคุ้มครองบุคคลดังกล่าว โดยให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นพยานที่มีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญา ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. เสนอความเห็นด้วยว่าสมควรใช้มาตรการทั่วไป หรือมาตรการพิเศษตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญาสำหรับบุคคลดังกล่าวด้วย

ในกรณีเกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย ชื่อเสียง ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคลตามวรรคหนึ่งหรือสามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุคคลดังกล่าว เพราะมีการกระทำผิดอาญาโดยเจตนา เนื่องจากการดำเนินการหรือการให้ถ้อยคำ หรือแจ้งเบาะแส หรือข้อมูลต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. ให้บุคคลนั้นมีสิทธิยื่นคำร้องต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อขอรับค่าตอบแทนเท่าที่จำเป็นและสมควรตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญาด้วย

มีมาตรการจัดรางวัลตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใด สำหรับผู้ให้ข้อมูลหรือแจ้งเบาะแส มาตรา 55 คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจจัดให้มีรางวัลตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใดแก่บุคคลตามมาตรา 53 ตามระเบียบที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนด

มีมาตรการยกย่องเป็นแบบอย่าง และเลื่อนขั้นเงินเดือน/ตำแหน่งเป็นกรณีพิเศษ มาตรา 56 ในกรณีบุคคลตามมาตรา 53 เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นว่าการดำเนินการหรือให้ถ้อยคำ หรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลของบุคคลดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างยิ่ง และสมควรได้รับการยกย่องให้เป็นแบบอย่างแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนโดยทั่วไป คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน และระดับตำแหน่งให้แก่บุคคลนั้นเป็นกรณีพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

มาตรการจัดย้ายหน่วยงานให้กับพยานที่เป็นข้าราชการ มาตรา 57 ในกรณีบุคคลตามมาตรา 53เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเมื่อบุคคลนั้นร้องขอต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. ว่า หากยังคงปฏิบัติหน้าที่ในสังกัดเดิมต่อไป อาจถูกกลั่นแกล้งหรือได้รับการปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม อันเนื่องจากการกล่าวหาหรือการให้ถ้อยคำ หรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลนั้นและคณะกรรมการ ป.ป.ท. พิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าน่าจะมีเหตุดังกล่าว ให้เสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการให้ได้รับความคุ้มครองหรือมีมาตรการอื่นใดตามที่เห็นสมควรต่อไป

ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนิน คดีอาญาของพนักงานอัยการ พ ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนิน คดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ข้อ 79 (การกันผู้ต้องหาเป็นพยาน) ในกรณีที่พนักงานสอบสวนกันผู้ต้องหาซึ่งได้ร่วมกระทำผิดด้วยกันคนใดคนหนึ่งเป็นพยานแล้ว ให้พนักงานอัยการพิจารณาโดยรอบคอบ โดยคำนึงถึงว่าถ้าไม่กันผู้ต้องหาคนใดคนหนึ่งเป็นพยานแล้ว พยานหลักฐานที่มีอยู่เพียงพอแก่การที่จะดำเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งหมดหรือไม่ และอาจแสวงหาพยานหลักฐานอื่นแทนเพื่อให้เพียงพอแก่การที่จะดำเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งหมดนั้นได้หรือไม่ ถ้อยคำของบุคคลนั้นรับฟังเป็นความสัตย์ได้เพียงใด รวมทั้งความคาดหมายในการที่ผู้นั้นจะเบิกความเป็นประโยชน์ในการพิจารณาหรือไม่ด้วย และพึงพิจารณากันผู้กระทำความน้อยที่สุดเป็นพยาน .....

มีมาตรการกันผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำผิดไว้เป็นพยาน มาตรา 58 บุคคลหรือผู้ถูกกล่าวหารายใดซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำผิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็น ผู้ถูกกล่าวหารายอื่น หากได้ให้ถ้อยคำหรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญในการที่จะใช้เป็นพยานในการวินิจฉัยชี้มูลการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐรายอื่นนั้น หากคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นสมควรจะกันผู้นั้นไว้เป็นพยานโดยไม่ดำเนินคดีก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการไต่สวนข้อเท็จจริง 1. การดำเนินการทางวินัย 2. การดำเนินคดีอาญา 3. การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน 4. การเพิกถอนคำสั่งทางการปกครอง

การดำเนินการทางวินัย มาตรา 40 เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทำการทุจริตในภาครัฐ และเป็นกรณีมีมูลทางวินัย ให้ประธานกรรมการส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาผู้นั้น เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้มีมติโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก ในการพิจารณาโทษทางวินัยแก่ผู้ถูกกล่าวหา ให้ถือว่ารายงาน

เอกสาร และความเห็นของคณะกรรมการ ป. ป. ท เอกสาร และความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นสำนวนการสอบสวนวินัย ตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหานั้นๆ แล้วแต่กรณี สำหรับผู้ถูกกล่าวหาซึ่งไม่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับวินัย เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท.มีมติว่า ผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าวได้กระทำผิดในเรื่องที่กล่าวหา ให้ประธานกรรมการ ส่งรายงานและเอกสาร ที่มีอยู่พร้อมทั้งความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

มาตรา 41 เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา 40 ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนพิจารณาลงโทษภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ รับเรื่องและให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนส่งสำเนาคำสั่งลงโทษดังกล่าวไปให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ทราบภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ออกคำสั่ง

มาตรา 42 ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้ใดละเลยไม่ดำเนินการตามมาตรา 41 ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้นั้นกระทำความผิดวินัยหรือกฎหมายตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหานั้นๆ

มาตรา 43 ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาไม่ดำเนินการทางวินัยตามมาตร 41 หรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นว่าการดำเนินการทางวินัยของผู้บังคับบัญชาตามมาตรา 41ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. เสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการตามที่เห็นสมควรหรือในกรณีที่จำเป็นคณะกรรมการ ป.ป.ท. จะส่งเรื่องให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วย

ระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือคณะกรรมการอื่นซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการ บริหางานบุคคลสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือคณะกรรมการที่ทำหน้าที่บริหารรัฐวิสาหกิจ หรือผู้สั่งแต่งตั้งกรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ แล้วแต่กรณี พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อให้มีการดำเนินการ ที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไปก็ได้

มาตรา 44 ผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษตามมาตรา 41 จะใช้สิทธิอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดโทษของผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับผู้ถูกกล่าวหานั้นๆ ก็ได้ ทั้งนี้ ต้องใช้สิทธิดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งดังกล่าว

การดำเนินคดีอาญา มาตรา 45 ในกรณีที่การกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 40 เป็นความผิดทางอาญาด้วย ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ส่งเรื่องพร้อมทั้งสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง รายงาน เอกสารและความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ให้พนักงานอัยการดำเนินคดีต่อไป โดยให้ถือว่าการดำเนินการและสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นการสอบสวน และสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ในกรณีที่พนักงานอัยการมีความเห็นว่าข้อเท็จจริง รายงาน เอกสาร หรือความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ที่ได้รับยังไม่ สมบูรณ์พอที่จะดำเนินคดีได้ ให้พนักงานอัยการแจ้งให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ทราบเพื่อไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติม โดยให้ระบุข้อที่ไม่สมบรูณ์นั้นให้ครบถ้วนในคราวเดียวกัน ในกรณีจำเป็นคณะกรรมการ ป.ป.ท. จะร่วมกับอัยการสูงสุดตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมก็ได้

ในกรณีที่พนักงานอัยการเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง แต่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติยืนยันให้ฟ้อง ให้ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดวินิจฉัย คำวินิจฉัยของอัยการสูงสุดให้เป็นที่สุด บทบัญญัติในมาตรานี้ให้นำมาใช้บังคับในกรณีที่พนักงานอัยการยื่นอุทธรณ์ ฎีกา หรือถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์ ถอนฎีกา โดยอนุโลม

มาตรา 46 ในกรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องและจำเป็นต้องนำผู้ถูกกล่าวหาไปศาลให้แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหามาพบพนักงานอัยการตามเวลาที่กำหนด และในกรณีมีความจำเป็นต้องจับตัวผู้ถูกกล่าวหา ให้พนักงานอัยการแจ้งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่มีเขตอำนาจเหนือท้องที่ที่ผู้ถูกกล่าวหามีภูมิลำเนาหรือที่อยู่เป็นผู้ดำเนินการ

และเพื่อการนี้ให้ผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนเจ้าหน้าที่รัฐผู้ถูกกล่าวหา พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดังกล่าว มีอำนาจร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจเหนือท้องที่นั้นให้ออกหมายจับได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติเรื่องการจับ การขังและการปล่อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับ ในกรณีที่มีการจับกุม ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจส่งตัวผู้ถูกจับพร้อมทั้งบันทึกการจับไปยังศาลแล้วแจ้งให้พนักงานอัยการทราบภายใน 48 ชั่วโมง

มาตรา 47 กรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นข้าราชการทหาร ในการดำเนินคดีอาญาตามมาตรา ๔๕ ให้พนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้องคดี โดยถือเป็นอัยการทหารตามกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลทหารหรือจะมอบหมายให้อัยการทหารเป็นผู้ฟ้องคดีแทนก็ได้

การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน มาตรา 48 ในการไต่สวนข้อเท็จจริง ถ้าคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นควรตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่รัฐผู้ถูกกล่าวหา และเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินไว้ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.แล้ว ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ขอความร่วมมือจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ส่งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นไว้มาให้ตรวจสอบได้ แต่ถ้าเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหามิได้เป็นผู้ที่

ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินไว้ต่อคณะกรรมการ ป. ป. ช ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินไว้ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีอำนาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ตามรายการและภายในเวลาที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนดได้ ในการไต่สวนตามวรรคหนึ่งหรือในกรณีอื่นใดที่คณะกรรมการ ป.ป.ท.มีเหตุอันควรสงสัยว่าเจ้าหน้าที่

ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สิน เพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้ส่งเรื่องทั้งหมดพร้อมทั้งสำนวน การไต่สวนและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ในกรณีเช่นนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะถือเอาสำนวนการ ไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยจะไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมด้วยหรือไม่ ก็ได้

ในกรณีที่คณะกรรมการ ป. ป. ช ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนแล้ว เห็นว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นมิได้ร่ำรวยผิดปกติหรืออมิได้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ แต่มีกรณีต้องดำเนินการเกี่ยวกับการทุจริตในภาครัฐ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะส่งเรื่องคืนให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ หรือจะไต่สวนและชี้มูลตามอำนาจหน้าที่ของตนต่อไปก็ได้

การเพิกถอนคำสั่งทางการปกครอง มาตรา 49 ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติว่า ข้อกล่าวหาใดมีมูลนอกจากดำเนินการตามมาตรา 40 หรือมาตรา 45 แล้ว หากปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาได้อนุมัติ อนุญาตออกเอกสารสิทธิ ให้สิทธิประโยชน์หรือการสั่งการใดๆ แก่บุคคลใดโดยมิชอบ หรืออาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. แจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนการอนุมัติ อนุญาต ออกเอกสารสิทธิ ให้สิทธิประโยชน์ หรือการสั่งการใดๆ นั้น ต่อไปด้วย

5. การป้องกันการทุจริตภาครัฐ

นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 1. ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ ที่ล้าสมัยและเปิดช่องให้เกิดการทุจริต ประพฤติมิชอบ หรือทำให้เกิดประโยชน์ทับซ้อน 2. ออกกฎหมายใหม่ๆเพื่อป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบขยายและยกเลิกอายุความในคดีอาญาบางประเภท และ คดีทุจริต 3. ปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในทุกระดับอย่างจริงจัง 4. สนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐมากขึ้น 5. ส่งเสริมคุณธรรมคู่ความรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา เพื่อปลูกฝังค่านิยม “คนไทยต้องไม่โกง”

ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตภาครัฐ พ.ศ.2552-2555

วิสัยทัศน์ หน่วยงานภาครัฐ บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ทุกภาคส่วนร่วมกันป้องกันและปราบปรามการทุจริต

พันธกิจ 1. เสริมสร้างจิตสำนึกและค่านิยม ให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ยึดหลักธรรมาภิบาล 2. บูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อเสริมสร้าง และพัฒนา เครือข่ายด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ส่งเสริมบทบาทภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 4. สร้างกลไกและพัฒนาระบบการตรวจสอบ ถ่วงดุล การใช้ อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความเข้มแข็งและมี ประสิทธิภาพ 5. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการองค์ความรู้ด้านการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตภาครัฐอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ พ.ศ. 2552 – 2555 มี 4 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เสริมสร้างจิตสำนึก ค่านิยม ให้หน่วยงาน ภาครัฐบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ยุทธศาสตร์ที่ 2 บูรณาการหน่วยงานทุกภาคส่วนในการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างความเข้มแข็งในการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ของรัฐในการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ

สรุปปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดี ทางสายกลาง พอประมาณ เงื่อนไขความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) เงื่อนไขคุณธรรม (ซื่อสัตย์สุจริต สติปัญญา ขยันอดทน แบ่งปัน) เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร เศรษฐกิจพอเพียงมีกรอบแนวคิดคือ เป็นปรัชญาชี้แนะแนวทางปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น มีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตของสังคมไทย และเป็นการมองโลกเชิงพลวัตร มุ่งเน้นการรอดพ้นจากวิกฤต ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน บนพื้นฐานของความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง รวมทั้งจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนให้มีสำนึกใน คุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ใช้สติปัญญา เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่ เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ ๒ แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า กล่าวคือ - ความพอเพียงในระดับบุคคล/ครอบครัว เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๑ - ความพอเพียงในระดับชุมชน/ระดับองค์กร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าซึ่งครอบคลุม ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๒ - ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจ พอเพียงแบบก้าวหน้า ครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๓ นำไปสู่ สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม

ประโยชน์ของการนำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ชีวิตและกิจการมีความสมดุลทั้งยามปกติ และยามวิกฤติ มีภูมิคุ้มกันหรือความเข้มแข็ง พร้อมรับ ผลกระทบจาการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ชีวิตและกิจการเจริญรุดหน้าไปอย่างมั่นคง

ผลการปฏิบัติตามแนวทาง ”เศรษฐกิจพอเพียง” ชีวิต – หน้าที่การงานเกิด “สมดุล” บุคคล – ครอบครัว –องค์การ – ชุมชน และประเทศชาติมีความเข้มแข็งพร้อมรับ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายในได้เป็นอย่างดี

การบริหารจัดการที่ดี ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๒ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า การบริหารจัดการที่ดี

ปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขความสำเร็จของการบูรณาการ ปัจจัยที่ 1 ปัจจัยที่ 2 Truth ผู้นำ บูรณาการ ปัจจัยที่ 4 ปัจจัยที่ 3 จริงใจ/ให้เครดิต ภารกิจ/เจ้าภาพ/ ระบบการประสานงาน

ปัญหาที่น่าเป็นห่วงในเรื่องการทุจริต คือ ค่านิยมของสังคมไทย เอแบคโพล(28 มิ.ย. 2552) ได้เปิดเผยผลสำรวจใน 17 จังหวัดทั่วประเทศไทย จำนวน1,228 ครัวเรือน พบว่า คนไทยถึงร้อยละ 84.5 มองการทุจริตคอร์รัปชันเป็นเรื่องธรรมดาในการทำธุรกิจ และร้อยละ 51.2 ยังยอมรับได้ที่รัฐบาลทุจริต คอร์รัปชัน โดยคิดว่าทุกรัฐบาลมีการทุจริตคอร์รัปชันถ้าทุจริตแล้วทำให้ประเทศรุ่งเรืองประชาชนกินดี อยู่ดีเป็นเรื่องที่ยอมรับได้

แนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริต ด้วยการเรียนรู้ที่ยั่งยืนของเด็กไทย (นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี) 1.ทำบ้านให้อบอุ่น 2.โรงเรียนต้องเป็นแหล่งคุณธรรมนำ ความรู้ ครูต้องรักลูกศิษย์ 3.วัด โบสถ์ มัสยิด ต้องเป็นแหล่งเผยแผ่หลัก ธรรมหรือคำสอนตามความเชื่อถือหรือนับถือ 4.ชุมชนสีขาวต้องช่วยกันทำให้เกิดขึ้นให้ได้

พระราชทานแก่คณะผู้ว่าซีอีโอ ๗๕ จังหวัด ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะผู้ว่าซีอีโอ ๗๕ จังหวัด ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ “…ต้องเป็นคนที่สุจริต ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียว ก็ขอแช่งให้มีอันเป็นไป พูดอย่างนี้หยาบคาย แต่ว่าขอให้มีอันเป็นไป และถ้าทำแต่สิ่งที่สุจริตด้วยความตั้งใจ มุ่งมั่นสร้างความเจริญ ก็ขอให้ต่ออายุได้ถึง ๑๐๐ ปี ส่วนคนไหนมีอายุมากแล้ว ขอให้แข็งแรง ความสุจริตจะทำให้ประเทศไทยรอดพ้นอันตราย…”

...ข้าพเจ้าใคร่จะกล่าวกับทุกท่านว่า การทะนุบำรุงประเทศชาตินั้น มิใช่เป็นหน้าที่ของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ หากเป็นภาระความรับผิดชอบของคนไทยทุกคน ที่จะต้องขวนขวายกระทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เพื่อธำรงรักษาไว้ และพัฒนาชาติบ้านเมือง ให้เจริญมั่นคงและผาสุกร่มเย็น ข้าพเจ้า...ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง จึงมีภาระหน้าที่เช่นเดียวกับคนไทยทั้งมวล...

พบเห็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการทุจริต หรือ ประพฤติมิชอบ สำนักงาน ป.ป.ท.อาคารกระทรวงยุติธรรมถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี 11120 โทร. 02-5028262-63 โทรสาร 02-5028262 โปรดส่งข้อมูลมายัง

จบการนำเสนอ ขอขอบคุณ