NEW ANACHISM JITTRAKORN PO-NGAM.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
13 คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับเขื่อน 1. ทำไมจึงมีการต่อต้านเขื่อนขนาดใหญ่อย่าง กว้างขวาง? ตอบ เขื่อนขนาดใหญ่เป็น ชนวนของความขัดแย้ง ทางสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ.
Advertisements

เสียงสะท้อน เพื่อก่อให้เกิดการแก้ไข ปรับเปลี่ยน
นางกาญจนา แย้มลักษณะเลิศ
ทางออก ทางรอดชนบทไทย ในกระแสอาเซียน”
การเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ความหมายของประชาธิปไตย
การพัฒนาเศรษฐกิจ ความหมาย
ระบบเศรษฐกิจ.
สิ่งท้าทายพระสงฆ์ในบริบทสังคมปัจจุบัน
วิสัยทัศน์จังหวัดพะเยา “เมืองเกษตรปลอดภัย การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน”
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change)
กุลภัทรา สิโรดม 20 กรกฎาคม 2554
เศรษฐกิจพอเพียง.
ผลิตสินค้าและบริการ.
เรื่อง หน้าที่พลเมือง
การค้ามนุษย์.
Free Trade Area Bilateral Agreement
การพัฒนาสังคม Social Development 5 : 16 ธ.ค. 54.
Sociology of Development
สังคมวิทยาอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2-3 : วิกฤตการณ์การพัฒนา
ธุรกิจในโลกาภิวัตน์ Globalizing Business.
อุดมการณ์ทางการเมือง (Political ideology)
วิธีการสหกรณ์ อุดมการณ์ หลักการ นายบรรทูรย์ ราชิวงค์
วิสัยทัศน์ สหกรณ์และสถาบันเกษตรกร มีความเข้มแข็ง เป็นพลังในการพัฒนาประเทศ และสมาชิกอยู่ในสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุข.
วิสัยทัศน์กรมส่งเสริมสหกรณ์ (Vision) ปี
Economic Institute เพื่อสนองความต้องการของตนเองทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ กระบวนการการแสวงหาอาหาร การผลิตอาหาร การบริโภคต่างๆ.
: ระบอบประชาธิปไตยในยุคโลกาภิวัฒน์
1. การพัฒนาประชาธิปไตย : สถาบัน
ระบอบประชาธิปไตย ความหมาย นิยามตามศัพท์ของคำ.
ขอบเขตความรับผิดชอบของรัฐบาลท้องถิ่น
สรุปสาระสำคัญโดยสังเขปของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
ด.ช.ณัฐนันท์ขาววิเศษ เลขที่1ป4/6
การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน
ขอบเขตความรับผิดชอบของรัฐบาลท้องถิ่น
การค้ามนุษย์.
โดย สมภพ อมาตยกุล 21 กันยายน 2548
แนวทางการขับเคลื่อน การสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทย
(บรรยายหลักสูตรนักบริหารระดับกลาง กระทรวงมหาดไทย)
สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา
บทเรียนช่วยสอน วิชา เศรษฐศาสตร์ เรื่อง ระบบเศรษฐกิจ จัดทำโดย ครูธณัชพงษ์ ศักดิ์ชัชวาล มัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระสังคมศึกษา โรงเรียนอุดมดรุณี อ.เมือง.
ชูศักดิ์ วิทยาภัค คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทเรียนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
ที่มา และแนวคิดสิทธิมนุษยชนใน อารยธรรมไทย รับผิดชอบโดย อ. ทศพลทรรศนกุลพันธ์
นโยบายสาธารณะกับการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร
Law and Modern World ภาคการศึกษา 2/2556.
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
การพัฒนาสังคม ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม.
เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง หลวงในรักเรา เรารักในหลวง
บทที่ 3 ปรัชญาและแนวความคิดของการพัฒนาชุมชน
การปฏิวัติฝรั่งเศส.
THEORIES of POLITICAL ECONOMY And POLITICAL ECONOMY of DEVELOPMENT ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม.
สังคมไทยที่พึงประสงค์ เข้มแข็งและมีดุลยภาพ 3 ด้าน
การพัฒนาภาคพิสดาร เศรษฐศาสตร์การเมืองของโลกทัศน์ตะวันออก Political Economy of Eastern Weltanschauung (Worldviews) ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม.
ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทนปัจจัยการผลิต (ค่าเช่า, ดอกเบี้ย, ค้าจ้าง ,กำไร) ปัจจัยการผลิต (ที่ดิน, ทุน, แรงงาน, ผู้ประกอบการ)
เรื่อง สถาบันการเมืองการปกครอง
สรุปการฝึกอบรม วันแรก แรงบันดาลใจ ความ คาดหวัง วิเคราะห์สถานการณ์ แรงงานจากวิกฤติ เศรษฐกิจ กรณีศึกษาที่เกิดขึ้น จริง ประวัติศาสตร์แรงงาน ไทย วันที่สอง.
ทฤษฎี และหลักการพัฒนาชุมชน
ปรัชญา และวิธีวิทยา ของเศรษฐศาสตร์การเมือง
ธรรมาภิบาลกับการจัดการภาครัฐแนวใหม่
ทฤษฎีเศรษฐกิจหลายแนวทาง
รหัส หนังสือหมวดวิชาชีพพื้นฐาน หลักเศรษฐศาสตร์
ทิศทางใหม่ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์ การเมือง
นายพนาสิน หอมจิตต์ ชั้น ปวช 1 เลขที่ 11 กลุ่ม 1 แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
จัดทำโดย ชื่อนายฤทธิ์รงค์ ลิ้มม่วงนิล ช่างยนต์ ปวช.1 เลขที่19
จะสำเร็จได้ด้วย ความพอดีของตน
 กระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่าง กว้างขวางทำให้เกิดการติดต่อด้านเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ สร้างตลาดการค้า การ แข่งขัน การส่งออก การบริการ การลงทุนและ.
นิเวศวิทยาการเมือง : ความยั่งยืนทางนิเวศในสังคมไทย
เศรษฐกิจพอเพียง นางสาวสุนิสา จันทร์ตะบูน ชั้น ปวช 1 เลขที่ 20 กลุ่ม 2
การขับเคลื่อนวาระแห่งชาติด้าน การสหกรณ์ จังหวัดสุรินทร์ วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๖ ณ โรงแรมทองธารินทร์
ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

NEW ANACHISM JITTRAKORN PO-NGAM

NEW ANARCHISM อนาธิปไตย และ Civil Disobedience “อารยะขัดขืน” หรือ “อนารยะขัดขืน” ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม ในการวิเคราะห์อุดมการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน เราจะให้ความสำคัญอย่างสูงแก่อุดมการณ์ ที่เรียกว่า New Anarchism เพราะอะไร ?

คำตอบ ในปลายศตวรรษที่ 20 กระบวนการโลกาภิวัตน์ กำลังแผ่ขยายไปอย่างรวดเร็วทั่วโลก ประเทศต่าง ๆ ต้องตกอยู่ภายใต้การรุกรานทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา บรรษัทข้ามชาติและทุนนิยมโลก เป็นการล่าอาณานิคมแบบใหม่ล่าสุด ในศตวรรษที่ 21 การสร้างจักรวรรดิครองโลกแบบใหม่นี้ จะดำเนินไปอย่างเข้มข้นมากขึ้น การครอบงำของโลกานิยมจะปรากฏอย่างรุนแรงทุกวงการ อธิปไตยทางเศรษฐกิจจะสูญสิ้น

คำตอบ “เศรษฐกิจพื้นบ้าน” และ “วัฒนธรรมท้องถิ่น” จะถูกทำลาย ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ไม่มีอุดมการณ์ใดทรงพลังไปกว่า NEW ANARCHISM อนาธิปไตยแบบใหม่ต้องการต่อต้านการครอบงำระดับโลกทุกรูปแบบ

PIERRE - JOSEPH PROUDHON นักคิดคนสำคัญของฝรั่งเศส ประกาศในปี 1840 ในผลงานชื่อ What is Property? “ข้าพเจ้าเป็นอนาร์คิสต์” เขาย้ำว่า “สังคมจะพบกับความเป็นระเบียบเรียบร้อย ท่ามกลางความปั่นป่วนยุ่งเหยิง”

William Godwin นักคิดนักเขียนอังกฤษ เป็นคนแรกที่เสนอความคิด และหลักการ “อนาธิปไตย” อย่างเป็นระบบ ในผลงานชื่อว่า Enquiry Concerning Political Justice (1773) Godwin วิพากษ์ระบอบ “อำนาจนิยม” อย่างถอนรากถอนโคน เขาเชื่อว่า การศึกษาบนพื้นฐานของหลักการ “เสรีภาพ” และ “เหตุผลนิยม” จะช่วยให้คนเรามีจิตสำนึกและการกระทำเพื่อสังคมส่วนรวม

แนวคิดพื้นฐานของ ANARCHISM แนวคิดหลัก คือ การต่อต้านรัฐและสถาบันต่าง ๆ ที่ เกี่ยวกับการปกครองและกฎหมาย นักอนาร์คิสต์ ต้องการมีสังคมที่ไร้รัฐ สมาชิกในสังคมจัดการปัญหาบ้านเมืองกันเอง โดยไม่มีการบีบบังคับ อุดมการณ์อนาร์คิสต์ เป็นทั้งแบบ “เสรีภาพสุดขั้ว” + “สังคมนิยมสุดขั้ว”

หลักการพื้นฐานของ ANARCHISM ต่อต้านอำนาจรัฐ เพื่อระบอบธรรมชาติ ต่อต้านการครอบงำทางศาสนา เพื่อระบบเศรษฐกิจเสรี

ต่อต้านอำนาจรัฐ อนาธิปไตย คือ การปฏิเสธหลักการของอำนาจ อนาธิปไตย คือ การปฏิเสธหลักการของอำนาจ ต่อต้าน เพราะ อำนาจเป็นสิ่งที่ทำลายหลักการ “เสรีภาพ” และ “ความเสมอภาค” ที่ไหนมีอำนาจ ที่นั่นจะมีการครอบงำกดขี่ขูดรีด ทำให้คนกลายเป็นทาส Pual Goodman อนาคิสต์อเมริกัน กล่าวว่า “จิตวิทยาแห่งอำนาจ” จะก่อให้เกิดสังคมที่คนบางกลุ่มทารุณโหดร้าย และคนส่วนใหญ่ต้องมีชีวิตด้วยความหวาดผวา

ระบอบธรรมชาติ อนาร์คิสต์ส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับวลีของ JEAN-JACQUES ROUSSEAU ใน Social Contract (1762) “มนุษย์เราเกิดมาเป็นอิสรเสรี แต่ปรากฏว่าทุกหนทุกแห่ง มนุษย์ต้องถูกพันธนาการด้วยโซ่ตรวน” ที่เป็นเช่นนี้เพราะ รัฐ อำนาจรัฐ และการปกครองเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความชั่วร้ายในสังคม

ระบอบธรรมชาติ โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์มีศักยภาพที่จะจัดการดูแลชีวิตตนเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งรัฐ ระบบสังคมเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติ บนพื้นฐานของ “สามัคคีธรรม” และ “สันติธรรม” โดยไม่ต้องมีกลไก Law and Order

นี่คือ ความเชื่อแบบยูโธเปีย (Utopianism) เชื่อในความดีงามของมนุษย์ เชื่อในศักยภาพของมนุษย์ที่สามารถพัฒนาตนเองได้และมีชีวิตอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ สร้างสังคมแบบธรรมชาติขึ้นมาได้ (Natural Order)

อนาร์คิสต์หลายกลุ่ม มองว่า ปรัชญาตะวันออก เช่น เต๋า และเซน สนับสนุนแนวคิดของตนเกี่ยวกับ natural order “มนุษย์ต้องอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ โดยปราศจากการครอบงำจากพลังอำนาจภายนอก”

ทฤษฎีแนวอนาคิสต์ที่ทันสมัยที่สุดในยุคปัจจุบัน คือ Social Ecology -นิเวศวิทยาสังคม ของ Murray Bookchin หรือ Eco-Anarchism - อนาธิปไตยแนวนิเวศ

ต่อต้านการครอบงำทางศาสนา อนาคิสต์บางคน (ปรูดอง และบาคูนิน) ประกาศว่า ปรัชญาการเมืองแนวอนาคิสต์จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปฏิเสธศาสนา(และศาสนจักร) เพราะว่าสิ่งนี้ไม่อาจทำให้มนุษย์เป็นอิสระเสรีได้ ศาสนา ก็เหมือนกับรัฐ คือ เป็นต้นตอแห่งอำนาจที่ครอบงำมนุษย์ ศาสนจักรกับรัฐมักจะเป็นพันธมิตรกัน เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ตนเอง เพื่อให้ประชาชนต้องเชื่อฟังตลอดกาล

ระบบเศรษฐกิจเสรี บาคูนิน (Bakunin) อนาคิสต์รัสเซีย กล่าวว่า “อำนาจการเมือง” และ “ความมั่งคั่ง ทางเศรษฐกิจ” เป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้

ระบบเศรษฐกิจเสรี ปรัชญาสังคมเศรษฐกิจของอนาคิสต์ส่วนใหญ่สอดคล้องกับอุดมการณ์ “สังคมนิยม” โดยมองว่า ระบบทุนนิยม เป็นระบบที่กดขี่ ขูดรีดมวลชน ผู้ยากไร้

ระบบเศรษฐกิจเสรี ในแนว ANACHIST “ชนชั้นปกครอง” หมายถึง บุคคลทุกกลุ่มที่มีความร่ำรวย มีอำนาจ และอภิสิทธิ์ (ไม่ใช่แต่เฉพาะนายทุนเท่านั้น)

อนาร์คิสต์ ปฏิเสธ “ทุนนิยมตะวันตก” ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นตลาดเสรีสุดขั้ว หรือเศรษฐกิจแบบผสม (รัฐ + ตลาด) อนาร์คิสต์ ปฏิเสธ “สังคมนิยมโดยรัฐ” (State Socialism เช่น แบบโซเวียต หรือจีน)

“ทุนนิยม” และ “สังคมนิยม” “ทุนนิยม” และ “สังคมนิยม” มีการขูดรีดและ กดขี่ เหมือนกัน ทุนนิยม มีชนชั้นนายทุน สังคมนิยม มีพรรคคอมมิวนิสต์

สังคมมี 3 กลุ่ม ตามแนวคิดของ ANACHIST ประชาชนส่วนใหญ่ผู้ยากไร้ ซึ่งถูกกดขี่ขูดรีด คนบางกลุ่มซึ่งขูดรีดผู้อื่น และตัวเองก็ถูก ขูดรีดด้วย ชนชั้นปกครอง เป็นผู้กดขี่ขูดรีดแบบสุดยอด

ANACHIST รวมเป็นหนึ่งเดียวกับประชาชนผู้ยากไร้ เพื่อ “การปฏิวัติสังคม” และสร้างระบบเศรษฐกิจสังคม แบบใหม่ขึ้นมา

ANARCHISM ในศตวรรษที่ 21 ในศตวรรษที่ 19 -20 ลัทธิอนาธิปไตยไม่ค่อยมีบทบาทเท่าใดสำหรับการเคลื่อนไหวทางการเมือง นอกจากนั้นความคิดเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจสังคมแนวอนาร์คิสต์ก็ไม่ได้รับความสนใจเหมือนกับแนวสังคมนิยม

ANARCHISM ในศตวรรษที่ 21 แต่อุดมการณ์อนาร์คิสต์ก็ยังทรงพลังอยู่ ในฐานะที่ชี้ให้เห็นความเลวร้ายของอำนาจทางการเมืองที่ครอบงำสังคม

ANARCHISM ในศตวรรษที่ 21 ในปัจจุบัน “ลัทธิอนาธิปไตย” เริ่มมามีความสำคัญอีกใน “ขบวนการเคลื่อนไหวสังคมแนวใหม่” (New Social Movement) เช่น ขบวนการนักศึกษา สตรีนิยม ขบวนการสิ่งแวดล้อม ขบวนการต่อต้านการครอบงำ ของต่างชาติ การต่อต้านลัทธิบริโภคนิยม และอุตสาหกรรมนิยม

ANARCHISM ในศตวรรษที่ 21 ในยุคของ Post-modernity ในศตวรรษที่ 21 อุดมการณ์อนาร์คิสต์ จะกลายเป็นพลังต่อต้านอำนาจครอบงำที่สำคัญอย่างแน่นอน

ความเห็นของ “กลุ่มอนาร์คิสต์ใหม่” 1. แม้มีความเจริญเกิดขึ้น แต่ช่องว่างระหว่างโลกตะวันตก กับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาก็ยังมีมาก

ความเห็นของ “กลุ่มอนาร์คิสต์ใหม่” 2. โลกาภิวัตน์ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของโลกที่กำลังพัฒนาได้เลย นี่เป็นปัญหาเศรษฐกิจการเมือง ที่ร้ายแรงที่สุดในยุคปัจจุบัน

ความเห็นของ “กลุ่มอนาร์คิสต์ใหม่” 3. บรรษัทข้ามชาติกำลังสร้างจักรวรรดิ ใหญ่เพื่อครองโลก และเป็นต้นตอของ การทำลายสิ่งแวดล้อมโลก รวมทั้งขูดรีดแรงงานผู้ยากไร้ทั่วโลก

ความเห็นของ “กลุ่มอนาร์คิสต์ใหม่” “บรรษัทข้ามชาติกำลังทำลายชีวิตทั้งปวงบนผืนโลกนี้ โดยมี WTO / IMF / World Bank เป็นผู้สนับสนุน”

NEW ANARCHISM ยุคโลกาภิวัตน์ โฉมหน้าใหม่ของการต่อต้านอำนาจครอบงำ ในช่วงของการเปลี่ยนศตวรรษจาก 20 ไปสู่ 21 กระบวนการ “โลกาภิวัตน์” กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว เราได้เห็นการประท้วงของกลุ่มพลังต่าง ๆ เกิดขึ้นที่หลายมุมเมืองของโลก 30 พ.ย. 1999 WTO ที่ Seattle 16 เม.ย. 2000 World Bank / IMF ที่ Washington 11 ก.ย. 2000 World Economic Forum ที่ Melbourne 26 ก.ย. 2000 World Bank / IMF ที่ Prague (เชคโกสโลวะเกีย)

การต่อต้านเหล่านี้ ประกอบด้วย….. กลุ่มพลังราดิคัลที่หลากหลาย การต่อต้านเหล่านี้ ประกอบด้วย….. กลุ่มพลังราดิคัลที่หลากหลาย กลุ่มนักสิ่งแวดล้อมนิยม กลุ่มสตรีนิยม กลุ่มคอมมิวนิสต์ใหม่ กลุ่มพิทักษ์ผู้บริโภค กลุ่มแรงงาน และกลุ่มที่เรียกว่า New Anarchist

การต่อต้านที่ Seaattle ถือได้ว่า เป็นการเปิดฉากชุดใหม่ของการต่อต้านโลกาภิวัตน์ เป้าหมายหลัก คือ การต่อต้านคัดค้านทุนนิยมโลก บรรษัทข้ามชาติ และสถาบันการเงินการค้าข้ามชาติ ที่อยู่ใต้คำบัญชาของสหรัฐฯ และบรรษัทข้ามชาติ

ทำไมต้องต่อต้านโลกาภิวัตน์? นักอุดมการณ์ของทุนนิยมโลก พยายามบอกเราว่า การพัฒนาเทคโนโลยีได้กลายเป็นพลังหลัก ในการผลักดันกระบวนการโลกาภิวัตน์ ได้เปิดโอกาสให้ประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน เทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่วยให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของประเทศเหล่านี้และให้ประโยชน์มากมาย ในการติดต่อกับโลกตะวันตก

ทำไมต้องต่อต้านโลกาภิวัตน์? ท่ามกลางโลกาภิวัตน์ กำไรของบรรษัทข้ามชาติก็เพิ่ม มากขึ้น พร้อม ๆ กับธุรกิจขนาด ใหญ่ของประเทศที่กำลังพัฒนา ผู้คนมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น

ข้อเสนอแนะของ New Anarchism ต้องยุติกระแสโลกาภิวัตน์ และบั่นทอนอำนาจ อิทธิพลของกลไกต่าง ๆ ที่ส่งเสริมโลกาภิวัตน์ สร้างกฎระเบียบการค้าใหม่ (Fair Trade สำคัญกว่า Free Trade) ยุติการตลาดที่แพร่กระจายสินค้าที่เป็นอันตราย และไร้ความหมายสำหรับการบริโภค

ข้อเสนอแนะของ New Anarchism สร้างประชาธิปไตยโลก (Global Democracy) ที่ คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน และความยั่งยืนทางนิเวศ ล้มสถาบันการเงินการค้าระหว่างประเทศ เช่น WTO / World Bank / IMF เร่งแก้ไขปัญหาหนี้สิน ความยากจน และการเอารัด เอาเปรียบของทุนนิยมโลกที่กระทำต่อประเทศที่กำลังพัฒนา

สังคมอุดมคติของ New Anarchism หลักการพื้นฐานของการสร้างสังคมใหม่ สามัคคีธรรม เสรีภาพ ความเสมอภาค

สังคมอุดมคติของ New Anarchism การเมือง / สังคม - สังคมไร้ชนชั้น - ประชาธิปไตยโดยตรง - จัดองค์กรแบบประชาคมนิยม - กระจายอำนาจอย่างกว้างขวาง - การมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองอย่างเต็มที่

สังคมอุดมคติของ New Anarchism ระบบเศรษฐกิจแนวอนาร์คิสต์ : ระบบสหกรณ์ * ใช้แรงงานรวมหมู่ * ระบบกรรมสิทธิ์ส่วนรวม * การสร้างชุมชนสีเขียวขนาดเล็ก * ระบบการจัดการกันเอง * เศรษฐกิจพึ่งตนเอง * สนองความต้องการขั้นพื้นฐาน * ระบบแลกเปลี่ยนสินค้าบริการอย่างยุติธรรม และเท่าเทียม

สังคมอุดมคติของ New Anarchism ระบบนิเวศ : ปรัชญา Eco - Anarchism * มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียวกัน * การจัดการระบบเศรษฐกิจสังคมต้องสอดคล้อง กับหลักนิเวศวิทยา ผสมกับ Green Politics

THE END