จัดทำโดย 1. นาย ยุทธพิชัย ตินรัตน์ ม.5/6 เลขที่ 4 2. นาย สิรภพ พิกุลทอง ม.5/6 เลขที่ นาย พีระทัด นาคดิลก ม.5/6 เลขที่ นาย ภานุวัฒน์ เพ็งผอม ม.5/6 เลขที่ นาย ธรรมวิทย์ จิตต์อำนวยศักดา ม.5/6 เลขที่ 19
การวิเคราะห์ หมายถึง การแยกแยะทางความคิด หรือทาง วัตถุของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อให้เห็น องค์ประกอบ เพื่อศึกษาแต่ละ องค์ประกอบหรือว่าแยกแยะเพื่อให้เห็นเพื่อให้ เห็นความสัมพันธ์ ขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำ ให้เกิดสิ่งนั้น หรือเรื่องนั้น เวลาวิเคราะห์ต้อง พยายามหาคำตอบว่า ข้อความ บทความ เนื้อ เรื่องนั้นให้ความรู้อะไรบ้าง ผู้เขียนแสดงความ คิดเห็นอะไรให้ทราบบ้าง มีความรู้สึกอย่างไร
หลักการวิเคราะห์ 1. พิจารณาว่าเรื่องนั้นใช้รูปแบบใด เช่น เป็นนิทาน เป็น เรื่องยาว เป็นร้อยกรอง เป็นบทละคร เรื่องสั้น บทความ 2. แยกเนื้อเรื่องให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร 3. แยกพิจารณาให้ละเอียดว่า เนื้อหาประกอบด้วยอะไรบ้าง 4. พิจารณาว่าใช้กลวิธีในการนำเสนอเรื่องอย่างไร 5. ลำดับเหตุการณ์ ตามเหตุผลคือ ลำดับจาเหตุไปหาผล หรือจากผลไปหาเหตุ หรือตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก่อนหลัง ความสำคัญมากไปหาความสำคัญน้อย สิ่งที่ ใก้ลตัวไปหาไกลตัวจากขวาไปซ้ายหรือซ้ายไปขวา จาก เหนือไปใต้หรือใต้ไปเหนือ จากสถานที่ใหญ่ไปหา สถานที่เล็กจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย เป็นต้น 6. พิจารณาความคิดที่ผู้เขียนต้องสื่อให้ผู้อ่านทราบและ ความหมายที่แฝงอยู่ในเนื้อเรื่องหรือข้อความนั้น เมื่ออ่าน พิจารณาข้อความ บทความ เนื้อเรื่อง เสร็จแล้วจึงตอบ คำถาม
กระบวนการวิเคราะห์ 1. ดูรูปแบบของงานประพันธ์ว่าใช้รูปแบบใด อาจเป็นนิทาน บทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น บท ร้อยกรอง หรือบทความจากหนังสือพิมพ์ 2. แยกเนื้อเรื่องออกเป็นส่วนๆ ให้เห็นว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร 3. แยกพิจารณาแต่ละส่วนให้ละเอียดลงไป ว่าประกอบกันอย่างไร หรือประกอบด้วย อะไรบ้าง 4. พิจารณาให้เห็นว่าผู้เขียนให้กลวิธีเสนอ เรื่องอย่างไร