นวัตกรรมการจัดการ ฐานข้อมูลคนพิการในชุมชน

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Homeward& Rehabilitation system
Advertisements

ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
สถานการณ์สำรวจอนามัยและสวัสดิการ (สอส.) ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย
ตามขั้นตอนการให้บริการสาธารณสุข สิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น
หน่วยที่ 7 บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมสุขภาพ
การดำเนินงานโรงเรียนนวัตกรรมสุขภาพชุมชน
บรรยายพิเศษ การดำเนินงาน กศน.ตำบล
การถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับองค์กร ส่วนแผนงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สถานีอนามัยสมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี.
การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การโดยสรุป 1 หน้า
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
“ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ”
ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความโปร่งใส ในกระบวนงานกระบวนการพัฒนาและคุ้มครองพิทักษ์สิทธิเยาวชน (การเสริมสร้างความเข้มแข็งสภาเด็กและเยาวชน) ของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก.
“นโยบายและการบริการภาครัฐสำหรับผู้สูงอายุ”
ภารกิจและนโยบาย 6 ยุทธศาสตร์ 35 กลยุทธ์ ของ ส.อ.ศ. บัญญัติ สมสุพรรณ
ผังจุดหมายปลายทางการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ภายในปี 2554 (ระยะ 4 ปี) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2552 ระดับประชาชน (มุมมองเชิงคุณค่า) ประชาชน.
ภ ระดับประชาชน (มุมมองเชิงคุณค่า)
ผังจุดหมายปลายทางการเฝ้าระวัง ป้องกันและ ควบคุมโรคติดต่อทั่วไป ภายในปี 2556 (ระยะ 4 ปี) สร้างเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553 ระดับประชาชน (มุมมองเชิงคุณค่า)
ผังจุดหมายปลายทางการเฝ้าระวัง ป้องกันและ ควบคุมโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก ภายในปี 2556 (ระยะ 4 ปี) สร้างเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553 ระดับประชาชน.
สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่
โครงการกรมการแพทย์ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ แบบเบ็ดเสร็จ ปี 2551
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ทำไมต้องปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ?
คลินิกผู้สูงอายุ อดีต ปัจจุบัน อนาคต
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล
ระดับท้องถิ่น/พื้นที่
สรุปการประชุม เขต 10.
๒๕ ธ.ค. ๒๕๕๑ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
น.พ. ศิริวัฒน์ ทิยพ์ธราดล
แผนหลัก สรุปทิศทาง. สสส. เปรียบเสมือน “น้ำมันหล่อลื่น” ที่ช่วยให้ ฟันเฟืองของกลไกสร้างเสริมสุขภาพทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด.
สรุปแนวทาง การระดมความคิดเห็น กลุ่มย่อยที่ 4
ปัญหาและแนวทางการดำเนินงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ. สต
ความคาดหวังกับรพ.สต.มิติใหม่ของการพัฒนางานสาธารณสุข
คลินิกผู้สูงอายุต้นแบบ (Geriatric Clinic Model) โรงพยาบาลอุดรธานี
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(ร่าง) แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2553 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
นโยบายการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ
กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แนวทางการดำเนินงานผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2556
การบริหารงบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ปี 2557
ยุทธศาสตร์กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ พ. ศ
จะเริ่มอย่างไร ? จุดเริ่มต้นของการปฏิรูประบบสุขภาพระดับอำเภอ อยู่ที่การกำหนดค่ากลางของความสำเร็จของโครงการสุขภาพระดับเขต เพื่อส่งมอบให้จังหวัดนำเข้าสู่กระบวนการ(1)
บทบาทท้องถิ่นกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต
มีการอบรมป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น
องค์ประกอบและระยะเวลาที่ เปลี่ยนแปลง  จากมีวาระ 2 ปี เป็น 4 ปี  เพิ่ม ผู้แทนหน่วยรับเรื่องร้องเรียน อิสระ หรือศูนย์ประสานงานภาค ประชาชน หรือองค์กรเอกชนด้าน.
การจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี
เทศบาลตำบลบัลลังก์ จดหมายข่าว ระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพ
กรอบแนวคิด หลักการ กฎหมาย คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการ สาธารณสุข เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ ภาค ประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค.
การบริหารงบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ ปีงบประมาณ 2557
พรทิพย์ ศิริภานุมาศ กองแผนงาน กรมควบคุมโรค
โครงการในปีงบประมาณ 2558.
สรุปผลการประเมิน ยุทธศาสตร์สุขภาพระดับตำบล อำเภอเรณูนคร ปี 2554
การพัฒนางานสุขภาพจิต วัยทำงาน - สูงอายุ
นโยบายกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2554
ระบบบริการสุขภาพช่องปากปี 2554 ระบบบริการสุขภาพช่องปากปี 2554
ตัวอย่างกิจกรรมภายใต้บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การจัดการด้านสุขภาพของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สู่เมืองไทยแข็งแรง รัฐบาลได้ประกาศให้ “ เมืองไทยแข็งแรง ” โดยกำหนด เป้าหมายให้คนไทยแข็งแรงถ้วน หน้า ในปี
ผังจุดหมายปลายทางการจัดการสุขภาพ จังหวัดสุรินทร์ ภายในปี 2555
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ NATIONAL HEALTH SECURITY OFFICE การบริหารงบกองทุนฯ ปีงบประมาณ 2555 เสนอในการประชุมชี้แจงจังหวัด ระหว่างวันที่ 5-6 ตุลาคม.
และแนวทางการตรวจราชการ คณะที่ 1 : การพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย
มโนทัศน์เกี่ยวกับการพยาบาลผู้สูงอายุ
กลุ่มที่ 5 และกลุ่มที่ 12. สรุปกระบวนการและ ข้อเสนอแนะ การนิเทศ รพ. สต. รอบที่ 1 เป็นแนวคิดที่เน้นการนิเทศงานแบบ กระบวนการทำงานของแต่ละพื้นที่ ซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัว.
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550
กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
“สังคมคุณภาพเพื่อผู้สูงอายุ”
การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต
แผนที่ยุทธศาสตร์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ใบสำเนางานนำเสนอ:

นวัตกรรมการจัดการ ฐานข้อมูลคนพิการในชุมชน ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข การประชุมบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการเสริมสร้างระบบการดูแลสุขภาพคนพิการระดับตำบลและจังหวัด 11 กุมภาพันธ์ 2557

ประเทศไทยให้ความสำคัญกับคนพิการ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 กล่าวถึงการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเสมอภาคของบุคคล การห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ ระบุสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวก และความช่วยเหลือจากรัฐ การสงเคราะห์และจัดสวัสดิการแก่คนพิการ การให้รัฐต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับนานาประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ

พรบ.ส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ 2550 ระบุว่า คนพิการ หมายถึงบุคคลที่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องและมีอุปสรรคด้านต่าง ๆ แบ่งประเภทความพิการออกเป็น 6 ประเภท ความพิการทางการเห็น ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม หรือออทิสติก ความพิการทางสติปัญญา ความพิการทางการเรียนรู้ ผู้บริหาร อปท. ควรคำนึงถึงความพิการว่ามีหลายประเภท และมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน นำไปสู่ปัญหาและ ความต้องการด้านสุขภาพที่แตกต่างกัน

สิทธิขั้นพื้นฐานของคนพิการ สิทธิด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการและสื่อส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อปรับสภาพทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้น รายละเอียดสิทธิ 26 รายการ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข “การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการสำหรับคนพิการ” ซึ่งประกาศเมื่อปี 2552

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2550 ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ 2552 ให้ความสำคัญกับความเป็นธรรม และความเท่าเทียมกันในสังคม มีสาระที่ครอบคลุมการพัฒนาระบบที่จะตอบสนองความจำเป็นอันเกิดจากการมีความพิการ

การประกันสุขภาพคนพิการ พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 และพรบ.ประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน 2534 มีหลักการที่ครอบคลุมเรื่องความพิการ การฟื้นฟูสมรรถภาพไว้ชัดเจนระดับหนึ่ง แต่ในทางปฏิบัติรูปธรรมสิทธิประโยชน์ การบริหารจัดการและกลไกการจ่ายค่าบริการตามสิทธิ ยังมีความแตกต่างเหลื่อมล้ำ สิทธิในอัตราการเบิกจ่ายค่าเครื่องช่วยฟังที่ต่างกัน ค่าบริการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่กองทุนหนึ่งให้วงเงินเพียง 2,000 บาท/เดือน ในขณะที่อีกกองทุนหนึ่งให้สถานพยาบาลเบิกได้ตามรายการที่ให้บริการจริง กลไกการจ่ายที่กองทุนหนึ่งให้คนพิการต้องสำรองจ่ายก่อนแล้วนำใบเสร็จไปเบิกคืนภายหลัง ทำให้คนพิการเข้าไม่ถึงบริการจำเป็นบางอย่างที่มีราคาแพง เช่น ขาเทียมระดับเหนือเข่า รถนั่งคนพิการ ในขณะที่อีกกองทุนหนึ่งสามารถรับบริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่งผลให้คนพิการไม่สามารถเข้าถึงสิทธิได้อย่างเป็นธรรม และในหลายๆความจำเป็นก็ยังไม่มีหรือมีบริการไม่เพียงพอ

การจดทะเบียนคนพิการ 19 ปีมาแล้วที่รัฐเริ่มดำเนินการจดทะเบียนคนพิการเพื่อรับสิทธิขั้นพื้นฐาน มีคนพิการที่จดทะเบียนเพื่อรับสิทธิตามกฎหมายแล้วประมาณล้านกว่าคนซึ่งคิดเป็นเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนคนพิการ ชี้ชัดถึงกลไกการเข้าถึงสิทธิและบริการที่ยังขาดประสิทธิภาพ สถานการณ์นี้สามารถยืนยันได้จากภาพและเรื่องราวคนพิการที่ถูกทอดทิ้งอยู่กับความทุกข์ ที่เผยแพร่ทางสื่อโทรทัศน์เป็นประจำสม่ำเสมอ

การพัฒนาสุขภาพคนพิการ ไม่สามารถบรรลุผลได้โดยการพัฒนาที่ระบบบริการเท่านั้น แต่ยังต้องร่วมกันพัฒนาให้มีระบบสวัสดิการและบริการทางสังคมที่เหมาะสมในชุมชนที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริงด้วย ปัจจุบันสิทธิและสวัสดิการของรัฐที่มีให้กับคนพิการ ได้แก่ เบี้ยความพิการ 500 บาทต่อเดือน (600 บาท หลังตุลาคม 2556) สำหรับคนพิการตามกฎหมายทุกคน สิทธิในการกู้ยืมเงินประกอบอาชีพอิสระ โดยปลอดดอกเบี้ย 5 ปี และสิทธิในการได้รับเงินสงเคราะห์ครอบครัว

สิทธิและสวัสดิการอื่นๆ บริการผู้ช่วยเหลือกรณีคนพิการรุนแรงที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ บริการปรับสภาพบ้านให้เอื้อต่อการใช้ชีวิตของคนพิการ บริการดูแลกรณีไร้ที่พึ่งพิงในรูปแบบ Group Home หรือ Home Care การให้เงินอุดหนุนครอบครัวรายเดือนในการดูแลคนพิการรุนแรงที่บ้านตลอดชีวิต บริการล่ามภาษามือสำหรับช่วยการเข้าถึงบริการที่จำเป็นของคนหูหนวก ได้มีการจัดทำระเบียบและหลักเกณฑ์บ้างแล้ว แต่ยังไม่เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

ปัญหาการเข้าถึงบริการที่จำเป็น ของคนพิการ จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์การทำงานเชิงรุกอย่างมาก และต้องใช้ชุมชนที่อยู่อาศัยจริงของคนพิการ ต้องมีความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน ท้องถิ่น ครอบครัว และองค์กรคนพิการ เพื่อพัฒนาระบบจึงจะทำให้การฟื้นฟูสมรรถภาพ ไปสู่ผลลัพธ์ที่คนพิการจะสามารถใช้ชีวิตที่มีส่วนร่วมในสังคมได้จริง

ระบบยังขาดการเชื่อมต่อฐานข้อมูล คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัด ภายใต้คกก.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ตาม พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 2550 มีการทำแผนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัดแบบบูรณาการอย่างมีส่วนร่วม (แผนสามปี) มีครบทุกจังหวัด มีการจัดสรรงบประมาณเบื้องต้นจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในอัตรา 0.5 บาท/ประชากรพิการที่จดทะเบียน แต่ยังขาดการเชื่อมฐานข้อมูลบริการคนพิการจากหน่วยงานด้านสังคม สาธารณสุข ศึกษา แรงงาน และท้องถิ่น ที่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อบริการคนพิการ ขาดการลงทุนร่วมกันเพื่อพัฒนาอย่างเป็นระบบ ขาดตัวชี้วัดและกลไกการติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ

อปท. กับคนพิการ มาตรา 21 แห่ง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ บัญญัติว่า “เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ข้อกำหนด ระเบียบ หรือประกาศ แล้วแต่กรณีให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้” ได้รับการนำลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ผลการสุ่มสำรวจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 170 แห่ง จะพบว่าเพียง 18 แห่ง มีการดำเนินการรวม 26 ฉบับ ประเด็นที่ดำเนินการครึ่งหนึ่งเป็นเรื่องเบี้ยยังชีพและกองทุนคนพิการ หนึ่งในสามเป็นเรื่องงบประมาณประจำปี ร้อยละ 11 เป็นเรื่องการจัดบริการคนพิการ เช่น การเดินทาง ร้อยละ 5 เป็นการดำเนินการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางสังคม 90 แห่งใน 170 แห่งมีการทำแผนงานด้านคนพิการ ควรมีกลไกความร่วมมือเพื่อกระตุ้นการใช้ประโยชน์จากมาตรานี้ให้มากขึ้น

ควรมีการเชื่อมต่อฐานข้อมูลคนพิการ เชื่อมต่อฐานข้อมูลคนพิการระหว่างหน่วยงานหลัก พม.จังหวัด สสจ. สำนักงานประกันสังคมจังหวัด อปท. สถานศึกษา สถานพยาบาล สถานที่ทำงานองค์กรคนพิการ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถติดตามการให้บริการสุขภาพ เพื่อเชื่อมต่อและติดตามผลลัพธ์บริการสุขภาพกับ บริการทางสังคมและสวัสดิการ บริการทางการศึกษา และทางด้านอาชีพที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง โดยมีพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเป็นหน่วยประสานงานหลัก

ตอบสนองความจำเป็นของคนพิการ ฐานข้อมูลจะช่วยให้ผู้รับผิดชอบงานด้านสุขภาพคนพิการพิจารณาตอบสนองปัญหาความจำเป็นด้านสุขภาพเฉพาะ ตามแต่ประเภทความพิการ และเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพ จัดให้มีบริการที่เพียงพอ ทั้งด้านการสร้างเสริมสุขภาพโดยเฉพาะการตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจในส่วนที่เกี่ยวกับความพิการและการตรวจสุขภาพทั่วไป การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสมรรถภาพ และอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการที่จำเป็น รวมทั้งการส่งต่อเพื่อการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพตามแต่กรณี

การเสริมสร้างระบบการดูแลสุขภาพ คนพิการระดับตำบลและจังหวัด อบจ. 76 แห่ง เทศบาล 2,283 แห่ง อบต. 5,492 แห่ง ผู้บริหาร/ปลัด ผอ.กองสวัสดิการสังคม/หัวหน้าฝ่ายสวัสดิการฯ ผู้รับผิดชอบงานด้านสาธารณสุข จะเสริมสร้างระบบการดูแลสุขภาพคนพิการอย่างไร หากไม่มีฐานข้อมูลคนพิการในขอบเขตพื้นที่ที่ตัวเองรับผิดชอบ

ทำไมต้องมีฐานข้อมูลคนพิการ เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคนพิการ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและนำผลที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในชุมชนท้องถิ่น เพื่อบูรณาการการจัดการข้อมูลคนพิการของทุกหน่วยงาน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการจัดตั้งกองทุนดูแลคนพิการและคนด้อยโอกาส

เก็บข้อมูลอย่างไร จัดทำแบบสอบถาม ใครคือกลุ่มเป้าหมาย กำหนดขอบเขต ลงชุมชนเพื่อเก็บข้อมูล คีย์ข้อมูลและวิเคราะห์ แปลผลที่ได้และนำข้อมูลมาใช้

รายงานอย่างไร รายงานคนพิการ แยกตามพื้นที่ รายงานคนพิการ แยกตามประเภท http://www.ข้อมูลชุมชน.com

ได้ข้อมูลจากฐานข้อมูลแล้วเอาไปทำอะไรต่อ นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการให้บริการกับคนพิการ การปรับสภาพบ้าน การทำห้องน้ำเพื่อให้สามารถจัดการเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระได้ด้วยตนเอง รองลงมาคือการเคลื่อนย้ายตัวเองภายในบ้าน เช่น ทำราวจับ หรือการทำทางลาดเพื่อให้คนพิการสามารถเข็นรถเข็นเข้าบ้านได้ด้วยตัวเอง การศึกษา บางคนพิการจึงไม่สามารถเรียนได้ ท้องถิ่นควรหาทางสนับสนุน การทำงาน การฝึกอาชีพเพื่อให้ประกอบอาชีพได้ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การได้รับสิทธิประโยชน์ (อ้างอิงงานวิจัยทบทวนวรรณกรรมและพัฒนาเครื่องมือประเมินความพิการ นครพนม หน้า 86)

นวัตกรรม ระบบฐานข้อมูล FAP เป็นโปรแกรมระบบฐานข้อมูลสุขภาวะชุมชน (Family and Community Assessment Program: FAP) ที่ทดลองใช้ใน อบต.ปากพูน ระบบฐานข้อมูล TCNAP (Thailand Community Network Appraisal Program : TCNAP) ของสสส. ที่ใช้ในตำบลสุขภาวะ

เทศบาลตำบลขุนทะเล อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช เทศบาลตำบลขุนทะเล อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ มีจำนวนมากกว่า 200 คนในพื้นที่ หลายฝ่ายเห็นความสำคัญของการดูแลผู้พิการ ออกแบบกิจกรรมต่างๆ เช่น การวางแผนให้มีการเก็บข้อมูลและขึ้นทะเบียนผู้พิการ จัดทำหลักสูตรและจัดอบรมฝึกฝนอาชีพให้แก่ผู้พิการ การจัดสวัสดิการสำหรับผู้พิการ ตั้ง “ชมรมผู้พิการและผู้สูงอายุ” ขึ้น เกิดกลุ่มอาสาผู้พิการ ตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ผู้พิการขึ้น โดยกลุ่มอาสาเก็บเงินวันละ 1 บาท จากญาติผู้พิการเพื่อนำมาเป็นสวัสดิการเวลาเจ็บป่วย มีการออกเยี่ยมบ้าน ตัดผม ทำความสะอาดบ้านให้ผู้พิการ

นวัตกรรม การนวดสมุนไพร ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพคนพิการ กิจกรรมส่งเสริมผู้พิการเชิงรุก เยี่ยมบ้านผู้ป่วย

สอ./รพ.สต.ถ่ายโอน สอ. / รพ.สต. ถ่ายโอนจาก สธ. ไป อปท. หลายแห่งมีการจัดการข้อมูลพิการ อบต. ปากพูน อบต. ดอนแก้ว อบต. นาพู่ อบต.บ้านปรก เทศบาลบึงยี่โถ เทศบาลบ้านฆ้อง

ตัวอย่างการพัฒนาระบบฐานข้อมูลคนพิการ อ.นาหม่อม จ.สงขลา ตัวอย่างการพัฒนาระบบฐานข้อมูลคนพิการ อ.นาหม่อม จ.สงขลา วัตถุประสงค์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลคนพิการ(มีบัตรประจำตัวคนพิการ) และเฝ้าระวังคนพิการที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวคนพิการ อาจจะอยู่ในช่วงของการฟื้นฟูสมรรถภาพในลักษณะรายบุคคล จัดเก็บข้อมูลในลักษณะของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ-สกุล, อายุ, เพศ, ที่อยู่, สิทธิการรักษาพยาบาล, สวัสดิการที่ได้รับ (ด้านการแพทย์, สังคม, อาชีพ, การศึกษา) บูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างมูลนิธิชุมชนสงขลา ร่วมกับองค์กรคนพิการ, สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา, สสจ. และอปท. จัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเรียกดูข้อมูลของคนพิการแต่ละรายได้ ผ่านทางเว็บไซต์

เครือข่ายองค์กรคนพิการ รัฐ-ท้องถิ่น-เอกชน นำร่อง… เครือข่ายองค์กรคนพิการ รัฐ-ท้องถิ่น-เอกชน นำร่อง… พัฒนาฐานข้อมูลติดตามผลลัพธ์และผลกระทบการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพคนพิการ จ.นครพนม เพื่อแก้ไขปัญหาคนพิการอย่างเป็นระบบทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม สปสช. เขต 8 อุดรธานี สสจ.นครพนม อบจ. สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม ศูนย์การศึกษาพิเศษ นครพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนมเขต 1 สมาคมคนพิการ จ.นครพนม

สปสช.ใช้ฐานข้อมูลคนพิการ สปสช.ใช้ฐานข้อมูลคนพิการ ท.74 ในระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลจากส่วนกลาง หากสามารถพัฒนาระบบฐานข้อมูลในระดับจังหวัด ทุกหน่วยงานเกี่ยวข้องจะสามารถดูแลคนพิการได้ครอบคลุมครบวงจรมากขึ้น ทั้งในด้าน สาธารณสุข การศึกษา อาชีพ สวัสดิการต่างๆทางสังคมที่พึ่งได้รับตามสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน

อปท. จัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (1) ท้องถิ่นให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการด้านสุขภาพ ฝึกอบรมการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการมองเห็น โดยองค์กรของคนตาบอด อบรมเพื่อการฟื้นฟูทักษะการสื่อสารหรือการสอนภาษามือให้กับ คนหูหนวกที่ไม่รู้หนังสือและขาดโอกาสเข้ารับการศึกษาในระบบการศึกษาพิเศษ สอนภาษามือให้กับบุคลากรทางสาธารณสุข เพื่อให้คนหูหนวกได้รับบริการโดยสะดวก

อปท. จัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (2) อบรมพัฒนาศักยภาพของผู้บกพร่องทางจิตและผู้ดูแล อบรมเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพการเรียนรู้ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มเด็กออทิสติก ปัญญาอ่อน หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายด้วยวิธีการต่างๆ เพิ่มศักยภาพในการดูแลให้กับผู้ปกครองคนพิการ ให้มีความรู้ในการดูแลคนพิการแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง อบรมอาสาสมัครช่วยดูแลคนพิการในระดับพื้นที่ที่ดำเนินการโดยองค์กรคนพิการ โดยประสานความร่วมมือระหว่างท้องถิ่นและหน่วยบริการในพื้นที่ อบรมเพิ่มศักยภาพในการดูแลช่วยเหลือตนเองของคนพิการเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างอิสระและมีศักดิ์ศรี สนับสนุนการให้คำปรึกษาฉันท์เพื่อนระหว่างคนพิการ ในลักษณะของการจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาและลักษณะของการลงพื้นที่สำรวจและ ให้คำปรึกษา

การจัดการข้อมูล เข้าใจความหมายหรือคำนิยาม บริการด้านสุขภาพ หมายถึง การจัดฝึกอบรมให้ความรู้ / การออกหน่วยเคลื่อนที่ / จัดให้มีหน่วยเคลื่อนที่สำหรับบริการพยาบาลแบบฉุกเฉินและอื่นๆ ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันและสร้างความเข้มแข็งด้านองค์กรคนพิการ หมายถึง ส่งเสริมให้มีการรวมตัวเป็นชมรมคนพิการ ผู้ดูแล และภาคีเครือข่าย / จัดให้มีการจัดกิจกรรมด้านสวัสดิการสังคม ส่งเสริมอาชีพหรือรายได้ของคนพิการ หมายถึง จัดฝึกอบรมวิชาชีพให้ความรู้ในอาชีพต่างๆ / ประสานกับสถานประกอบการเพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการเข้าทำงานและอื่นๆ บริหารจัดการระบบพัฒนาคุณภาพชีวิต หมายถึง การจัดทำฐานข้อมูลคนพิการ / การประชาสัมพันธ์ให้คนพิการได้รับทราบถึงสิทธิของตนเองในการเข้าถึงบริการของรัฐ / จัดให้มีอาสาสมัครดูแลคนพิการ / มีการจ่ายเงินเบี้ยความพิการแก่คนพิการ/ เปิดโอกาสให้คนพิการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นและอื่นๆ

จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ.... การจัดให้คนพิการ และผู้ดูแลเข้าร่วมฝึกอาชีพและอบรมให้มีความรู้ในอาชีพ ฝึกอาชีพกับกลุ่มอาชีพที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น ให้ความรู้ในการประกอบอาชีพด้านฝีมือแรงงาน เช่น การนวดแผนโบราณ การประดิษฐ์ดอกไม้ ให้ความรู้ในการประกอบอาชีพอิสระ เช่น การเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เย็บผ้า แนะนำแหล่งเงินทุนสำหรับประกอบอาชีพให้แก่คนพิการ

จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ.... สิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการให้เข้าถึงและใช้ประโยชน์ ห้องน้ำสำหรับคนพิการในอาคารสำนักงาน ตลาดสด หรือสถานที่สาธารณะของ อบต. เทศบาล อบจ. ทางเดินลาดพร้อมราวจับสำหรับคนพิการ ในอาคาร สถานที่ของ อบต. เทศบาล อบจ. การให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้าน ที่อยู่อาศัยให้มีความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ

จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ.... ข้อมูลข่าวสารที่ อบต. เทศบาล อบจ. ประชาสัมพันธ์ สื่อสารให้คนพิการได้รับทราบถึงสิทธิของตนเองในการเข้าถึงบริการ การจดทะเบียนคนพิการ เพื่อให้มีสิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์และการช่วยเหลืออื่นจากรัฐ โดยใช้สื่อที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ เช่น หอกระจายข่าว แผ่นพับ หรือโปสเตอร์ขนาดใหญ่ สิทธิในการขอรับเงินเบี้ยความพิการ สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการสังคมตามกฎหมาย สิทธิในการได้รับบริการการศึกษา สิทธิในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นตามกฎหมาย

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ kb.hsri.or.th www.hsri.or.th ขอบคุณค่ะ