การเขียนเกณฑ์การประเมิน (Rubric) หลักสูตร 3 ชั่วโมง หน่วยที่ 5 การเขียนเกณฑ์การประเมิน (Rubric)
เกณฑ์การประเมิน (Rubric) คืออะไร
องค์ประกอบของเกณฑ์การประเมิน (Rubric) 1.เกณฑ์หรือประเด็นที่จะประเมิน (criteria) เป็นการพิจารณาว่าการปฏิบัติงานหรือผลงานนั้นประกอบด้วยคุณภาพอะไรบ้าง 2.ระดับความสามารถหรือระดับคุณภาพ (Performance Level) เป็นการกำหนดจำนวนระดับของเกณฑ์ (criteria)ว่าจะกำหนดกี่ระดับ ส่วนมากจะกำหนดขึ้น 3-6 ระดับ
เกณฑ์การประเมิน (Rubric) มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ 3.การบรรยายคุณภาพของแต่ละระดับความสามารถ (Quality Description) เป็นการเขียนคำอธิบายความสามารถให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนในแต่ละระดับ ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการตรวจให้คะแนน
ชนิดของเกณฑ์การประเมิน (Rubric) เกณฑ์การประเมินแบบภาพรวม (Holistic Rubric) เกณฑ์การประเมินแบบแยกส่วน (Analytic Rubric)
เกณฑ์การประเมินแบบภาพรวม (Holistic Rubric) เป็นการประเมินภาพรวมของการปฏิบัติงานหรือผลงาน โดยดูคุณภาพโดยรวมมากกว่าดูข้อบกพร่องส่วนย่อย การประเมินแบบนี้เหมาะกับการปฏิบัติที่ต้องการให้นักเรียนสร้างสรรค์งานที่ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องชัดเจนแน่นอน ผู้ประเมินต้องอ่านหรือพิจารณา ผลงานให้ละเอียด ส่วนใหญ่มักกำหนดระดับคุณภาพอยู่ที่ 3-6 ระดับ
เกณฑ์การประเมินแบบแยกส่วน (Analytic Rubric) เป็นการประเมินที่ต้องการเน้นการตอบสนองที่มีลักษณะเฉพาะ ไม่เน้นความคิดสร้างสรรค์ ผลลัพธ์ขั้นต้นจะมีคะแนนหลายตัว ตามด้วยคะแนนรวม ใช้เป็นตัวแทนของการประเมินหลายมิติ เกณฑ์การประเมินแบบนี้จะได้ผลสะท้อนกลับค่อนข้างสมบูรณ์ เป็นประโยชน์สำหรับผู้เรียนและผู้สอนมาก ผู้สอนที่ใช้เกณฑ์การประเมินแบบแยกส่วนนี้ จะสามารถสร้างเส้นภาพ (Profile) จุดเด่น-จุดด้อย ของผู้เรียนแต่ละคนได้
ประโยชน์ของเกณฑ์การประเมิน (Rubric) 1.ช่วยให้ความคาดหวังของครูที่มีต่อผลงานของผู้เรียน บรรลุความสำเร็จ 2.ช่วยให้ครูเกิดความชัดเจนว่าต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อะไรบ้าง 3.ผู้เรียนสามารถใช้เกณฑ์การประเมินตัดสินคุณภาพผลงานของตนเอง 4.ผู้เรียนระบุคุณลักษณะจากงานที่เป็นตัวอย่างได้โดยใช้เกณฑ์การประเมินตรวจสอบ 5.ผู้เรียนสามารถควบคุมตนเองในการปฏิบัติงานเพื่อไปสู่ความสำเร็จได้ 6.เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการปฏิบัติงานต่างๆ ของผู้เรียน
ประโยชน์ของเกณฑ์การประเมิน (Rubric) 7.ช่วยลดเวลาของครูผู้สอนในการประเมินงานของผู้เรียน 8.ช่วยเพิ่มคุณภาพผลงานของผู้เรียน 9.สามารถยืดหยุ่นตามสภาพของผู้เรียน 10.ทำให้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เข้าใจในเกณฑ์การตัดสินผลงานผู้เรียน ที่ครูใช้ในการให้เหตุผลประกอบการให้ระดับคุณภาพ
ขั้นตอนการสร้างเกณฑ์การประเมิน (Rubric) 1.วิเคราะห์และระบุตัวชี้วัด 2.อธิบายคุณลักษณะ ทักษะหรือพฤติกรรมที่ผู้สอนต้องการ 3.กำหนดระดับคุณภาพว่าจะใช้กี่ระดับ 4.อธิบายลักษณะการปฏิบัติของแต่ละระดับคุณภาพ 5.ทบทวนเกณฑ์การประเมินที่ทำแล้ว ว่ามีความต่อเนื่องหรือไม่ และเกณฑ์แต่ละระดับต้องขาดจากกัน
ข้อสังเกต เกณฑ์การประเมินจะต้องมีหลักฐานแสดงให้เห็นถึงความเที่ยงตรงของการพิจารณาผลงานออกมาในรูปของระดับคะแนนที่เป็นตัวแทนของพฤติกรรมให้เป็นรูปธรรมที่ปกติไม่สามารถมองเห็นได้ง่าย ดังนั้น เกณฑ์การประเมินจะต้อง... 1. สะท้อนให้เห็นถึงการวิเคราะห์ผลงานตามระดับความสามารถต่างๆกัน 2. อธิบายคุณภาพของการปฏิบัติงานไม่ใช่ปริมาณงาน 3.เน้นเกณฑ์การแสดงออกตามสภาพจริง