เรื่อง การบริหารจิตเพื่อสุขภาพ จัดทำโดย นาย ภัทรพงศ์ สินเติม โครงงาน เรื่อง การบริหารจิตเพื่อสุขภาพ จัดทำโดย นาย ภัทรพงศ์ สินเติม
การฝึกจิต พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องการฝึกจิตเป็นสำคัญ เพราะมนุษย์มีจิตเป็นตัวนำการ กระทำทุกอย่าง จะต้องมีการพิจารณา คิดนึกตรึกตรองเสียก่อน การฝึกจิตหรือการ บริหารจิต จึงเป็นการกระทำเพื่อให้จิตมีสภาพตั้งมั่น มีสติระลึกได้ มีสัมปชัญญะ รู้สึกตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา การบริหารจิต คือ การฝึกฝนอบรมจิตใจให้ดีงาม นุ่มนวล อ่อนโยน มีความหนักแน่นมั่นคง แข็งแกร่งและมีความผ่อนคลายสงบสุข การบริหาร จิตในทางพุทธศาสนามี 2 อย่าง 1.สมถกรรมฐานหรือสมาธิภาวนา คือการฝึกจิตให้เกิดความสงบ เรียกว่า สมาธิ 2.วิปัสสนากรรมฐาน คือการฝึกอบรมจิตให้เกิดปัญญา เป็น ความรู้แจ้งเห็นจริงตามสภาพที่เป็นจริง
การบริจิต ผลของการบริหารจิต ทำให้เป็นคนที่มีสุขภาพจิตดี มีความรู้ความเข้าใจโลกและ ชีวิตได้ถูกต้อง คนเช่นนี้ไม่ว่าจะทำอะไรย่อมประสบความสำเร็จ อยู่ที่ใดก็ ได้รับความสุขสงบแห่งจิตใจ เมื่อเผชิญกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ก็สามารถเอา ตัวรอดได้ ไม่คิดสั้น การบริหารจิตตามหลักพระพุทธศาสนามีวิธีปฏิบัติมากถึง 40 วิธี แต่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้ฝึกปฏิบัติการบริหารจิตตามหลักสติปัฏ ฐาน 4
สติปัฏฐาน สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติ หมายถึง การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็น จริง คือตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมันเอง 1.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย ให้ รู้เห็นตามเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลเราเขา มีวิธีปฏิบัติหลายวิธี คือ - อานาปานสติ การกำหนดลมหายใจเข้าใจ - อิริยาบถ การกำหนดรู้ทันอาการยืน เดิน นั่ง นอน - สัมปชัญญะ การสร้างสัมปชัญญะในการกระทำความ เคลื่อนไหวทุกอย่างของกาย - ปฏิกูลมนนิการ การพิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาด ทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนนี้ - ธาตุมนสิการ การพิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็น ธาตุแต่ละอย่างๆ
บริหรจิต วิธีการบริหารจิต กล่าวเฉพาะการตั้งสติกำหนดพิจารณากายในอิริยาบถนั่ง โดย การกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ที่เรียกว่า อานาปานสติ
การปฏิบัติ ขั้นตอนปฏิบัติ 1.นั่งท่าสมาธิ คือ นั่งขัดตะหมาด เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาวาง ทับมือซ้าย ตั้งตัวตรง ดำรงสติมั่น 2.หลับตาหรือลืมตาก็ได้ อย่างไหนได้ผลดีก็ปฏิบัติอย่างนั้น 3.กำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออก ลมหายใจกระทบตรงไหนก็รู้ชัดเจน ให้กำหนดตรงจุดนั้น 4.เมื่อลมหายใจ-ออก จะกำหนดภาวนาด้วยหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ บุคคลที่ปฏิบัติ 5.ปฏิบัติไปเรื่อยๆ จนได้เวลาพอควรแก่ร่างกาย จึงออกจากการ ปฏิบัติ 6.แผ่เมตตาให้ตนเองและสรรพสัตว์ทั้งหลาย
คำคม อำนาจที่ปราศจากเหตุผล คือ อำนาจของคนพาล อำนาจที่ปราศจากความ เมตตา คือ อำนาจที่นำมาซึ่งความปราชัย