โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ไพจิต เปล่งเสียง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ผู้ป่วยที่เริ่มรับยาต้านในปี 2551 89 ราย จำนวนแฟ้มที่ review 88 ราย
การวางแผนและการประสานงานการเก็บข้อมูลภายในทีม - เมื่อประชุมกลับมาได้แจ้งทีมทราบคร่าวๆ ว่าจะมีการมาเก็บตัวชี้วัดสัญญาณเตือนการเกิดเชื้อดื้อยาตามวันเวลาที่ได้รับการประสาน - เตรียมข้อมูลผู้ป่วยที่เริ่มยาต้านรายใหม่ในปี 2551 - จัดเตรียมโอพีดีการ์ดและแฟ้มผู้ป่วยแยกไว้
การวางแผนและการประสานงานการเก็บข้อมูลภายในทีม - ประสานงานกับทีมเก็บข้อมูลเรื่อง วัน เวลา จัดเตรียมสถานที่ และเตรียมเรื่องอาหารกลางวันและอาหารว่าง - เมื่อทีมงานไปถึงโรงพยาบาลพาทีมไปพบและรายงานภารกิจกับผู้อำนวยการ - เตรียมทีมต้อนรับ และอำนวยความสะดวกเรื่องเอกสารต่างๆ
สิ่งที่พบจากการเก็บข้อมูล ภาคสนาม เอกสารในแฟ้มเก่าและหนามาก เนื่องจากแบบฟอร์มมีหลายแผ่นต่อการรับยาแต่ละครั้ง รพศ. เป็นช่วงเวลาที่ปรับเปลี่ยนทีมงานบุคลากรมีจำนวนจำกัด ผู้บันทึกข้อมูลเป็นผู้ที่ไม่ได้รับผิดชอบงาน เมื่อได้รับคำสั่งให้มาช่วยจึงไม่เห็นความสำคัญของการบันทึกข้อมูลให้ครบถ้วน ประกอบกับหัวข้อในการพูดคุยให้คำปรึกษามีจำนวนมาก
สิ่งที่พบจากการเก็บข้อมูล ภาคสนาม จำนวนผู้ป่วยมากกว่า 100 คนต่อวัน บ่อยครั้งที่ผู้รับผิดชอบติดประชุม แต่ละรพ.แบบฟอร์ม บันทึกไม่เป็นแนวทางเดียวกัน รพช.ที่ใช้โปรมแกรมเก็บข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ดึงข้อมูลง่ายและชัดเจน
ผลการเก็บข้อมูล ผู้ป่วย 88 ราย ผลการเก็บข้อมูล ผู้ป่วย 88 ราย - กินยาครบ 1 ปี ร้อยละ 98.7 - ไม่มารับการติดตาม ร้อยละ 4.5 - โอนย้ายร้อยละ 5.7 - ตาย ร้อยละ 6.8 - adherence <95% ร้อยละ 19.3 - ไม่ได้ประเมิน ร้อยละ 28.4 - กินยาครบ 1 ปี ระดับ VL <50 ร้อยละ 63 - ไม่ได้ตรวจร้อยละ 6.8
การลงข้อมูลและระยะเวลาลงในโปรแกรม หลังจากเก็บข้อมูลแล้ว ส่งให้เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลลงโปรแกรมสำเร็จรูป ใช้เวลาประมาณ 4 - 5 วัน รวมทั้งตรวจสอบความถูกต้องและอื่นๆ
ค่าตัวชี้วัด สามารถบอกอะไรต่อผู้ให้บริการ ผู้ป่วยที่มารับบริการส่วนใหญ่เริ่มยาสูตรแรกร้อยละ 98.9 (เป้าหมายร้อยละ 100 ) เป็นผู้ป่วยใหม่เป็นส่วนใหญ่ แต่มีผู้ป่วยที่เริ่มด้วยสูตรอื่นร้อยละ 1.1 (เป้าหมายร้อยละ 0 ) มีผู้ป่วยขาดการติดตามในช่วง 12 เดือนแรกร้อยละ 9.2(เป้าหมายร้อยละ 20 ) คิดถึงการติดตามหลังเริ่มยา และการเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มยา
ค่าตัวชี้วัด สามารถบอกอะไรต่อผู้ให้บริการ ผู้ป่วยที่รับยาถึง 12 เดือน ร้อยละ 81.6 (เป้าหมายร้อยละ > 80 ) ผู้ป่วยที่รับยาสูตร1 ถึง 12 เดือน ร้อยละ 78.2 (เป้าหมายร้อยละ >70 ) ผู้ป่วยได้รับยาเพียงพอและต่อเนื่องร้อยละ 58 (เป้าหมายร้อยละ >90 )ทีมไม่แน่ใจว่าผู้เก็บข้อมูลกับเอกสารการบันทึกเข้าใจตรงกัน เพราะตัวเลขต่ำมาก
การวิเคราะห์เหตุผล ผู้ป่วยได้รับยาเพียงพอและต่อเนื่องร้อยละ 58 (เป้าหมายร้อยละ >90 )ทีมไม่แน่ใจว่าผู้เก็บข้อมูลกับเอกสารการบันทึกเข้าใจตรงกัน เพราะตัวเลขต่ำมาก ผู้ป่วยที่มาตรงตามนัด ทุกครั้งใน 2 เดือนแรก ร้อยละ 52.3 (เป้าหมายร้อยละ >80 )
รูปแบบการเก็บข้อมูล การให้บริการ แนวทางการติดตาม สอบถามวันเวลาความสะดวกที่ผู้ป่วยสามารถมารับ ยาได้จริง พูดคุยสอบถามปัญหาการมารับยาครั้งต่อไปในผู้ป่วยแต่ละราย วางแผนโทรติดตามหลังเริ่มยา 3 วัน เพื่อประเมินสภาพผู้ป่วย และส่งแกนนำติดตามเยี่ยมบ้าน แจ้งประชาสัมพันธ์เรื่องการมาตรวจให้ตรงตามนัด
การวางแผนการดำเนินงานในพื้นที่ เน้นการเข้ากลุ่มเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มยา การติดตามเยี่ยมบ้านในกลุ่มเสี่ยงต่อการขาดนัด การประชาสัมพันธ์ ปรับปรุงแบบฟอร์มการนับยาให้เข้าใจตรงกัน
THANK YOU.