สมรรถนะการทำงาน ดร. จักรพงศ์ สุวรรณรัศมี
การทำงาน เมื่อมีโอกาส และมีงานทำ ควรเต็มใจโดยไม่จำเป็นต้องตั้งข้อแม้ หรือเงื่อนไขใดไว้ให้เป็นเครื่องกีดขวาง คนที่ทำงานได้จริงๆนั้น ไม่ว่าจะจับงานสิ่งใด ย่อมทำได้เสมอ ถ้ายิ่งมีความเอาใจใส่ มีความขยัน และความซื่อสัตย์สุจริต ก็ยิ่งช่วยให้ประสบความสำเร็จในงานที่ทำสูงขึ้น (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรวิทยาลัยเทคโนโลยี และอาชีวศึกษา 8 กรกฎาคม 2530)
ทำต่อไป….เดินไปข้างหน้า…. Forward ทำต่อไป….เดินไปข้างหน้า….
สมรรถนะการทำงาน 1. สมรรถนะหลัก ( Core Competency) คุณลักษณะร่วมของข้าราชการทุกตำแหน่ง กำหนดขึ้นเพื่อหล่อหลอมค่านิยม และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ร่วมกันเป็นวัฒนธรรมขององค์กร 2. สมรรถนะประจำสายงาน ( Functional Competency) กำหนดขึ้นเฉพาะสำหรับแต่ละกลุ่มงานเพื่อสนับสนุนให้ข้าราชการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมแก่หน้าที่และส่งเสริมให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น
สมรรถนะหลัก ก.ค.ศ. กำหนด ๔ สมรรถนะ ๑. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ( Achievement Motivation ) ๒. การบริการที่ดี ( Service Mind ) ๓. การพัฒนาตนเอง ( Expertise ) ๔. การทำงานเป็นทีม ( Teamwork )
สมรรถนะประจำสายงาน ๑. การคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ( Analytical & Conceptual Thinking ) ๒. การสื่อสารและการจูงใจ ( Communication & Influencing ) ๓. การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ( Caring & Development Others ) ๔. การมีวิสัยทัศน์ ( Visioning )
มาตรฐานวิชาชีพ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ ในการประกอบวิชาชีพ ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพต้องประพฤติและ ปฏิบัติตาม ประกอบด้วย ๑. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน ๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน
มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ข้อกำหนดเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ในอาชีพการงาน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพต้องมีเพียงพอที่จะสามารถนำไปใช้ ในการประกอบวิชาชีพ
มาตรฐานการปฏิบัติงาน ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะหรือการแสดงพฤติกรรม การปฏิบัติงานและการพัฒนางาน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพต้อง ปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย รวมทั้งต้องฝึกฝนให้มีทักษะหรือความชำนาญสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง
มาตรฐานการปฏิบัติตน คือ จรรยาบรรณของวิชาชีพ ๑. จรรยาบรรณต่อตนเอง (วินัยในตนเอง พัฒนาตนเอง) ๒. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ (รัก ศรัทธา ซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบ) ๓. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ( ช่วยเหลือ สงเสริม เป็นแบบอย่าง ไม่เป็นปฏิปักษ์ ให้บริการด้วยความจริงใจ เสมอภาค)
มาตรฐานการปฏิบัติตน ๔. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ (ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ ยึดมั่นคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ) ๕. จรรยาบรรณต่อสังคม (พึงปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนา รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม)