ศาสนาอิสลาม.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
พระวาจา ทรง ชีวิต มีนาคม 2013.
Advertisements

การละหมาดวันศุกร์(ญุมุอะฮฺ)
สุดยอดเทคนิค (คำแนะนำ) ของฉัน
ลักษณะของครูที่ดี.
บทเรียนโปรแกรม Power Point
ความหมาย ความสำคัญของจริยธรรม
ความหมาย ความสำคัญของจริยธรรม
บุญ ๑๐ วิธี ๑ . ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญสิ่งของที่เราแบ่งปันจะเป็นประโยชน์กับบุคคลหรือชุมชนโดยส่วนรวม.
พลเมืองเรื่องดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย
พระวาจาทรงชีวิต กันยายน 2011.
เตรียมตัวผู้แทนชาว ไทย เข้าสู่ “AMC เชียงใหม่ ” “ บอกเล่าเรื่องพระ เยซูเจ้า ให้ชาวเอเชีย ” ณ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว เชียงใหม่ ตุลาคม 2006.
พระวาจา ทรง ชีวิต กรกฎาคม 2008.
บุญ.
ศาสนาขงจื้อ จริยธรรมทางสายกลาง.
พระวาจา ทรง ชีวิต ตุลาคม 2013.
พระวาจา ทรง ชีวิต มีนาคม 2014.
พระวาจาทรง ชีวิต กันยายน 2013.
ชื่อเรื่อง ไตรสิกขาพัฒนาสุขภาพจิต จัดทำโดย ด. ช
ความเชื่อในพระพุทธศาสนา ในทองถิ่นที่ดีต่อสุขภาพกาย
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
พระราชบัญญัติเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
สอนโดย อาจารย์ขวัญตา จั่นอิ๊ด โทร
บทที่ 6 ค่านิยมในสังคมไทย
พลเมืองดีตามประเพณี และวัฒนธรรมไทย
ประวัติศาสตร์ศาสนา 7 พ.ย บรรยายโดย อาจารย์สมชัย ศรีนอก.
จริยธรรมข้าราชการพลเรือน
๐๑-คุณธรรมและจริยธรรม สำหรับผู้บริหาร
HUMAN RIGHTS สิทธิมนุษยชน สำนักงานพระธรรมนูญทหารบก.
คุณธรรมสำหรับผู้ปกครอง 10 ประการ ดังนี้
การขัดกันแห่งกฎหมาย (Conflict of law)
1. Popular Sovereignty 2. Individuals Rights, Liberty, and Equality 3. Consent 4. Representation.
พระพุทธศาสนา ฝึกคนไม่ให้ประมาท.
ธรรมนูญชีวิตที่ดีงาม
คุณธรรม ***** สภาพคุณงามความดี
๒.๒.๒ ลักษณะและคำสอนสำคัญ ๑) ลักษณะสำคัญของพระพุทธศาสนา ปัญญา
ศาสนพิธี ในวิถีสังคมไทย
นักเรียนช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๒
KM ประจำเดือนตุลาคม 2550 สวัสดีค่ะ...พบกับข้อมูลข่าวสาร KM ของกองการเจ้าหน้าที่ ได้ที่นี่กันเป็นประจำ นะคะ ... และสำหรับการต้อนรับปีงบประมาณใหม่ ปี 2551.
รู้และเข้าใจเรื่องของชีวิต
ดร.สมโภชน์ นพคุณ รองเลขาธิการ ก.พ. สำนักงาน ก.พ.
ทบทวน หน่วยที่ 1 ความสำคัญของพระพุทธศาสนา 1
เกร็ดความรู้ที่เยาวชนไทยควรทราบ
พระวาจา ทรง ชีวิต มิถุนายน 2013.
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
องค์ประกอบที่ ๑ การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้
กิจวัตรและกิจกรรมในหนึ่งวันของเด็กๆ
 หลักการศรัทธาของซุนนะห์  1 - ศรัทธาต่ออัลลอฮ์  2 - ศรัทธาต่อบรรดามะลาอิกะห์  3 - ศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์  4 - ศรัทธาต่อบรรดารอซูล  5 - ศรัทธาต่อการกำหนดสภาวการณ์
สถาบันศาสนา หมายถึง แบบแผนของความคิดการกระทำในเรื่องเกี่ยวกับ จิตใจ ความเชื่อทางสังคม ทางศาสนา และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 ประการ คือ.
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ของผู้ช่วยพยาบาล(1)
จริยธรรม และ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทอ่านจากจดหมายนักบุญเปาโลถึงชาวโครินทร์ฉบับที่ 1
สมาชิก นายธนากร กุจิรพันธ์ ม. 4/6 เลขที่3 นายภูวพงษ์ ภุมราพันธุ์ ม
ศาสนาพุทธ เรื่อง ฆราวาสธรรม ๔ จัดทำโดย
มารยาทของศาสนาอิสลาม
สาระการเรียนรู้ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
ศาสนาคริสต์.
ศาสนาคริสต์.
ศาสนาอิสลาม.
บทที่ 2 ทฤษฏีจริยธรรม.
ผู้สอน ครูศรีวรรณ ปานสง่า
เทศกาล/วันสำคัญทางศาสนา
คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
ศาสนาคริสต์.
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ประเภทของศาสนา ศาสนาเบื้องต้น อาจารย์ชัชวาลย์ ชิงชัย
มาตรฐานฑูตคุณภาพ คุณธรรม ๙ ประการ
เล่าจื๊อผู้ให้กำเนิดลัทธิเต๋า
การปฏิบัติตัวของวัยรุ่น
สังคมศึกษา เรื่อง ศาสนา
ศาสนายิว ก. ความหมาย ๑. ยูดาร์ ภาษาอังกฤษว่า Judalism กรีกว่า Judai
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ศาสนาอิสลาม

ศาสนาอิสลาม ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาสำคัญศาสนาหนึ่งของโลก เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม นับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ พระอัลลอฮ์ โดยมีท่านนบีมุฮัมมัดเป็นศาสดา และเป็นผู้ประกาศศาสนา

ศาสนาอิสลาม ผู้ที่ริเริ่มอิสลามคือ อัลลอฮฺ ตะอาลา ผู้ที่ริเริ่มอิสลามคือ อัลลอฮฺ ตะอาลา  ว่า “อิสลาม” มิได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อให้เกียรติแก่ท่านนบีมูฮำมัด เพราะท่านไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มบัญญัติอิสลาม นบีท่านแรกของอิสลามคือ นบีอาดัม อะลัยฮิสลาม 

ศาสนาอิสลาม “อิสลาม” หมายถึง การยอมรับกฎเกณฑ์ข้อบังคับของอัลลอฮฺ ตะอาลา เมื่อคน ๆ หนึ่งยอมรับกฎเกณฑ์ข้อบังคับของอัลลอฮฺ ตะอาลา เขาถูกเรียกว่า “มุสลิม”

ศาสนาอิสลาม ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาที่ถือกำเนิดขึ้นในนครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย หลังพุทธศักราชประมาณ ๑,๑๑๓ ปี ผู้ที่นับถือ ศาสนาอิสลาม เรียกว่า “มุสลิม” แปลว่า ผู้แสวงหาสันติ หรือ ผู้นอบน้อมต่อประสงค์ของพระเจ้า

ศาสนาอิสลาม นบีมุฮัมมัด ท่านเป็นอาหรับ กำเนิดที่เมืองมักกะฮ์ มารดาชื่อ อามีนะฮ์ เป็นชนในเผ่ากุร็อยชฺ ท่านศาสดาเป็นกำพร้าตั้งแต่เยาว์วัย ในเวลาต่อมาจึงต้องไปอยู่ในความอุปการะของอาบูฏอลิบผู้เป็นลุง “ศาสดา”

ศาสนาอิสลาม ในสมัยที่ท่านศาสดาถือกำเนิดนั้น สังคมอาหรับอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมมาก ผู้คนมั่วสุมดื่มน้ำเมาและเล่นการพนัน การละเมิดประเวณีเกิดขึ้นเป็นประจำ มีการฝังเด็กหญิงทั้งเป็นเพราะถือว่าเป็นสิ่งอัปมงคล การแก้แค้นด้วยการประหัตประหารเป็นเรื่องปกติ “ศาสดา”

ศาสนาอิสลาม จนกระทั่งวันหนึ่งขณะที่ท่านอยู่ในถ้ำบนภูเขาอิรอฮ์ เทวทูตญิบรออีลก็ได้นำโองการของพระอัลลอฮ์มาประทาน ท่านศาสดามุฮัมมัดจึงเริ่มประกาศศาสนา คนแรกที่เข้ารับนับถือ ศาสนาอิสลาม ก็คือ นางคอดีญะฮ์ ผู้เป็นภรรยา “ศาสดา”

ศาสนาอิสลาม  หลังจากประกาศศาสนาได้ ๑๓ ปี ท่านศาสดาได้ลี้ภัยจากการตามล้างผลาญของชาวเมืองมักกะฮ์ โดยไปอยู่ที่เมืองมะดีนะฮ์ ถือเป็นการเริ่มต้นนับศักราช อิสลาม เรียกว่า ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.๑๑๗๓ ท่านศาสดาก็สามารถรวบรวมผู้คนกลับไปยึดเมืองมักกะฮ์ไว้ได้ “ศาสดา”

ศาสนาอิสลาม หลังจากนั้นท่านศาสดาก็ได้กลับไปเมืองมะดีนะฮ์ ต่อมาภายหลังชนอาหรับเผ่าต่างๆ และประเทศข้างเคียงก็ได้ส่งทูตเข้ามาขอเป็นพันธมิตรบ้าง เพื่อขอรับนับถือ ศาสนาอิสลาม จึงได้แพร่ขยายไปทั่วดินแดนตะวันออกกลาง อินเดีย และที่อื่นๆ “ศาสดา”

ศาสนาอิสลาม ท่านศาสดามุฮัมมัด ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๑๑๗๕ ตรงกับ ฮ.ศ. ๑๑ ท่านได้ดำรงตนเป็นผู้เสมอต้นเสมอปลาย มีเมตตากับทุกคน มีความยุติธรรม และความซื่อสัตย์เป็นเลิศจนได้รับฉายาตั้งแต่สมัยเป็นหนุ่มว่า “อัลลามีน” ซึ่งแปลว่า ผู้ซื่อสัตย์ “ศาสดา”

ศาสนสถาน “มัสยิด”

ศาสนสถาน มัสยิด หรือ สุเหร่า เป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาของชาวมุสลิมอันได้แก่การวิงวอน บำเพ็ญตบะ เป็นที่สอนอัลกุรอานและศาสนา สถานที่ชุมนุมพบปะ เฉลิมฉลอง ทำบุญเลี้ยง สถานที่ทำพิธีสมรส และสถานที่พักพิงของผู้สัญจรผู้ไร้ที่พำนัก

ศาสนสถาน มัสยิดเป็นศาสนสถานสำหรับมุสลิมปฏิบัติตนกับมัสยิด มีความผูกพันกับวิถีชีวิตอย่างใกล้ชิดอย่างมาก โดยที่จะต้องรักษามารยาทของมัสยิด เช่นการไม่คละเคล้าระหว่างเพศชายและหญิง การกระทำที่ขัดกับบทบัญญัติห้ามของอิสลามทั้งมวล

คัมภีร์ทางศาสนา คัมภีร์ทาง ศาสนาอิสลาม เรียกว่า คัมภีร์อัล-กุรอาน คัมภีร์นี้ถือว่าเป็นวจนะของพระเจ้า ที่ได้ประทานแก่มวลมนุษย์ผ่านทางท่านศาสดานบีมุฮัมมัด ซึ่งเป็นบุคคลที่พระเจ้าอัลลอฮ์ทรงเลือกให้ทำหน้าที่ประกาศศาสนา

คัมภีร์ทางศาสนา  คัมภีร์อัล-กุรอาน แปลว่า คัมภีร์สาธยายมนต์ มี 30 ภาค 114 บท เป็นแนวทางการปฏิบัติสำหรับบุคคลและสังคม มีคำสอนเกี่ยวกับการทำความดี การดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน การแต่งงาน ความตาย อาชีพ การทำมาหากิน รวมทั้งมีเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย และสังคมไว้อย่างครบถ้วน

คัมภีร์ทางศาสนา ภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์อัล-กุรอาน คือ ภาษาอาหรับ ข้อความในคัมภีร์เป็นภาษาที่ไพเราะ มิใช่ร้อยแก้ว และมิใช่ร้อยกรอง แต่ก็มีสัมผัสในแบบของตัวเอง คัมภีร์แบ่งออกเป็น 114 บท แต่ละบทแบ่งเป็นโองการหรือวรรค มีทั้งหมด 6,000 โองการ

คัมภีร์ทางศาสนา คัมภีร์ทาง ศาสนาอิสลาม เรียกว่า คัมภีร์อัล-กุรอาน คัมภีร์นี้ถือว่าเป็นวจนะของพระเจ้า ที่ได้ประทานแก่มวลมนุษย์ผ่านทางท่านศาสดานบีมุฮัมมัด ซึ่งเป็นบุคคลที่พระเจ้าอัลลอฮ์ทรงเลือกให้ทำหน้าที่ประกาศศาสนา

หลักจริยธรรม ในการดำเนินชีวิตจงเลือกสรรเฉพาะสิ่งที่ดี อันเป็นที่ยอมรับของสังคม จงทำตนให้เป็นผู้ดำรงอยู่ในศีลธรรม พัฒนาตนเองไปสู่การมีบุคลิกภาพที่ดี

หลักจริยธรรม เป็นคนที่รู้จักห่วงใย มีเมตตา มีความรัก ซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น รู้จักปกป้องสิทธิของตน ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น เป็นผู้มีความเสียสละไม่เห็นแก่ตัว และหมั่นใฝ่หาความรู้ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นคุณสมบัติของผู้มีจริยธรรม ซึ่งความสมบูรณ์ทั้งหมดอยู่ที่ความยุติธรรม

หลักการขั้นพื้นฐาน ๓ ประการ ๑. เตาฮีด - การศรัทธาต่อความเป็นเอกะของอัลลอฮฺ ตะอาลา ๒. ริซาละฮฺ - การศรัทธาต่อบรรดานบีของอัลลอฮฺ ตะอาลา ๓. อาคิเราะฮฺ - การศรัทธาต่อการฟื้นคืนชีพในโลกหน้า

หลักศรัทธา ๖ ประการ (ซุนนีย์) ๑. ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ๒. ศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะฮฺของพระองค์ ๓. ศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์ของพระองค์ ๔. ศรัทธาต่อบรรดาร่อซู้ลของพระองค์ ๕. ศรัทธาต่อวันสุดท้าย ๖. ศรัทธาต่อสภาวการณ์ที่ดีและเลวร้ายทั้งหมดมาจากอัลลอฮฺทั้งสิ้น

หลักปฏิบัติ ๕ ประการ การปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาของศาสนาอิสลาม จะปฏิบัติในสถานที่ ที่เรียกว่า “มัสยิด” หรือ “สุเหร่า” ชาว มุสลิม จะต้องปฏิบัติศาสนกิจให้พร้อมทั้ง กาย วาจา และใจ

หลักปฏิบัติ ๕ ประการ ต้องกล่าวปฏิญาณว่า “ข้าพเจ้า ขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และแท้จริงมุฮัมมัดเป็นศาสนทูต ( รอซูล ) ของอัลลอฮ์” การปฏิญาณนี้เปรียบเสมือนหัวใจของ ศาสนาอิสลาม ต้องทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ และมิใช่ทำครั้งเดียว แต่ต้องทำเสมอเมื่อนมัสการพระเจ้า (ละหมาด) การปฏิญาณตนมุสลิม

หลักปฏิบัติ ๕ ประการ การแสดงความเคารพต่อ พระเจ้า ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ชาวมุสลิมทุกคนจะต้องปฏิบัติละหมาดวันละ ๕ เวลา คือ ย่ำรุ่ง กลางวัน เย็น พลบค่ำ และกลางคืน ซึ่งก่อนทำละหมาดจะต้องชำระร่างกายให้สะอาด และสำรวมจิตใจให้สงบ การละหมาด

หลักปฏิบัติ ๕ ประการ การละเว้นจากการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมสังวาส ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น จนกระทั่งพระอาทิตย์ตกดิน โดยต้องถือศีลอดปีละ ๑ เดือน คือ ในเดือนรอมาฎอนตามปฏิทินของอิสลาม การถือศีลอดเป็นการแสดงถึงความศรัทธาในพระเจ้า ฝึกความอดทน และความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การถือศีลอด

หลักปฏิบัติ ๕ ประการ การบริจาคทานให้แก่คนที่เหมาะสม ตามที่ศาสนากำหนด เช่น คนอนาถา เด็กกำพร้า คนขัดสน ผู้เผยแผ่ศาสนา โดยเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติ ชาวมุสลิมต้องสละทรัพย์ของตนในอัตราร้อยละ 2.5 เพื่อแบ่งปันให้แก่ผู้อื่น เป็นการกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การบริจาคซะกาต

หลักปฏิบัติ ๕ ประการ การไปประกอบศาสนกิจ ณ ศาสนสถานบัยตุลลอฮ์ เมืองมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย การประกอบพิธีฮัจญ์ไม่ได้บังคับให้ชาว มุสลิม ต้องกระทำ แต่ให้ถือเป็นหลักปฏิบัติสำหรับผู้ที่พร้อม คือ บรรลุนิติภาวะ มีสุขภาพดี มีทุนทรัพย์เพียงพอ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกอบพิธีฮัจญ์เป็นอย่างดี การประกอบพิธีฮัจญ์

วันสำคัญทางศาสนา วันสำคัญของศาสนาอิสลาม ได้แก่ วันแรกของเดือนรอมฎอน โดยการดูดวงจันทร์ในตอนพลบค่ำของวันที่ ๒๙ ของเดือนที่ ๘ (ตามปฏิทินอิสลาม) หากปรากฏว่าไม่เห็นดวงจันทร์ ต้องถือวันถัดไปอีกวันหนึ่งเป็นวันแรกของเดือนรอมฎอน