โดยนางสาวจงจิตร์ นีรนาทเมธีกุล ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 การประชุมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่อง การดำเนินงานตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 โดยนางสาวจงจิตร์ นีรนาทเมธีกุล ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16
การบังคับใช้ พ.ร.บ. สิ่งแวดล้อม มาตรา 80
ความเป็นมา แม่น้ำ ลำคลอง แหล่งน้ำ มีคุณภาพแย่ลง แม่น้ำ ลำคลอง แหล่งน้ำ มีคุณภาพแย่ลง มีกรณีการลักลอบปล่อยน้ำเสียสู่สิ่งแวดล้อม การเดินระบบบำบัดน้ำเสียไม่ต่อเนื่อง
มาตราที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน ตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
มาตรา 55 กำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด สำหรับควบคุมการระบายน้ำทิ้ง การปล่อยทิ้งอากาศเสีย การปล่อยทิ้งของเสีย หรือมลพิษอื่นใดจากแหล่งกำเนิดออกสู่สิ่งแวดล้อม
มาตรา 69 กำหนดประเภทของแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียหรือของเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หรือออกสู่สิ่งแวดล้อมนอกเขตที่ตั้งแหล่งกำเนิดมลพิษ 1. โรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม 2. อาคารบางประเภทและบางขนาด 3. ที่ดินจัดสรร 4. การเลี้ยงสุกร 5. ท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลา 6. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง 7. บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง 8. บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย 9. บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 10. ระบบบำบัดน้ำเสียรวมชุมชน
มาตรา 70 เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษที่กำหนดตามมาตรา ๖๙ มีหน้าที่ต้องก่อสร้าง ติดตั้งหรือจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย หรือระบบกำจัดของเสียตามที่เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษกำหนด
มาตรา 80 เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษมีหน้าที่ต้องเก็บสถิติและข้อมูลซึ่งแสดงผลการทำงานของระบบหรืออุปกรณ์ และเครื่องมือดังกล่าวในแต่ละวัน และจะต้องจัดทำรายงานสรุปผลการทำงานของระบบฯ เสนอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่แหล่งกำเนิดมลพิษนั้นตั้งอยู่
กฎกระทรวงตามมาตรา 80 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผลการทำงาน ของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555 (ตามบทบัญญัติในมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2555)
ประโยชน์ของกฎกระทรวง เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษมีการเดินระบบบำบัดน้ำเสียอย่างต่อเนื่อง ลดปริมาณมลพิษที่จะระบายลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ ใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินการเมื่อมีเหตุอันสมควรสงสัยว่ามีการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. สิ่งแวดล้อมฯ เช่น กรณีมีการลักลอบปล่อยน้ำเสียสู่สิ่งแวดล้อม
ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษหรือไม่ อย่างไร มีบทลงโทษ สำหรับเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากรายงานเท็จจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขอบคุณค่ะ