ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ กฎหมาย กฎหมาย คือ ข้อบังคับ ของรัฐซึ่งกำหนดความ ประพฤติของพลเมืองไว้ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับการ ลงโทษ โดยเจ้า พนักงานของรัฐ
วัตถุประสงค์ของ กฎหมาย 1. รักษาความสงบเรียบร้อยและความ มั่นคงภายในรัฐ 2. เป็นกลไกของรัฐในการระงับกรณี พิพาทโดยสันติและผดุงรักษาความ ยุติธรรมให้แก่สมาชิกในสังคม 3. ปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของ ส่วนรวมและผลประโยชน์ของบุคคล 4. เป็นเครื่องมือพัฒนาสังคมให้ เจริญก้าวหน้า
ลักษณะสำคัญของกฎหมาย 1. ต้องมาจาก “ รัฏฐาธิปัตย์ ” ( ผู้บัญญัติกฎหมาย ต้องมีอำนาจในรัฐและเป็นรัฐ ที่เป็นเอกราช ) 2. เป็นกฎข้อบังคับที่ใช้ทั่วไปภายในดินแดนของ รัฐนั้น 3. เป็นกฎข้อบังคับของรัฐที่ประชาชนต้องปฏิบัติ ตาม โดยบัญญัติไว้ 2 ลักษณะคือ – บัญญัติให้ต้องกระทำ เช่น การเสียภาษีอากร ปฏิบัติ ตามกฎหมาย – บัญญัติให้ละเว้นหรืองดการกระทำ เช่น ห้ามมิให้ ปล้นจี้ชิงทรัพย์ของผู้อื่น 4. มีผลบังคับใช้ตลอดไปจนกว่าจะมีประกาศ ยกเลิก 5. มีบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนที่เรียกว่า “ สภาพ บังคับ ” – สภาพบังคับทางอาญา มี 5 ประเภท ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน – สภาพบังคับทางแพ่ง คือการชดใช้ค่าเสียหาย หรือ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ระบบ ของ กฎหมาย 1. กฎหมายลาย ลักษณ์อักษร ( Civil Law ) 2. กฎหมายที่ ไม่ เป็นลายลักษณ์ อักษร (Common Law) 3. กฎหมายของ ประเทศ สังคมนิยม (Socialist Law) 4. กฎหมาย ศาสนา (Religious Law)
ประเภทของกฎหมาย จำแนกตามขอบเขตของการใช้ 1. กฎหมายระหว่างประเทศ คือกฎหมายที่กำหนดเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา 2. กฎหมายภายในประเทศ คือกฎหมายที่บังคับใช้ภายในรัฐ กฎหมายเอกชนกฎหมายมหาชน
กฎหมายภายในประเทศ กฎหมายเอกชน หรือกฎหมายแพ่ง บัญญัติความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล ป้องกันมิให้บุคคลถูกละเมิดสิทธิ - กฎหมายแพ่ง - กฎหมายพาณิชย์ - กฎหมายพิจารณาความแพ่ง กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐไปมีส่วนร่วมเป็น คู่กรณีกับเอกชน - รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา - กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จัดตามบทบาทของกฎหมาย 1. กฎหมายสารบัญญัติ กำหนดแต่เนื้อหากฎหมาย ล้วนๆ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายที่ดิน 2. กฎหมายวิธี สบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ใช้ประกอบกับ กฎหมายสารบัญญัติ เป็นกฎหมายที่กำหนดขั้นตอน ของศาลว่าด้วยวิธีฟ้องร้อง ดำเนินคดีในศาลเป็นสำคัญ เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา
ที่มาของ กฎหมาย 1. จารีต ประเพณี 2. การตรา กฎหมาย ของฝ่าย นิติบัญญัติ 3. คำสั่งและ กฤษฎีกา ของฝ่าย บริหาร 4. คำ พิพากษา ของศาล 5. ความเห็น ของ นักวิชาการ