บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ทฤษฎีดนตรีสากลเบื้องต้น จัดทำโดย นายศุภกฤต นิลเอม โรงเรียนอุดมดรุณี อ.เมือง จ.สุโขทัย
ระดับเสียงและชื่อทางดนตรี (Pitches And Musical Names) การกำหนดให้เสียงมีระดับสูงต่ำกว่ากันตามชื่อเรียกได้ต้องมี บรรทัด 5 เส้น ภาษาอังกฤษเรียก สต๊าฟ (STAFF) ไว้สำหรับให้ตัวโน้ตยึดเกาะ มีส่วนประกอบคือ จำนวนเส้น 5 เส้น จำนวนช่อง 4 ช่อง
เส้น ช่อง
1.ให้หัวตัวโน้ตวางบนเส้น (On a Line) การบันทึกตัวโน้ตลงบนบรรทัด 5 เส้นทำได้ 2 แบบ โดยการบันทึกจะต้องชัดเจนแน่นอน 1.ให้หัวตัวโน้ตวางบนเส้น (On a Line) 2.ให้หัวตัวโน้ตวางในช่อง (In a Space)
เราจะสามารถบอกชื่อตัวโน้ตต่างๆได้ ก็ต้องมีเครื่องหมายเฉพาะกำกับไว้ก่อนหน้าตัวโน้ต เครื่องหมายเฉพาะนี้เรียกว่า เครื่องหมายประจำหลัก ที่เราจะศึกษานี้ มี 2 ชนิด คือ กุญแจซอล อังกฤษเรียกว่า G Clef หรือ Treble Clef
โน้ตคาบเส้น Every Good Boy Does Fine ชื่อตัวโน้ตเมื่อเขียนลงบรรทัด 5 เส้นพร้อมกุญแจซอล มีหลักเพื่อให้จำง่ายขึ้นคือ โน้ตคาบเส้น Every Good Boy Does Fine โน้ตในช่อง FACE
กุญแจฟา อังกฤษเรียกว่า F Clef หรือ Bass Clef
ชื่อตัวโน้ตเมื่อเขียนลงบรรทัด 5 เส้นพร้อมกุญแจฟา มีหลักเพื่อให้จำง่ายขึ้นคือ โน้ตในช่อง A Child Enjoys Games โน้ตคาบเส้น Go Back and Dance For A while
การบันทึกตัวโน้ตทีอยู่ต่ำหรือสูงกว่าบรรทัดห้าเส้น เรามีเส้นน้อย ภาษาอังกฤษเรียกว่า Leger Line หรือ Ledger Line เพื่อให้ตัวโน้ตยึดเกาะไว้ ดังนี้
โน้ตชื่อ C ที่วางทับกึ่งกลางเส้นน้อย ทั้งที่อยู่ใน Treble Clef หรือ Bass Clef ทั้งสองมีเสียงตรงกัน คือ C กลาง (Middle C)
เมื่อมีเส้นน้อยแล้ว ทำให้เรามีตัวโน้ตเพิ่มขึ้นทั้งทางเสียงสูงและเสียงต่ำ ชื่อตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้น ของกุญแจซอล (Treble Clef)
ชื่อตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้น ของกุญแจฟา (Bass Clef) * คือซีกลาง ( Middle C )
ตำแหน่งและลักษณะการบันทึกตัวโน้ต และตัวหยุด สำหรับโน้ตตัวขาว ตัวดำ หรือตัวเขบ็ตหนึ่งชั้นรวมทั้งการบันทึกตำแหน่งตัวหยุดลงบนบรรทัด 5 เส้นไม่ว่าจะอยู่ในกุญแจซอล หรือกุญแจฟา หรือกุญแจใดก็ตาม (ต้องเป็นโน้ตแนวเดียวไม่ใช่รูปแบบประสานเสียง) เราใช้วิธีการบันทึกดังนี้
ข้อสำคัญ ให้ถือเกณฑ์ เส้นที่ 3 ของบรรทัด 5 เส้น ข้อสำคัญ ให้ถือเกณฑ์ เส้นที่ 3 ของบรรทัด 5 เส้น เมื่อหัวตัวโน้ตอยู่ต่ำกว่าเส้นที่สามให้มีเส้นตรงชี้ขึ้น แต่ถ้าหัวตัวโน้ตอยู่สูงกว่าเส้นที่สามให้มีเส้นตรงชี้ลง
สำหรับระยะช่องไฟระหว่างตัวโน้ตและตัวหยุดในแต่ละตัว สำหรับหัวตัวโน้ตที่อยู่บนเส้นที่สามพอดี อาจจะใช้เส้นตรงชี้ขึ้นหรือลงก็ได้ตามความเหมาะสมส่วนความสูงของเส้นก็จะสูงพองาม(ประมาณขั้นคู่แปด) สำหรับระยะช่องไฟระหว่างตัวโน้ตและตัวหยุดในแต่ละตัว ให้แบ่งตามส่วนความกว้างภายในห้องให้สมดุลย์ ไม่ควรเขียน
แบบทดสอบ เรื่องทฤษฎีดนตรีสากล 1.จากพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานคำว่าดนตรีหมายถึงอะไร ก. ลำดับเสียงอันไพเราะ ข. เสียงสูงๆต่ำๆสั้นๆยาวๆ ค. ความสนุกสนานในการร้องเพลง ง. ศิลป์และศาสตร์ของการร้อยกรองเสียงร้อง
2. เสียงของดนตรีสากลมีทั้งหมดกี่เสียง ก. 5 เสียง ข. 6 เสียง ค. 7 เสียง ง. 8 เสียง
3. เสียงของดนตรีสากลมีครึ่งเสียงห่างกันอยู่กี่แห่ง ก. 3 แห่ง ข. 2 แห่ง ค. 1 แห่ง ง. ไม่มีครึ่งเสียง
4. SEMITONE หมายถึงข้อใด ก. สองเสียง ข. หนึ่งเสียงครึ่ง ค. หนึ่งเสียง ง. ครึ่งเสียง
5. TONE หมายถึงข้อใด ก. สองเสียง ข. หนึ่งเสียงครึ่ง ค. หนึ่งเสียง ง. ครึ่งเสียง
6. ตัวโน้ต (MUSICE NOTETION ) คืออะไร ก. เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่ใช้บันทึกแทนเสียงดนตรี ข. ตัวที่ใช้เขียนเพลงสากลต่างๆ ค. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการขับร้อง ง. เครื่องหมายที่ใช้ในการบรรเลงดนตรี
7. จากรูป ตัว O + O + O มีกี่จังหวะ ก. 4 จังหวะ ข. 6 จังหวะ ค. 8 จังหวะ ง.12 จังหวะ
8. บรรทัด 5 เส้น มีไว้เพื่ออะไร ก.บันทึกตัวโน้ต ข.การเขียนโน้ตสากลจะได้สวยงาม ค.ให้สามารถอ่านโน้ตสากล ง.บอกตำแหน่งตัวโน้ตสากล
9. การร้องรำทำเพลงของมนุษย์ในยุคแรกทำขึ้นเพื่ออะไร ก. เพื่อความสนุกสนาน ข. เพื่อเป็นการรวมหมู่กลุ่มแสดงพลัง ค. เพื่อเป็นการสวดมนต์อ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย ง. เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดและเพื่อความสนุกสนาน
10. การบันทึกดนตรีในศตวรรษที่ 5-6 เป็นการบันทึกอะไร ก. บันทึกจังหวะ ข. บันทึกเนื้อเพลง ค. บันทึกตัวโน้ต ง. บันทึกเครื่องหมายแสดงระดับเสียงและจังหวะ.
เฉลยแบบทดสอบ 1.ง 2.ค 3.ข 4.ง 5.ค 6.ก 7.ง 8.ก 9.ค 10.ง
แหล่งที่มา http://www.kr.ac.th/ebook/dendoung/b2.htm http://www.kr.ac.th/tonline/sara06/001/index.html