ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง สัญลักษณ์เตือนอันตราย เครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง พ.ศ. 2554 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2554
สรุปสาระสำคัญ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ 1. ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์เตือนภัย และเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เหมาะสมกับลักษณะและสภาพการทำงานในที่เห็นได้ง่าย 2. ให้นายจ้างติดประกาศข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างให้เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการ ซึ่งมีข้อความดังนี้ (1) นายจ้างและลูกจ้างมีหน้าที่ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 (2) นายจ้างจัดและดูแลสถานประกอบการและลูกจ้างให้มีสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริมการปฏิบัติงานของลูกจ้างมิให้ได้รับอันตราย
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ (3) นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ถ้าไม่มีการสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าวให้หยุดทำงานทันที (4) นายจ้างจัดให้มีผู้บริหาร หัวหน้างานและลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมให้สามารถบริหารจัดการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้อย่างปลอดภัยก่อนเข้างาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนเครื่องจักร (5) นายจ้างมีหน้าที่แจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากการทำงานและแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้างาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงาน (6) นายจ้างมีหน้าที่ติดประกาศ คำเตือน คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ (7) นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านความปลอดภัยและส่งเสริมด้านความปลอดภัย (8) ลูกจ้างมีหน้าที่ให้ความร่วมมือกับนายจ้างในการดำเนินการด้านความปลอดภัย (9 )ลูกจ้างมีหน้าที่แจ้งข้อบกพร่องของสภาพการทำงาน (10) ลูกจ้างมีหน้าที่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (11) ในสถานที่ที่มีสถานประกอบการหลายแห่ง ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของนายจ้างและสถานประกอบการอื่นที่ไม่ใช่ของนายจ้างด้วย
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ (12) ลูกจ้างมีสิทธิได้รับการคุ้มครองจากการเลิกจ้างหรือถูกโยกย้ายหน้าที่งาน (13) ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างหรือสิทธิประโยชน์อื่นใด ในระหว่างหยุดการทำงานหรือหยุดกระบวนการผลิต เว้นแต่ลูกจ้างที่จงใจกระทำการดังกล่าวอันเป็นเหตุให้มีการหยุดการทำงานหรือหยุดกระบวนการผลิต
จบการนำเสนอ