สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ฟอร์มาดีไฮด์ และและพาราฟอร์มาดีไฮด์
Advertisements

การจัดการของเสีย โดยวิธีทำให้เป็นก๊าซชีวภาพ
การอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการ
ความกระด้างทั้งหมดของน้ำ
ชุดทดสอบ ปรอทแอมโมเนีย ในเครื่องสำอาง
การผลิตเชื้อจุลินทรีย์เพื่อควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
NAVY PILLOW 2012 (หมอนน้ำ ).
การย้ายต้นกล้าแบบล้างราก
ที่มา ที่มา โครงงาน เห็ดนางฟ้า.
เทคนิคการเชื่อมไฟฟ้า
หลักสำคัญในการล้างมือ
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์
บทที่ 4 สื่อบันทึกข้อมูล
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
จับประเด็นเตรียมพร้อมสู่HA
การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่มือ
และคุณสมบัติอุปกรณ์การสร้างฉาก โดย อาจารย์ ศิริมงคล นาฏยกุล
การเลี้ยงปลากะพงขาว.
การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อซิเมนต์
การควบคุมยุงพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย
สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์
องค์ความรู้น้ำส้มควันไม้ สายด่วนข้อมูลปฏิรูปที่ดิน
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 24 สิงหาคม 2552
เรื่อง เครื่องดูดฝุ่น
ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
สาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชางานประดิษฐ์จากดินไทย
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
การปลูกพืชกลับหัว.
เตารีด คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่สามารถหยิบยกได้ ให้ความร้อนแผ่นฐานด้วยไฟฟ้าและใช้สำหรับรีดวัสดุสิ่งทอให้เรียบ ปัจจุบันมีการนำเอาสารเคลือบ เทฟลอนมาเคลือบแผ่นฐาน.
เตาไฟฟ้า.
เตาปิ้งย่างไฟฟ้า.
กระทะไฟฟ้า                .
เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า
เครื่องดูดฝุ่น.
เตาไมโครเวฟ.
เครื่องใช้ไฟฟ้า...ภายในบ้าน
กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า.
เครื่องถ่ายเอกสาร.
หม้อสุกี้ไฟฟ้า.
เครื่องม้วนผม.
ไดร์เป่าผม.
การบริหารยาทางฝอยละออง
กิจกรรมดีเด่นด้านการบริหารจัดการศูนย์บริการฯ
อุตสาหกรรมฟอกหนัง ผลิตภัณฑ์จากหนัง งานตกแต่ง สี ขัด อัดหนัง
นวัตกรรม ถุงประคบมือถือ
ของภาชนะสัมผัสอาหาร และมือ
นวัตกรรม ของ งานจ่ายกลาง และงานซ่อมบำรุง ปี 2552
การทำแผลชนิดแห้ง( Dry dressing )
1.ใช้ถ่านไฟฉายที่สามารถบรรจุไฟได้ใหม่
การกำจัดขยะโดยใช้หลัก 3R
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไข้หวัดนก / ไข้หวัดใหญ่ในสถานพยาบาล
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าพ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่
บทที่ 7 หลักการเย็บประกอบตัวกระโปรง.
การพันผ้า (Bandaging)
ประกาศการทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4214 (พ. ศ
สื่อการเรียนรู้เรื่อง หยุดโลกร้อนด้วยความพอเพียง
มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์
การวิเคราะห์ดิน นางกาญจนาภรณ์ พรรณกมลกุล นางสาวพัชรา แสนสุข
วิชา งานสีรถยนต์.
กล้วยไม้ ผู้จัดทำ 1. ด.ญ จิรสุดา ปักสำโรง ชั้น ป.4 เลขที่16
รองศาสตราจารย์ ดร.สุดารัตน์ สิทธิสมบัติ
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก (เกษตรพอเพียง)
นางสาวจุไรรัตน์ เพิ่มสุข
การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานในถุงพลาสติก โดยใช้วัสดุขี้เลื่อยไม้ยางพารา
การใช้น้ำหมักชีวภาพ (Enzyme)
5. การทาบกิ่ง แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ
การผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรียระบบเปิดเทคนิคปลอดเชื้อ ( Aseptic thicnique ) ด้วยข้าวเปลือก นายชาญยุทธ อุปัชฌาย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอจอมบึง.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ อุปกรณ์ผสมเทียม จัดทำโดย สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์

อุปกรณ์ผสมเทียมและการบำรุงรักษา อุปกรณ์สำหรับปฏิบัติงานผสมเทียม ที่สำคัญได้แก่ 1.ปืนผสมเทียม 2.กระบอกเก็บปืนและพลาสติกชีท 3.กรรไกร 4.ปากคีบ(Forceps) 5.พลาสติกชีท 6.แซนนิตารีชีท 7.กระติกน้ำร้อนหรือกระติดเทอร์โมส 8.เทอร์โมมิเตรอร์

9.ถุงมือล้วง 10.รองเท้าบู๊ท 11.ผ้ากันเปื้อน 12.ถังน้ำเชื้อและถังไนโตรเจน 13.น้ำเชื้อ 14.น้ำยาฆ่าเชื้อ 15.ผ้าเช็ดมือ 16.แบบบันทึก 17.กระเป๋าถังสนาม 18.อุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ

ปืนผสมเทียม ทำด้วยสแตนเลส ไม่เป็นสนิม ประกอบด้วย ตัวปืน ก้านปืน หัวจุกและ วงแหวนพลาสติกสีเขียว

-ตัวปืน เป็นทรงกระบอก ความยาวประมาณ 44 เซนติเมตร มีรูตรงกลาง

ปืนบางรุ่น รูด้านปลายของตัวปืนทั้งสองข้างจะใหญ่ไม่เท่ากัน ด้านที่รูเล็กใช้ผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อขนาด 0.25 ซีซี ส่วนด้านที่รูใหญ่ ใช้ผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อขนาด 0.5 ซีซี

-ก้านปืน ปลายข้างหนึ่งจะเล็กกว่ารูของหลอดน้ำเชื้อเล็กน้อย เป็นส่วนที่สอดเข้ากับหลอดน้ำเชื้อ ก้านปืนจะค่อย ๆ มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ

ปลายข้างที่ใหญ่ จะต่อกับแป้นวงกลมใช้เป็นที่กดสำหรับปล่อยน้ำเชื้อ ก้านปืนความยาวจะมากกว่าตัวปืนเล็กน้อย คือยาวประมาณ 45 เซนติเมตร

-หัวจุก เป็นส่วนที่ครอบปลายข้างหนึ่งของตัวปืนไว้ หัวจุกจะเป็นรูปทรงกระบอก ปลายเล็กเท่ากับตัวปืน โคนจะใหญ่

หัวจุก เป็นตัวสำหรับถ่างปลายพลาสติกชีท หัวจุก จะยาวประมาณ 2.5 เซ็นติเมตร ปืนบางรุ่นหัวจุกจะติดกับตัวปืนไม่สามารถแยกจากกันได้

-วงแหวนพลาสติกสีเขียว เป็นวงพลาสติกมีสีเขียว มีรูตรงกลาง ตัวปืน วงแหวนพลาสติก หัวจุก ก้านปืน

วงแหวนทั้งวงมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซ็นติเมตร รูตรงกลางมีเส้นผ่าศูนย์กลางรูประมาณ 0.6 เซนติเมตร ใช้สำหรับล๊อกพลาสติกชีท ไว้กับหัวจุก

ปืนผสมเทียม ปัญหาที่พบคือ ปืนสกปรก โดยเฉพาะในรูของตัวปืนที่สอดหลอดน้ำเชื้อ ปืนผสมเทียมหลังจากใช้งาน ควรถอดล้าง ทำความสะอาด และใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้ง หากปืนสกปรกมาก ควรต้มทำความสะอาด วงแหวนพลาสติกสีเขียว เป็นวงแหวนที่มีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่มักหล่นหาย

กระบอกเก็บปืน เป็นกระบอกอลูมิเนียม หรือกระบอกที่ทำด้วยท่อพีวีซี ตัวกระบอกยาวประมาณ 18.5-19 นิ้ว หรือ 47-50 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของกระบอก 2 นิ้วหรือ 5 เซนติเมตร ปลายด้านหนึ่งตัน ปลายอีกด้านหนึ่งเป็นฝาสำหรับเปิด-ปิด

กระบอกเก็บปืนผสมเทียมหรือพลาสติกชีท ปัญหาที่มักพบคือ ภายในท่อสกปรก หลังการปฏิบัติงานในแต่ละวัน ควรล้าง ทำความสะอาด และคว่ำตากให้แห้ง

กรรไกร ใช้สำหรับตัดปลายหลอดน้ำเชื้อ กรรไกรเฉพาะที่ใช้ตัดปลายหลอดน้ำเชื้อ จะเป็นกรรไกรปลายมน มีรูกลางใบตัดสำหรับสอดหลอดน้ำเชื้อเข้าไปเพื่อตัด ที่ใช้อยู่ทั่วไปมักเป็นกรรไกรสแตนเลส สำหรับศัลยกรรมทั่วไป ปลายจะแหลม ประโยชน์ใช้สอยสูงกว่า

ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ของกรรไกร คือ กรรไกรสกปรก ก่อนใช้งานควรใช้สำลีชุบแอลกอฮอร์เช็ดฆ่าเชื้อโรคที่อาจติดอยู่ที่กรรไกรเสียก่อน ทุกครั้งหลังใช้งาน ควรใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้ง

ปากคีบ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้คีบหลอดน้ำเชื้อออกจากถัง มีหลายแบบทั้งแบบปลายโค้ง ปลายตรง แบบมีฟันเขี้ยวและฟันตะไบ มีหลายขนาดทั้งขนาดเล็ก กลางและขนาดใหญ่ ปากคีบอย่างดี จะทำด้วยสแตนเลสไม่เป็นสนิม มีความหนาแข็งแรงทนทาน ปากคีบที่คุณภาพไม่ดีนัก จะทำด้วยสังกะสี น้ำหนักเบา อ่อน บิดเบี้ยวได้ง่าย

ก่อนใช้งานควรใช้สำลีชุบแอลกอฮอร์เช็ดฆ่าเชื้อโรคที่อาจติดอยู่ที่ปากคีบเสียก่อน ทุกครั้งหลังใช้งาน ควรใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้ง

พลาสติกชีท เป็นส่วนที่ใช้หุ้มปืนผสมเทียม และเป็นส่วนที่จะผ่านทะลุคอมดลูกเข้าไปในตัวมดลูก พลาสติกชีท เป็นพลาสติกใสทรงกระบอก ความกว้างจะพอดีกับความกว้างของปืนผสมเทียม ส่วนความยาว อาจยาวเท่ากับตัวปืนผสมเทียม หรือยาวกว่าเล็กน้อย

ปลายข้างหนึ่งเป็นรูกระบอกที่เว้าเล็กลง เป็นด้านที่ปล่อยน้ำเชื้อ ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งเป็นรูเช่นกันแต่จะมีรอยฉีกไว้ เพื่อเสียบกับหัวจุกของปืนผสมเทียมใช้วงแหวนพลาสติกล๊อค ด้านในของพลาสติกชีท จะมีจุกสีเขียวสำหรับใช้ล๊อคยึดหลอดน้ำเชื้อ

พลาสติกชีททุกอัน จะผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อโรค จากนั้นจะถูกห่ออยู่ในถุงพลาสติก แต่ละถุงจะบรรจุพลาสติกชีท 50 อัน

หากจะนำพลาสติกชีทไปใช้ ไม่ควรเปิดปากถุงกว้างมากนัก หากเปิดปากถุงกว้าง พลาสติกชีทที่เหลือจะมีโอกาสสกปรกได้ง่าย

แซนิตารีชีท เป็นถุงพลาสติกแคบยาว ใช้สวมทับพลาสติกชีทอักชั้นหนึ่ง แต่ละชิ้นกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 47 เซนติเมตร ซึ่งความยาวจะใกล้เคียงกับความยาวของปืนฉีดน้ำเชื้อ ปลายด้านหนึ่งของแซนนิตารี ชีท จะมีร่องเจาะตรงกลางหรับสำหรับสอดปืนฉีดน้ำเชื้อเข้าไป

แซนนิตารี ชีท แต่ละชิ้น จะยาวต่อกัน มีรอยปรุสำหรับฉีกแซนนิตารี ชีทแต่ละชิ้นให้ขาดออกจากกัน แซนนิตารี ชีท จะถูกม้วนเป็นวงบรรจุอยู่ในตลับ ตลับละประมาณ 80 ชิ้น ด้านข้างตลับจะมีช่องสำหรับดึงแซนนิตารี ชีท ออกมา

ในการรักษาความสะอาดให้แซนนิตารีชีท เพียงแค่อย่าเปิดกล่องแซนนิตารีชีทถ้าไม่จำเป็น การใช้งานให้ดึงปลายแซนนิตารีชีท ออกมาจากกล่องเล็กน้อยจนเห็นรอยผ่า จากนั้นสอดปลายปืนเข้าไปในรอยผ่าของแซนนิตารีชีท พร้อมกับค่อย ๆ ดึงแซนนิตารีชีทออกมา จากนั้นสอดปืนเข้าไปในแซนนิตารีชีทจนสุดปืน จะเห็นรอยต่อแผ่นต่อไปของแซนนิตารีชีท ให้จับที่แผ่นต่อไปฉีกให้ขาดออกจากัน

กระติกน้ำร้อน ใช้บรรจุน้ำอุ่นอุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียส เพื่อละลายน้ำเชื้อ กระติกน้ำร้อน มักเป็นกระติก 2 ชั้น ระหว่างชั้นจะบุด้วยตัวเก็บความร้อน เช่น โฟม กระติกน้ำร้อนหลังใช้งานในแต่ละวัน จะต้องล้างทำความสะอาดและคว่ำตากให้แห้ง

เทอร์โมมิเตอร์ เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดอุณหภูมิน้ำอุ่นเพื่อใช้ละลายน้ำเชื้อ เทอร์โมมิเตอร์ควรเป็นชนิดที่สามารถวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 0-100 องศาเซลเซียส ปัญหาที่พบจากการใช้เทอร์โมมิเตอร์คือเทอร์โมมิเตอร์มักตกแตก

ถุงมือล้วง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สวมทับมือและแขนของผู้ล้วง เพื่อป้องกันอุจาระโคเปรอะเปื้อนมือหรือแขนผู้ล้วง ถุงมือล้วงที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เป็นถุงมือพลาสติก ชนิดมีนิ้วมือ 5 นิ้ว และมีความยาวถึงไหล่ เป็นถุงมือที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง หลังจากใช้งานแล้ว ควรม้วนพันมัดเป็นก้อนและทิ้งถังขยะ อย่าทิ้งลงบนพื้น ซึ่งหากโคกินเข้าไป ถุงมือจะไปอุดกระเพาะทำให้โคตายได้

รองเท้าบู๊ท เป็นอุปกรณ์ที่สวมแทนรองเท้าปกติขณะเข้าฟาร์ม ป้องกันการเปรอะเปื้อน จากมูลโคในคอกก่อน เมื่อออกจากฟาร์มแต่ละฟาร์ม ต้องล้างรองเท้าบู๊ทให้สะอาด เป็นการป้องกันเชื้อโรคจากฟาร์มหนึ่งแพร่ไปสู่อีกฟาร์มหนึ่ง ทุก ๆ วันเมื่อกลับถึงสำนักงาน จะต้องล้างรองเท้าและทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และคว่ำตากให้แห้ง

ผ้ากันเปื้อน เป็นอุปกรณ์ป้องกันมูลโคกระเด็นมาถูกเสื้อผ้า ผ้ากันเปื้อนมักทำด้วยพลาสติก ขอบด้านบนทั้งซ้ายและขวาทำเป็นห่วง สำหรับร้อยเชือกคล้องคอ ตรงกลางลำตัวทำเป็นห่วงทั้งซ้ายและขวา สำหรับร้อยเชือกเพื่อรัดเอว

ก่อนออกจากฟาร์ม จะต้องล้างทำความสะอาดผ้ากันเปื้อน เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากฟาร์มหนึ่งแพร่ไปสู่อีกฟาร์มหนึ่ง ทุก ๆ วันเมื่อกลับถึงสำนักงาน จะต้องซักล้างผ้ากันเปื้อนและทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และตากให้แห้ง

ถังน้ำเชื้อหมายถึงถังสำหรับเก็บน้ำเชื้อ ถังไนโตรเจนหมายถึงถังสำหรับเก็บสำรองไนโตรเจนเหลว เพื่อเติมลงในถังน้ำเชื้อหากไนโตรเจนเหลวในถังน้ำเชื้อลดลง โครงสร้างหลัก ๆ ของถังน้ำเชื้อและถังไนโตรเจนคล้ายกัน ส่วนที่อาจต่างกันบ้างก็เพียงเล็กน้อย ได้แก่

-ปากของถังเก็บน้ำเชื้อมักจะกว้างกว่าปากของถังเก็บไนโตรเจนเหลว ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้งาน -ปากของถังเก็บน้ำเชื้อจะมีรอยบากไว้เป็นร่องไว้สำหรับแขวนก้านแคนิสเตอร์(Canister) ส่วนปากของถังเก็บไนโตรเจนเหลวไม่มีรอยบาก แต่ถังน้ำเชื้อบางรุ่น ปากถังก็ไม่มีรอยบาก ก้านแคนิสเตอร์ที่ใช้กับถังรุ่นนี้จะเป็นพลาสติกแบน ปากถังจึงไม่จำเป็นต้องมีรอยบาก

-แกนของฝาถังเก็บน้ำเชื้อและถังเก็บไนโตรเจนเหลวส่วนใหญ่จะทำด้วยโฟม (Foam) เช่นเดียวกัน -แกนของฝาถังเก็บน้ำเชื้อบางรุ่นจะเซาะเป็นร่องไว้เพื่อบังคับไม่ให้ก้านแคนิสเตอร์เคลื่อนที่ไปมาได้ แต่แกนของฝาถังเก็บไนโตรเจนเหลว จะไม่เซาะร่อง ยกเว้นถังที่เก็บน้ำเชื้อที่แคนิสเตอร์เป็นพลาสติกแกนของฝาถังจะไม่เซาะเป็นร่อง

ถังน้ำเชื้อและถังไนโตรเจน จะเป็นถัง 2 ชั้น ภายในระหว่างชั้นทั้งสอง จะกรุด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนความร้อนอย่างดี(Super insulator) และทำเป็นสูญญากาศ เพื่อป้องกันความร้อนเข้าไปภายใน ป้องกันการสูญเสียไนโตรเจนเหลว

ถังน้ำเชื้อแยกตามลักษณะการใช้งานเป็น 2 แบบ ได้แก่ ถังสนาม ถังสต๊อกน้ำเชื้อ

-ถังสนาม เป็นถังน้ำเชื้อขนาดเล็ก ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายน้ำเชื้อไปใช้ผสมเทียมในฟาร์ม ถังสนามเป็นถัง 2 ชั้น ภายในระหว่างผนังทั้งสอง กรุด้วยฉนวนป้องกันความร้อน บริเวณคอถังจะมีรอยบากสำหรับแขวนก้านแคนิสเตอร์ แกนฝาถังจะทำด้วยโฟม มีรอยบากเป็นร่องสำหรับล็อคก้านแคนิสเตอร์

วิธีการสังเกตว่าถังสนามชำรุดหรือไม่ สังเกตได้จากปริมาณไนโตรเจนเหลวลดลงเร็วผิดปกติหรือไม่ ถ้าลดลงเร็ว หมายถึงถังเสื่อมคุณภาพต้องเปลี่ยนใหม่ สังเกตจากหยดน้ำที่เกาะข้างถัง ถ้ามีหยดน้ำเกาะข้างถัง หมายถึงถังเสื่อมคุณภาพต้องเปลี่ยนใหม่

จุดเปราะบางสำหรับถังสนามคือ ส่วนที่เป็นแกนฝาถัง แกนฝาถังปกติจะบากเป็นร่องสำหรับล๊อคก้านแคนิสเตอร์ คอถังก็จะเป็นร่องสำหรับแขวนก้านแคนิสเตอร์ หากแขวนก้านแคนิสเตอร์ด้วยความรีบร้อน ก้านแคนิสเตอร์ไม่เข้าไปในร่องที่บากตรงคอถัง ผลตามมาคือ

-จะทำให้ปิดฝาถังไม่ได้ และหากฝืนใช้กำลังกดลงไป ฝาถังก็จะปิดได้ แต่จะเปิดออกยาก ซึ่งหากเป็นเช่นนี้บ่อย ๆ ฝาถังจะชำรุดและไนโตรเจนเหลวจะระเหยลดลงเร็วผิดปกติ -ทำให้ฝาถังปิดไม่สนิท เกิดน้ำแข็งเกาะที่ฝาถัง ทำให้เปิดฝาถังไม่ได้ หากใช้แรงมาก ๆ ฝาถังจะหัก

บางแคนิสเตอร์กรวยจะอยู่ทางเดียวกับก้านที่โค้งงอ ทำให้การยกแคนิสเตอร์ขึ้นจากถัง จะต้องยกก้านที่โค้งงอให้พ้นปากถังและดันไปด้านตรงข้ามกับส่วนที่แขวนกับคอถัง จึงสามารถยกแคนิสเตอร์ออกจากถังได้ บางแคนิสเตอร์กรวยจะอยู่ตรงข้ามกับก้านที่โค้งงอที่แขวนกับคอถัง ทำให้สามารถยกแคนิสเตอร์ขึ้นจากถังตรง ๆ ได้เลย

การเติมไนโตรเจนเหลวลงในถังสนาม สามารถเติมได้ทันทีหากถังสนามยังมีไนโตรเจนเหลวเหลืออยู่ การเติมไนโตรเจนเหลวลงในถังสนามควรทำทุก ๆ วัน ถ้าเป็นถังใหม่ยังไม่เคยใส่ไนโตรเจน เหลว หรือเป็นถังที่ทิ้งไว้นานจนไนโตรเจน เหลวแห้งหมด จะไม่สามารถเติมไนโตรเจนได้ทันที ก่อนเติมจะต้องค่อย ๆ ลดอุณหภูมิถังลงก่อน

ถังสต๊อกน้ำเชื้อ มีหลายขนาด ลักษณะโครงสร้างเป็นถัง 2 ชั้น ระหว่างชั้นทั้งสองกรุด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ถังสต๊อก ไม่ควรจะถูกแสงแดดโดยตรง เพราะจะทำให้ถังเสื่อมเร็ว ควรตรวจปริมาณไนโตรเจนเหลวอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยใช้ไม้บรรทัดพลาสติกขนาดยาวจุ่มลงในถังเพื่อวัดระดับไนโตรเจน

วิธีสังเกตว่าถังสต๊อกน้ำเชื้อชำรุดหรือไม่ เช่นเดียวกับถังสนาม คือ สังเกตจากปริมาณไนโตรเจนเหลวลดลงเร็วผิดปกติหรือไม่ ถ้าลดลงเร็ว หมายถึงถังเสื่อมคุณภาพต้องเปลี่ยนใหม่ สังเกตจากหยดน้ำที่เกาะข้างถัง ถ้ามีหยดน้ำเกาะข้างถัง หมายถึงถังเสื่อมคุณภาพต้องเปลี่ยนใหม่

ก้านแคนิสเตอร์หัก ควรเปลี่ยนใหม่ อย่าเอาลวดไปคล้อง ลวดไม่เป็นฉนวนความร้อน ถ้าใช้ลวดคล้องจะทำให้ความร้อนจากภายนอกถ่ายเทเข้าสู่ถังทางลวดที่ผูก ไนโตรเจนเหลวจึงระเหยเร็วกว่าปกติ

กระบอกของก้านแคนนีสเตอร์ (Canister) สำหรับใช้กับถังสต๊อกน้ำเชื้อ ทำด้วยโลหะเป็นทรงกระบอก ด้านล่างของกระบอกจะเจาะรูให้ไนโตรเจนเหลวไหลออกและเข้าได้สะดวก

ปัญหาที่มักเกิดขึ้นคือ กระบอกบรรจุน้ำเชื้อ (Goblet) ลอยหลุดออกจากกระบอกของแคนนีสเตอร์ (Canister) ลงไปอยู่ก้นถัง ทำให้สูญเสียน้ำเชื้อเป็นจำนวนมาก สาเหตุ คือขณะทำการถ่ายน้ำเชื้อใช้เวลานานทำให้ไนโตรเจนเหลวที่ค้างอยู่ในโกลบเบ็ด(Goblet) ลดลง โกลบเบ็ดจึงเบาขึ้น เวลาจุ่มแคนนีสเตอร์กลับลงในไนโตรเจน โกลบเบ็ดจึงลอยออกมานอกแคนนีสเตอร์ และตะแครงจมลงก้นถัง

แก้ไข -ถ้าในแต่ละแคนนีสเตอร์มีโกลบเบ็ดอยู่เพียงอันเดียว ทุกครั้งเวลาจุ่มแคนนีสเตอร์ลงสู่ก้นถัง ให้หาไม้เล็กๆ ยาว กดโกลบเบ็ดตามลงไปด้วยจนกระทั่งระดับของไนโตรเจนเหลวท่วมโกลบเบ็ดจึงดึงไม้ออก -ผูกโกลบเบ็ดติดกับแคนนีสเตอร์ โดยเจาะรูตรงส่วนบนของโกลบเบ็ดและแคนนีสเตอร์ แล้วใช้ลวดเล็กๆ ผูกติดกันไว้ -หากมีโกลบเบ็ดเปล่าหลายอัน ควรจะหา โกลบเบ็ดเปล่า ๆ ขนาดเล็กมาใส่อัดลงไปในแคนนีสเตอร์จนแน่น

ห้ามเก็บน้ำเชื้อใส่ลงในกรวยของแคนนีสเตอร์โดยตรง เพราะในการย้ายถ่ายน้ำเชื้อจากถังเก็บ จำเป็นต้องยกแคนนีสเตอร์ (Canister) ขึ้นมาอยู่ในระดับปากถัง ทำให้ไนโตรเจนเหลวจะไหลออกจากแคนนีสเตอร์จนหมด เนื่องจากแคนิสเตอร์มีรูที่ก้น ทำให้ไม่มีไนโตรเจนเหลวหล่อเลี้ยงหลอดน้ำเชื้อ ส่งผลให้คุณภาพของน้ำเชื้อลดลงอย่างมาก

ถังไนโตรเจน เป็นถังสำหรับเก็บสต๊อกไนโตรเจนเหลว เพื่อเติมลงในถังสต๊อกน้ำเชื้อหรือถังสนาม ถังไนโตรเจนลักษณะโครงสร้างเหมือนกับถังสต๊อกน้ำเชื้อทุกประการ จึงสามารถใช้ถังสต๊อกน้ำเชื้อแทนถังไนโตรเจนได้หากถังไนโตรเจนไม่พอ

ข้อควรจำ -เก็บถังน้ำเชื้อหรือถังไนโตรเจนเหลวไว้ในที่ร่มอย่าให้ถูกแดด หรืออย่าเก็บไว้ในมุมที่มีอากาศร้อน -การเคลื่อนย้ายถังไม่ควรลาก ควรใช้วิธียกหรือหิ้ว การยกวางควรทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้ก้นถังกระแทกกับพื้น แรง ๆ -ขณะหิ้วถังห้ามแกว่งถังไปมา จะทำให้ส่วนเชื่อมระหว่างคอถังที่เป็นฉนวนกับถังโลหะชั้นในหลุดหรือร้าว

-อย่าปล่อยให้ถังแห้ง ถังแต่ละใบควรมีไนโตรเจนเหลวค้างอยู่อย่างน้อย 2 ลิตร -ถ้าหากถังแห้งห้ามเติมไนโตรเจนเหลวลงไปทันที ควรตักไนโตรเจนเหลวใส่กระบอกตวงหรือกระบอกเก็บน้ำเชื้อวางไว้ที่ก้นถังประมาณ 6 ครั้ง ทิ้งไว้ให้ถังปรับสภาพดี แล้วจึงค่อยเติมไนโตรเจนเหลว -ถ้าเป็นถังบรรจุน้ำเชื้อต้องคอยเติมไนโตรเจนเหลวให้ท่วมหลอดน้ำเชื้อตลอดเวลาแต่ไม่ให้เกินระดับคอถังส่วนล่าง

-หมั่นตรวจดูสภาพถังอยู่เสมอ ถ้าระดับไนโตรเจนเหลวลดลงผิดปกติ หรือมีหยดน้ำเกาะอยู่รอบๆ ผิวนอกขอบถัง แสดงว่าถังเริ่มเสื่อมคุณภาพหรือเกิดการชำรุดขึ้นแล้ว -อย่าเปิดถังบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร จะทำให้ไนโตรเจนเหลวระเหยหมดก่อนระยะเวลาอันสมควร -ควรมีการจัดระบบการเก็บรักษาและจ่ายน้ำเชื้อ

น้ำเชื้อแช่แข็ง ปัญหาหลัก ๆ อยู่ที่ -ผลิตไม่มีคุณภาพ -การขนส่งไม่ดี -การเก็บรักษาไม่ดี -การนำไปใช้ไม่ดี

-ผลิตไม่มีคุณภาพ ไม่พบ -การขนส่งไม่ดี -การเก็บรักษาไม่ดี ไนโตรเจนเหลวแห้ง -การนำไปใช้ไม่ดี การถ่ายน้ำเชื้อไปถังสนาม ละลายน้ำเชื้อไม่ถูกวิธี

น้ำยาฆ่าเชื้อ นิยมใช้น้ำยาที่มีชื่อทางการค้า เดทตอล (Dettol) ละลายน้ำในอัตราส่วน 1:100 จะได้ผลในการทำลายเชื้อโรคเป็นอย่างดี ผ้าเช็ดมือ ใช้สำหรับเช็ดมือ เช็ดหลอดน้ำเชื้อ อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เปียกน้ำบ่อย ๆ อาจใช้กระดาษทิชชูแทนได้

แบบบันทึกต่างๆ เมื่อปฏิบัติงานเสร็จแล้วแต่ละครั้ง จะต้องรีบจดบันทึกลงในแบบฟอร์มที่กำหนดทันที กระเป๋าถังสนาม เป็นกระเป๋าที่ใส่ถังสนามและวัสดุผสมเทียมต่าง ๆ เข้าไปในฟาร์ม กระเป๋ามักทำด้วยผ้า การใช้งานควรระมัดระวังให้ดี เพราะอาจขาดได้ ทุก ๆ สัปดาห์ ควรนำกระเป๋าไปซักทำความสะอาดและตากแดดให้แห้ง

สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอขอบคุณ สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์