โรคซึมเศร้า Depressive Disorders พญ.หทัยชนนี บุญเจริญ โรงพยาบาลสวนปรุง
Mood disorders Depressive disorder Major depressive disorders Dysthymic disorder Depressive disorder NOS Bipolar disorders Bipolar I disorder Bipolar II disorder Cyclothymic disorder Bipolar disorder NOS Mood disorder due to…(GMC) Substance – induced mood disorder Mood disorder NOS
โรคซึมเศร้าคืออะไร
ความผิดปกติทางจิตเวช ความคิด (Thought) อารมณ์(Mood) พฤติกรรม( Behavior)
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 1. อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นคนเศร้าสร้อย หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องให้บ่อย อ่อนไหวง่าย บางคนไม่มีอารมณ์เศร้าชัดเจน แต่จะบอกว่า จิตใจหม่นหมอง ไม่แจ่มใส ไม่สดชื่นเหมือนเดิม เบื่อหน่ายไปหมด อะไรที่เคยทำแล้วเพลินใจหรือสบายใจ เช่น ฟังเพลง พบปะเพื่อนฝูง เข้าวัด ก็ไม่อยากทำหรือทำแล้วก็ไม่ได้ทำให้สบายใจขึ้น บางคนอาจมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย อะไรก็ดูขวางหูขวางตา กลายเป็นคนอารมณ์ร้าย
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ (ต่อ) 2. ความคิดเปลี่ยนไป มองอะไรก็รู้สึกแย่ไปหมด มองเห็นแต่ความผิดพลาด ความล้มเหลวของตนเอง ไม่มีใครช่วยตนเองได้ มองไม่เห็นทางออก รู้สึกท้อแท้หมดหวังกับชีวิต ไม่เห็นอนาคต ความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ความคับข้องใจ ทรมานจิตใจเหล่านี้อาจทำให้คิดถึงเรื่องการตายอยู่บ่อยๆ จนถึงเกิดการทำร้ายตัวเองหรือการฆ่าตัวตายขึ้นได้
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ (ต่อ) 3. สมาธิ ความจำแย่ลง 4. มีอาการทางกายต่างๆร่วม ที่พบบ่อยคือ อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง เมื่อพบร่วมกับอารมณ์เบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร ก็จะทำให้คนอื่นมองเป็นคนขี้เกียจ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก บางคนลดถึง 4-5 กก.ใน 1 เดือน อาจมีอาการท้องผูก อืดแน่นท้อง ปากคอแห้ง ปวดหัว ปวดเมื่อตามตัว ปัญหาด้านการนอน มักจะหลับยาก นอนไม่เต็มอิ่ม หลับๆตื่นๆ ที่เป็นลักษณะเฉพาะของโรคซึมเศร้า ได้แก่มักตื่นขึ้นกลางดึก แล้วนอนต่อไม่หลับอีก บางคนตื่นแต่เช้ามืดแล้วนอนต่อไม่ได้
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ (ต่อ) 5. ความสำพันกับคนรอบข้างเปลี่ยนไป มักจะดูซึมลง ไม่ร่าเริงสดใส เหมือนก่อน เก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจากับใคร อาจกลายเป็นคนใจน้อยอ่อนไหวง่าย อาจหงุดหงิดบ่อยกว่าเดิม ซึ่งคนรอบข้างมักจะไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงเปลี่ยนไป 6. การงานแย่ลง 7. อาการโรคจิต จะพบในรายที่เป็นรุนแรง เช่น มีอาการหลงผิด หรือ ประสาทหลอนร่วมด้วย มัก เป็นชั่วคราว
Criteria for Major Depressive Episode อาการต่อไปนี้ > หรือ= 5 ข้อ เกิดขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ และมีการเปลี่ยนแปลงของระดับ functioning ก่อนป่วย โดยอย่างน้อยที่สุดต้องมีอาการ 1 ข้อนี้ คือ (1) depressed mood หรือ (2) loss of interest or pleasure 1.depressed mood (เด็กหรือวัยรุ่นอาจเป็น irritable mood )อารมณ์เศร้าหมอง 2.decrease interest or pleasure (รู้สึกเบื่อ ความสนใจหรือความสนุกสนานร่าเริงลดลงไปมาก) 3.weight loss or weight gain(น้ำหนักลดหรือน้ำหนักเพิ่ม)
Criteria for Major Depressive Episode 4.insomnia or hypersomnia (นอนไม่หลับ หรือนอนหลับมากเกินไป) 5.psychomotor agitation or retardation(กระวนกระวายทั้งกายและใจ หรือเชื่องช้าเซื่องซึม) 6.fatigue or loss of energy (อ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง) 7.feeling of worthlessness หรือ guilt อย่างมาก (รู้สึกไร้ค่าโทษตัวเอง หรือรู้สึกผิดมาก) 8. decrease ability to thing or concentrate or indecisiveness (ความสามารถในการคิดหรือ สมาธิลดลงหรือตัดสินใจไม่ได้) 9.thoughts of death บ่อย ๆ หรือคิดฆ่าตัวตาย (หมกมุ่นเรื่องความตาย ย้ำคิดเรื่องอยากตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย)
Criteria for Major Depressive Episode B.อาการต้องไม่เข้า criteria ของ mixed episode C.อาการที่ก่อให้เกิด distress อย่างมาก หรือรบกวนต่อการปฏิบัติหน้าที่ในด้าน สังคม อาชีพ หรือ functioning ด้านอื่น ๆ D.อาการต้องไม่เกิดจากยาหรือสารเสพติด หรือจากโรคทางกาย E.อาการต้องไม่เกิดจาก Bereavement (ความโศกเศร้าที่เป็นปกติจากการสูญเสียผู้เป็นที่รัก)
Criteria for Dysthymic Disorder มีอารมณ์ซึมเศร้าเป็นส่วนใหญ่ของวัน มีวันที่เป็นมากกว่าวันที่ปกติ โดยทั้งจากการบอกเล่าและการสังเกตอาการของผู้อื่น นานอย่างน้อย 2 ปี B. ในช่วงที่ซึมเศร้า มีอาการดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 อาการขึ้นไป (1) เบื่ออาหารหรือกินจุ (2) นอนไม่หลับหรือ หลับมากไป (3) เรี่ยวแรงน้อยหรืออ่อนเพลีย (4) self-esteem ต่ำ (5) สมาธิไม่ดี หรือตัดสินใจยาก (6) รู้สึกหมดหวัง
Criteria for Dysthymic Disorder C. ในช่วง 2 ปี ของความผิดปกติ ผู้ป่วยไม่มีช่วงเวลาที่ปราศจากอาการตามเกณฑ์ A หรือ B นานเกินกว่า 2 เดือนในแต่ละครั้ง D. ไม่มี Major depressive episode ในช่วง 2 ปีแรกของความผิดปกติ E. ไม่เคยมี Manic episode, Mixed episode, Hypomanic episode F. ไม่ได้เกิดในช่วงของอาการโรคจิตเรื้อรัง เช่น schizophrenia G. อาการมิได้เป็นผลโดยตรงด้านสรีรวิทยาจากสาร (เช่น สารเสพติด ยา ) หรือจากภาวะความเจ็บป่วยทางกาย H. อาการเหล่านี้ก่อให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานอย่างมีนัยสำคัญทางการแพทย์หรือกิจกรรมด้านสังคม การงาน หรือด้านอื่น ๆ ที่สำคัญบกพร่องลง
สาเหตุ ปัจจัยด้านชีวภาพ Genetic: first degree relation 1.5-3 เท่า แฝดไข่ใบเดียวกัน ร้อยละ 66 แฝดไข่คนละใบ ร้อยละ 27 Neurotransmitter system Noreopinephrine,Serotonin Neuroendocrine systems Cortisol, Growth hormone, Thyroid stimulating hormone(TSH)
สาเหตุ ปัจจัยด้านจิตสังคม การมองสิ่งต่างๆในด้านลบ รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า มองอดีตเห็นแต่ความบกพร่องของตนเอง หรือมองโลกในแง่ร้าย มีการสูญเสียบิดามารดาก่อนอายุ 11 ปี Personality disorder มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า
อัตราการตรวจพบโรคซึมเศร้า ในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมชน 5 แห่ง รพ.สันป่าตอง, รพ.สันกำแพง,รพ.สันทราย, รพ.พร้าว และ รพ.บ้านธิ ร้อยละ Depressive Disorder 8.83 Major Depressive Disorder 6.54 Dysthymic Disorder 2.29
การวินิจฉัยแยกโรค Mood disorder due to general medical condition หรือ Substance-induced Adjustment disorder with depressed mood Bereavement Bipolar disorder Anxiety disorder Schizophrenia
Bipolar disorders Bipolar disorder เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีอารมณ์ mania หรือ hypomania สลับกับ major depressive episode กรณีที่ผู้ป่วยมี manic episode สลับกับ major depressive episode จะให้การวินิจฉัยเป็น Bipolar I Disorder ถ้ามี hypomania episode สลับกับ major depressive episode จะให้การวินิจฉัยเป็น Bipolar II Disorder
Criteria for Manic Episode A.มีอาการทางอารมณ์ elevated, expansive, or irritable mood (อารมณ์ร่าเริงมาก ครื้นเครง หรืออารมณ์หงุดหงิด อย่างชัดเจน) เป็นเวลา 1 สัปดาห์ B.ต้องมีอาการต่อไปนี้ >หรือ= 3 ข้อ (4 ข้อ ถ้าอารมณ์เป็น irritable) 1.inflated self – esteem or grandiosity (มีความ ภาคภูมิใจในตัวเองสูงมาก หรือคิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่มี ความสามารถเกินความเป็นจริง) 2. decrease need for sleep 3.พูดมากกว่าปกติ (more talkative) หรือพูดตลอดเวลาไม่หยุด (pressure of speech) 4.flight of idea or thought racing (คิดมากหลายเรื่องหรือ ความคิดแล่นเร็วมาก) 5.distractibility (วอกแวกเปลี่ยนความสนใจง่าย)
Criteria for Manic Episode 6. decrease goal – directed activity or psychomotor agitation (ทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น หรือ มี พฤติกรรมการเคลื่อนไหวมาก อยู่ไม่สุข ชอบทำ โน่นทำนี่ตลอดเวลา) 7.หมกมุ่นอย่างมากกับกิจกรรมที่ให้ความเพลิดเพลิน แต่เสี่ยง ที่จะเกิด ความยุ่งยากหรืออันตรายตามมา (เช่นใช่จ่ายเงิน จนหมดตัว ปล่อยตัวทางเพศอย่าง ไม่เหมาะสม ลงทุนทำธุรกิจอย่างโง่เขลา)
Criteria for Manic Episode C.อาการต้องไเข้า criteria ของ mixed episode D.อาการที่ทำให้ระดับ functioning แย่ลงมากทั้งในด้านอาชีพการงาน กิจกรรมทางสังคมหรือสัมพันธภาพกับผู้อื่น หรือทำให้ต้องรักษาในโรงพยาบาลเพื่อป้องกันอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น หรือมีอาการทางจิตด้วย E.อาการต้องไม่เกิดจากยาหรือสารเสพติด หรือจากความเจ็บป่วยทางกาย
Criteria for Hypomanic Episode สำหรับ hypomania มีอาการเหมือนในข้อ 3 เป็นนานอย่างน้อย 4 วัน อาการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมชัดเจน แต่ไม่รุนแรงจนทำให้มีผลกระทบมาก
โรคหรือยาที่อาจทำให้เกิด อาการคล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้า ยาลดความดัน เช่น Reserpine,Methyldopa, Clonidine,Propanolol ยารักษาโรคพาร์กินสัน เช่น Levodopa,Amantadine ยากลุ่มเสตียรอยด์และฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด,Prednisolone ยารักษามะเร็ง เช่น Vincristine,Vinblastine ยาอื่นๆ เช่น Cimetidine โรค โรคสมองอักเสบ โรคตับอักเสบ โรคระบบประสาท เนื้องอกในสมอง,Multiple sclerosis โรค SLE วัณโรค โรคเอดส์ ไทรอยด์ฮอร์ต่ำ, Cushing syndrome โรคขาดวิตามิน เช่น ขาดวิตามินบี 1
การวินิจฉัย การซักประวัติ ถามถึงอาการและอาการแสดง การเปลี่ยนแปลงต่างๆตั้งแต่เริ่มมีอาการครั้งแรก จนถึงปัจจุบัน เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเล่าถึงปัญหาด้านจิตใจที่เกิดขึ้น รวมทั้งซักประวัติเพิ่มเติมจากญาติและผู้ใกล้ชิด ถามประวัติการเจ็บป่วยต่างๆในอดีต โรคประจำตัว และยาที่ใช้ประจำ รวมถึงสารเสพติดหรือออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ถามประวัติการเจ็บป่วยในญาติสายเลือดเดียวกัน ตรวจร่างกาย และตรวจพิเศษที่จำเป็น
การรักษา Biological treatment Psychosocial treatment Psychopharmacotherapy Electroconvulsive therapy (ECT) Psychosocial treatment Interpersonal therapy Cognitive-behaviour theraoy Short-term psychodynamic psychotherapy Supportive psychotherapy
จะรับไว้ในโรงพยาบาลเมื่อ ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น ไม่กินอาหารเลย อยู่นิ่งๆตลอดวัน คิดอยากตายอยู่บ่อยๆ หรือพยายามฆ่าตัวตาย เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง การปรับยาต้องดูแลใกล้ชิด เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคทางกาย ผู้ป่วยสูงอายุ
ยาแก้ซึมเศร้า ( Antidepressants ) 1.Heterocyclic antidepressants Inibition of reuptake of norepinephrine (NE) and/or serotonin (5-HT) Triyclic antidepressants ;tertiary amines Amitriptyline , Imipramine Tricyclic antidepressants ;secondary amines Nortriptyline, Desipramin Tetracyclic antidepressants Maprotiline(Ludiomil),Mianserine(Tolvon, Tolimed)
ยาแก้ซึมเศร้า ( Antidepressants ) 2. Newer antidepressants Specific serotonin reuptake inhibitor(SSRI) :Fluoxetine(Prozac,Fulox),Sertraline(Zoloft), Paroxetine(Seroxat),Fluvoxamine,Citralopram Other :Mirtazapine(Remeron),Tianeptine,Trazodone,Venlafaxine,Bupropion,Moclobemide
การรักษาด้วยยา 1.การรักษาระยะเฉียบพลัน (Acute treatment) 2.การรักษาระยะต่อเนื่อง ( Continuation treatment) 3.การป้องกันระยะยาว (Prophylactic treatment)
ยาแก้ซึมเศร้า ( Antidepressants ) Amitriptyline 75-150 mg/d Imipramine 75-150 mg/d Nortriptyline 50-100 mg/d Fluoxetine 20-60 mg/d
ระยะเวลาในการรักษา อาการจะดีขึ้นโดยประมาณใน 4 สัปดาห์ ถึง 2-3 เดือน จะให้ยาใกล้เคียงขนาดเดิม 4-6 เดือน เมื่อให้ยาไปจนครบ 6 เดือน ค่อยๆลดยาลงโดยใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน การป้องกันการกลับป่วยซ้ำ กินยานาน 3-5 ปี (การป้องกันระยะยาว)
ข้อบ่งชี้ในการป้องกันระยะยาว 1. มีอาการมาแล้ว 3 ครั้ง 2. มีอาการมาแล้ว 2 ครั้ง ร่วมกับมีภาวะต่อไปนี้ ญาติใกล้ชิดสายเลือดเดียวกันมีประวัติป่วยเป็นโรคนี้ซ้ำๆหลายครั้ง หรือป่วยเป็นโรคอารมณ์แปรปรวน มีประวัติกลับมาป่วยซ้ำอีกภายใน 1 ปีหลังจากหยุดการรักษา เริ่มมีอาการครั้งแรกขณะอายุยังน้อย (ต่ำกว่า 20 ปี) 3. มีอาการเป็นเร็วรุนแรง หรืออันตรายมา 2 ครั้ง ภายในช่วงเวลา 3 ปี
Side effects ( Adverse Effects ) อาการข้างเคียงที่พบได้ในยาแก้ซึมเศร้า กลุ่มเก่า : Amitriptyline, Imipramine, Nortiyptyline ง่วง ซึม เพลีย (Antihistamine และ alpha adrenergic blocking) Anticholinergic effects : ปากแห้ง คอแห้ง ม่านตาขยาย ตาพร่า ปัสสาวะลำบาก อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น, withdrawal symptoms ฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด : postural hypotension (alpha adrenergic blocking), PR และ QRS interval prolong, arrhythmia
Side effects ( Adverse Effects ) อาการข้างเคียงที่พบได้ในยาแก้ซึมเศร้า กลุ่มใหม่ : Fluoxetine กระวนกระวาย พะอืดพะอม คลื่นไส้ จุกแน่นท้อง นอนไม่หลับ ปวดหัว
ECT ข้อบ่งชี้ ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตร่วม ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยาในการรักษา
ภาวะซึมเศร้ารุนแรง (Severe Depression) อาการของผู้ป่วยที่มีโรคซึมเศร้ารุนแรง กระสับกระส่าย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว สิ้นหวัง อยากตาย ไม่มีแรง อ่อนเพลีย รู้สึกตัวเองไร้ค่า เช่น หลงผิดว่าตนเองได้ทำความผิดร้ายแรงไว้ ได้ทำบาปหรือว่าหูแว่ว เป็นเสียงคนมาตำหนิกล่าวโทษ ผู้ป่วยเหล่านี้เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอย่างมาก
การช่วยเหลือและรักษา ผู้ป่วยที่มีโรคซึมเศร้ารุนแรง ถือว่าเป็นภาวะรีบด่วน รับผู้ป่วยให้อยู่ในโรงพยาบาล ใช้มาตราการป้องกันการฆ่าตัวตาย เริ่มให้ยาแก้เศร้าทันที หากผู้ป่วยมีเกณฑ์เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูงมาก ควรรักษาด้วยไฟฟ้า เน้นให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่าต้องติดตามการรักษาในระบบยาว เนื่องจากยังคงเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้ตลอดเวลาการรักษา แม้จะเห็นว่าอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม
การดำเนินโรค มีอาการป่วยเป็นช่วงระยะเวลา (Episode) หากไม่รักษา อาจเป็นอยู่นาน 6 เดือน – 1 ปี แต่มักกลับมาป่วยซ้ำหลายครั้ง ได้รับความทุกข์ทรมานอยู่นาน ทั้งด้านสุขภาพจิตและร่างกาย หากได้รับการรักษา ประมาณ 3 ใน 4 ของผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นชัดเจนโดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์อาการจะเริ่มดีขึ้น ประมาณ 8 สัปดาห์ก็มักจะเห็นผลชัดเจนว่าตอบสนองต่อการรักษาหรือไม่ หากรักษาไปประมาณ 6-8 สัปดาห์แล้วอาการยังดีขึ้นไม่มากจะเปลี่ยนไปใช้ยาขนานอื่น
การดำเนินโรค การกินยาเพื่อป้องกันในผู้ป่วยเหล่านี้จึงมีความสำคัญมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ตอบสนองต่อการรักษาดี แต่ยังมีผู้ป่วยประมาณ 5-10 % ที่ยังคงมีอาการอยู่เรื่อยๆ ไม่หายขาด จากการศึกษาพบว่า ถ้าป่วยหนึ่งครั้ง โอกาสจะกลับมาเป็นอีกร้อยละ 50 ถ้าป่วย 2 ครั้ง โอกาสกลับเป็นซ้ำร้อยละ 70 ถ้าป่วย 3 ครั้ง โอกาสกลับเป็นซ้ำอีกสูงถึงร้อยละ 90 การกินยาเพื่อป้องกันในผู้ป่วยเหล่านี้จึงมีความสำคัญมาก
PATIENT EDUCATION “โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ โรคซึมเศร้า คือ อะไร ? โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้อย่างไร (สาเหตุและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรค) อาการและลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ การรักษา การดำเนินของโรค ความรู้เรื่องยา การรักษาด้วยยาและผลข้างเคียง ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ข้อแนะนำสำหรับญาติ “โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ ไม่ได้เกิดจากความอ่อนแอ คิดมาก หรือเป็นคนไม่สู้ปัญหา”
PATIENT EDUCATION ผู้ป่วยควรได้รับการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในประเด็นต่าง ๆ การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้านี้ อาจทำโดยแพทย์เวชปฏิบัติ พยาบาลสุขภาพจิตหรือเภสัชกร การที่ผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าและวิธีการรักษา จะทำให้เกิดความต่อเนื่องในการรักษาและผลการรักษาดีขึ้น
โรคซึมเศร้า คือ อะไร ? “โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ เป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้ในประชากรทั่วไป จำนวนไม่น้อย โดยพบถึง 1 ใน 20คนของประชากรจะป่วยในแต่ละปี เป็นโรคเหมือนโรคอื่นทั่วๆไป เช่น โรคความดัน โรคเบาหวาน พบว่ามีการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบสารเคมี(neurotransmitters)ในสมอง ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีอารมณ์ซึมเศร้าที่เกิดขึ้นเป็นอยู่นานโดยไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้นหรือเป็นรุนแรงร่วมกับหน้าที่ การทำงานและกิจวัตรประจำวันต่างๆแย่ลง “โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ ไม่ได้เกิดจากความอ่อนแอ คิดมาก หรือเป็นคนไม่สู้ปัญหา”
โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้อย่างไร (สาเหตุและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรค) กรรมพันธุ์ ปัจจัยทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงระบบสารเคมี(neurotransmitters) ในสมอง และฮอร์โมนบางชนิด สาเหตุทางด้านจิตใจ การมองสิ่งต่างๆในด้านลบ อาจสัมพันธ์กับการพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเด็ก พัฒนาการของจิตใจ Personality disorder มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า
อาการและ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 1. อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป 2. ความคิดเปลี่ยนแปลงไป 3. สมาธิ ความจำแย่ลง 4. มีอาการทางร่างกายร่วม 5. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนแปลงไป 6. การงานแย่ลง 7. อาการโรคจิต (พบในรายที่เป็นรุนแรง)
การรักษา การรักษาด้วยยา และ/หรือ จิตบำบัด การรักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าเป็นการรักษาที่สำคัญ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการซึมเศร้ารุนแรง ต้องมีการรักษา ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ควรพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งอย่างสม่ำเสมอ ระยะเวลาในการติดตามการรักษาและกินยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 6-12 เดือนหรือนานกว่านั้นหากมีข้อบ่งชี้
การดำเนินของโรค หากไม่รักษา อาจเป็นอยู่นาน 6 เดือน – 1 ปี แต่มักกลับมาป่วยซ้ำหลายครั้ง ได้รับความทุกข์ทรมานอยู่นาน มีผลกระทบต่างๆตามมามากมาย หากได้รับการรักษา ประมาณ 3 ใน 4 ของผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นชัดเจน โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์อาการจะเริ่มดีขึ้นและประมาณ 8 สัปดาห์ก็มักจะเห็นผลชัดเจน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ตอบสนองต่อการรักษาดี แต่ยังมีผู้ป่วยบางส่วนยังคงมีอาการหรือ เมื่อรักษาหายอาจมีโอกาสป่วยซ้ำได้อีก โดยเฉพาะในรายที่ป่วยหลายครั้ง
ความรู้เรื่องยา การรักษาด้วยยาและผลข้างเคียง ความรู้เรื่องยา การรักษาด้วยยาและผลข้างเคียง ยาต้านซึมเศร้าไม่ใช่ยาเสพติด และ เป็นยาที่ปลอดภัย ควรกินตามแพทย์สั่ง ยานี้จะมีประสิทธิภาพถ้ากินทุกวัน และกินในระยะเวลาที่แพทย์กำหนด เพื่อให้โรคซึมเศร้าหาย เนื่องจากมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หลังกินยาโรคนี้ไม่ได้ดีขึ้นทันที โดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์อาการจะเริ่มดีขึ้นและ ประมาณ 8 สัปดาห์ก็มักจะเห็นผลชัดเจน ยาทุกชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ แต่อาการจะค่อยๆหายไปเมื่อกินไประยะหนึ่ง ดังนั้นไม่ควรหยุดยาเอง หรือถ้ามีปัญหาควรปรึกษาแพทย์ก่อน ควรทานยาต่อไปถึงแม้ว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตาม
ความรู้เรื่องยา การรักษาด้วยยาและผลข้างเคียง ความรู้เรื่องยา การรักษาด้วยยาและผลข้างเคียง ยาต้านซึมเศร้าที่ใช้อยู่โดยทั่วไปมี 2 กลุ่ม ได้แก่ ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มเก่า เช่น Amitriptyline, Imipramine, Nortriptyline มีอาการข้างเคียงที่พบ ได้แก่ ง่วง ซึม เพลียๆ ปากคอแห้ง ตาพร่ามัว ท้องผูก เวียนศีรษะ หน้ามืด ปัสสาวะลำบาก และผลต่อหัวใจ(แต่พบได้น้อย จะเป็นปัญหาในกรณีที่เป็น ผู้สูงอายุ หรือมีโรคหัวใจอยู่ก่อน) ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มใหม่ เช่น Fluoxetine อาการข้างเคียงที่พบได้แก่ กระวนกระวาย ผะอืด ผะอม คลื่นไส้ จุกแน่นท้อง นอนไม่หลับ ปวดหัว
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย การออกกำลังกาย เลือกทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี ใช้เวลาร่วมกับคนที่คุณไว้ใจ ควรหัดทำการผ่อนคลายด้วยวิธีต่างๆ
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย วางเป้าหมายให้กับงานอย่างเหมาะสม อย่าด่วนตัดสินใจเรื่องสำคัญต่อชีวิตในช่วงนี้ กินอาหารให้สมดุล ครบทุกหมู่ หลีกเลี่ยงการดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์
ข้อแนะนำสำหรับญาติ ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า เขาไม่ได้อ่อนแอ ไม่สู้ หรือขี้เกียจ อาการของเขาเป็นจาก โรคซึมเศร้า หรือ เขากำลัง เจ็บป่วย อยู่ มีผู้ป่วยหลายคนที่มีปัญหาซึมเศร้า ไม่ใช่ญาติคุณที่เป็นคนเดียว ท่าทีต่อผู้ป่วย ควรให้ความคาดหวังในตัวเขาลดลง ให้เวลาผู้ป่วยในการระบายความคับข้องใจ เป็นกำลังใจผู้ป่วย และสนับสนุนในการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง การตัดสินใจของผู้ป่วยในช่วงที่ป่วยจะยังไม่ดี ควรให้เขาเลี่ยงการตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆไปก่อน จนกว่าจะเห็นว่าอาการดีขึ้นมากแล้ว
ข้อแนะนำสำหรับญาติ ผู้ที่กำลังซึมเศร้าอาจเกิดความรู้สึกท้อแท้ ไม่เห็นทางแก้ปัญหา อาจมีความคิดอยากตายได้ อาจบอกคนใกล้ชิดเป็นนัยๆเปรยๆทำนองสั่งเสีย ล่ำลา หรือ พยายามจะทำร้ายตัวเอง วางแผนฆ่าตัวตาย ควรใส่ใจถือเป็นเรื่องสำคัญและรีบพามาพบแพทย์ใกล้บ้านโดยด่วน โรคซึมเศร้าไม่ได้ดีขึ้นทันทีที่กินยา ต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์อาการจึงจะดีขึ้นอย่างชัดเจน การรักษาด้วยยามีความสำคัญ ควรช่วยดูแลเรื่องการกินยาของผู้ป่วย โดยเฉพาะในช่วงแรกที่ผู้ป่วยยังซึมเศร้ามาก หรืออาจมีความคิดอยากตาย
THANK YOU