ทำวัตรเช้า
บทนมัสการพระรัตนตรัย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ข้าพเจ้าอภิวาท,พระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้, ผู้ตื่น, ผู้เบิกบาน (กราบ)
สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว ธัมมัง นะมัสสามิ ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว สังฆัง นะมามิ ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)
บทนมัสการพระพุทธเจ้า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, พระองค์นั้น อะระหะโต ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส สัมมา สัมพุทธัสสะ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง (ว่า ๓ หน)
บทพุทธคุณ (นำ) อิติปิ โส ภะคะวา (รับพร้อมกัน) แม้เพราะเหตุนั้น, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น อะระหัง เป็นผู้ไกลจากกิเลส สัมมาสัมพุทโธ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ สุคะโต วิชชาจะระณะสัมปันโน เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ สุคะโต เป็นผู้เสด็จไปแล้วด้วยดี โลกะวิทู เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้, อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ เป็นครูผู้สอนของเทวดา, และมนุษย์ทั้งหลาย พุทโธ เป็นผู้รู้, ผู้ตื่น, ผู้เบิกบานด้วยธรรม ภะคะวาติฯ เป็นผู้มีความจำเริญ, จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์
บทธรรมคุณ สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรมนั้นใด,เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว สันทิฏฐิโก เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ,พึงเห็นได้ด้วยตนเอง อะกาลิโก เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้, และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า, ท่านจงมาดูเถิด โอปะนะยิโก เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน
บทสังฆคุณ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,หมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,หมู่ใด, ปฏิบัติสมควร แล้ว ยะทิทัง ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา คู่แห่งบุรุษสี่คู่, นับเรียงตัวบุรุษได้แปดบุรุษ เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้พระภาคเจ้า
อาหุเนยโย เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา ปาหุเนยโย เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ ทักขิเณยโย เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน อัญชะลีกะระณีโย เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
บทโอวาทปาติโมกขคาถา สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง การไม่ทำบาปทั้งปวง กุสะลัสสูปะสัมปะทา การทำกุศลให้ถึงพร้อม สะจิตตะปะริโยทะปะนัง การชำระจิตของตนให้ผ่องใส
เอตัง พุทธานะ สาสะนัง ธรรม ๓ อย่างนี้,เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา ขันติ คือ ความอดกลั้น, เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา ผู้รู้ทั้งหลาย,กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง
นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี ผู้เบียดเบียนผู้อื่นอยู่, ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่, ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย ปาติโมกเข จะ สังวะโร การสำรวมในปาติโมกข์
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสฺมิง ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด อะธิจิตเต จะ อาโยโค การเพียรประกอบ, ในการอธิจิต เอตัง พุทธานะสาสะนัง ธรรม ๖ อย่างนี้, เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
บทสวดมงคลแห่งชีวิต [๑] การไม่คบคนพาล [๒] การคบบัณฑิต [๓] การบูชาคนที่ควรบูชา [๔] การอยู่ในประเทศที่สมควร [๕] ความเป็นผู้ทำบุญแล้วในกาลก่อน [๖] การตั้งตนไว้ชอบ [๗] ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก [๘] ความเป็นผู้มีศิลปะ
[๙] ความเป็นผู้มีวินัยอันศึกษาดีแล้ว [๑๐] วาจาอันเป็นสุภาษิต [๑๑] การบำรุงมารดาและบิดา [๑๒] การสงเคราะห์บุตร [๑๓] การสงเคราะห์ภรรยา [๑๔] การงานไม่อากูลและคั่งค้าง [๑๕] การให้ [๑๖] การประพฤติธรรม [๑๗] การสงเคราะห์หมู่ญาติทั้งหลาย
[๑๘] การงานทั้งหลายไม่มีโทษ [๑๙] การเว้นจากบาป [๒๐] การสำรวมจากการดื่ม [๒๑] ความไม่ประมาท ในธรรมทั้งหลาย [๒๒] ความเคารพ [๒๓] ความนอบน้อม [๒๔] ความยินดีด้วยของๆ ตน [๒๕] ความเป็นผู้รู้คุณของผู้อื่น [๒๖] การฟังธรรมตามกาล
[๒๗] ความอดทน [๒๘] ความเป็นผู้ว่าง่าย [๒๙] การเห็นสมณะทั้งหลาย [๓๐] การสนทนาธรรมตามกาล [๓๑] ความเพียรเผากิเลส [๓๒] การประพฤติอย่างพรหม [๓๓] การเห็นซึ่งอริยสัจทั้งหลาย [๓๔] การกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน [๓๕] จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
[๓๖] จิตไม่มีความเศร้าโศก [๓๗] จิตปราศจากธุลี [๓๘] จิตอันเกษมจากโยคะ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย กระทำมงคลเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดี ในที่ทั้งปวง นี้ เป็นมงคลอันสูงสุด ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
กุศลกรรมบถ : มาตรฐานมนุษย์ ข้าพเจ้าขอสมาทานกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ เป็นมาตรฐาน คุณภาพชีวิต ดังนี้ ๑.ไม่ฆ่าสัตวด้วยตนเอง,ไม่ยุให้คนอื่นฆ่า,และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่น จักฆ่าสัตว์ ๒.ไม่ถือเอาทรัพย์สินของผู้อื่น,โดยที่เจ้าของไม่อนุญาตด้วย ตนเอง,ไม่ยุยงให้คนอื่นถือเอา,และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจัก ถือเอาของของเขา ๓. ไม่ละเมิดบุตร,ภรรยาของผู้อื่น,ไม่ยุให้คนอื่นละเมิด และไม่ ยินดีเมื่อผู้อื่นจักละเมิด ๔. ไม่พูดจาที่ไม่มีความจริง ๕. ไม่พูดวาจาหยาบ,ให้เป็นที่สะเทือนใจของผู้ใด
๖. ไม่พูดวาจาส่อเสียด,นินทา,ยุยงให้ผู้ใดแตกร้าวกัน ๗. ไม่พูดวาจาที่ไม่มีประโยชน์,เพ้อเจ้อ ๘. ไม่คิดเพ่งอยากได้,ในสิทธิ์ของผู้ใด ๙. ไม่คิดเพ่งโทษ,หรือจองเวร ผู้ใด ๑๐. มีความเห็นตรงต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า,ไม่มีจิตคิดค้าน สัจธรรม กุศลกรรมบถสิบประการนี้,คือมาตรฐานคุณภาพชีวิตของ ข้าพเจ้า,ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เจริญเมตตาแก่ตนเอง อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้า.....มีความสุข อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้า.....มีความสุข อะหัง นิททุกโข โหมิ ขอให้ข้าพเจ้า.....ปราศจากความทุกข์กายและทุกข์ใจ อะหัง อะเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้า.....ปราศจากเวรและกรรม
อะหัง อัพพะยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้า.....ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ ขอให้ข้าพเจ้าจงมีสติและสัมปชัญญะ,อยู่ทุกเมื่อ รักษากาย,วาจา,ใจ,ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
เจริญพรหมวิหาร สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย,ที่เป็นเพื่อนทุกข์,เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุข ๆ เถิด, อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย อะโรคา โหนตุ จงเป็นสุข ๆ เถิด,อย่าได้มีความเจ็บไข้,ลำบากกาย,ลำบาก ใจเลย
อัพพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุข ๆ เถิด,อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุข ๆ เถิด,อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ จงมีความสุขกายสุขใจ,รักษาตัวของตน,ให้พ้นจากทุกข์ภัย ทั้งสิ้นเถิด