หูกวาง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia catappa Linn. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Indian Almond, Sea Almond ชื่ออื่น : โคน (นราธิวาส), ดัดมือ ตัดมือ (ตรัง), ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล), ตาแปห์ (มลายู-นราธิวาส), หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี), หูกวาง (ภาคกลาง) ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้น เปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบสอบแคบ เว้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก สีขาวนวล ผลเป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อมๆ แบนเล็กน้อย เมื่อแห้งสีดำคล้ำ ประโยชน์ เปลือกและผลมีรสฝาดมาก ใช้แก้ท้องเสีย ย้อมหนังสัตว์ ทำหมึก เมล็ดในผลรับประทานได้ ให้น้ำมัน คล้ายน้ำมันอัลมอนด์
โมก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia religiosa. วงศ์ : APOCYNACEAE ชื่อสามัญ : Moke ชื่ออื่น : โมกหลวง ลักษณะทั่วไป โมกเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบตามเรือกสวนไร่นาและตามป่า เบญจพรรณทั่วๆ ไปลำต้นมีความสูง ประมาณ 5–12 ประโยชน์ รากใช้รักษาโรคผิวหนัง แก้พิษสัตว์กัดต่อย ใบ ใช้ขับน้ำเหลือง ดอก เป็นยาระบาย เปลือก เป็นยาเจริญอาหาร รักษาโรคไต ยางจากต้นแก้บิด มักปลูกเป็นไม้ประดับ
เข็มญี่ปุ่น ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ixora stricta Roxb. ชื่อวงศ์ : Rubiaceae ชื่อสามัญ : - ชื่อพื้นเมือง : เข็มแดง เข็มเชียงใหม่ ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ประดับที่มีทรงพุ่มขนาดเล็ก ใบมีขนาดเล็ก และแข็งกว้างประมาณ 1 ซ.ม. และยาวประมาณ 3 ซ.ม ลำต้นสูงประมาณ 30 - 60 ซ.ม. ออกดอกทั้งปี ดอกเป็น ช่อสีแดง เข็มญี่ปุ่นนี้นิยมปลูกเป็นแถวเป็นแนวตามข้าง ทางเดินหรือตามข้างถนน ประโยชน์ ปลูกประดับตามทางเดิน