หมากเขียว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ptychosperma acarthurii H. Wendl. ชื่อวงศ์ : Palmae ชื่อสามัญ : MacArthur's plam ชื่ออื่น : ปาล์มหมาก หมากฝรั่ง หมากพร้าว ลักษณะทั่วไป หมากเขียวนี้จะแตกหน่อขึ้นเป็นกอรอบลำต้น มีสีเขียวปนเทาหรือน้ำตาลปนเทา เมื่อแก่มีข้อปล้องที่มองเห็นได้ชัดที่ลำต้นใบมีสีเขียวแก่ ส่วนใต้ใบสีเขียว อ่อนมีลักษณะรูปขนนก ปลายใบตัดและเป็นฟันแหลม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันมาก สามารถอยู่ได้ทั้งในร่มและกลางแดด ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นฉากกั้นสายตา
จันทร์ผา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dracaena loureiri Gagnep. ชื่อวงศ์ : Agavaceae ชื่อสามัญ : - ชื่อพื้นเมือง : จันทน์แดง ลักกะจันทน์ ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ประดับที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย โดยเฉพาะตามป่าเขา ลำต้นมีความแข็งแกร่งมาก การแตกใบจะแตกออกบริเวณยอด ใบสีเขียวเข้ม เป็นรูปหอก ใบเรียว และยาว ปลายใบแหลม ประโยชน์ : แก่นมีสรรพคุณบำรุงหัวใจ แก้เลือดออกตามไรฟัน
หนวดปลาดุกแคระ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ophiopogon japonicus (L.f.) Ker-Gawl. 'Kyoto Dwarf' ชื่อวงศ์ : Liliaceae ชื่อสามัญ : - ชื่อพื้นเมือง : - ลักษณะทั่วไป เป็นกอคลุมดินสูง 5-10 เซนติเมตร เป็นกอเล็กกะทัดรัด ใบยาวสีเขียวเหมาะกับการปลูกแทรก ตามก้อนหินหรือพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆก็สวยงาม เพราะ ต้นค่อนข้างเตี้ยกว่าต้นไม้อื่นๆ ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
กล้วยพัด ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ravenala madagascariensis Sonn. ชื่อวงศ์ : Strelitziaceae ชื่อสามัญ : Traveller's- tree ชื่อพื้นเมือง : กล้วยฝรั่ง กล้วยลังกา กล้วยศาสนา ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น ลำต้นตรงกลม มีข้อสั้นๆ คล้ายตาล ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่มากกว่าคล้ายใบกล้วย รูปใบขอบขนานเรียงเป็นสองทางสลับซ้ายขวาจนถึงยอด ทำให้มีลักษณะคล้ายพัดขนาดใหญ่ ก้านใบยาวและหุ้มลำต้นไว้ ดอกสีขาวออกเป็นช่อตามซอกใบ มีใบประดับแข็งๆ เป็นกาบคล้ายรูปเรือหุ้มช่อดอก โดยกาบนี้จะเรียงสลับกันซ้ายขวา เป็นช่อแบนๆ ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีหลายดอกในแต่ละใบประดับ ผลเมล็ดแก่สีน้ำเงินเข้ม รูปทรงกลม ประโยชน์ เครื่องประดับและหัตถกรรมได้หลายชนิด
กกอียิปต์ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyperus papyrus L. ชื่อวงศ์ : Cyperaceae ชื่อสามัญ - ชื่ออื่น - ลักษณะทั่วไป : ไม้ริมน้ำ อายุหลายปี ลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าใหญ่ แข็ง ลำต้นเหนือดินแตกกอ ต้นเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมมน ภายในตัน ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เปลือก แก้อาเจียน ถ่ายพิษไข้ เนื้อฝัก เป็นยาระบายอ่อน ๆ เมล็ดทำให้อาเจียนถ่ายพิษไข้