บทที่ ๖ การวิเคราะห์ข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS DATA ANALYSIS)
๖.๑ บทนำ การวิเคราะห์ข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นหลักที่สำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แตกต่างจากโปรแกรมอื่นๆ ที่ใช้ในการจัดทำแผนที่เพียงอย่างเดียว หรือจัดทำฐานข้อมูลเพียงอย่างเดียว ซึ่งในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นั้นจะใช้รายละเอียดข้อมูลทั้งที่เป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) และข้อมูลเชิงบรรยาย (Non-spatial data) มาใช้ในการวิเคราะห์
๖.๒ รูปแบบของการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ๖.๒.๒ การวิเคราะห์ด้วย GIS และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ ดั้งเดิม ๖.๒.๑ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และระบบสารสนเทศ อื่นๆ
๖.๓ รูปแบบการวิเคราะห์ด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ร่วมกับข้อมูลเชิงคุณลักษณะได้ ทำให้การวิเคราะห์ที่ต้องการจึงมีความซับซ้อน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้หลายๆ อย่าง เช่น
การสอบถามข้อมูลการหาที่ตั้ง (Location) สอบถามข้อมูลโดยการตั้งเงื่อนไข (Condition) การสอบถามข้อมูลถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง (Trends) การสอบถามข้อมูลรูปแบบการเปลี่ยนแปลง (Patterns) การสอบถามข้อมูลด้วยการสร้างแบบจำลอง (Modeling)
ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์อาจจะแบ่งรูปแบบหลักในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ 3 รูปแบบคือ ก) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Analysis of Spatial Data ) ข) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยาย (Analysis of Attribute Data) ค) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ร่วมกับข้อมูลเชิงบรรยาย (Integrated analyses of spatial and attribute data)
๖.๓.๑ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Analysis of the Spatial Data) ก) การแปลงระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Transformation or Projection) รูปที่ 6.1 ผลลัพธ์ที่ได้จากการแปลงพิกัดจากระบบ Geographic มาเป็น UTM
ข) การต่อแผนที่ (Mosaic) หรือการเทียบขอบ (Edge-matching) รูปที่ 6.2 รูปแบบการต่อแผนที่โดยใช้โปรแกรมช่วย
ค) คำนวณพื้นที่, เส้นรอบวง และระยะทาง การคำนวณพื้นที่ที่อยู่ในฐานข้อมูล และสามารถวัดพื้นที่เส้นรอบวง ความยาวเส้น และระยะทางของเส้นได้ โดยโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะคำนวณได้อัตโนมัติหลังการทำ Topology แล้ว หรือ อาจจะสอบถามผ่านโปรแกรมได้ โดยใช้เครื่องมือหรือคำสั่งในโปรแกรมเพื่อบอกระยะทางและพื้นที่ได้
๖.๓.๒ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยาย (Analysis of Non-Spatial Data) ในการประมวลผลข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เราจะใช้การแก้ไขข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้อง และวิเคราะห์ผล ข้อมูลเชิงบรรยาย ซึ่งกระบวนการนี้ดูคล้ายกับกระบวนการวิเคราะห์ผลในรูปแบบดั้งเดิม ซึ่งอาศัยกระบวนการฐานข้อมูลและสถิติ
ก) การแก้ไขข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Editing Function) รูปที่ 6.3 การแก้ไขและการเชื่อมความสัมพันธ์ตาราง
ข) การสอบถามข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Query Function) รูปที่ 6.4 การสอบถามข้อมูลโดยตั้งเงื่อนไข
ค) กระบวนการทางสถิติ (Attribute Statistic Function) รูปที่ 6.5 คำนวณค่าสถิติของข้อมูลเชิงคุณลักษณะ
๖.๓.๓ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ร่วมกับข้อมูลเชิงบรรยาย (Integrated Analysis of the Spatial and Non-Spatial Data) ก) การเรียกค้นข้อมูล, การแบ่งกลุ่มข้อมูล และการวัด (Data retrieval, Classification and Measurement) 1) การเรียกค้นข้อมูล (Retrieval) 2) การแบ่งกลุ่มข้อมูล (Classification) 3) การวัด (Measurement)