การบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ บทที่ 10 การบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์
การบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการที่จะรักษาทรัพยากรมนุษย์ผู้ซึ่งได้ผ่านการคัดเลือกเข้ามาทำงานในองค์กร ได้มีความพึงพอใจที่จะทำงานให้กับหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพและทำงานให้นานที่สุด
ความสำคัญของการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ 1. เพิ่มผลผลิตให้กับองค์กร 2. สร้างขวัญ กำลังใจ และความพึงพอใจในการทำงาน 3. เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร (บุคลากรภาคภูมิใจ) 4. องค์กรได้รับการยอมรับจากหน่วยงานต่างๆ
วัตถุประสงค์ของการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ 1. เพื่อลดอัตราการลาออกของคนงานและจูงใจให้คนที่ มีความสามารถเข้าทำงานกับองค์กร 2. เพื่อบำรุงขวัญและกำลังใจในการทำงานของคนงาน 3. เพิ่มความมั่นคงให้กับชีวิตคนงาน
สาเหตุในการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ 1. สาเหตุขององค์กร - มนุษย์เป็นสิ่งมีคุณค่าและเสื่อมเป็นธรรมดา - มนุษย์มีชีวิตจิตใจและต้องการดูแลเอาใจใส่ - มนุษย์มีพลังความสามารถทางกายจำกัด - มนุษย์เป็นผู้มีปัญญาและความสามารถ 2. สาเหตุของมนุษย์ เมื่อมนุษย์มีคุณค่าและเหตุผลควรแก่การบำรุงรักษา
ประเภทของการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ 1. ประเภทที่กฎหมายบังคับว่าต้องมี (Legally Required) - ประกันสังคม - เงินทดแทนเมื่อได้รับอุบัติเหตุ - การประกันสุขภาพ - กองทุนทดแทน 2. การให้บำนาญและอื่นๆ (Pension and Other) การประกันชีวิต, ค่าช่วยเหลือต่างๆ เช่น หุ้น ที่อยู่อาศัย ฯ
ประเภทของการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ 3. การบริการต่างๆ ให้กับพนักงาน (Employee Service) สโมสรกีฬา, อาหารกลางวัน, บ้านพัก, ห้องสมุด, ที่จอดรถฯ 4. การจ่ายค่าตอบแทนให้แม้ไม่ได้ทำงาน วันหยุดพักผ่อน, วันลาป่วย ลากิจ, ไปราชการ, วันเลือกตั้งฯ 5. โบนัสและเงินรางวัลอื่นๆ (Bonus and Awards) ค่าล่วงเวลา, โบนัสประจำปี, โบนัสการผลิต, การแบ่ง ผลกำไร, เงินรางวัลวันครบรอบกิจการ ฯ
หลักการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ 1. หลักแห่งความเสมอภาค 2. หลักแห่งผลประโยชน์ 3. หลักแห่งการจูงใจ 4. หลักแห่งการตอบสนอง ความต้องการ 5. หลักแห่งประสิทธิภาพ 6. หลักแห่งการประหยัด 7. หลักแห่งการสร้างขวัญ และกำลังใจ 8. หลักแห่งความสะดวก 9. หลักแห่งงบประมาณ 10. หลักแห่งความยุติธรรม
การบริหารและการจัดกิจกรรมบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ ทั่วไป 1. พนักงานมีส่วนร่วมในการให้ คำปรึกษาหารือ การวางแผน และนโยบาย 2. การจัดกิจกรรมควรเป็นไปเพื่อ ยกฐานะความเป็นอยู่ของคนงาน ให้ดีขึ้น 3. การจัดกิจกรรมควรเป็นประโยชน์ทั้งคนงานและองค์กร 4. การจัดกิจกรรมแบบให้เปล่า แบบญี่ปุ่น 1. ระบบการจ้างงานตลอดชีวิต 2. การเลื่อนขั้นเป็นไปอย่างปานกลาง 3. แนวทางอาชีพไม่เฉพาะด้าน 4. กลไกการควบคุมงานอยู่ในจุดสมดุล 5. การตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม 6. คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม มากที่สุด
ปัญหาและอุปสรรคในการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ 1. การตั้งความหวังของคนงานสูงเกินไป 2. คนงานมีความมั่นใจในตัวเองมากเกินไป 3. คนงานขาดความเป็นผู้ใหญ่ 4. ขาดการเรียนรู้ระบบขององค์กร 5. ความสามารถเฉพาะตนไม่สอดคล้องกับงาน 6. ความก้าวหน้าและค่าจ้างไม่เพียงพอ
ประโยชน์ของการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ 1. ประโยชน์ที่มีผลต่อคนงาน - คนงานมีขวัญและกำลังใจในการทำงานดีขึ้น - คนงานมีความเป็นอยู่ดีขึ้น - ความไม่พึงพอใจในการทำงานลดลง - คนงานมีความเข้าใจถึงนโยบายและจุดมุ่งหมาย ขององค์กรดีขึ้น - คนงานมีความสัมพันธ์ระหว่างกันดีขึ้น
ประโยชน์ของการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ 2. ประโยชน์ที่มีผลต่อองค์กร - องค์กรมีประสิทธิภาพในการผลิตดีขึ้น - องค์กรได้กำไรมากขึ้น เนื่องจากประสิทธิภาพของคนงานดีขึ้น - การทำงานในองค์กรประสานงานกันได้ดีขึ้น - ปัญหาเกี่ยวกับคนงานมีน้อยลง - องค์กรกับคนงานมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน - องค์กรได้มีโอกาสชี้แจงนโยบายและหลักการต่อคนงาน - องค์กรสามารถลดค่าใช้จ่ายในการสรรหา คัดเลือก บรรจุ และฝึกอบรม
เมื่อท่านได้รับมอบหมายจากองค์กรให้จัดทำแผนบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ประจำปี 2552 ท่านจะใช้แนวทางและวิธีการในการจัดอย่างไร ให้อ้างถึงทฤษฎีแล้วยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน