และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎหมายสรรพสามิต และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สุวัฒน์ ไวยุพัฒนธี รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง
กฎหมายที่สำคัญซึ่งเกี่ยวกับ การปฏิบัติราชการกรมสรรพสามิต กฎหมายภาษีสรรพสามิต การบริหารจัดเก็บภาษี การตรวจปราบปราม - พ.ร.บ. ทุกฉบับที่รับผิดชอบ - ประมวลรัษฎากร - กฎหมายศุลกากร - พ.ร.บ. ชดเชยค่าภาษีอากร ฯ - พ.ร.บ. การนิคมอุตสาหกรรม ฯ ฯลฯ - ป. อาญา - ป. วิ. อาญา - พ.ร.บ. ยาเสพติด ฯ ฯลฯ กฎหมายควบคุมการปฏบัติราชการ - พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ - พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ - พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฯ - พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิด ฯ - พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร ฯ - กฎหมายอื่น ๆ
ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายภาษีสรรพสามิต พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ พ.ร.บ. วิ.ปกครองฯ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ กฎหมายภาษีสรรพสามิต การบริหารจัดเก็บภาษี การตรวจปราบปราม ใช้ พ.ร.บ. วิ.ปกครองฯ ยกเว้นจาก พ.ร.บ. วิ.ปกครองฯ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ พ.ร.บ. ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดฯ
คำร้องขอต่อเจ้าหน้าที่ของประชาชน ฟ้องศาลปกครอง (ม. 48)/ศาลภาษีอากร วงจรการบังคับใช้ พ.ร.บ. วิ.ปกครอง ฯ คำร้องขอต่อเจ้าหน้าที่ของประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจตามกฎหมาย การพิจารณาของเจ้าหน้าที่ (ม. 26-33) เจ้าหน้าที่ (ม. 12-20) คู่กรณี (ม. 21-25) คณะกรรมการ (ม. 75-84) การแจ้ง (ม. 68-74) คำสั่งทางปกครอง (ม. 34-43) ระยะเวลาและอายุความ (ม. 64-67) อุทธรณ์ (ม. 44-48) เพิกถอน (ม. 49-53) ขอให้พิจารณาใหม่ (ม. 54) บังคับทางปกครอง (ม. 55-63) ฟ้องศาลปกครอง (ม. 48)/ศาลภาษีอากร
พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 3 วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
ข้อที่ต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 3 กฎหมายเฉพาะ (กฎหมายสรรพสามิต) - มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม - มีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการ ** ต่ำกว่าหรือสูงกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ ** - มิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งตามกฎหมายสรรพสามิต
พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ ... มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ ... (8) การดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมในทางอาญา ... ” มาตรา 5 “วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองหรือกฎ และรวมถึงการดำเนินการใด ๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้ “การพิจารณาทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง
พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 5 “คำสั่งทางปกครอง” หมายความว่า (1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ (2) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
พ.ร.บ. วิ.ปกครอง ฯ ส่วนที่จำเป็น สำหรับกฎหมายสรรพสามิต 1. คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ผู้กระทำคำสั่งทางปกครอง (ม. 12 และ 13) 2. สิทธิของคู่กรณีในการมีทนายความหรือที่ปรึกษา (ม.23) 3. เอกสารที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ (ม. 26) 4. การแจ้งสิทธิและการชี้แจง (ม. 27 และ 30)
พ.ร.บ. วิ.ปกครอง ฯ ส่วนที่จำเป็น สำหรับกฎหมายสรรพสามิต 5. รูปแบบและผลของคำสั่งทางปกครอง (ม. 37, 40 และ 41) 6. การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง (ม. 44) 7. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง (ม. 49, 51 - 53) 8. การขอให้พิจารณาใหม่ (ม. 54) 9. การบังคับทางปกครอง (ม. 57, 62 และ 63) 10. การแจ้งคำสั่งทางปกครอง (ม. 68, 69, 70, 71 และ 74)
พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 23 ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ คู่กรณีมีสิทธินำทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้ การใดที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้ทำลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทำของคู่กรณี เว้นแต่คู่กรณีจะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น
พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 26 เอกสารที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ให้จัดทำเป็นภาษาไทย ถ้าเป็นเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้คู่กรณีจัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยที่มีการรับรองความถูกต้องมาให้ภายในระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนด ในกรณีนี้ให้ถือว่าเอกสารดังกล่าวได้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ในวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับคำแปลนั้น เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะยอมรับเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ และในกรณีนี้ให้ถือว่าวันที่ได้ยื่นเอกสารฉบับที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศเป็นวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารดังกล่าว การรับรองความถูกต้องของคำแปลเป็นภาษาไทยหรือการยอมรับเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฯ มาตรา 16 บรรดาบัญชี เอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวกับหรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าเกี่ยวกับการเสียภาษี หรือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศ อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้าจัดการแปลเป็นภาษาไทยให้เสร็จและส่งภายในกำหนดเวลาที่เห็นสมควร ...”
พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 27 ให้เจ้าหน้าแจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนพิจารณาทางปกครองให้คู่กรณีทราบตามความจำเป็นแก่กรณี ...” มาตรา 30 ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน
พ.ร.บ. วิ. ปกครองฯ มาตรา 37 คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (1) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ (2) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง (3) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนการใช้ดุลพินิจ ...”
พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 41 คำสั่งทางปกครองที่ออกโดยการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ไม่เป็นเหตุให้คำสั่งทางปกครองนั้นไม่สมบูรณ์ … (2) คำสั่งทางปกครองที่ต้องจัดให้มีเหตุผลตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง ถ้าได้มีการจัดให้มีเหตุผลดังกล่าวในภายหลัง … เมื่อมีการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (3) หรือ (4) แล้ว และเจ้าหน้าที่ผู้มีคำสั่งทางปกครองประสงค์ให้ผลเป็นไปตามคำสั่งเดิม ให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นบันทึกข้อเท็จจริงและความประสงค์ของตนไว้ในหรือแนบไว้กับคำสั่งเดิมและต้องมีหนังสือแจ้งความประสงค์ของตนให้คู่กรณีทราบด้วย กรณีตาม (2) (3) และ (4) จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ตามส่วนที่ 5 ของหมวดนี้ หรือตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการนั้น หรือถ้าเป็นกรณีไม่ต้องมีการอุทธรณ์ดังกล่าวก็ต้องก่อนมีการนำคำสั่งทางปกครองไปสู่การพิจารณาของผู้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยความถูกต้องของคำสั่งทางปกครองนั้น
พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 40 คำสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ให้ระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้ง การยื่นคำอุทธรณ์หรือโต้แย้ง และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งดังกล่าวไว้ด้วย ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่ง ให้ระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือโต้แย้งเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีการแจ้งใหม่และระยะเวลาดังกล่าวมีระยะเวลาสั้นกว่าหนึ่งปี ให้ขยายเป็นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งทางปกครอง
พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 44 ภายใต้บังคับมาตรา 48 ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรีและไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองไว้เป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว ...”
พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 68 บทบัญญัติในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับกับการแจ้งซึ่งไม่อาจกระทำโดยวาจาหรือเป็นหนังสือได้ หรือมีกฎหมายกำหนดการแจ้งไว้เป็นอย่างอื่น … มาตรา 69 การแจ้งคำสั่งทางปกครอง การนัดพิจารณา หรือการอื่นที่เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบอาจกระทำด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะให้กระทำเป็นหนังสือก็ให้แจ้งเป็นหนังสือ การแจ้งเป็นหนังสือให้ส่งหนังสือแจ้งต่อผู้นั้น หรือถ้าได้ส่งไปยังภูมิลำเนาของผู้นั้นก็ให้ถือว่าได้รับแจ้งตั้งแต่ขณะที่ไปถึง ในการดำเนินการเรื่องใดที่มีการให้ที่อยู่ไว้กับเจ้าหน้าที่ไว้แล้ว การแจ้งไปยังที่อยู่ดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการแจ้งไปยังภูมิลำเนาของผู้นั้นแล้ว
พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 70 การแจ้งเป็นหนังสือโดยวิธีให้บุคคลนำไปส่ง ถ้าผู้รับไม่ยอมรับหรือถ้านำไปส่งไม่พบผู้รับ และหากได้ส่งให้กับบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะที่อยู่หรือทำงานในสถานที่นั้น หรือในกรณีที่ผู้นั้นไม่ยอมรับ หากได้วางหนังสือนั้นไว้ในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานที่นั้นต่อหน้าเจ้าพนักงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ไปเป็นพยานก็ให้ถือว่าได้รับแจ้งแล้ว มาตรา 71 การแจ้งโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีภายในประเทศ หรือเมื่อครบกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการได้รับหรือได้รับก่อนหรือหลังจากวันนั้น
พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฯ มาตรา 18 หนังสือเรียก หนังสือแจ้งให้เสียภาษี หรือหนังสืออื่นที่มีถึงบุคคลใด เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตนำไปส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของบุคคลนั้นในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของบุคคลนั้น ถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของผู้รับนั้นก็ได้ ถ้าไม่สามารถส่งหนังสือตามวิธีในวรรคหนึ่ง จะกระทำโดยวิธีปิดหนังสือนั้นในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สำนักงาน โรงอุตสาหกรรม ภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ของผู้รับนั้นหรือโฆษณาข้อความย่อในหนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายเป็นปกติในท้องที่นั้นก็ได้
พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 57 คำสั่งทางปกรองที่กำหนดให้ผู้ใดชำระเงิน ถ้าถึงกำหนดแล้วไม่มีการชำระโดยถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือเตือนให้ผู้นั้นชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคำเตือน เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นและขายทอดตลาดเพื่อชำระเงินให้ครบถ้วน วิธีการยึด การอายัดและการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ส่วนผู้มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดหรือขายทอดตลาดให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฯ มาตรา 140 ทรัพย์สินของผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ค้างชำระภาษีอาจถูกยึดและขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระภาษีที่ค้าง โดยให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือยึดหรือขายทอดตลาดได้โดยมิต้องขออำนาจศาล การยึดทรัพย์สินจะกระทำได้ต่อเมื่อได้ส่งคำเตือนเป็นหนังสือให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีชำระภาษีที่ค้างภายในกำหนดไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น การขายทอดตลาดทรัพย์สินจะกระทำมิได้ในระหว่างระยะเวลาที่ได้ยื่นคำคัดค้านตามมาตรา 86 หรืออุทธรณ์ตามมาตรา 89 หรืออุทธรณ์ตามมาตรา 96 และตลอดเวลาที่ทำการพิจารณาและวินิจฉัยคำคัดค้านหรืออุทธรณ์ยังไม่ถึงที่สุด
พ.ร.บ. วิ. ปกครอง ฯ มาตรา 63 ถ้าบทกฎหมายใดกำหนดมาตรการบังคับทางปกครองไว้โดยเฉพาะแล้ว แต่เจ้าหน้าที่เห็นว่ามาตรการบังคับนั้นมีลักษณะที่จะเกิดผลน้อยกว่ามาตรการบังคับตามหมวดนี้ เจ้าหน้าที่จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามหมวดนี้แทนก็ได้ มาตรา 62 ผู้ถูกดำเนินการตามมาตรการบังคับทางปกครองอาจอุทธรณ์การบังคับทางปกครองนั้นได้ การอุทธรณ์การบังคับทางปกครองให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกันกับการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง
พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิด ฯ มาตรา 8 “ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ...”
พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ มาตรา 4 “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ มาตรา 5 “หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดซึ่งเจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ...”
พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ มาตรา 6 “ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้”
พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ มาตรา 7 “ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดหรือร่วมรับผิด หรือในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลที่พิจารณาคดีนั้นอยู่เรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ แล้วแต่กรณี เข้ามาเป็นคู่ความในคดี ...”
พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ มาตรา 9 “ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย สิทธิที่จะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนให้มีกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายนั้น”
พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิด ฯ มาตรา 10 “ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นสังกัดอยู่หรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้ามิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ...”
พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดฯ มาตรา 11 “ในกรณีที่ผู้เสียหายเห็นว่าหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดตามมาตรา 5 ผู้เสียหายจะยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดแก่ตนก็ได้ ในการนี้หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐาน และพิจารณาคำขอนั้นโดยไม่ชักช้า เมื่อหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งเช่นใดแล้ว หากผู้เสียหายยังไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐ ก็ให้มีสิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ...” มาตรา 14 “เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นแล้ว สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามมาตรา 11 ให้ถือว่าเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
การตรวจปราบปราม ตามกฎหมายสรรพสามิต รัฐธรรมนูญ ฯ ม. 6, 34, 237 และ 238 ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 มาตรา 1(3), 17, 31, 59, 80, 83, 84, 90, 91, 95, 102 และ 105
การตรวจปราบปราม ตามกฎหมายสรรพสามิต ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา - มาตรา 2 (2) (3) (4) (7) (8) (9) (10) (11) (13) (16) (20) (21) (22) - มาตรา 16, 17, 37, 38, 61, 66 - การจับ มาตรา 77-87 ที่สำคัญคือ มาตรา 78, 80 วรรค 1, 81, 82 และ 83 - การค้น มาตรา 91-104 ที่สำคัญคือมาตรา 92, 93, 96, 98 (2) และ 102
เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 4 “เจ้าพนักงานสรรพสามิต” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนสังกัดกรมสรรพสามิต “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายวามว่า ข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงการคลังหรือบุคคลอื่น ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฯ พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฯ ประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 12 กันยายน 2546 1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมสรรพสามิต ตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ภายในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบ 2. ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมศุลกากร ตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไป เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 54 เฉพาะสินค้านำเข้า 3. ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมศุลกากร ตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 79 ถึง 85 เฉพาะสินค้านำเข้า 4. เจ้าหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศให้เป็นสถานที่ยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 53 วรรคสี่
ผู้มีอำนาจตรวจค้นและจับกุม ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฯ มาตรา 131 “เพื่อประโยชน์ในการจับกุมปราบปรามผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา” มาตรา 134 “ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานสรรพสามิตเป็นผู้จับกุมผู้ต้องหาในความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามพระราชบัญญัตินี้ ...”
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16) “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ” หมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้ง ...เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต …ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 16 “... อำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในการที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับทั้งหลาย … ซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจนั้น ๆ” มาตรา 17 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาทั้งปวง”
พ.ร.บ. สุรา ฯ มาตรา 4 “เจ้าพนักงานสรรพสามิต” หมายความว่า เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้มีอำนาจและหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า เจ้าพนักงานสรรพสามิตและผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้มีอำนาจและหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. สุรา ฯ ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. สุรา ฯ (ข้อ 2.4) - ผ.อ. สรรพสามิตภาค - ผ.อ. สำนักงานสรรพสามิตกรุงเทพ ฯ ผู้ทำหน้าที่เป็นสรรพสามิตกรุงเทพ ฯ พื้นที่ 1-5 - สรรพสามิตพื้นที่ เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต 7 เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7 และเจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต 7 ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ - สรรพสามิตพื้นที่สาขา และเจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต 7 สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา
พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. สุรา ฯ ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. สุรา ฯ (ข้อ 2.4) - ผ.อ. สำนัก ฯ เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี และนายตรวจสรรพสามิต สำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม - ผ.อ. ส่วน เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ส่วนตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม ของสำนักงานสรรพสามิตภาค - เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต นักวิชาการสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่
พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. สุรา ฯ ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. สุรา ฯ (ข้อ 2.4) - เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต นักวิชาการสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต และเจ้าพนักงานสรรพสามิต สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา - เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นักวิชาการสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต สำนักงานสรรพสามิตกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 5
พ.ร.บ. สุรา ฯ มาตรา 28 “ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจโรงงานสุราที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ หรือสถานที่ของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำ หรือขาย หรือเก็บสุรา หรือเชื้อสุรา หรือสินค้าอื่นใดที่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ในเวลาทำการ” มาตรา 29 “เพื่อประโยชน์ในการจับกุมและปราบปรามผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา”
พ.ร.บ. ยาสูบ ฯ มาตรา 55 “ให้อธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการกรมสรรพสามิตเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่จับกุมและปราบปรามผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา”
เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ. ยาสูบ ฯ ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 เจ้าพนักงานมีหน้าที่จับกุมปราบปราม ตาม พ.ร.บ. ยาสูบ ฯ (ข้อ 3.4) - ผ.อ. สำนัก ฯ เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี และนายตรวจสรรพสามิต สำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม - ผ.อ.สรรพสามิตภาค ผ.อ. ส่วนตรวจสอบ ฯ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ส่วนตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม ของสำนักงานสรรพสามิตภาค - สรรพสามิตพื้นที่ เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่
เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ. ยาสูบ ฯ ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 เจ้าพนักงานมีหน้าที่จับกุมปราบปราม ตาม พ.ร.บ. ยาสูบ ฯ (ข้อ 3.4) - สรรพสามิตพื้นที่สาขา เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต และเจ้าพนักงานสรรพสามิต ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา - เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต นักวิชาการสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ซึ่งปฏิบัติราชการในสำนักงานสรรพสามิตกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 - 5
พ.ร.บ. ไพ่ ฯ มาตรา 4 “เจ้าพนักงาน” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีแต่งตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 12 “เพื่อที่จะดูว่าได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามพระราชบัญญัติและกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจเข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เพื่อทำการตรวจค้นได้”
เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ. ไพ่ ฯ ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 เจ้าพนักงานปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. ไพ่ ฯ (ข้อ 4.1) - ผ.อ. สรรพสามิตภาค - ผ.อ. สำนักงานสรรพสามิตกรุงเทพ ฯ ผู้ทำหน้าที่เป็นสรรพสามิตกรุงเทพ ฯ พื้นที่ 1-5 - สรรพสามิตพื้นที่ เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต 7 เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7 และเจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต 7 ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ - สรรพสามิตพื้นที่สาขา และเจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต 7 สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา
เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ. ไพ่ ฯ ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 เจ้าพนักงานตามมาตรา 12 พ.ร.บ. ไพ่ ฯ (ข้อ 4.2) - ผ.อ. สำนัก ฯ เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี และนายตรวจสรรพสามิต สำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม - ผ.อ. ส่วน เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ส่วนตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม ของสำนักงานสรรพสามิตภาค - เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ - เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต นักวิชาการสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต และเจ้าพนักงานสรรพสามิต สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่ (1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80 (2) เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 (3) เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตามมาตรา 66(2) แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้ (4) เป็นการจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตามมาตรา 117”
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 “เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ (2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนีหรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี”
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 80 วรรคหนึ่ง “ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ หรือพบในอาการใดซึ่งแทบไม่ต้องสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้วสด ๆ”
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81 “ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน”
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92 “ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น และในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียงหรือพฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐานนั้น (2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92 (3) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น (4) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดหรือได้ใช้ในการกระทำความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทำความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92 (5) เมื่อทีรโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตามมาตรา 78 การใช้อำนาจตาม (4) ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้ค้นส่งมอบสำเนาบันทึกการตรวจค้นและบัญชีทรัพย์ที่ได้จากการตรวจค้น รวมทั้งจัดทำบันทึกแสดงเหตุผลที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้เป็นหนังสือให้ไว้แก่ผู้ครอบครองสถานที่ที่ถูกตรวจค้น แต่ถ้าไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้ส่งมอบหนังสือดังกล่าวแก่บุคคลเช่นว่านั้นในทันทีที่กระทำได้ และรีบรายงานเหตุผลและผลการตรวจค้นเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป”
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96 “การค้นในที่รโหฐานต้องกระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก มีข้อยกเว้นดังนี้ (1) เมื่อลงมือค้นแต่ในเวลากลางวัน ถ้ายังไม่เสร็จจะค้นต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้ (2) ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง หรือซึ่งมีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ จะทำการค้นในเวลากลางคืนก็ได้ (3) การค้นเพื่อจับผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญจะทำในเวลากลางคืนก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตพิเศษจากศาลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา”
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(9) “หมายอาญา” หมายความถึง หนังสือบงการที่ออกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ สั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการจับ ขัง จำคุก หรือปล่อยผู้ต้องหา จำเลย หรือนักโทษ หรือให้ทำการค้น รวมทั้งสำเนาหมายจับหรือหมายค้นอันได้รับรองว่าถูกต้อง และคำบอกกล่าวทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับหรือหมายค้นแล้ว ตลอดจนสำเนาหมายจับหรือหมายค้นที่ได้ส่งทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 77
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 61 “ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 97 พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจหน้าที่จัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา ซึ่งได้มอบหรือส่งมาให้จัดการภายในอำนาจของเขา หมายอาญาใดซึ่งศาลได้ออก จะมอบหรือส่งไปยังพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งอยู่ภายในเขตอำนาจของศาลดั่งระบุในหมาย หรือแก่หัวหน้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจประจำจังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือตำบล ซึ่งจะให้จัดการให้เป็นไปตามหมายนั้นก็ได้ ในกรณีหลังเจ้าพนักงานผู้ได้รับหมายต้องรับผิดชอบในการจัดการตามหมายนั้น จะจัดการเองหรือสั่งให้เจ้าพนักงานรองลงไปจัดการให้ก็ได้ หรือจะมอบหรือส่งสำเนาหมายอันรับรองว่าถูกต้องให้แก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจคนอื่นซึ่งมีหน้าที่จัดการตามหมายซึ่งตนได้รับนั้นก็ได้ ถ้าหมายนั้นได้มอบหรือส่งให้แก่เจ้าพนักงานตั้งแต่สองนายขึ้นไป เจ้าพนักงานจะจัดการตามหมายนั้นแยกกันหรือร่วมกันก็ได้”
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 97 “ในกรณีที่ค้นโดยมีหมาย เจ้าพนักงานผู้มีชื่อในหมายค้นหรือผู้รักษาการแทนซึ่งต้องเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตั้งแต่ระดับสามหรือตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นร้อยตำรวจตรีขึ้นไปเท่านั้น มีอำนาจเป็นหัวหน้าไปจัดการให้เป็นไปตามหมายนั้น”
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 98 “การค้นในที่รโหฐานนั้นจะค้นได้แต่เฉพาะเพื่อหาตัวคนหรือสิ่งของที่ต้องการค้นเท่านั้น แต่มีข้อยกเว้นดังนี้ (1) ในกรณีที่ค้นหาสิ่งของโดยไม่จำกัดสิ่ง เจ้าพนักงานผู้ค้นมีอำนาจยึดสิ่งของใด ๆ ซึ่งน่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อเป็นประโยชน์หรือยันผู้ต้องหาหรือจำเลย (2) เจ้าพนักงานซึ่งทำการค้นมีอำนาจจับบุคคลหรือสิ่งของอื่นในที่ค้นนั้นได้ เมื่อมีหมายอีกต่างหาก หรือในกรณีความผิดซึ่งหน้า”
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93 “ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น ในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด”
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 102 วรรคหนึ่ง “การค้นในที่รโหฐานนั้น ก่อนลงมือค้นให้เจ้าพนักงานผู้ค้นแสดงความบริสุทธิ์เสียก่อน และเท่าที่สามารถจะทำได้ให้ค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หรือถ้าหาบุคคลเช่นกล่าวนั้นไม่ได้ ก็ให้ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนซึ่งเจ้าพนักงานได้ขอร้องมาเป็นพยาน”
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 “ในการจับนั้น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่าเขาต้องถูกจับ แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับพร้อมด้วยผู้จับ เว้นแต่สามารถนำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ในขณะนั้น ให้นำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดังกล่าว แต่ถ้าจำเป็นก็ให้จับตัวไป
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบ หากมีหมายจับให้แสดงต่อผู้ถูกจับพร้อมทั้งแจ้งด้วยว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุมที่สามารถดำเนินการได้โดยสะดวกและจะไม่เป็นการขัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับ หรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ก็ให้เจ้าพนักงานอนุญาตให้ผู้ถูกจับดำเนินการได้ตามสมควรแก่กรณี ในการนี้ให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้นบันทึกการจับดังกล่าวไว้ด้วย
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือการปกป้องทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับนั้น”
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 84 วรรคหนึ่ง “เจ้าพนักงานหรือราษฎรผู้ทำการจับต้องเอาตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามมาตรา 83 โดยทันที และเมื่อถึงที่นั้นแล้ว ให้ส่งตัวผู้ถูกจับแก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจของที่ทำการของพนักงานสอบสวนดังกล่าวเพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้”
ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 84 วรรคสี่ “ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือตามมาตรา 83 วรรคสองแก่ผู้ถูกจับ แล้วแต่กรณี”
หลักการสำคัญในการเขียน บันทึกการค้นและจับกุม 1. ต้องมีข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับข้อกล่าวหา 2. ต้องมีข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับอำนาจการตรวจค้นและจับกุมของเจ้าพนักงาน
ข้อเท็จจริงสอดคล้อง กับข้อกล่าวหา 1. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับความผิดตามกฎหมายสรรพสามิต 2. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญา
ข้อเท็จจริงสอดคล้อง กับอำนาจจับกุม 1. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับอำนาจเจ้าพนักงานตามกฎหมายสรรพสามิต 2. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ ฎีกาที่ 3347/2529 เจ้าพนักงานสรรพสามิตและตำรวจค้นพบของกลางซึ่งเป็นภาชนะเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราที่บริเวณบ้านจำเลย และสอบถามแล้วจำเลยรับว่าเป็นของตน ดังนี้ ไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าซึ่งเจ้าพนักงานเห็นจำเลยกำลังกระทำหรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าจำเลยกระทำผิดมาแล้วสด ๆ จึงไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับจำเลยได้โดยไม่มีหมายจับ เมื่อเป็นการจับกุมโดยไม่มีอำนาจเพราะไม่มีหมายจับ แม้จำเลยจะต่อสู้ขัดขวางการจับกุมก็ไม่มีความผิด ฎีกาที่ 825/2534 เจ้าพนักงานสรรพสามิตมีอำนาจเข้าไปตรวจค้นในสถานที่ของผู้ได้รับอนุญาตให้ขายสุราในเวลาทำการได้ตาม พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 28 โดยไม่ต้องมีหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92
คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ ฎีกาที่ 2914/2537 โรงค้าไม้ที่ใช้เป็นที่พักอาศัยยามที่โรงค้าไม้หยุดดำเนินกิจการ ภายในโรงค้าไม้ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังย่อมไม่ใช่สาธารณสถาน แต่เป็นที่รโหฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(13) แม้โจทก์ร่วมจะมีอำนาจจับกุมจำเลยเพราะเป็นกรณีที่มีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าจำเลยได้กระทำความผิดและแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้วตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78(4) แต่การจับกุมตามกรณีดังกล่าวก็ต้องมิใช่เป็นการจับกุมในที่รโหฐาน เพราะตามมาตรา 81 บัญญัติว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน ซึ่งพฤติการณ์ของโจทก์ร่วมที่กระทำไปก็หาต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าวไม่ การที่โจทก์ร่วมกับพวกเข้าทำการจับกุมจำเลยในที่รโหฐานจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบทั้งปราศจากอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แม้จำเลยจะต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายโจทก์ร่วมจริง การกระทำของจำเลยก็เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ ฎีกาที่ 7387/2543 ข้อยกเว้นการค้นในที่รโหฐานโดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือหมายค้นของศาลว่า “...ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 238 นั้น มิใช่จะต้องมีการออกกฎหมายบัญญัติขึ้นใช้ในภายหลังจากกฎหมายรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับแล้วเท่านั้น เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 6 บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ จึงเห็นได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวรับรองให้กฎหมาย กฎหรือข้อบังคับที่มีอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ถ้าโดยเนื้อหาไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญนี้แล้วก็ยังมีผลใช้บังคับได้ต่อไป ดังนั้น บทบัญญัติในเรื่องการค้นในที่รโหฐานในกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนย่อมใช้บังคับต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ ฎีกาที่ 1455/2544 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 97 และมาตรา 102 วรรคหนึ่ง การค้นโดยมีหมายค้นจะต้องดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตำรวจผู้ถูกระบุชื่อในหมายค้น และทำการค้นต่อหน้าเจ้าของหรือบุคคลในครอบครัวของเจ้าของสถานที่ที่จะค้น หรือมิฉะนั้นก็ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นสองคนที่ขอให้มาเป็นพยานก็ได้ ร้อยตำรวจเอก พ. ผู้ถูกระบุชื่อในหมายค้นเป็นหัวหน้าในการตรวจค้นและทำการตรวจค้นต่อหน้าจำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้าของบ้าน จึงถือว่าเป็นบุคคลในครอบครัวตามที่ระบุไว้ในมาตรา 102 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะยังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ก็เป็นผู้เข้าใจในสาระของการกระทำและมีความรู้สึกผิดชอบเพียงพอที่จะให้ความยินยอมโดยชอบแล้ว ดังนั้น การค้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ ฎีกาที่ 5336/2543 ผู้ดำเนินการจับกุมและตรวจค้นคือร้อยตำรวจเอก ศ. ซึ่งสืบทราบและวางแผนจับกุมจำเลย โดยไปซุ่มดูพฤติการณ์ของจำเลยในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้ขับรถบรรทุก จากการตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด อยู่ใต้กล่องยากันยุงบนชั้นวางของใกล้กับที่นั่งของจำเลย กรณีจึงมีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดได้ซุกซ่อนอยู่ในห้องพักอันเป็นที่รโหฐานนั้น ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากไม่ดำเนินการทันที ยาเสพติดอาจถูกโยกย้าย เมื่อแสดงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ให้จำเลยดูแล้ว ร้อยตำรวจเอก ศ. จึงมีอำนาจตรวจค้นเคหสถานและจับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้นตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดฯ มาตรา 14 กรณีจึงไม่ต้องพิจารณาว่ามีเหตุที่ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92(1)-(5) หรือไม่ ฎีกาที่ 667/2535 ชั้นจับกุมกฎหมายมิได้บังคับให้พนักงานตำรวจผู้จับกุมต้องบอกให้ผู้ถูกจับทราบก่อนว่า ถ้อยคำที่ผู้ถูกจับกล่าวนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันเขาในชั้นพิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ ฎีกาที่ 1605/2544 สิบตำรวจโท ช. สืบทราบว่าบ้านของจำเลยเป็นแหล่งลักลอบจำหน่ายยาเสพติดให้โทษก็ได้ใช้วิธีซุ่มดูพฤติการณ์ของจำเลย เมื่อเห็นจำเลยขุดบริเวณแปลงผักและนำสิ่งของใส่ในหลุมที่ขุดแล้วกลบไว้ จึงใช้วิทยุสื่อสารเรียกเจ้าพนักงานตำรวจที่รออยู่ให้ไปที่เกิดเหตุและได้ออกมาแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อขอตรวจค้น เมื่อใช้จอบขุดบริเวณที่จำเลยกลบไว้ก็พบเมทแอมเฟตามีน กรณีดังกล่าวถือได้ว่ามีเหตุสงสัยตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำผิดได้ซ่อนอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ ประกอบทั้งมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายเสียก่อน แม้สิบตำรวจโท ช. กับพวกเข้าค้นโดยไม่มีหมายค้นก็สามารถกระทำได้โดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92(4) ฎีกาที่ 1549/2525 ป.วิ.อ. มาตรา 83 บัญญัติแต่เพียงให้เจ้าพนักงานแจ้งแก่ผู้ถูกจับว่าเขาจะต้องถูกจับเท่านั้น มิได้บัญญัติให้มีการแจ้งข้อหาหรือการทำบันทึกการจับกุมแต่ประการใด
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 “บทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้น ๆ จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น” มาตรา 31 “ในกรณีที่ศาลจะพิพากษาให้ปรับผู้กระทำความผิดหลายคนในความผิดอันเดียวกัน ในกรณีเดียวกัน ให้ศาลลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคล”
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา ...” กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำ และในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น …”
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 “ ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น”
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 “เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด” มาตรา 91 “เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป …”
คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ ฎีกาที่ 1333/2532 ผู้กระทำผิดต่อ พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 19 วรรคแรก โดยมียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองเกินกว่าห้าร้อยกรัม ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 49 คือปรับสิบเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดนั้น ความผิดตามมาตรา 19 วรรคแรก ดังกล่าวเกิดจากการมียาสูบทั้งหมดไว้ในครอบครอง มิใช่เฉพาะจำนวนที่เกินห้าร้อยกรัม จึงต้องปรับจำเลยตามจำนวนน้ำหนักของยาสูบทั้งหมดที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายและมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ มิใช่ปรับเฉพาะตามจำนวนน้ำหนักของยาสูบที่เกินห้าร้อยกรัมเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ ฎีกาที่ 212/2532 ตาม พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 16 อธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ขายสุราประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 หรือตัวแทน ออกหนังสือสำคัญแบบ ส. 1/42 สำหรับขนสุราออกจากสถานที่ขายสุราของตนได้ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนดไว้ โดยถือเสมือนหนึ่งเป็นใบอนุญาตขนสุราตามมาตรา 14 การที่จำเลยซื้อเบียร์จำนวน 2,400 ขวด จากผู้ได้รับใบอนุญาตให้ขายสุรา และผู้ได้รับใบอนุญาตได้ออกหนังสือสำคัญแบบ ส. 1/42 ให้จำเลย โดยเขียนชื่อผู้ซื้อซึ่งจำเลยเป็นผู้บอกไม่ตรงกับความเป็นจริง และไม่ปรากฏว่าบุคคลดัง กล่าวจะมีตัวตนจริงหรือไม่ จึงถือว่าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนด ไม่มีผลให้หนังสือสำคัญดังกล่าวเป็นเสมือนใบอนุญาตขนสุรา จำเลยจึงมีความผิดฐานขนสุราโดยไม่ได้รบอนุญาตตาม พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 14, 38 ทวิ และ พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2497 (ฉบับที่ 2) มาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ ฎีกาที่ 3796/2532 ตาม พ.ร.บ. สุรา ฯ มาตรา 5 บัญญัติห้ามการทำสุราซึ่งหมายถึงสุรากลั่นและสุราแช่ไว้ในมาตราเดียวกัน ส่วนมาตรา 32 บัญญัติเกี่ยวกับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนมาตรา 5 ซึ่งหมายถึงสุรากลั่นและสุราแช่ ฉะนั้น เมื่อโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดทั้งหมดในวันเวลาเดียวกัน แสดงว่าจำเลยทำสุราและมีสุราทั้งสุรากลั่นและสุราแช่ของกลางในคราวเดียวกัน ดังนี้ แม้จำเลยจะทำทั้งสุรากลั่นและสุราแช่ก็เป็นความผิดกรรมเดียวกัน ขณะเดียวกันการมีสุรากลั่นและสุราแช่ก็เป็นความผิดกรรมเดียวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหากเช่นกัน ฎีกาที่ 4337/2532 การทำสุราโดยไม่ได้รับอนุญาตและการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้น พ.ร.บ. สุรา ฯ บัญญัติความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรากัน จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน การทำสุราแช่และการทำสุรากลั่นถือว่ามีเจตนาและวัตถุประสงค์อันเดียวกัน ส่วนการมีสุราแช่หรือสุรากลั่นก็เป็นการกระทำโดยมีเจตนาและวัตถุประสงค์อันเดียวกันเช่นกัน แม้โจทก์บรรยายฟ้องแยกเป็น 4 ข้อ ก็ไม่ทำให้เป็นการกระทำแยกกันได้ จำเลยคงมีความผิดเพียงสองกรรมเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ ฎีกาที่ 4899/2536 พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วนั้น คำว่า “ค่าอากร” หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น หารวมถึงภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม อันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วยไม่ จึงจะนำภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมเป็นค่าอากรเพื่อคำนวณโทษปรับด้วยมิได้ ่ ฎีกาที่ 232/2543 การที่จำเลยมียาสูบของกลางที่ผลิตในต่างประเทศโดยมีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรขาเข้าไว้ในความครอบครอง และยาสูบมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมาย กับการที่จำเลยมียาสูบจำนวนเดียวกันนั้นไว้เพื่อขายนั้น แม้การกระทำนั้นจะผิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหลายฉบับ แต่ก็เป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกัน คือการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียอากรตามกฎหมาย ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่การที่จำเลยได้ขายยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากการมีไว้เพื่อขายและเป็นคนละกรรมกันอีกกรรมหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ ฎีกาที่ 1141/2534 ความผิดฐานทำสุราโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมาย และฐานขายหรือนำออกแสดงเพื่อขายซึ่งสุราดังกล่าว แม้จะเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน และบางฐานมีบทลงโทษในมาตราเดียวกัน แต่ก็เห็นได้ว่าความผิดในแต่ละฐานต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำที่แตกต่างกัน สามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ แสดงว่ากฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำผิดในแต่ละกรณีเป็นตอน ๆ ไป จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฎีกาที่ 6055/2534 สุราของกลางที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขายสุราได้ซื้อจากผู้ที่ไม่มีสิทธิขายโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. สุรา ฯ มาตรา 40 ทวิ นั้น ตาม พ.ร.บ. สุรา ฯ มาตรา 45 มิได้บัญญัติให้ริบสุราของกลาง ทั้งสุราของกลางดังกล่าวก็มิใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด หรือเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช่ในการกระทำผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิด อันจะเป็นเหตุให้ศาลพิพากษาให้ริบเสียได้ ตาม ป.อ. มาตรา 32, 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ ฎีกาที่ 1440/2544 จำเลยทั้งห้ากระทำความผิดฐานร่วมกันขนถ่ายน้ำมันในเขตต่อเนื่องโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 37 ตรี หลังจากที่จำเลยลักลอบนำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในเขตต่อเนื่องแล้ว ซึ่งไม่แน่ชัดว่าจำเลยทั้งห้าขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีหรือเจตนาอื่น จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดโดยเจตนาต่างหากจากความผิดฐานอื่น เมื่อจำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าการกระทำความผิดของจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานนี้เป็นความผิดกรรมเดียว ส่วนความผิดฐานร่วมกันนำน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังมิได้เสียภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิตเข้ามาในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 กับความผิดฐานร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มิได้เสียภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 162 (1) เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต่าง พ.ร.บ. กัน โดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ ฎีกาที่ 8299/2540 การมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่ผลิตในต่างประเทศโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ สุราต่างประเทศที่มิได้ปิดแสตมป์สุรา สินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีสรรพสามิต และมีไพ่ไว้ในครอบครอง แม้จะยึดของกลางทั้งหมดได้ในคราวเดียวกัน แต่การกระทำผิดแต่ละข้อหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายต่าง พ.ร.บ. โดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม รวม 4 กระทง ไม่ใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 50 พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 33 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 3527 มาตรา 162 และ พ.ร.บ. ไพ่ พ.ศ. 2486 มาตรา 14 ทวิ กำหนดโทษปรับผู้กระทำความผิดโดยมิได้มีข้อจำกัดว่ามีผู้ร่วมกันกระทำผิดหลายคนให้ปรับรวมกัน จึงต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งห้าเรียงตามรายตัวบุคคลตาม ป.อ. มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ ฎีกาที่ 4040/2543 การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันนำสินค้าของกลางที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรม ย่อมเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ตอนนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 19, 147(1) แล้วกรรมหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 นำสินค้านั้นไปเก็บไว้ที่สำนักงานใหญ่และสาขาปิ่นเกล้า เป็นความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามมาตรา 161(1) และมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เป็นความผิดตามมาตรา 162(1) ถือว่าเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 162(1) ซึ่งเป็นบทหนัก ตาม ป.อ. มาตรา 90 เป็นอีกกรรมหนึ่ง เมื่อเครื่องปรับอากาศที่ยึดได้จากสาขาปิ่นเกล้าจำนวน 455 เครื่อง เป็นสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษี ซึ่งตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฯ มาตรา 19 ห้ามมิให้นำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องครบถ้วนออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน เว้นแต่จะเข้ากรณียกเว้นที่กฎหมายกำหนด การฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นความผิดตามมาตรา 147(1) และตามมาตรา 168 วรรคสอง บัญญัติว่า สินค้าในการกระทำความผิดที่มีโทษตามมาตรา 147 ให้ศาลสั่งริบเป็นของกรมสรรพสามิต ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ศาลจึงต้องริบเครื่องปรับอากาศจำนวนดังกล่าวตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิตฯ หาใช่เป็นการริบตาม ป.อ. มาตรา 33 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ ฎีกาที่ 4277/2540 รถยนต์ซึ่งประกอบขึ้นภายในประเทศโดยใช้อุปกรณ์ที่ผลิตจากต่างประเทศและยังไม่เสียภาษีสรรพสามิต ถ้าสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม ความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนย้ายรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรม เจ้าพนักงานสรรพสามิตตรวจจับและยึดรถยนต์ของกลางจากเต็นท์ขายรถยนต์ของจำเลย แสดงว่าได้มีการเคลื่อนย้ายออกจากโรงอุตสาหกรรมแล้ว ความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีจึงเกิดขึ้นแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นแบบรายการต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิตตามที่กฎหมายกำหนด จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 20, 48(1), 148 จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้นำรถยนต์ที่ยังไม่ได้เสียภาษีออกจากโรงอุตสาหกรรมไปไว้ในที่ซึ่งมิใช่คลังสินค้าทัณฑ์บน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 19(2) ถึง (5) จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 19, 147 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 167(1) บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งไม่ปรากฏข้ออนุโลมให้ไปเสียหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วได้ จำเลยจึงมีความผิดในข้อหามีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษี
พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา ๒๗ “ผู้ใดนำหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือของต้องจำกัด หรือของต้องห้าม หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในพระราชอาณาจักรไทยก็ดี หรือส่ง หรือพาของเช่นว่านี้ออกไปนอกพระราชอาณาจักรก็ดี หรือช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ ในการนำของเช่นว่านี้เข้ามาหรือส่งออกไปก็ดี หรือย้ายถอนไป หรือช่วยเหลือให้ย้ายถอนไป ซึ่งของดังกล่าวนั้นจากเรือกำปั่น ท่าเทียบเรือ โรงเก็บสินค้า คลังสินค้า ที่มั่นคง หรือโรงเก็บของ โดยไม่ได้รับอนุญาตก็ดี หรือให้ที่อาศัยเก็บ หรือเก็บ หรือซ่อนของ เช่นว่านี้ หรือยอม หรือจัดให้ผู้อื่นทำการเช่นว่านั้นก็ดี หรือเกี่ยวข้องด้วยประการใด ๆ ใน การขนหรือย้ายถอนหรือกระทำการอย่างใดแก่ของเช่นว่านั้นก็ดี หรือเกี่ยวข้องด้วยประการใด ๆ ในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร หรือในการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมายและข้อจำกัดใด ๆ อันเกี่ยวแก่การนำของเข้า ส่งของออก ขนของขึ้น เก็บของในคลังสินค้า และการส่งมอบของโดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ๆ ก็ดี หรือหลีกเลี่ยงข้อห้ามหรือข้อจำกัดอันเกี่ยวแก่ของนั้นก็ดี สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ”
พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ทวิ “ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือของต้องจำกัด หรือของต้องห้าม หรือที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้ผ่านศุลกากร โดยถูกต้องก็ดี หรือเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อจำกัดหรือข้อห้ามอันเกี่ยวแก่ของนั้นก็ดี มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ความผิดที่สำคัญ ตามกฎหมายสรรพสามิต 1. ความผิดเกี่ยวกับสุราที่ทำขึ้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย กับการเปลี่ยนแปลงสุรา 2. ความผิดเกี่ยวกับการขายสุราโดยไม่ได้รับใบอนุญาต กับการขายสุราไม่ตรงตามประเภทใบอนุญาต
เหตุผลในการบัญญัติ พ.ร.บ. สุรา ฯ มาตรา 40 ทวิ เนื่องจากพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มิได้มีบทลงโทษผู้ได้รับอนุญาตจำหน่ายสุราที่ทำการขายสุราไม่ตรงตามประเภทใบอนุญาต เช่น ได้รับอนุญาตขายปลีกแต่ทำการขายในจำนวนของร้านขายส่ง หรือเป็นร้านขายปลีกเฉพาะสุราภายในประเทศ (ประเภทที่ 4) แต่ขายสุราหรือเบียร์ต่างประเทศ (ประเภทที่ 3) ซึ่งมิได้มีบทลงโทษไว้ จึงควรกำหนดบทลงโทษเสียด้วย
การค้นจับกุมและจับกุมโดยอาศัยเหตุความผิดซึ่งหน้า 1. ข้อหา “ขาย” ต้องบันทึกให้มีข้อเท็จจริงเรื่องการซื้อขาย 2. ต้องมีข้อเท็จจริงว่าขายซึ่งหน้า “เจ้าพนักงานเห็นขณะที่กำลังขาย”
การค้นจับกุมและจับกุมโดยอาศัยเหตุความผิดซึ่งหน้า 1. ข้อหา “นำออกแสดงเพื่อขาย” ต้องมีข้อเท็จจริงว่ามีการกระทำที่เป็นการนำออกมาแสดงเพื่อที่จะขาย เช่น ในตู้โชว์ 2. ต้องนำออกแสดงเพื่อขายซึ่งหน้า “เจ้าพนักงานพบวางเสนอขายในตู้โชว์”
การค้นจับกุมและจับกุมโดยอาศัยเหตุความผิดซึ่งหน้า 1. ข้อหา “มีไว้เพื่อขาย” ต้องมีข้อเท็จจริงว่ามีไว้ในครอบครองโดยมีเจตนาเพื่อนำไปขายหรือเพื่อเสนอขาย 2. ต้องมีไว้เพื่อขายซึ่งหน้า “เจ้าพนักงานพบในขณะมีไว้ในครอบครอง และผู้ถูกกล่าวหายอมรับว่ามีไว้เพื่อขาย”
หลักการสำคัญในการเขียน บันทึกการค้นและจับกุม 1. ต้องมีข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับข้อกล่าวหา 2. ต้องมีข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับอำนาจการตรวจค้นและจับกุมของเจ้าพนักงาน
ข้อเท็จจริงสอดคล้อง กับข้อกล่าวหา 1. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับความผิดตามกฎหมายสรรพสามิต 2. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญา
ข้อเท็จจริงสอดคล้อง กับอำนาจจับกุม 1. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับอำนาจเจ้าพนักงานตามกฎหมายสรรพสามิต 2. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา