ระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน Performance Management System: PMS และ หลักการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล Individual Development Plan : IDP
เหตุผลและความจำเป็น พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 บัญญัติความใน มาตรา 76 ว่าให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการ ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนเงินเดือน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.กำหนด ( ก.พ.กำหนดให้เริ่มใช้ตั้งแต่การประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือน รอบประเมินวันที่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป)
ระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน (PMS)หมายถึงอะไร กระบวนการบริหารแบบบูรณาการที่เชื่อมโยงการวางแผนยุทธศาสตร์ และเป้าหมายขององค์การ การพัฒนาผลการปฏิบัติงานการติดตามผลการปฏิบัติงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้น ความสอดคล้องของผลการปฏิบัติงานของบุคคลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับเป้าหมายรวมขององค์กร
สาระสำคัญ คือ ? การให้ส่วนราชการ มีความยืดหยุ่นในการเลือกวิธีการประเมินให้สอดคล้องกับลักษณะงานของตนและการจำแนกความแตกต่างของ ระดับผลการประเมิน ซึ่งเดิมกำหนดไว้เพียง 3 ระดับ คือ (ดีเด่น ยอมรับได้ ต้องปรับปรุง) ซึ่งไม่เอื้อต่อการให้ค่าตอบแทน ตามผลการปฏิบัติราชการ(Performabce Based Pay) เป็นอย่างน้อย 5 ระดับ (ดีเด่น ดีมาก ดี พอใช้ ต้องปรับปรุง)
การบริหารผลการปฏิบัติราชการตามแนวทางของ สำนักงาน ก.พ. ข้อที่ 1 ระบบการบริหารผลการปฏิบัติราชการฯ วางอยู่บนแนวทางซึ่งผสมผสานระหว่างข้อกำหนดที่ใช้เป็นมาตรฐานเดียวทั่วทุกส่วนราชการกับความยืดหยุ่นที่ส่วนราชการสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับตนเอง - การประเมินต้องพิจารณาอย่างน้อย 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) ผลสัมฤทธิ์ของงาน ค่าน้ำหนักอย่างน้อยร้อยละ 70 และสมรรถนะ - การประเมินองค์ประกอบสมรรถนะหลัก 5 ตัว - การเลื่อนเงินเดือน ให้พิจารณาจากผลการประเมิน โดยผู้ได้รับการเลื่อนเงินเดือนต้องมีคะแนนประเมินไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน
การบริหารผลการปฏิบัติราชการตามแนวทางของ สำนักงาน ก.พ.(ต่อ) ข้อที่ 2 ประเมินตามแบบฟอร์มของสำนักงาน ก.พ. กำหนด 3 แผ่น หน้าที่ 1 แบบสรุปการประเมินผลการปฏิบัติงาน หน้าที่ 2 การสรุปผลการประเมิน/แผนพัฒนาผลการปฏิบัติงานรายบุคคล หน้าที่ 3 ความเห็นของผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป (กำหนดให้ ผู้รับประเมินลงนามรับทราบผลการประเมิน และผู้ประเมินแจ้งผลโดยมีพยานลงนามด้วย)
สมรรถนะหลัก 5 ตัวของสำนักงาน ก.พ. 1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2. บริการที่ดี 3. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ 4. จริยธรรม/ความร่วมแรงร่วมใจ 5. ความร่วมแรงร่วมใจ
มาตรวัดสมรรถนะหลัก(นิยาม) คะแนน 1 กำหนดที่ ไม่สังเกตเห็น(Not Observe) คะแนน 2 กำหนดที่ กำลังพัฒนาโดยต้องใช้เวลาอีกมากจึงจะพัฒนาได้ คะแนน 3 กำหนดที่ กำลังพัฒนา (Development) คะแนน 4 กำหนดที่ อยู่ในระดับที่ใช้งานได้ คะแนน 5 กำหนดที่ พัฒนาสู่ความสำเร็จแล้ว