การก่อตั้งประชาคมอาเซียน เรื่อง การก่อตั้งประชาคมอาเซียน จัดทำโดย ด.ญ.สุภัสสร เกิดรัตนศักดิ์ ด.ญ.ลักษิกา บูรณศักดิ์ศรี เสนอ คุณครูสกุณา กวินยั่งยืน โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย โรงเรียนนานาชาติแอ๊ดเวนติสมิชชัน ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๖
ความเป็นมา และ ความสำคัญ เนื่องจากว่าทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและ เทคโนโลยี จึงได้มีการรวมตัวของประเทศเพื่อนบ้านและได้คิดริเริ่มการก่อตั้งประชาคม อาเซียน เพื่อช่วยกันสร้างประเทศเพื่อนบ้านนั้น ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และควมมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทาง สังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีบพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ ร่วมกันของประเทศสมาชิก
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของอาเซียน เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่สมาคมอาเซียนและสมาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ.๒๕๕๘
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียนมีทั้งหมด ๗ วัตถุประสงค์ ได้แก่ ๑. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม ๒. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ๓. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการวิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร ๔. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย ๕. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการค้า การคมนาคม การสื่อสาร และ ปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต ๖. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๗. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อุปกรณ์ และ วัสดุที่ใช้ในการศึกษา การศึกษาเรื่องการก่อตั้งประชาคมอาเซียนมีอุปกรณ์และวิธีการศึกษาดังนี้ อุปกรณ์ ๑. หนังสืออาเซียนศึกษา ม.๑ - ๓ สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒. แท็บเล็ท ๓. เครื่องเขียน
วิธีการศึกษา ๑. หาข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียน ๒. เลือกหัวข้อที่สนใจและขอคำแนะนำจากครู ๓. รวบรวมข้อมูลจากหนังสือและอินเทอร์เน็ต ๔. สรุปเนื้อหาและเรียบเรียงข้อมูล ๕. นำข้อมูลที่ได้มาเขียนเป็นโครงงาน
ผลการศึกษา สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามครั้งแรกโดย ๕ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อิน โดนนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย บรูไนดารุสซาลามได้ลงนามเข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ ๗ ต่อมาลาว และพม่าได้มาลงนามเข้ามาเป็นสมาชิกประเทศที่ ๘ และ ๙ ตามลำดับกันมา และสุดท้ายกัมพูชาได้ลงนามเป็น สมาชิกประเทศที่ ๑๐ ประชาคมอาเซียนได้มีสมาชิกครบ ๑๐ ประเทศเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๒
ข้อเสนอแนะ ๑. ควรศึกษาเรื่องประโยชน์ที่ได้รับจากสมาคมอาเซียนน ๒. ควรจะนำโครงงานนี้ไปศึกษาเพื่อที่จะเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนไปพร้อมๆกันในอีก ๒ ปีข้างหน้า
ขอบคุณค่ะ