เค้าโครง ภาค ๑ หลักทั่วไป ภาค ๒ ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ภาค ๑ หลักทั่วไป ภาค ๒ ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ภาค ๓ คดีพิเศษในรัฐธรรมนูญ ภาค ๔ สิทธิ เสรีภาพ ในรัฐธรรมนูญ
ภาค ๑ หลักทั่วไป
รัฐธรรมนูญและกฎหมายรัฐธรรมนูญ บทที่ ๑ รัฐธรรมนูญและกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายมหาชน คือ - กฎหมายที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นของรัฐในฐานะที่รัฐหรือหน่วยงานเป็น “ผู้ปกครอง”
- กฎหมายมหาชนมี ๒ ประเภทหลัก ๑. กฎหมายมหาชนภายใน ๒. กฎหมายมหาชนระหว่างประเทศ - กฎหมายมหาชนภายในมี ๓ สาขาย่อย กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายการคลังและการภาษีอากร
๒. กฎหมายรัฐธรรมนูญ = (Constitutional law) วิชาที่ศึกษากฎหมายซึ่งกำหนดสถานะและความสัมพันธ์ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดต่อกันหรือต่อประชาชน - รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร - กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ - กฎหมายรัฐสภา - จารีตประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ - คำพิพากษาและคำวินิจฉัยของศาลทั้งหลาย
องค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดตามหลักการ แบ่งแยกหน้าที่ของรัฐและการใช้อำนาจอธิปไตย คือ 1. องค์กรนิติบัญญัติ ( รัฐสภา) 2. องค์กรบริหาร ( คณะรัฐมนตรี) 3. องค์กรตุลาการ ( ศาลทั้งหลาย) 4. องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ข้อสังเกต 1. องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย 1.1 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 4 องค์กร - กกต. - ผู้ตรวจการแผ่นดิน - ปปช. - คตง.
1.2 องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ - องค์กรอัยการ - คกก.สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ - สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
การเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญมีผลถึงกรณีตาม ม.214 “ในกรณีที่มี ความขัดแย้ง เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาลตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป ให้ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี หรืองค์กรนั้นเป็นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย”
ความหมาย “รัฐธรรมนูญ”(Constitution) ๓.๑ ความหมายอย่างกว้าง (ตามเนื้อหา) “กฎเกณฑ์ที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดต่อกัน หรือต่อประชาชน” เนื้อหา กว้างคลุม - รูปของรัฐ - ประมุขของรัฐ - ระบอบการปกครองและระบบรัฐบาล - องค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุด - สิทธิเสรีภาพ
ประเภทกฎเกณฑ์ กฎเกณฑ์ทุกชนิดไม่ว่าจะ เป็นก.ม.หรือไม่ เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ เป็นก.ม.สูงสุดหรือไม่ ไม่สำคัญ - ในความหมายนี้ อยุธยา อังกฤษ ไทยปัจจุบัน ต่างก็มีรัฐธรรมนูญ
๓.๒ ความหมายอย่างแคบ (ตาม รูปแบบ,องค์กร,กระบวนการ) ๓.๒ ความหมายอย่างแคบ (ตาม รูปแบบ,องค์กร,กระบวนการ) “กฎเกณฑ์ที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดต่อกัน หรือต่อประชาชนและ กฎเกณฑ์อื่น ซึ่งบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ที่มีการจัดทำและการแก้ไขเพิ่มเติมแตกต่างจากก.ม.ธรรมดา” De Toqueville “อังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญ”
เนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรขยายไปเรื่อยๆ ยุคแรก ก่อตั้งองค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุด ยุคต่อมา รับรองสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค (Bill of Rights) ยุคที่ 3 แนวนโยบายแห่งรัฐ ( รัฐธรรมนูญไอร์แลนด์,อินเดีย, ไทย , โปรตุเกต ฯลฯ) ยุคปัจจุบัน เรื่องสำคัญที่ต้องการให้แก้ไขยาก ( เรื่องท้องถิ่น , เรื่องอื่น ๆ )
๓.๓. “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” (ชื่อเฉพาะของกฎหมาย) ข้อสังเกต ไม่มี “พ.ศ. หรือ พุทธศักราช” เว้นแต่ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ไม่มี “กฎหมาย”อยู่หน้า ถ้าเป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว - พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ชั่วคราว พุทธศักราช 2475 - ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. ....
๔.ประเภทรัฐธรรมนูญ ๔.๑. รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร และรัฐธรรมนูญจารีตประเพณี ๔.๒. รัฐธรรมนูญแก้ไขง่าย และรัฐธรรมนูญแก้ไขยาก ๔.๓. รัฐธรรมนูญถาวร และรัฐธรรมนูญชั่วคราว
๕. ลักษณะกฎหมายรัฐธรรมนูญ ๕.๑. เป็น ก.ม. เกิดใหม่มีพลวัตร ๕.๒. เป็น ก.ม. ที่สัมพันธ์กับการเมืองอย่างลึกซึ้ง - ทางอุดมการณ์ - การใช้อำนาจ ๕.๓. เป็น ก.ม.ที่กระจายอำนาจการตีความ