การอ่านออกเสียง ความมุ่งหมายในการอ่านออกเสียง หลักการอ่านออกเสียงอย่างภาษาพูด หลักทั่วไปในการในใจ การจับใจความสำคัญ โครงสร้างของข้อความหนึ่งย่อหน้า การพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ความมุ่งหมายในการอ่านออกเสียง การอ่านมุ่งให้ผู้อ่านได้ออกเสียงถูกอักขรวิธี และเหมือนเสียงพูดธรรมดาซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้สามารถพูดได้ดี การอ่านออกเสียงช่วยให้ผู้อ่านรู้จักสำรวมใจอยู่กับเรื่อง เป็นพื้นฐานของการอ่านในใจ มุ่งการเปล่งเสียงให้ถูกต้องเหมาะสม ทำให้ผู้ฟังได้ยินชัดเจนและเข้าใจแจ่มแจ้งเป็นสำคัญ สำหรับการอ่านทำนองเสนาะยังมุ่งให้เกิดอารมณ์เพลิดเพลินไปกับเสียงคำ จังหวะทำนองและความของคำประพันธ์นั้นๆ อีกด้วย
หลักการอ่านออกเสียงอย่างภาษาพูด ออกเสียงให้ถูกอักขรวิธี โดยเฉพาะคำควบกล้ำและ ร ล ว ออกเสียงให้ดังชัดเจน ออกเสียงไม่เร็วหรือช้าเกินไป ออกเสียงให้ถูกจังหวะวรรคตอน วางท่าทางในการอ่านให้ถูกต้อง ไม่ว่านั่งหรือยืนอ่านจะต้องให้ตัวตรง จับและพลิกหนังสือให้ถูกวิธีโดยจับทั้งสองมือและพลิกด้วยมือขวา มีสมาธิในการอ่าน พยายามทำความเข้าใจตามเรื่องไปด้วย
หลักทั่วไปในการอ่านในใจ วงศัพท์ รู้ความหมายที่แท้ของถ้อยคำที่อ่านก็จะสามารถเข้าใจเรื่อง ที่อ่านได้ดีและรวดเร็ว ช่วงสายตา การอ่านที่ดีควรอ่านเป็นกลุ่มคำไม่ใช่อ่านทีละคำ และเลื่อนช่วงสายตาไปข้างหน้าได้เร็วเพียงใดก็สามารถอ่านได้เร็วเพียงนั้น การเคลื่อนไหวริมฝีปาก การอ่านในใจที่ถูกต้องไม่ควรเคลื่อนริมฝีปากในขณะอ่าน ระยะสายตา การอ่านหนังสือที่อยู่พอเหมาะแก่ระยะสายตา คือ ระยะ 15 นิ้ว ความมุ่งหมาย การอ่านแต่ละครั้งควรตั้งความมุ่งหมายให้ชัดแจ้งในใจ ว่าต้องการรู้อะไร ตั้งคำถามจากบทหรือตอน
การจับใจความสำคัญ ข้อความหนึ่งย่อหน้ามีใจความสำคัญเพียงประการเดียว ใจความสำคัญ นี้ปรากฏอยู่ในประโยคใดประโยคหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ประโยคใจความสำคัญ” ใส่วนข้อความประโยคอื่นๆ เป็นเพียงพลความ คือ ทำหน้าที่ประกอบ ประโยคใจความสำคัญนั้นๆ