งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เรื่อง การใช้หนังสือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการลูกรัก (เล่า)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เรื่อง การใช้หนังสือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการลูกรัก (เล่า)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เรื่อง การใช้หนังสือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการลูกรัก (เล่า)
แผนกิจกรรมสำหรับพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู เรื่อง การใช้หนังสือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการลูกรัก (เล่า) สำหรับเด็กอายุ 0-5 ปี

2 วัตถุประสงค์ มีความรู้เรื่องพัฒนาการปกติด้านภาษาการพูด
มีความรู้เรื่อง เทคนิคการส่งเสริมความสามารถ ด้านภาษาและการพูดของลูก สามารถเลือกนิทานที่เหมาะสมกับวัยของลูกได้ มีแนวทางในการเล่านิทานและปลูกฝังลูกให้รัก การอ่าน

3 อุปกรณ์ แบบสังเกตการณ์การใช้ภาษาพูดสำหรับเด็กอายุ 0-5 ปี
หนังสือนิทาน 5 เล่ม (ประกอบด้วยหนังสือนิทานตามวัย 0-5 ปี) บัตรภาพคำศัพท์หมวด อวัยวะ สัตว์ ผลไม้ สิ่งของ ชุดบัตรข้อความนิทาน เรื่อง “ยายเช้าปากกว้าง”

4 สาระสำคัญ การอ่านหนังสือ ให้เด็กฟังตั้งแต่ยังเป็นทารกจะช่วยสร้างความคุ้นเคยระหว่างเด็กกับหนังสือ ถือเป็นการบ่มเพาะนิสัยรักการอ่านหนังสือให้กับเด็กได้

5 สาระสำคัญ หนังสือ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเด็กในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านภาษา การที่เราให้เด็กดูภาพจากหนังสือ และผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด็กฟัง เด็กจะคุ้นเคยกับคำและเสียง และสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างเสียง ความหมายและภาพ จะช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนการพูด รู้จักคำศัพท์และการใช้ภาษา ส่งผลดีต่อการพัฒนาสติปัญญาของเด็ก

6 วิธีการดำเนินกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 วิธีการดำเนินกิจกรรม วิทยากรให้ผู้เข้ารับการอบรมทำแบบสังเกตการณ์การเข้าใจภาษาและการพูด ตามใบกิจกรรมที่ (5 นาที) วิทยากร และผู้เข้ารับการอบรมร่วมอภิปรายผลการทำแบบสังเกตการณ์การเข้าใจภาษาและการพูด (5 นาที) วิทยากรให้ความรู้เรื่อง “พัฒนาการปกติด้านการพูด” ตามใบความรู้ที่ 1 (10 นาที)

7 วิธีการดำเนินกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 วิธีการดำเนินกิจกรรม วิทยากรให้ผู้เข้ารับการอบรมแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็น และอภิปรายเรื่อง “เทคนิคการส่งเสริมความสามารถด้านภาษาและการพูด” และให้ผู้เข้ารับการอบรมส่งตัวแทนนำเสนอความคิดเห็น ตามใบกิจกรรมที่ 2 (25 นาที) วิทยากรสรุปสิ่งที่พ่อแม่จะช่วยได้เกี่ยวกับเทคนิคการพัฒนาความสามารถด้านภาษาและการพูด ตามใบความรู้ที่ 2 (10 นาที)

8 วิธีการดำเนินกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 วิธีการดำเนินกิจกรรม วิทยากรสุ่มผู้เข้ารับการอบรมให้ทำกิจกรรม “เลือกนิทานตามวัย” ตามใบกิจกรรมที่ 3 (15 นาที) วิทยากรสรุปและให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของนิทาน และการเลือกนิทานที่เหมาะสมตามวัย ตามใบความรู้ที่ 3 (10 นาที)

9 กิจกรรมที่ 4 วิธีการดำเนินกิจกรรม วิทยากรให้ผู้เข้ารับการอบรมแบ่งกลุ่มเล่าเรื่องโดยใช้บัตรภาพ หรือบัตรข้อความ ตามใบกิจกรรมที่ 4 (30 นาที) วิทยากรสรุปหลักการเล่าเรื่องโดยใช้บัตรภาพหรือบัตรข้อความ และแนวทางการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน ตามใบความรู้ที่ 4 (10 นาที)

10

11 วิธีการดำเนินกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 วิธีการดำเนินกิจกรรม วิทยากรให้ผู้เข้ารับการอบรมทำแบบสังเกตการณ์การเข้าใจภาษาและการพูด ตามใบกิจกรรมที่ (5 นาที) วิทยากร และผู้เข้ารับการอบรมร่วมอภิปรายผลการทำแบบสังเกตการณ์การเข้าใจภาษาและการพูด (5 นาที) วิทยากรให้ความรู้เรื่อง “พัฒนาการปกติด้านการพูด” ตามใบความรู้ที่ 1 (10 นาที)

12 พัฒนาการปกติด้านการพูด
ใบความรู้ที่ 1 พัฒนาการปกติด้านการพูด การใช้ภาษาพูด พื้นฐานของภาษาอยู่ในสมองของเด็ก แม้เด็กหูหนวกก็ยังส่งเสียงอ้อแอ้เช่นเดียวกับเด็กปกติในวัยเดียวกัน นักทฤษฎีบางคนเชื่อว่า สมองเรามี “กลไกการสร้างคำ” รอพร้อมอยู่แล้ว

13 พัฒนาการปกติด้านการพูด
ใบความรู้ที่ 1 พัฒนาการปกติด้านการพูด การใช้ภาษาพูด ภาษาและการใช้ภาษาพูดเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก เราพอจะจำกัดความได้ว่า ภาษาคือ สัญลักษณ์ในการออกเสียง ส่วนการใช้ภาษาพูดนั้นก็คือ การแสดงความรู้สึกภายในออกมา ทั้งสองเรื่องสะท้อนสัญชาตญาณความต้องการสื่อสารของมนุษย์

14 พัฒนาการด้านการพูดในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี
ร้องไห้แสดง ความต้องการ เช่น หิว เปียก ตกใจ อายุ 0-2 เดือน

15 พัฒนาการด้านการพูดในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี
เสียงอ้อแอ้ ส่งเสียง ด้วยความพอใจ ส่งเสียงเพื่อ สื่อสารกับผู้อื่น อายุ 2-2 ½ เดือน อายุ 5-6 เดือน

16 พัฒนาการด้านการพูดในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี
เลียนแบบ การออกเสียง และพูดคำที่มี ความหมาย พูดคำที่ยาว 2 พยางค์ หรือคำ 2 คำ รวมกันเป็นวลี หรือประโยค อายุ เดือน อายุ เดือน

17 พัฒนาการด้านการพูดในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี
อายุ 3-4 ปี ใช้คำได้ทุกประเภทเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนคำและพยางค์ พูดเป็นประโยค ตอบคำถาม อะไร ใคร ทำไม อย่างไร และคำถามที่ต้องใช้เหตุผลประกอบ ใช้ถาม อะไร ทำไม ใช้คำต่างๆ มาเรียบเรียงเป็นประโยคที่ยาวและซับซ้อนมากขึ้น

18 พัฒนาการด้านการพูดในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี
อายุ 3-4 ปี สนทนาได้นานขึ้น และมีการตอบรับมากกว่าปฏิเสธ ออกเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ชัดเจนมากขึ้น เล่าเรื่องแบบถามคำตอบคำไม่เป็นเรื่องราวต่อเนื่อง

19 พัฒนาการด้านการพูดในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี
อายุ 4-5 ปี พูดคำนามได้เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ได้จากการพบเห็นนอกเหนือจากชีวิตประจำวันทั้งสิ่งใกล้ตัวและไกลตัว การพูดหรือตอบคำวิเศษณ์และคำบุพบทอาจสับสน อยู่บ้าง ใช้คำลักษณะนามมากขึ้นโดยมักใช้ กับสิ่งที่คุ้นเคย

20 พัฒนาการด้านการพูดในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี
อายุ 4-5 ปี สามารถจัดเรียงคำในประโยคได้อย่างถูกต้อง ตอบคำถามต่างๆ ได้ทุกคำถาม เช่น อะไร ใคร ทำไม ที่ไหน อย่างไร เท่าไร เมื่อไหร่ ชอบใช้คำถามถามในสิ่งที่ตนอยากรู้หรือสงสัยเสมอโดยไม่สนใจคำตอบ

21 พัฒนาการด้านการพูดในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี
อายุ 4-5 ปี เล่าเรื่องในลักษณะจับใจความสำคัญของเรื่องมาเล่า เล่าเรื่องที่ประสบมาเสริมตาม จินตนาการทำให้เรื่องเล่าเกินจริง

22 วิธีการดำเนินกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 วิธีการดำเนินกิจกรรม วิทยากรให้ผู้เข้ารับการอบรมแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็น และอภิปรายเรื่อง “เทคนิคการส่งเสริมความสามารถด้านภาษาและการพูด” และให้ผู้เข้ารับการอบรมส่งตัวแทนนำเสนอความคิดเห็น ตามใบกิจกรรมที่ 2 (25 นาที) วิทยากรสรุปสิ่งที่พ่อแม่จะช่วยได้เกี่ยวกับเทคนิคการพัฒนาความสามารถด้านภาษาและการพูด ตามใบความรู้ที่ 2 (10 นาที)

23 เทคนิคการส่งเสริมความสามารถด้านภาษาและการพูดของลูก
ใบความรู้ที่ 2 เทคนิคการส่งเสริมความสามารถด้านภาษาและการพูดของลูก

24 ภาษาพัฒนาได้อย่างไร อายุ 0-6 เดือน แสดงความรัก ให้ความอบอุ่น
ขณะที่สัมผัสหรือโอบอุ้ม น้ำเสียงนุ่มนวล เปิดเพลง เลียนแบบการเล่นเสียง

25 ภาษาพัฒนาได้อย่างไร อายุ 6-12 เดือน
พูดคำง่ายๆ และคุ้นเคย ในสถานการณ์ขณะนั้น และให้โอกาสเลียนแบบ ฟังเสียงต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม หัดพูดกับของเล่นที่ช่วยส่งเสริมการพูด

26 ภาษาพัฒนาได้อย่างไร อายุ 12-18 เดือน เรียนรู้ภาษาตามประสบการณ์
บอกชื่อ กิริยาท่าทาง ความรู้สึก รูปร่าง คุณสมบัติเฉพาะของสิ่งนั้นๆ และให้โอกาสเลียนแบบ อ่านหนังสือให้ฟัง พร้อมทั้งอธิบายภาพ

27 ภาษาพัฒนาได้อย่างไร อายุ 18-24 เดือน ฟังเทปเพลง ดนตรี นิทานภาพ
ไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ ใช้ของเล่นที่มีการพูดสนทนาโต้ตอบกัน

28 ภาษาพัฒนาได้อย่างไร อายุ 2-3 ปี ให้โอกาสพูดคุย สนทนาเรื่องต่างๆ
แก้ไขการพูด เป็นแบบอย่างเมื่อเด็กพูดผิด ทำกิจกรรม เล่นสำรวจสิ่งต่างๆ เคาะจังหวะ เต้นรำ ฟังนิทาน จัดสมุดถ่ายภาพ ปั้นดินเหนียว เล่นส่งจดหมาย

29 ร้องเล่นเป็นทำนองเพลง เล่นเกมส์ แล้วสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมนั้นๆ
ภาษาพัฒนาได้อย่างไร อายุ 3-4 ปี เล่าเรื่อง อ่าน ร้องเล่นเป็นทำนองเพลง เล่าเรื่องจากภาพ เล่นกับเพื่อน เล่นกับเพื่อน เล่นเกมส์ แล้วสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมนั้นๆ

30 ภาษาพัฒนาได้อย่างไร อายุ 4-5 ปี ดูโทรทัศน์ในรายการที่เหมาะสม พูดคุย
ขยายคำพูดของเด็ก ใช้สมุดภาพ ฝึกออกเสียงที่ไม่ชัด ฝึกความจำ เล่นเกมส์ แล้วสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมนั้นๆ

31 วิธีการดำเนินกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 วิธีการดำเนินกิจกรรม วิทยากรสุ่มผู้เข้ารับการอบรมให้ทำกิจกรรม “เลือกนิทานตามวัย” ตามใบกิจกรรมที่ 3 (15 นาที) วิทยากรสรุปและให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของนิทาน และการเลือกนิทานที่เหมาะสมตามวัย ตามใบความรู้ที่ 3 (10 นาที)

32 ประโยชน์ของหนังสือนิทานและการเลือกหนังสือนิทานตามวัย
ใบความรู้ที่ 3 ประโยชน์ของหนังสือนิทานและการเลือกหนังสือนิทานตามวัย

33 ประโยชน์ของหนังสือนิทาน
ด้านร่างกาย จากการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เด็กจะได้ บริหารร่างกายตามเรื่องราวของหนังสือ ทำให้อวัยวะส่วน ต่าง ๆ ของร่างกายแข็งแรง ด้านอารมณ์และจิตใจ จากการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เด็กจะรู้สึกสนุกและมีความสุขที่ได้ฟังเรื่องราวหรือท่อง บทกลอนและแสดงท่าทางอย่างอิสระตามความต้องการ เด็กจะมีอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส

34 ประโยชน์ของหนังสือนิทาน
ด้านสังคม สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคม รอบด้าน ด้านสติปัญญา การอ่านหนังสือจะช่วยให้เด็กสามารถ จดจำถ้อยคำ จำประโยคและเรื่องราวในหนังสือได้ รู้จักเลียนแบบคำพูด เข้าใจความหมายของเรื่องที่อ่าน รู้จักคิดและรู้จักจินตนาการ

35 ประโยชน์ของหนังสือนิทาน
ด้านภาษา การที่ให้เด็กได้มีโอกาสดูหนังสือภาพและผู้ใหญ่อ่านคำอธิบายประกอบภาพ ซึ่งอาจจะเป็นคำๆ คำสัมผัสคล้องจองหรือเป็นประโยคอธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับภาพให้เด็กฟัง ให้เด็กได้คุ้นเคยกับคำและเสียง และสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างเสียง ความหมาย และภาพ จะช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนการพูด รู้จักคำศัพท์และการใช้ภาษา ตลอดจนรู้จักสังเกตรายละเอียดต่าง ๆ ของภาพและหาความหมายจากภาพ

36 การเลือกหนังสือนิทานตามวัย
วัยแรกเกิด - 3 เดือน หนังสือที่เหมาะสมสำหรับทารกในวัยนี้ ควรเป็นหนังสือที่มีรูปภาพโต ๆ และชัดเจน มีสีสัน หรือสีขาวดำตามแบบภาพเหมือนจริง ควรทำด้วยกระดาษหนา ๆ และมีความทนทาน หรือเป็นหนังสือนุ่มนวล เช่น หนังสือผ้า หนังสือพลาสติก หนังสือฟองน้ำ เป็นต้น

37 การเลือกหนังสือนิทานตามวัย
วัย เดือน หนังสือที่เหมาะสมสำหรับทารกในวัยนี้ ควรเป็นหนังสือที่มีรูปภาพสีสดตัดกับสีพื้น ทำด้วยผ้า หรือกระดาษแข็งๆ เป็นภาพสิ่งของใกล้ตัวเด็ก หรือสิ่งที่เด็กวัยนี้รู้จักมักคุ้นดี

38 การเลือกหนังสือนิทานตามวัย
วัย เดือน หนังสือที่เหมาะสมกับวัยนี้ ควรเป็นหนังสือเล่มหนาแต่มีขนาดกระทัดรัดเหมือนแท่งสี่เหลี่ยม ทำด้วยกระดาษหนา ๆ เพราะจับได้เต็มมือ เปิดพลิกได้ง่าย และมีความทนทาน ภาพภายในหนังสือชัดเจน และมีเรื่องราวง่ายๆ เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก

39 การเลือกหนังสือนิทานตามวัย
วัย เดือน หนังสือที่เหมาะสมกับวัยนี้ ควรเป็นหนังสือที่มีขนาดเล็กกระทัดรัด ทำด้วยกระดาษแข็งอาบมันและเปิดเองได้ง่าย แต่ควรเลือกเนื้อเรื่องที่น่าสนใจด้วย เพราะเนื้อเรื่องจะเริ่มดึงดูดความสนใจของเด็ก เด็กเริ่มรู้จักจำ เริ่มเข้าใจและรู้จักเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หนังสือที่มีรูปภาพที่คุ้นตากับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เด็กเคยทำ

40 การเลือกหนังสือนิทานตามวัย
วัย 1 ขวบ หนังสือสำหรับวัยนี้เป็นเหมือนของเล่นชิ้นหนึ่ง เด็กเห็นหนังสือเป็นของสี่เหลี่ยมที่มีภาพติดอยู่และเปิดได้ พอเปิดดูข้างในก็มีภาพต่างๆ หลากสี เรียงรายกันอยู่ในแต่ละหน้า เด็กจะสนุกกับการค้นพบสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏแก่สายตา ถ้าเปิดหน้าไหนแล้วพบกับสิ่งที่เด็กรู้จัก เด็กก็จะยิ่งสนใจมาก ส่งเสียงร้อง เลียนเสียงของสิ่งต่างๆ ใช้นิ้วจิ้มภาพเหล่านั้นด้วยความสนุก

41 การเลือกหนังสือนิทานตามวัย
วัย 1 ขวบ หนังสือที่เหมาะสมกับวัยนี้จึงควรเป็นภาพเหมือนของรูปสิ่งของในชีวิตประจำวัน ผลไม้ สัตว์ สิ่งของ มีความสวยงาม ดูแล้วรู้สึกประทับใจ ไม่ควรเป็นภาพนามธรรมหรือภาพสีลูกกวาดที่ไม่มีความหมาย ไม่ควรมีส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง

42 การเลือกหนังสือนิทานตามวัย
วัย 2 ขวบ เด็กแต่ละคนในวัยนี้เริ่มมีความชอบแตกต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู วัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีประสาทหูดีมาก จะจดจำเสียงต่างๆ หรือดนตรีได้ดี หนังสือที่เหมาะกับเด็กวัยนี้คือหนังสือภาพที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เกี่ยวกับสัตว์และสิ่งของ การใช้ภาษาเป็นจังหวะหรือคำกลอนสำหรับเด็ก

43 การเลือกหนังสือนิทานตามวัย
วัย 3 ขวบ เด็กวัยนี้มีพัฒนาการทางภาษาที่รวดเร็วอย่างน่าทึ่ง มีจินตนาการสร้างสรรค์ และมีความอยากรู้อยากเห็น สามารถติดตามและเข้าใจเรื่องเล่าต่างๆ ได้ดี หากเด็กวัยนี้ได้รับประสบการณ์ทางภาษาและภาพจะเป็นพื้นฐานการสร้างนิสัยรักการอ่านในอนาคต

44 การเลือกหนังสือนิทานตามวัย
วัย 3 ขวบ หนังสือที่เหมาะกับวัยนี้ควรเป็นหนังสือที่ภาพและเรื่องประสานกลมกลืนกันเป็นอย่างดี เวลาเด็กดูหนังสือเขาไม่ดูอย่างคนภายนอกแต่จะสมมุติตัวเองเป็นตัวละครในเรื่องและเข้าไปอยู่ในเนื้อเรื่องด้วย ภาพของหนังสือที่ดีต้องเป็นภาพที่เล่าเรื่องได้ เมื่อพลิกดูภาพทั้งหมดโดยไม่อ่านคำบรรยายก็เข้าใจโครงเรื่องทั้งหมด ภาพควรมีรายละเอียดมากพอที่จะสื่อสารได้

45 การเลือกหนังสือนิทานตามวัย
วัย 4 ขวบ เด็กวัยนี้จะพัฒนาความสามารถทางภาษารวดเร็วมาก วัยนี้เป็นวัยที่สร้างพื้นฐานทางด้านจินตนาการสร้างสรรค์ เมื่อเด็กได้ฟังนิทานในหัวของเขาก็จะวาดภาพไปตามเรื่องราวที่ได้ยิน หนังสือที่มีภาพจะช่วยให้เด็กสามารถจินตนาการต่อเติมได้ง่าย

46 การเลือกหนังสือนิทานตามวัย
วัย 5 ขวบ เด็กวัยนี้จะชอบหนังสือภาพนิทานและเรื่องเล่าที่ยาวขึ้น เด็กต้องการฟังนิทานมาก และมักจะมีเล่มโปรดที่ต้องการฟัง – ดู ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีของการรักหนังสือต่อไป

47 กิจกรรมที่ 4 วิธีการดำเนินกิจกรรม วิทยากรให้ผู้เข้ารับการอบรมแบ่งกลุ่มเล่าเรื่องโดยใช้บัตรภาพ หรือบัตรข้อความ ตามใบกิจกรรมที่ 4 (30 นาที) วิทยากรสรุปหลักการเล่าเรื่องโดยใช้บัตรภาพหรือบัตรข้อความ และแนวทางการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน ตามใบความรู้ที่ 4 (10 นาที)

48

49 ใบความรู้ที่ 4 เทคนิคการเล่านิทาน เล่านิทานที่ไหนดี
เลือกสถานที่ ที่ไหนก็ได้ สะดวกและเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง

50 ใบความรู้ที่ 4 เทคนิคการเล่านิทาน เล่านิทานอย่างไรให้สนุกตื่นเต้น
มีความหนักเบา เน้นคำให้ชัดเจน มีช่วงจังหวะช้าเร็วตามเนื้อเรื่อง น้ำเสียง แสดงสีหน้าตามบทบาทและอารมณ์ของตัวละครอย่างเห็นได้ชัด สีหน้าท่าทาง

51 ใบความรู้ที่ 4 เทคนิคการเล่านิทาน เล่านิทานอย่างไรให้สนุกตื่นเต้น
การสบตา สบตาผู้ฟังให้ทั่วถึง การมีส่วนร่วม หยิบ จับ สัมผัส สื่อหรือออกเสียงท่าทางประกอบตัวละครไปพร้อมกับผู้เล่า

52 ใบความรู้ที่ 4 เทคนิคการเล่านิทาน เล่านิทานอย่างไรให้สนุกตื่นเต้น
เปิดโอกาสให้ซักถาม เปิดโอกาสให้ถาม หรือใช้คำถามนำช่วยกระตุ้นให้ผู้ฟังตอบและอยากมีส่วนร่วม การปรบมือ กล่าวชมเชย ให้รางวัล เมื่อผู้ฟังมีส่วนร่วม ให้แรงเสริม

53 วิธีการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน

54 วิธีการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน
อุ้มลูกนั่งตัก อ่านออกเสียงสูงๆ ต่ำๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อย มีจังหวะหนัก เบา ขณะอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ชี้ชวนให้ลูกดูภาพในหนังสือ หยอกเย้า กอดสัมผัส เคลื่อนไหวร่างกายลูกเหมือนในภาพ

55 วิธีการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน
อ่านหนังสือให้ลูกฟังอย่างน้อยวันละ 5-15 นาที เพื่อสร้างความผูกพันในครอบครัว และช่วยให้ลูกได้ใกล้ชิดและผูกพันกับการอ่านหนังสือ

56 วิธีการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน
ขณะที่อ่านหนังสือกับลูก ใช้ช่วงเวลานี้ในการพูดคุยและตั้งคำถาม เพื่อเป็นการต่อยอดความคิดของลูก เชื่อมโยงประสบการณ์ กระตุ้นให้ลูกได้ใช้ทักษะทางภาษาและความคิด

57 วิธีการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน
ขณะที่อ่านหนังสือกับลูก หากลูกถามคำถาม ควรตอบคำถามของลูก ไม่ควรเฉยหรือดุ เพราะวัยเด็กเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น การได้ถามคำถามเป็นการต่อยอดความคิดของลูก ถ้าคำถามข้อใดที่ไม่รู้ ก็พยายามหาคำตอบ โดยพยายามแสดงให้ลูกเห็นว่า การหาคำตอบของพ่อแม่นั้นสามารถหาได้จากการอ่านหนังสือ

58 วิธีการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน
การเล่านิทาน ถ้าเป็นคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ แนะนำให้อ่านตามหนังสือทุกตัวอักษร ไม่ต้องกลัวว่าลูกจะไม่สนุก เพราะว่าถ้าหากหนังสือเล่มนั้นเนื้อหาดี วิธีการเล่าถือเป็นประเด็นรอง และใช้วิธีชี้ตัวหนังสือที่เราอ่านไปพร้อมๆ กัน จะช่วยให้เด็กจดจำในเรื่องภาษาได้ดี

59 วิธีการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน
จัดมุมหนังสือในบ้าน มีมุมที่แสงสว่างเพียงพอ อากาศถ่ายเท สร้างบรรยากาศห้องสมุดในบ้าน ให้ลูกได้หัดเลือกหนังสืออ่านเอง

60 วิธีการปลูกฝังลูกให้รักการอ่าน
จัดช่วงเวลาให้คนในครอบครัวอ่านหนังสือร่วมกัน อย่างน้อยวันละนิดก็ยังดี การทำให้ดูเป็นตัวอย่างนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้

61 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt เรื่อง การใช้หนังสือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการลูกรัก (เล่า)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google