แนวโน้มของตารางธาตุ
สมบัติต่างๆในตารางธาตุ ขนาดอะตอม ขนาดไอออน IE EA EN E0 จุดเดือด จุดหลอมเหลว
ขนาดอะตอม ตามหมู่ ขนาดอะตอมจะโตขึ้นจากบนลงล่าง ตามหมู่ ขนาดอะตอมจะโตขึ้นจากบนลงล่าง เพราะ ระดับพลังงานสูงขึ้น ตามคาบ ขนาดอะตอมจะเล็กลงจากซ้ายไปขวา เพราะ ธาตุแต่ละตัวอยู่ในระดับพลังงานเดียวกัน แต่จำนวนโปรตรอนเพิ่มมากขึ้น จึงดึงดูดอิเล็กตรอนได้มากขึ้นตามลำดับ
ขนาดไอออน ไอออนบวก ขนาดจะเล็กลงเพราะจ่ายอิเล็กตรอน ไอออนลบ ขนาดจะเพิ่มขึ้น เพราะรับอิเล็กตรอน
EN (Electron Negativity) คือ ความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอน โดยธาตุที่มีขนาดเล็กจะดึงดูดอิเล็กตรอนได้ดีกว่าธาตุที่มีขนาดใหญ่ เพราะธาตุขนาดเล็กมีแรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียสกับอิเล็กตรอนมาก
IE (Ionization Energy) คือ พลังงานอย่างน้อยที่ดึงอิเล็กตรอนให้หลุดจากอะตอมในสภาวะแก็ส ตามหมู่ จะต่ำลงจากบนลงล่าง ตามคาบ จะสูงขึ้นจากขวาไปซ้าย ยกเว้น หมู่ 2 สูงกว่า หมู่ 3 และ หมู่ 5 สูงกว่า หมู่ 6
EA (Electron Affinity) คือ พลังงานที่คายออกมาเพื่อรับอิเล็กตรอนเข้าไปอยู่ในอะตอมในภาวะแก็ส ตามหมู่ จะต่ำลงจากบนลงล่าง ตามคาบ จะสูงขึ้นจากขวาไปซ้าย ยกเว้น หมู่ 2 และ หมู่ 5 จำต่ำกว่าปกติ เพราะ การจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงงานย่อยเสถียรอยู่แล้วจึงไม่ต้อง การรับอิเล็กตรอนเพิ่ม
ศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์มาตรฐาน (E0) คือ ความสามารถในการชิงอิเล็กตรอนในรูปสารละลาย ตามหมู่ จะลดจากบนลงล่าง ตามคาบ จะสูงขึ้นจากซ้ายไปขวา
จุดเดือด จุดหลอมเหลว พันธะโลหะ ธาตุที่มีความหนาแน่นมากจุดเดือด จุดหลอมเหลวจะสูงมาก พันธะโคเวเลนต์ (แบบลอนดอน) จุดเดือด จุดหลอมเหลว เพิ่มตามมวลและขนาดโมเลกุล พันธะโคเวเลนต์ (แบบโครงผลึกร่างตาข่าย) จุดเดือดจุดหลอมเหลวสูงมากๆ เพราะทำลายพันธะโคเวเลนต์