เขื่อน กับความต้องการของประเทศไทย

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
13 คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับเขื่อน 1. ทำไมจึงมีการต่อต้านเขื่อนขนาดใหญ่อย่าง กว้างขวาง? ตอบ เขื่อนขนาดใหญ่เป็น ชนวนของความขัดแย้ง ทางสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ.
Advertisements

ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
การเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ความหมายของประชาธิปไตย
โลกาภิวัตน์ การค้าเสรี และการจ้างงานหญิงชาย
ชี้แจงการสัมมนากลุ่มย่อย
กลุ่มวิชาชีพ/ วิชาการ/ กฎหมาย/ระเบียบ
บันทึกการประชุม บันทึกการประชุมมีปัญหาในเรื่องของการจะบันทึกการประชุม เป็นการจดแจ้งจากข้อเท็จจริงที่ปรากฎในการประชุม เพราะฉะนั้นการประชุมจะแต่งเติม เพิ่มแสดงความคิดเห็นเพิ่มอะไรลงไปไม่ได้
หลักเกณฑ์การวิเคราะห์ความเสี่ยง ตามหลักธรรมาภิบาล
เอชไอวีควบคุมได้ เอดส์รักษาได้ เราอยู่ด้วยกันได้
Business Economics for a Better World ถอดความโดย คุณประจวบ ตรีนิกร
พลังพลเมือง : การ เผชิญหน้ากับวิกฤตและผลกระทบ ของโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ ขนาดใหญ่ พลังพลเมือง : การ เผชิญหน้ากับวิกฤตและผลกระทบ ของโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ ขนาดใหญ่
เศรษฐกิจพอเพียง.
การค้ามนุษย์ การค้ามนุษย์ สภาพปัญหา ผลกระทบ แนวทางการแก้ไขปัญหา.
การค้ามนุษย์.
Green Village บ้านคลองกั่ว หมู่ 7 ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ. สงขลา.
การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ธนกิจการเมือง Money Politics.
หน้าที่ของสมาชิกสหกรณ์
วิธีการสหกรณ์ อุดมการณ์ หลักการ นายบรรทูรย์ ราชิวงค์
การบริหารจัดการท้องถิ่น
ขอบเขตความรับผิดชอบของรัฐบาลท้องถิ่น
บทที่ 5 นโยบายต่างประเทศ
ความหมายของชุมชน (Community)
เรียนรู้ จาก VDO ของ KMI
การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน
แผนปฏิบัติการยะลาเข้มแข็ง ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา
ผลสรุปการแบ่งกลุ่มย่อยประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ
ขอบเขตความรับผิดชอบของรัฐบาลท้องถิ่น
การค้ามนุษย์.
นโยบายของท่านเลขาธิการ ส.ป.ก. ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบชลประทาน
แนวทางการขับเคลื่อน การสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทย
(บรรยายหลักสูตรนักบริหารระดับกลาง กระทรวงมหาดไทย)
ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร
แล้ว...ถังรั่วใบใหญ่ให้อะไรกับเรา
๑.เทคนิคสำคัญ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม โดยให้แกนนำในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมเป็นวิทยากร ใช้กิจกรรมนันทนาการจุดประกายขณะเปิดเวที เช่น เพลง “สดุดีมหาราชา” รูปแบบเวทีเป็นธรรมชาติ
การวัดประเมินผลแบบดั้งเดิม
๒๕ ธ.ค. ๒๕๕๑ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
การบริหารงานจังหวัดลพบุรีแบบ บูรณาการ กพร.- TRIS 18/05/2549.
เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคสาธารณสุขเขต 10 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โครงการแก้ปัญหาภัยพิบัติโดยชุมชน บ้านห้วยลากปืนใน ต. ห้วยไร่ อ
สมาชิกกลุ่มที่ 1 นางวันเพ็ญ มหาชัย อ.วังวิเศษ จ.ตรัง ประธาน
ชูศักดิ์ วิทยาภัค คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทเรียนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
กรณีศึกษาเกี่ยวกับการใช้กฎหมาย เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
สำนักงานเกษตรอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การนำ การคิด แบบหญิงยุคใหม่
กระบวนการการทำงานชุมชน
วิจัยเพื่อชุมชน : การประเมินและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรยั่งยืน
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
การระดมความคิดกลุ่ม เขียนแผนที่ยุทธศาสตร์ฉบับปฏิบัติการ 1. แผนที่ยุทธศาสตร์ฉบับปฏิบัติการที่ได้เลือก จากแผนที่ใหญ่ โดยมีความสำคัญเร่งด่วน ใช้ เวลาสั้น.
บทที่ 3 ปรัชญาและแนวความคิดของการพัฒนาชุมชน
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหา
ปริมาณสำรองปิโตรเลียม
ประสบการณ์การบริหาร มหาวิทยาลัย ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๐. เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารมหาวิทยาลัย โครงสร้าง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ รูปแบบการบริหารและขอบเขต อำนาจ.
การจัดการองค์ความรู้ ระบบการผลิตที่ยั่งยืน ความพอเพียงในการดำรงชีพ
เขื่อนปากชม.
การบรรยายสรุป การสำรวจพื้นที่เพื่อจัดทำ และสนับสนุนโครงการนำ ร่อง : บ้านผาปูน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ กนก ฤกษ์เกษม และนริศ ยิ้มแย้ม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
จัดทำโดย ปฏิภาณ ไชยกุล อดิศร สุดดวง
นายพนาสิน หอมจิตต์ ชั้น ปวช 1 เลขที่ 11 กลุ่ม 1 แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ผลกระทบของปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ ก่อนวัยอันควร
อาจารย์สันติ อภัยราช อาจารย์ ๓ ระดับ ๙ นิติศาสตรบัณฑิต การศึกษาบัณฑิต
จัดทำโดย ชื่อนายฤทธิ์รงค์ ลิ้มม่วงนิล ช่างยนต์ ปวช.1 เลขที่19
จัดทำโดย ด.ช. ดิเรกรัตน์ ด่านลัมจาก เลขที่3
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
นิเวศวิทยาการเมือง : ความยั่งยืนทางนิเวศในสังคมไทย
7.Discussion การอภิปราย นายวัชรกร เดชะบุญ รหัสนิสิต
เศรษฐกิจพอเพียง นางสาวสุนิสา จันทร์ตะบูน ชั้น ปวช 1 เลขที่ 20 กลุ่ม 2
การขับเคลื่อนวาระแห่งชาติด้าน การสหกรณ์ จังหวัดสุรินทร์ วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๖ ณ โรงแรมทองธารินทร์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

เขื่อน กับความต้องการของประเทศไทย สถานการณ์ปัจจุบันและประเด็นปัญหาเขื่อนในประเทศไทย แนวคิดและความจำเป็นในการสร้างเขื่อน ณ ปัจจุบันในประเทศไทย ภาระกิจ + วิศวกรรมและธรณีวิทยาเกี่ยวกับเขื่อน + ความจำเป็นในการสร้างเขื่อนในประเทศไทย (แก่งเสือเต้น) ความคิดเห็น + ประเทศไทยจำเป็นต้องมีเขื่อนเพิ่มขึ้นหรือไม่ (ผลกระทบทางบวก/ลบ ด้านธรณีวิทยา) + ทำไมหน่วยงานต่างๆ จึงพูดถึง เขื่อนแก่งเสือเต้นอีกครั้ง

เบื้องหลังแนวคิดในการสร้างเขื่อน ผลประโยชน์ของ กลุ่มอุตสาหกรรมเขื่อนในระดับโลก จะผลักดันให้มีการสร้างเขื่อนต่อไป และพื้นที่ที่ดีที่สุดที่จะไปสร้างเขื่อนได้ในเวลานี้ก็คือ ประเทศด้อยพัฒนาและประเทศที่เป็นเผด็จการ      เบื้องหลังการผลักดันให้มีการสร้างเขื่อนมันมาจากสามกลุ่ม กลุ่มที่ ๑ คือกลุ่มอุตสาหกรรมเขื่อน ในช่วงแรก ๆ ที่โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นอยู่ภายใต้โครงการผันน้ำกก อิง ยม น่าน มีบริษัทยักษ์ใหญ่จากยุโรป แคนาดา และออสเตรเลีย เข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นเป็นโครงการอิสระ ธนาคารโลกก็เข้าสนับสนุนการศึกษาพิจารณาความเหมาะสมของโครงการ โดยมอบหมายให้องค์การอาหารและเกษตร หรือ FAO ดำเนินโครงการศึกษา

กลุ่มที่ ๒ จะเป็นกลุ่มข้าราชการระดับสูง ระดับผู้วางแผนและผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ เช่น นักการเมืองระดับชาติ กลุ่มนี้มองเขื่อนในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการพัฒนา บนแนวคิดที่ว่า โครงการยิ่งใหญ่เท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น ความคิดนี้เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากกรมชลประทาน การไฟฟ้าฯ และสภาพัฒน์      กลุ่มที่ ๓ คือกลุ่มอำนาจท้องถิ่น หรือ Local Power เป็นกลุ่มที่เริ่มเข้ามามีบทบาท ในช่วงที่พลเอกชาติชายมีอำนาจ กลุ่มนี้มีทั้งนักการเมืองท้องถิ่น กลุ่มธุรกิจท้องถิ่น และกลุ่มจัดตั้งต่าง ๆ เช่น กลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน แต่ละกลุ่มก็จะสัมพันธ์กับอำนาจรัฐ หรือไม่ก็เชื่อมกับพรรคการเมืองระดับชาติ เมื่อธนาคารโลกถอนตัวจากเขื่อนแก่งเสือเต้น เพราะชาวสะเอียบขัดขวางการสำรวจ พวกนี้ก็จะเข้าไปมีบทบาทสูง เขามีแนวคิดว่าหากมีการสร้างเขื่อน ก็จะทำให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งมันสอดคล้องกับนโยบายรัฐ ที่ต้องการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค แน่นอนว่า การพัฒนาแบบนี้ กลุ่มของตนซึ่งครอบครองเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นจะได้ประโยชน์ กรณีเขื่อนปากมูลชัดเจนมาก เขื่อนแห่งนี้ถูกผลักดันสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย เพื่อพัฒนาอุบลราชธานีให้เป็นประตูสู่อินโดจีน โดยนอกจากจะสร้างเขื่อนปากมูลแล้ว ยังมีการสร้างสนามบินนานาชาติ ตั้งมหาวิทยาลัย สร้างถนนสี่เลนไปสู่ชายแดน เปิดประตูสู่อินโดจีน และจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม กรณีของเขื่อนแก่งเสือเต้นก็อยู่ในบริบทที่คล้ายกัน

นอกจากเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองข้างต้น เบื้องหลังการผลักดันยังมีผลประโยชน์แอบแฝง ด้วย เราไม่สามารถบอกได้ว่า ทุกกลุ่มจ้องที่จะแสวงหาผลประโยชน์ แต่มันมีผลประโยชน์แอบแฝงอยู่จริง เช่นกลุ่มที่กว้านซื้อที่ดินในบริเวณอ่างเก็บน้ำจากชาวบ้านในราคาถูก เพื่อเก็งกำไรจากค่าชดเชย หรือกลุ่มทำไม้ที่ถึงกับมีการประชุมกันกับข้าราชการบางกลุ่ม เพื่อจัดสรรว่าหากมีการสร้างเขื่อน ใครจะได้ประโยชน์จากการทำไม้ พวกนี้ทำเป็นขบวนการ เราจะพบว่ามีชาวบ้านถูกหลอกให้ขายที่ดิน ที่ผ่านมามีทั้งกลุ่มอำนาจท้องถิ่น และข้าราชการระดับปฏิบัติงาน ที่เข้าไปกว้านซื้อที่ดินที่เขื่อนแม่มอกมาก่อน พอมาถึงแก่งเสือเต้น กลุ่มนี้ก็ย้ายฐานมาซื้อที่นี่ ทุกเขื่อนจะมีกลุ่มอำนาจท้องถิ่นบางกลุ่มเข้าไปกว้านซื้อที่ดิน ไม่ว่าที่ไหนพอมีการสร้างเขื่อนปุ๊บ เราก็จะพบว่ามีความไม่โปร่งใสของโครงการอยู่  เมื่อแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาที่เชื่อว่าเขื่อน จะนำมาซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ ของท้องถิ่น ผนวกเข้ากับผลประโยชน์แอบแฝง กระแสผลักดันให้มีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นมันจึงรุนแรง และกลุ่มต่าง ๆ ก็ช่วงชิงกันเข้ามีบทบาทสนับสนุนเขื่อน มีการหาเสียงเพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง โดยการชูประเด็นเขื่อน ซึ่งนั่นเท่ากับเป็นการทำให้เขื่อนแก่งเสือเต้นเป็นการเมือง ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ การจัดประชาพิจารณ์ โดยนักการเมืองเมื่อปี ๒๕๓๗ โดยอาศัยสถานการณ์ภัยแล้ง ปลุกระดมมวลชนให้สนับสนุนเขื่อน เวทีนี้มีนักการเมืองระดับประเทศ ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ข้าราชการ ตลอดจนกลุ่มอำนาจท้องถิ่น และมีการบิดเบือนการประชาพิจารณ์

โดยจัดเวทีประชาพิจารณ์ขึ้นมา แล้วเกณฑ์คนมาลงประชามติ เพื่อที่จะแสดงว่ามีคนสนับสนุนเขื่อนมาก วิธีการแบบนี้ยังถูกใช้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดน้ำท่วม เมื่อกระแสเป็นอย่างนี้ คนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ก็คิดว่า เมื่อมีคนเดือดร้อนมากมาย ทำไมไม่ยอมให้สร้างเขื่อน ทำไมชาวบ้านสะเอียบไม่เสียสละ พวกนักอนุรักษ์ทำไมไปห่วงแต่นกยูง ห่วงแต่ป่าสัก ไม่เห็นแก่ชีวิตคน แต่สังคมไทยมันไม่ง่ายขนาดนั้น ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เขาไม่เห็นด้วยกับวิธีการที่ไม่ชอบมาพากล จึงออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน เราต้องเปลี่ยนวิธีการในการมองปัญหาเพื่อหาทางเลือกที่หลากหลาย ยิ่งไปสร้างเขื่อน ทำพนังกั้นน้ำ ทำให้ผิดธรรมชาติ ในที่สุดมันก็สู้ธรรมชาติไม่ได้ จะยิ่งเกิดวิกฤตมากขึ้น เราควรเปลี่ยนมาเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติ แทนที่จะมุ่งเอาชนะธรรมชาติ องค์ความรู้เรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำเพิ่งจะมีคนพูดถึงไม่เกิน ๑๐ กว่าปีมานี้ แต่ในบางท้องถิ่นอย่างที่บางระกำ เขารักษาพื้นที่ที่เป็นหนองน้ำไว้ เป็นแหล่งความหลากหลายทางธรรมชาติ เป็นแหล่งทำมาหากินมานานแล้ว สิ่งเหล่านี้มันมีอยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น แต่ถ้ามองว่ายิ่งโครงการขนาดใหญ่ยิ่งดี ต้องเอาชนะธรรมชาติด้วยเทคโนโลยี ต้องสร้างเขื่อน มันก็จะมองไม่เห็นทางเลือกอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว ถ้ารัฐยอมรับทางเลือกที่หลากหลาย ความขัดแย้งเรื่องเขื่อนในสังคมจะลดลงไปได้มาก ดังนั้นนักการเมือง และข้าราชการ ต้องมีกระบวนทัศน์ในการจัดการเรื่องน้ำเสียใหม่ ไม่ใช่ยึดติดกับเขื่อน เราจึงจะพ้นไปจากความขัดแย้งได้

ที่ผ่านมา กรมชลประทาน มักจะยกเรื่องการอพยพชาวบ้าน ในพื้นที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มาเป็นตัวอย่าง และพยายามกดดันให้ชาวสะเอียบยอมรับแนวทางนี้ แต่ที่ชาวสะเอียบไม่ยอมรับก็เพราะมันเป็นวิธีการที่ใช้ไม่ได้ ทางฝ่ายปกครองจังหวัดแพร่ ก็เคยพาชาวสะเอียบไปดูการอพยพที่นั่น เห็นแต่เรื่องดี แต่ชาวบ้านเขาไม่เชื่อทางการ เพราะหลังจากนั้นเขาก็เดินทางไปกันเอง โดยไปในช่วงที่เริ่มมีการกักเก็บน้ำในปี ๒๕๔๑ และก็พบว่าสิ่งที่ทางการบอกว่าสำเร็จนั้น มันเป็นการจัดฉาก หลักฐานก็คือ มีชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่ถูกบีบบังคับให้อพยพ โดยเฉพาะที่บ้านมะนาวหวาน ชาวบ้านถูกบังคับให้อพยพด้วยวิธีที่ทารุณมาก แรกสุดมีการเอาเจ้าหน้าที่เข้ามาปิดล้อม แต่ชาวบ้านก็ไม่ยอมย้าย ทางการจึงหันมาใช้วิธีตัดน้ำตัดไฟ แต่ชาวบ้านก็ไม่ยอมอพยพอยู่ดี ในที่สุดก็บีบบังคับด้วยการกักเก็บน้ำให้ท่วมหมู่บ้าน ทั้งที่หมู่บ้านและวัดมะนาวหวานยังไม่มีการย้ายออกไป ทำให้ชาวบ้านจำเป็นต้องอพยพ และที่ใหม่ซึ่งทางการจัดไว้นั้น โรงเรียนสำหรับเด็ก ๆ ก็ยังสร้างไม่เสร็จ วัดก็ยังไม่มี บ้านก็ไม่มี ชาวมะนาวหวานต้องช่วยเหลือตัวเอง ต้องสร้างเพิงพักอยู่กันตามยถากรรม สิ่งที่ชาวมะนาวหวานถูกกระทำนั้นมันเหมือนกับว่าเขาไม่ได้เป็นพลเมือง การเอาน้ำไปไล่ชาวบ้านแบบนี้ เขาเรียกกันว่า การไล่ดิบ สิ่งที่กรมชลประทานพูดนั้น มันถูกที่ว่าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนที่มีการจ่ายค่าชดเชยมากที่สุด โดยวิธีหนึ่งที่นำมาใช้ก็คือ การให้ชาวบ้านรับเป็นเงินสด มันดูเหมือนดี แต่มันไม่ได้หมายความว่าชีวิตของชาวบ้านจะดีขึ้น ตามที่กรมชลประทานสัญญาว่า การอพยพชาวบ้านจากพื้นที่สร้างเขื่อน จะไม่ทำให้ชีวิตชาวบ้านเลวลง จะดีขึ้น หรืออย่างน้อยที่สุดก็เหมือนเดิม แต่ไปดูซิทุกวันนี้ชาวบ้านเขาอยู่อย่างไร บ้านที่เคยสร้างสวย ๆ ตอนนี้ติดป้ายประกาศขายกัน เพราะเขาไม่มีอาชีพ ไม่มีที่ดินทำกิน ไม่มีอะไรจะกิน

สุดท้ายก็เรื่องการฉ้อราษฎร์บังหลวง ขณะที่ชาวบ้านมะนาวหวาน เผชิญกับการอพยพที่ไม่ยุติธรรม แต่ในอีกด้านหนึ่ง กลับมีการเอาที่สาธารณะไปออกเอกสารสิทธิ์ เพื่อไปรับค่าชดเชย ซึ่งเกิดจากการร่วมมือกันระหว่างข้าราชการในท้องถิ่น กับนายทุนท้องถิ่น ที่อำเภอแห่งหนึ่งปลัด และที่ดินอำเภอโดนไล่ออกก็มี เรื่องนี้เจ้าหน้าที่กรมชลประทานก็รู้ดี บางกลุ่มยังมีการจัดฉากแต่งงาน และกินเลี้ยงย้อนหลัง เพื่อสร้างหลักฐานเท็จว่ามีครอบครัวแล้ว และนำหลักฐานนั้นไปรับเงินค่าชดเชยจากรัฐ จะเห็นได้ว่าเงินค่าชดเชยที่บอกว่านำไปให้ชาวบ้านนั้น แท้จริงแล้วมันไม่ถึงชาวบ้าน แต่กรมชลประทานก็ยังนำเอากรณีนี้ มาอ้างว่าประสบความสำเร็จ และนำมาใช้กับแก่งเสือเต้น

Thank You