จริยธรรมการวิจัย โดย รศ.ดร.สมศักดิ์ ศรีสันติสุข 1.หลักการเครารพในมนุษย์ (respect for person) 1.1 เคารพในศักดิ์ศรีมนุษย์ (respect for human dignity) 1.2 การเคารพในการให้คำอธิบายและเป็นอิสระในการตัดสินใจ (free and informed consent)
1.3 การเคารพในศักดิ์ศรีของกลุ่มเปาะปางและอ่อนแอ (respect for vulnerable persons) 1.4 การเคารพในความเป็นส่วนตัวและรักษาความลับ (respect for privacy and confidentiality)
2. หลักคุณประโยชน์และไม่ก่ออันตราย(beneficence) 2.1 การชั่งระหว่างความเสี่ยงและคุณธรรม(balancing risks and benefits) 2.2 การลดอันตรายให้น้อยที่สุด (minimizing harm) 2.3 การสร้างประโยชน์ให้สูงสุด (maximizing benefits)
3. หลักความยุติธรรม (justice)
จริยธรรมสำหรับนักวิจัย 1.เป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบ นักวิจัยต้องมุ่งส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างเพื่อนมนุษย์ จะต้องยกย่องค่าแห่งความเป็นคน ความซื่อตรง และความรับผิดชอบ 2. เป็นบุคคลที่รักษาความลับได้ นักวิจัยเมื่อเก็บข้อมูลบางเรื่องเป็นเรื่องที่ควรปิดบัง การไม่เปิดเผยนามเป็นวิธีหนึ่งที่จะรักษาความลับของผู้ให้ข้อมูล ซึ่งบางครั้งผู้ให้ข้อมูลเสียหาย
3. เป็นบุคคลที่ปกป้องสวัสดิภาพและเกียรติภูมิผู้ให้ข้อมูลได้ การปกป้องสวัสดิการและเกียรติแก่บุคคล องค์กร หรือชุมชน ที่ทำการวิจัยเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เช่น ปัญหาความขัดแย้งที่พบในชุมชนที่ศึกษา นักวิจัยควรที่จะต้องมีความระมัดระวังในการถ่ายทอดข้อมูลให้ทั้งสองฝ่ายอย่างรอบคอบ มิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายได้
จริยธรรมในการรับผิดชอบ นักวิจัยเป็นบุคคลที่จะต้องเคารพในสิทธิและชื่อเสียงของบุคคล กลุ่ม องค์กร หรือชุมชน ที่ได้ทำการวิจัย ผลงานที่นักวิจัยได้ทำเสร็จสมบูรณ์ นักวิจัยควรที่จะนำไปเผยแพร่ความรู้ต่อสาธารณชนด้วยความรับผิดชอบในสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ และการแปลความหมาย ซึ่งอาจจะผิดพลาดได้ นักวิจัยจึงควรที่จะพร้อมต่อการรับผิดชอบด้วยความเต็มใจ เพื่อที่จะได้แก้ไขข้อผิดพลาดให้ดียิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป
หลักการพิจารณาจริยธรรมในการวิจัย 1.การคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ ( beneficence ding good) 2.การคำนึงถึงความซื่อสัตย์ ของนักวิจัย(fidelity- trust) 3.การคำนึงถึงการรักษาความลับ (confidentiality-safeguarding)