สมาชิกในกลุ่ม นายพิสิษฐ สามารถ ชั้น ม.5/5 เลขที่ 5 นายธนกร อักษรดิษฐ ชั้น ม.5/5 เลขที่ 9 นายธนัท นัยอนันต์ ชั้น ม.5/5 เลขที่ 10 นายฤทธิชล อัครปัญญาธร ชั้น ม.5/5 เลขที่ 14 นายสุขวิช ทับนิล ชั้น ม.5/5 เลขที่ 15 นายธนยศ กาญจนะ ชั้น ม.5/5 เลขที่ 27 นายอิทธิพันธ์ เหล็กพูล ชั้น ม.5/5 เลขที่ 29 นายชวัชร์พล รุจีพาชัยเจริญ ชั้น ม.5/5 เลขที่ 30 นายศุภณัฐ อรรถบูรณ์วงศ์ ชั้น ม.5/5 เลขที่ 32 นายศุภณัฐ มะเซิง ชั้น ม.5/5 เลขที่ 33
ภาษาถิ่นเหนือ เสนอ ครูนิตยา เอี่ยมแดง ภาษาถิ่นเหนือ เสนอ ครูนิตยา เอี่ยมแดง
ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาไทยถิ่นเหนือ หรือ คำเมือง หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ภาษาถิ่นพายัพ เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม ใช้กันมากในเชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของ จังหวัดตาก สุโขทัยและ เพชรบูรณ์อีกด้วย
นอกจากนี้ คำเมืองเป็นภาษาของคนไทยวน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหรืออาณาจักรล้านนา และ อาณาจักรโยนกในอดีต ปัจจุบันกลุ่มคนไท-ยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรีอีกด้วย
ตัวอย่างคำศัพท์ คำศัพท์ คำแปล บะโอ ส้มโอ บะผาง มะปราง แอ่ว เที่ยว ฮัก รัก ป้อชาย ผู้ชาย หมู่เฮา พวกเรา ฮู้ รู้ ผ้าต๊วบ ผ้าห่ม
ตัวอย่างบทสนทนา A : สะวัดดีเจ้า เฮาซื่อเอ เป๋นคนเมือง (สวัสดี ฉันชื่อเอ เป็นคนเหนือ) B : สะวัดดี เฮาชื่อบี เป๋นคนเมือง เหมืองกัน (สวัสดี ฉันชื่อบี เป็นคนเหนือเหมือนกัน) A : จริงบ่ ตั๋วเฮียนตี้ใดกา (จริงหรอ เธอเรียนที่ไหนหล่ะ) B : เฮาเฮียนตี้โรงเรียนเชียงใหม่ (ฉันเรียนที่ รร เชียงใหม่) A : โรงเรียน เป๋นจะไดผ่อง (โรงเรียนเป็นไงมั่ง) B : ก้อเฮียนไปเฮื่อยๆ (ก็เรียนไปเรื่อยๆ) A : อ้อ ป๊ะกั๋นใหม่เน้อ (โอเค ไว้เจอกันใหม่นะ) B : บาย
ตัวอย่างเพลงกล่อมเด็กภาคเหนือ เพลงอื่นละอ่อน อือ...... จ๋า จา บะหล้าหลับสองต๋า อี่ป้อไปนานอกบ้าน ไปเก็บบะซ่านใส่โป ไปเก็บบะซานในโป๊ ไปเก็บลูกนกใส่สาน อือ ตั๋วนึ่งไว้ซ่ากินงาย ตั๋วนึ่งไว้ขายแลกข้าว ตั๋วนึ่งไว้ปั๋นเจ้า ปั๋นเจ้า ป้อนข้าวแล้วค่อยลาไป หลับไปอือ อือ อื่อ จา จา อื่อ จา จา จา จ๋า จา จ๋า จา อื่อ อื้ม อื่อ อื่อ อื๊ม อืม อื่อ จา จา อื่อ จา จา อือ อือ อือ อือ
คำศัพท์ ป้อ แปลว่า พ่อ บะซ่าน แปลว่า มะซ่าน (ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง) โป แปลว่า ตะกร้า สาน แปลว่า ภาชนะเก็บของที่ผลิตจากการสาน ตั๋วนึ่ง แปลว่า ตัวหนึ่ง
วิเคราะห์คุณค่าของเพลง ด้านภาษา เน้นการเอื้อนคำ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเพลงไทยซึ่งไม่เหมือนใคร เป็นการร้องเพลงแบบช้าๆ เพื่อให้เด็กเกิดความง่วงนอน ด้านวัฒนธรรม เป็นการแสดงถึง การดำรงชีวิตของคนภาคเหนือ คือ ต้องออกไปเก็บของป่ามาขายแลกข้าว หรือ เก็บไว้กินเอง และแสดงถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก โดยการทำมาหากิน ป้อนข้าวป้อนน้ำให้ลูก