เรื่องไตรสิขาพัฒนาสุขภาพจิต จัดทำโดย ชื่อ เด็กชาย ภาณุพงศ์ ภูมิภูเขียว ชั้น ม 3/2 เลขที่ 4 นำเสนอ ครู ศราวุธ ไชยเจริญ
สุขภาพจิตหมายถึง สุขภาพจิต หมายถึง ความสมบูรณ์ในด้านจิตใจ จิตใจปกติ เข้มแข็งอารมณ์มั่นคง สามารถปรับตัวกาย และใจ ให้ดุลยภาพกับ สิ่งแวดล้อม และสังคม ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความสุข สุขภาพจิต ที่ดี คือ ความสามารถที่ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยไม่จำเป็นจะต้องปล่อยให้เป็นไปตาม อำนาจของ สิ่งแวดล้อมทุกอย่าง แต่ไม่เอาแต่ใจตัวเองหรืลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี ผู้ที่มี สุขภาพจิต ดีจะสามารถเผชิญกับ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างดีทั้งในสถานการณ์ปกติ และไม่ปกติและ สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ เกณฑ์ในการพิจารณาผู้ที่มีสุขภาพจิตดีมีดังต่อไปนี้
ก. ความรู้สึกต่อตัวเอง 1 ก. ความรู้สึกต่อตัวเอง 1. ไม่เกิดอารมณ์ต่าง ๆ รบกวนตนเองมากนัก เช่น โกรธ กลัว กังวล ฯลฯ 2. สามารถควบคุมความผิดหวังได้ 3. เข้าใจตนเองอย่างถูกต้อง เช่น ยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง 4. นับถือตนเอง ไม่ยอมให้ผู้อื่นมีอิทธิพลเหนือตนเอง 5. สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้โดยรู้สาเหตุแห่งปัญหา ข. ความรู้สึกต่อผู้อื่น 1. ให้ความรักแก่คนอื่น และยอมรับพิจารณาความสนใจของคนอื่น 2. คบหาสมาคมกับคนอื่น ๆ ได้ 3. ไว้วางใจคนอื่น ๆ ไม่หวาดระแวง 4. ยอมรับนับถือความแตกต่างหลาย ๆ อย่างที่คนอื่นมี 5. ไม่ผลักดันให้ผู้อื่นตามใจตนเอง และไม่ตามใจผู้อื่นตามใจชอบ 6. รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ และมีความรับผิดชอบต่อมนุษย์ทั่วไป
ค. ความสามารถในการดำเนินชีวิต 1 ค. ความสามารถในการดำเนินชีวิต 1. สามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตได้เป็นอย่างดี 2. มีสิทธิและรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง 3. รู้จักทำสภาพแวดล้อมให้ดีที่สุด ในกรณีจำเป็นก็ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี 4. รู้จักวางแผนดำเนินชีวิต ไม่หวาดกลัวอนาคต 5. ยอมรับประสบการณ์ และความคิดใหม่ ๆ 6. ใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่ ถ้าทำอะไรก็ทำอย่างเต็มความสามารถ และพึงพอใจต่อการกระทำนั้น 7. วางเป้าหมายที่นำมาซึ่งความสำเร็จในชีวิตของตนเองได้
ตามหลักจิตวิทยาถือว่าผู้มีสุขภาพจิตดีจะมีลักษณะดังนี้ รู้จักเผชิญต่อความจริงของชีวิต ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ เป็นผู้มีอิสระ มีเหตุผลอันถูกต้องของตนเอง สามารถให้ความรักผู้อื่นโดยทั่ว ๆ ไป รู้จักไว้วางใจอย่างมีเหตุผลต่อผู้อื่น และรับฟังข้อวิจารณ์ที่เกี่ยวกับตนเองได้ มีการแสดงออกทางอารมณ์พอสมควร รู้จักโกรธ เกลียด และรู้จักยับยั้งความโกรธเกลียดด้วยเหตุผล ไม่ปล่อยอารมณ์รุนแรง มีความสามารถที่จะคิดถึงอนาคต โดยรู้จักพิจารณาอย่างรอบคอบ รู้จักผ่อนคลายทางใจ ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ และพักผ่อนอย่างเพียงพอ รู้จักปรับปรุงตนเองให้เข้ากับงานได้ พยายามหาทางก้าวหน้าอยู่เสมอ
ไตรสิขาหมายถึง ไตรสิกขา หมายถึง หลักการพัฒนาชีวิตเพื่อให้ประสบความสำเร็จเป็นคนสมบูรณ์แบบตามแนวพุทธ ไตรสิกขา จึงจัดอยู่ใน มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) คือ ควรทำให้เกิดมีขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาชีวิต ไตรสิกขา แปลว่า สิกขา ๓ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษา ๓ อย่าง คือ ๑. อธิสีลสิกขา สิกขา คือ ศีลอันยิ่ง ๒. อธิจิตตสิกขา สิกขา คือจิตอันยิ่ง หมายถึง สมาธิ ๓. อธิปัญญาสิกขา สิกขา คือ ปัญญาอันยิ่ง
ตอนมรรค : กรรมฐาน ๒ กรรมฐานคืออะไร กรรมฐาน คือ วิธีปฏิบัติเพื่อพัฒนาจิตให้มีสมาธิและปัญญา ดังที่นักเรียนได้เรียนมาแล้วในเรื่องไตรสิกขาข้างต้น กรรมฐานจึงจัดอยู่ในมรรค คือ ธรรมที่ควรเจริญ ตอนมรรค : โกศล ๓ โกศลคืออะไร โกศล คือ คุณธรรมสำคัญที่ใช้เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการพัฒนาชีวิตเช่นเดียวกับปธาน ๔ แต่โกศล เป็นเครื่องมือทางปัญญา เป็นตัวชี้นำให้ลงมือปฏิบัติ ซึ่งเป็นขั้นตอนของปธาน ๔ ดังกล่าว โกศลจึงจัดอยู่ใน มรรค คือ ธรรมที่ควรเจริญเช่นเดียวกับไตรสิกขา กรรมฐาน ๒ และปธาน ๔
ตอนมรรค : ปธาน ๔ ปธานคืออะไร ปธาน คือ ความเพียร หมายถึง ความเพียรชอบ ซึ่งเป็นองค์มรรคอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า สัมมาวายามะ ปธานจึงจัดอยู่ในมรรค คือ ธรรมที่ควรเจริญ เช่นเดียวกับไตรสิกขาและกรรมฐาน ๒ ที่ได้เรียนมาแล้ว ปธาน มี ๔ อย่าง
คำคม ปกติคนเราจะจดจำด้วยสมอง แต่จะมีคนพิเศษบางคนเท่านั้น ที่เราจะจดจำเขาด้วยหัวใจ และเมื่อเขาเข้ามาอยู่ในใจเราแล้ว มันก็ยากและเจ็บปวดที่จะลืมเลือน