โครงงานเรื่อง เทศกาลไหว้พระจันทร์ จัดทำโดย กลุ่ม 1 1.นางสาวอรสา เข็มขาว 2.นางสาวรัชดาวรรณ เหล็กราช 3.นางสาวเจนจิรา คิดดี เสนอ อาจารย์เบญจมาภรณ์ ท้าวคำหล่อ
ที่มาและปัญหา จุดมุ่งหมาย วันที่ 15 เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน เป็นวันไหว้พระจันทร์ เป็นวันที่ชาวจีนรับรู้และถือปฏิบัติมานมนามว่าเป็นวันที่มีเสน่ห์และโรแมนติกวันหนึ่ง โดยเฉพาะภายใต้พระจันทร์ขาวนวลผ่องกลม ๆ ที่ส่องอยู่บนท้องฟ้า วันนี้เป็นวันที่พระจันทร์กลมและใหญ่เป็นพิเศษ จึงเหมาะอย่างยิ่งที่บรรยากาศนี้จะเป็นโอกาสที่เหล่าหนุ่มสาวคู่รักนัดพบกันและผู้จัดทำมีความสงสัยว่าทำไมในเทศกาลไหว้พระจันทร์นั้นคนจีนทำไม่ถึงต้องกินขนมไหว้พระจันทร์พร้อมๆไปกับการชมจันทร์ และเทศกาลนี้แท้จริงแล้วมีความเป็นมาอย่างไร ดังนั้นผู้จัดทำจึงต้องการที่จะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องวันไหว้พระจันทร์พร้อมทั้งเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจ จุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาเรื่องเทศกาลไหว้พระจันทร์และเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ
ประวัติความเป็นมาเทศกาลวันไหว้พระจันทร์ วันที่ 15 เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน เป็นวันไหว้พระจันทร์ 中秋节 จงชิวเจี๋ย (“จงชิว 中秋” "จงชิว“ แปลว่า "กลางฤดูใบไม้ร่วง") เกิดขึ้นในสมัยเมื่อมองโกลเข้ามาปกครองแผ่นดินจีน ส่วนความเป็นมาของวันไหว้พระจันทร์นั้นก็มีความแตกต่างกันหลายเรื่องราว เช่น ฉางเอ๋อสู่พระจันทร์ 嫦蛾奔月 การก่อการล้มล้างราชวงศ์หยวนของจูหยวนจาง朱元璋月饼起义 “จักรพรรดิถัง หมิงท่องวังจันทรา 唐明皇游月宫 ตำนานการเก็บเกี่ยวของชาวไร่ชาวนา
ประเพณีปฏิบัติในการฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์ สมาชิกในครอบครัวจะมาอยู่รวมกัน ทุกคนในครอบครัวมาร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน รับประทานขนมไหว้พระจันทร์ร่วมกัน และชมจันทร์จิบชา ก่อเจดีย์และชมการแสดงรำมังกร
ขนมไหว้พระจันทร์ ทำไมต้องกินขนมไหว้พระจันทร์ในวันไหว้พระจันทร์ ??? 1. เพื่อเป็นการฉลองที่ชาวจีนกอบกู้แผ่นดินสำเร็จ 2. เช่นไหว้และขอพรจากเทพที่อยู่บนพระจันทร์ (ฉางเอ๋อ) 3. ระลึกถึงการล้มล้างราชวงค์หยวนของจูหยวนจาง
ขนมไหว้พระจันทร์ ขนมไหว้พระจันทร์ทำจากการนำแป้งหมี่กับน้ำมันหมูมานวดเข้ากัน คลึงเป็นแผ่นที่มีความหนาพอประมาณ จากนั้นห่อด้วยไส้ชนิดต่างๆ ไส้ที่สำหรับขนมไหว้พระจันทร์นั้น มีหลากหลายประเภท เช่น ขนมไหว้พระจันทร์นั้น โดยทั่วไปจะห่อด้วยซานจา กุหลาบ ครีมพุทราจีน วอลนัท อัลมอนล์ เม็ดแตง ถั่วบด เป็นต้น ไส้ขนมไหว้พร ะจันทร์ในเขตพื้นที่กวางตุ้ง ซึ่งเป็นภาคใต้ของจีน มักเป็นไข่แดง เม็ดบัว โหงวยิ้ง และเส้นมะพร้าว ส่วนไส้แบบซูโจว มักเป็นกุหลาบ ถั่วบด เม็ดพุทรา พริกกับเกลือ และอาจมรการเพิ่มเม็ดสนและวอลนัทเข้าไปด้วย เมื่อห่อไส้เรียบร้อย ก็จะนำไปบรรจุเข้าไปในเบ้าทรงกลมที่เตรียมไว้ในเบ้านั้นมักมีลวดลายหรือลายลักษณ์อักษร เช่น " โจง ชิว เย้ว ปิ่ง " หรือชื่ออื่นๆ
อ้างอิง http://www.tcbl-thai.net http://www.oecschool.com http://blog.th.88db.com http://www.thaichinese.net http://student.nu.ac.th/moonfestival/Story3.html