นิยามศัพท์ทางด้านอาหารสัตว์ และการจำแนกวัตถุดิบอาหารสัตว์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
เรื่อง อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ โรงเรียนอุดมดรุณี จังหวัดสุโขทัย
Advertisements

อาหารเสริมพืช สูตรนาโน
สารชีวโมเลกุล คริษฐา เสมานิตย์.
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง โภชนบัญญัติ
อาหารหลัก 5 หมู่.
ครูนุชนารถ เมืองกรุง โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม อ. เมือง จ. พะเยา
อาหารและโภชนาการ โรงเรียนวัดสะแกงาม นายทรงสวัสดิ์ แสงมณี
เซลล์และกระบวนการดำรงชีวิตของพืช
ดิน ประโยชน์ของดิน สมบัติของดิน ลักษณะของดิน
วิชายาและการใช้ยาสัตว์ (Animal Drugs and Usage) รหัสวิชา
วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เป็นแหล่งของโปรตีนที่มาจากสัตว์
วัตถุดิบแหล่งพลังงาน น้ำมันพืชและไขมันสัตว์
อาหารหยาบ หญ้าแห้ง.
วัตถุดิบแหล่งพลังงาน ข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว
วัตถุดิบแหล่งพลังงาน ผลพลอยได้จากเมล็ดพืชน้ำมัน
วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เป็นแหล่งของโปรตีนที่มาจากสัตว์
วัตถุดิบแหล่งพลังงาน
วัตถุดิบแหล่งพลังงาน
วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เป็นแหล่งของโปรตีนที่มาจากพืช
วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เป็นแหล่งของโปรตีนที่มาจากพืช
วัตถุดิบแหล่งพลังงาน
วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เป็นแหล่งของโปรตีนที่มาจากพืช
วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เป็นแหล่งของโปรตีนที่มาจากพืช
วัตถุดิบแหล่งพลังงาน
สื่อการสอน เรื่องอาหารหลัก 5 หมู่ นายปราโมทย์ จินดางาม
วัฏฎ3 อาหารสำหรับวัยรุ่น
เศรษฐกิจพอเพียง.
ปุ๋ยหมักชีวภาพ Effective Microorganisms
ผักปลอดภัยจากสารพิษ นางสาววรรณิศา เลี่ยมดำ ภาคพัฒนาการเกษตร
วิตามินบี 12 (Cobalamin)
ปัญหาจากสภาพแวดล้อม 1. ประชากรล้น 2. ภาวะมลพิษ - ของเสียจากธรรมชาติ
สุขาภิบาลอาหารและโภชนาการ
ไขมัน (Lipids or Fat) ประโยชน์ :  ธาตุที่เป็นส่วนประกอบ :- C H O
93343 หลักโภชนศาสตร์ และอาหารสัตว์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
การวิเคราะห์อาหารสัตว์
คุณค่าทางอาหารสัตว์ของหญ้าแฝก
อาหารหลัก 5 หมู่.
เทคโนโลยีชีวภาพ แก๊สชีวภาพ นำเสนอโดย 1. นายทรงศักดิ์ ศรีสันติสุข 2
คุณสมบัติของเซลล์ เพิ่มจำนวนได้โดยการแบ่งเซลล์
เรื่อง การเลือกบริโภคอาหาร.
Comparison of efficacies of different probiotics for broiler chickens
รองศาสตราจารย์ ดร. วิศิษฐิพร สุขสมบัติ
นางสาวสุธาสินี ภัยชนะ
การใช้มันสำปะหลังเป็นแหล่งพลังงานในสูตรอาหารสุกร
การใช้ยอดอ้อยเลี้ยงโค- กระบือ ทดแทนอาหารหยาบในฤดูแล้ง
การใช้ใบสับปะรดในอาหารผสมเสร็จสำหรับโครีดนม
การศึกษาหญ้าแฝกเพื่อใช้เป็นพืชอาหารสัตว์
โดย นางสาวสุพัสตรา เหล็กจาน สำนักงานประมงจังหวัดขอนแก่น
ด้วย...โภชนบัญญัติ 9 ประการ
นางสาวอนุสรณ์ สนิทชน , CDT นักโภชนาการ โรงพยาบาลอุดรธานี
สาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
นำเสนอโดย ด.ช.ศรราม หมั่นดี
อาหารหลัก 5 หมู่ โดย นางสาวฉัตรสุดา มงคลโภชน์
อันตรายจากสารปรุงแต่งอาหาร
ไม่ใช่ผู้ร้ายอย่างที่คิด ฝ่ายโภชนาการ รพ.ภูมิพลฯ
การใช้ไขมันในอาหารโคนม
น้ำมะขาม น้ำกระเจี๊ยบแดง
วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา พ43102
อาหารและสารอาหาร อาหาร หมายถึง สิ่งที่รับประทานเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่เป็นโทษต่อร่างกายและมีประโยชน์ สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบในอาหารจะเรียกว่า “สารอาหาร”
กินตามกรุ๊ปเลือด.
คนไทยไร้พุง งานสุขศึกษา โรงพยาบาลพะเยา.
863封面 ทองคำ เขียว.
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก (เกษตรพอเพียง)
หลักการเลือกซื้ออาหาร
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
บทที่ 2 หลักการดำเนินงานอุตสาหกรรมเกษตร
สารอาหารที่จุลินทรีย์ผลิตแอลกอฮอล์ต้องการ
บทที่ 8 การใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้และเศษเหลือทิ้ง
ประโยชน์ที่ได้รับจากการรับประทาน ประเทศที่นิยมรับประทาน
ใบสำเนางานนำเสนอ:

นิยามศัพท์ทางด้านอาหารสัตว์ และการจำแนกวัตถุดิบอาหารสัตว์

โภชนะ (nutrients) สารเคมีหรือกลุ่มของสารเคมีที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน และเป็นส่วนประกอบของอาหารสัตว์ เมื่อสัตว์กินเข้าไปแล้ว ทำให้สัตว์ที่ได้รับสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ วัตถุดิบอาหารสัตว์ (feedstuff) สารใดก็ตามที่เกิดจากแหล่งธรรมชาติ หรือสังเคราะห์ขึ้นมาทางเคมีหรือชีววิทยา เมื่อสัตว์กินเข้าไปแล้วจะให้คุณค่าทางอาหารกับสัตว์

อาหาร (food หรือ feed) สารหรือสิ่งที่ภายหลังสัตว์กินเข้าไปแล้วสามารถถูก ย่อย (digested) ถูกดูดซึม (absorbed) และนำไปใช้ ประโยชน์ (utilized) ต่อร่างกาย วัตถุหรือสารใด ๆ ซึ่งโดยปกติจะมาจากพืช หรือสัตว์ ซึ่งมีโภชนะประกอบอยู่ (Church และ Pond 1982)

สูตรอาหาร (ration) อาหารที่ให้แก่สัตว์ในแต่ละวัน ส่วนใหญ่มักทำการคำนวณให้มีโภชนะอยู่ในสมดุล (balanced ration) เหมาะสมตามความต้องการของสัตว์ ซึ่งแตกต่างกันไปตามชนิด ประเภท และอายุสัตว์ ตลอดจนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อการดำรงชีพ การเจริญเติบโต หรือให้ผลผลิต

อาหารข้น (concentrate) อาหารที่มีความเข้มข้นของโภชนะต่อหน่วยน้ำหนักสูง หรือเป็นอาหารที่มีโภชนะที่สัตว์สามารถย่อยได้มาก และมีเยื่อใยต่ำกว่า 18 % อาจเป็นอาหารชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมกัน และได้ปรับปรุงให้มีคุณค่าทางอาหารเหมาะสม ซึ่งเมื่อผสมกับอาหารชนิดอื่นแล้วจะมีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนตามความต้องการของสัตว์ แบ่งออกได้ตามปริมาณโภชนะที่มีอยู่ในอาหารดังนี้:

1.แหล่งให้พลังงาน ให้พลังงานสูง และมีโปรตีนต่ำกว่า 20 % เมล็ดธัญพืช ผลพลอยได้จากเมล็ดธัญพืช กากน้ำตาล ไขมัน สัตว์ น้ำมันพืช 2. แหล่งให้โปรตีน โปรตีนสูงกว่า 20 % ปลาป่น เนื้อป่น กากเมล็ดพืชน้ำมัน กรดแอมิโนสังเคราะห์ 3. แหล่งให้แร่ธาตุ หินปูน กระดูกป่น เปลือกหอยป่น เกลือแกง แร่ธาตุสังเคราะห์ 4. แหล่งให้วิตามิน วิตามินสังเคราะห์ 5. อาหารเสริมอื่นๆ ยาปฏิชีวนะ สารให้สี กลิ่น

อาหารหยาบ ( roughage) วัตถุดิบอาหารสัตว์ หรืออาหารใดก็ตามที่มีความเข้มข้นของโภชนะต่อหน่วยน้ำหนักต่ำ แต่มีเยื่อใยสูงกว่า 18 % และเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์ที่สามารถใช้ประโยชน์หรือย่อยเยื่อใยได้ดี อาหารหยาบแห้ง ( dry forage) อาหารหยาบสด (green forage) อาหารหยาบหมัก (silage)

อาหารสำเร็จ ( complete feed ) อาหารที่มีโภชนะครบถ้วนตามความต้องการทางสรีรวิทยาของสัตว์เฉพาะอย่าง เมื่อสัตว์กินเข้าไปในปริมาณที่พอเพียงแล้ว จะสามารถเติบโตและดำรงชีวิต และให้ผลผลิตได้โดยไม่ต้องรับอาหารอื่นอีกนอกจากน้ำ อาหารเม็ด ( pelleted feed, pellet) อาหารสำเร็จที่ถูกอัดเป็นเม็ด เพื่อให้มีความน่ากิน (palatability) มากขึ้น ลดการเป็นฝุ่น ลดการสูญเสียเนื่องจากการตกหล่น และเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง

อาหารแตกเป็นเสี่ยง ( crumble feed ) อาหารอัดเม็ดที่นำมาเข้าเครื่องขบให้แตกเป็นเสี่ยง มีขนาดต่างๆตามที่ต้องการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ: ประหยัดเวลาในการอัดเม็ด เพิ่มความน่ากิน เพิ่มความสามารถในการย่อย เหมาะสำหรับสัตว์ปีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่กระทง หรือไก่ที่มีอายุมากกว่า 4-5 สัปดาห์ขึ้นไป

อาหารป่น ( mash feed ) อาหารสำเร็จที่อยู่ในรูปป่นละเอียด มีอยู่ 2 รูป คือ อาหารป่นเปียก และอาหารป่นแห้ง วัตถุเติมอาหารสัตว์ ( feed additive) สารเคมีที่เติมลงไปในอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพของอาหาร ทำให้สัตว์สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารได้มากขึ้น เช่น ยาปฏิชีวนะ ยากันบูด เอ็นไซม์ และ สารกระตุ้นการเจริญเติบโต เป็นต้น

อาหารผสมล่วงหน้า ( premix ) ส่วนผสมของแหล่งอาหารปลีกย่อยหลายชนิด ( วิตามิน แร่ธาตุ เป็นต้น ) กับตัวเจือจาง ก่อนที่จะนำมาผสมกับอาหารชนิดอื่น เพื่อทำเป็นอาหารสมดุล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายอาหารเหล่านั้นให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกับอาหารส่วนอื่นได้ง่ายขึ้น

อาหารผสมสำเร็จรูป (total mixed rations , TMR; complete rations, CR) อาหารที่ผลิตขึ้นมาจากการนำเอาอาหารหลักของสัตว์เคี้ยวเอื้อง 2 ชนิด คือ อาหารหยาบ และอาหารข้นมาผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสมแล้วจึงนำไปเลี้ยงสัตว์โดยตรง

TMR ที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ 1. ประกอบไปด้วยอาหารข้นและอาหารหยาบในอัตราส่วนที่เหมาะสม( คำนวณจากน้ำหนักแห้ง) โดยขึ้นกับอายุและระดับการให้ผลผลิตของสัตว์ที่เลี้ยง 2. อาหารทั้ง 2 ชนิดที่นำมาใช้ผสมต้องมีคุณภาพดี โดยเฉพาะอาหารหยาบ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด 3. ขนาดความยาวของอาหารหยาบที่ใช้ผสมควรมีขนาดพอเหมาะ ไม่สั้น หรือเล็กจนเกินไป 4. การกระจายตัวของอาหารข้นและอาหารหยาบควรสม่ำเสมอ