งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Comparison of efficacies of different probiotics for broiler chickens

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Comparison of efficacies of different probiotics for broiler chickens"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Comparison of efficacies of different probiotics for broiler chickens
โดย Priyankarage el.al. นำเสนอโดย นายวรวุฒิ นำสุวิมลกุล

2 บทนำ Probiotics คือสารเสริมที่เติมใส่ในอาหารสัตว์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้สัตว์ที่กินอาหารที่เสริม Probiotics มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และมีการเจริญเติบโตที่ดียิ่งขึ้น Probiotics ที่ใช้ในอาหารสัตว์ อาจเป็นยาปฎิชีวนะ สารเคมี จุลินทรีย์ ซึ่งในตัวของ Probiotics จะไม่มีโภชนะใด ๆ การทำหน้าที่ของ Probiotic จะช่วยยับยั้งการทำงานของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหาร ที่อาจทำให้เกิดโรค และยับยั้งจุลินทรีย์ที่คอยแย่งอาหารในระบบทางเดินอาหาร

3 บทนำ (ต่อ) การใช้ Probiotics โดยใช้ในรูปยาปฎิชีวนะ และสารเคมี อาจทำให้มีผลต่อเนื่อง โดยสารเหล่านี้อาจตกค้างในเนื้อสัตว์ ซึ่งอาจเป็นสารก่อโรคมะเร็งต่อผู้บริโภคเนื้อสัตว์เหล่านั้น ต่อมาจึงมีการศึกษาวิจัยการนำจุลินทรีย์บางชนิดมาใช้ในรูป Probiotics

4 วัตถุประสงค์ การศึกษาครั้งต้องการศึกษาเปรียบเทียบผลของ Probiotics ชนิดต่างๆ ที่มีต่อการเลี้ยงไก่เนื้อ

5 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ทราบถึงชนิดของ Probiotics ที่เหมาะที่นำมาใช้ในการเลี้ยงไก่เนื้อ ในแง่การเจริญเติบโต คุณภาพซาก และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ 2.การใช้ Probiotics ในรูปของจุลินทรีย์เสริมในอาหาร จะทำให้ผู้บริโภคเนื้อสัตว์ มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น

6 วิธีการทดลอง เป็นการเปรียบการใช้ Probiotic ในรูปจุลินทรีย์ 3 กลุ่ม เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ( Control ) ซึ่งมี 2กลุ่ม ดังนั้นการทดลองครั้งจึงมีสิ่งทดลอง ( Treatment ) 5 สิ่งทดลอง แผนการทดลองเป็น CRD การวิเคราะห์จะใช้วิเคราะห์ผลโดย ANOVA การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้วิธีการของ Turky’pairwise comparison

7 วิธีการทดลอง (ต่อ ) สิ่งทดลองที่ 1 (NC ) คืออาหารที่ไม่มีการเสริมสารใด ๆ สิ่งทดลองที่ 2 ( PC ) คือ อาหารที่เสริมยาปฏิชีวนะพวก Zine bacitracine 0.25 กรัม/กิโลกรัม สิ่งทดลองที่ 3 ( T1) อาหารที่เสริมด้วย 0.01 % Protemix (Lactobacillus,Streptococcus, Bilidobacterium) สิ่งทดลองที่ 4 ( T2) อาหารที่เสริมด้วย 0.05 % G-Probiotic ( Saccharomyces cerevisaic,Lactobacillus acidophilus,Streptococcus faecium ) สิ่งทดลองที่ 5 (T3 ) อาหารที่เสริมด้วย0.05 % Hi-yield (Saccharomyces cerevisaic )

8 สรุปผลการทดลอง 1.ไก่เนื้อที่เลี้ยงด้วยอาหารที่เสริม Saccharomyces cerevisaic, Lactobacillus acidophilus,Streptococcus faecium ( T2, T3) จะมีน้ำหนักเพิ่มในช่วงอายุ7-21วัน (การเจริญเติบโต) ดีกว่ากลุ่มอาหารควบคุม(NC) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ตารางที่ 1)

9 สรุปผลการทดลอง 2.จำนวนจุลินทรีย์ในลำไส้เล็กของไก่เนื้อไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุก ๆ สิ่งทดลอง (ตารางที่ 2 ) 3.คุณภาพซากของไก่เนื้อภายหลังการชำแหละ พบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างสัดส่วนของไขมันต่อเนื้อแดง 4.การใช้สารเสริมจุลินทรีย์ Saccharomyces cerevisaic ในอาหารไก่เนื้อจะมีผลต่อการเจริญเติบโต ( ผู้บรรยาย )

10 วิจารณ์ผลการทดลอง 1.อาหารที่มีการผสมสารเสริมประเภทยาปฏิชีวนะและจุลินทรีย์ จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของไก่เนื้ออายุระหว่าง 7-21 วัน 2.อาหารที่มีการผสมสารเสริมจุลินทรีย์พวกLactobacillus,Streptococcus, Bilidobacterium ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกับกลุ่มควบคุม (NC) 3.จุลินทรีย์พวก Saccharomyces cerevisaic น่าจะมีบทบาทที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของไก่เนื้อมากที่สุด

11 เอกสารอ้างอิง Priyankarage N.,Silva S.S.P.,Gunaratne
S.P.,Palliyagura W.C.D.,Weerasinghe and P.S Fernando. (2003). Comparison of different probiotics for broiler chicken. Sri Lanka : 2003 Spring meeting of the WPSA UK-BRANCE POSTERS.


ดาวน์โหลด ppt Comparison of efficacies of different probiotics for broiler chickens

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google