พระพุทธศาสนาในฟูหนำ ( พศต. 6 - 11 ) พระพุทธศาสนาในฟูหนำ ( พศต. 6 - 11 ) 1. อาณาจักรนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอยู่บริเวณใด - น่าจะอยู่บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ (ปัจจุบันตั้งอยู่ในอ.ศรีเทพ) - ดังปรากฏไว้ในจดหมายเหตุของสมณะจีนชื่ออี้จิง ได้ชี้ให้เห็นว่ามีอาณาจักรนี้อยู่จริง 2. จดหมายเหตุของจีน - ฟูหนำ, ฟูนัน มาจากคำว่า “ พนม (ภูเขา) ” - อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตตลอดจนถึงภาคอีสาน - มีราชธานีชื่ออินทรปุระ
- เมื่อถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 12 ชื่อฟูหนำหายไป แล้วปรากฏเป็นอาณาจักรใหม่ที่มีชื่อว่า “เจนละ” โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. เจนละบก มีชื่อเรียกว่า “อีศานปุระ” >>> บริเวณภาคเหนือของกัมพูชา และนครพนมของไทย 2. เจนละน้ำ มีชื่อเรียกว่า “นาปูนา (นวนคร)” >>> บริเวณภาคกลางของ กัมพูชา และอ่าวญวน
ราวพุทธศตวรรษที่ 6 นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (หีนยาน) - ราวพุทธศตวรรษที่ 10 ได้มีสมณะทูต 2 รูป ไปยังเมืองจีนเพื่อทำงานแปลพระคัมภีร์ 1. พระสังฆปาละ แปลวิมุตติมรรค น่าจะเป็นต้นแบบของวิสุทธิมรรค ซึ่งแต่งโดยพระพุทธโฆศาจารย์ แต่ถือว่าวิมุตติมรรคเป็นคัมภีร์ที่มีชื่อเสียง 2. พระมันทรเสน แปลเกี่ยวกับลัทธิมนตรยานหรือวัชรยานหลายเล่ม ราวพุทธศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา ได้นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน โดยมีการติดต่อกับมหายานในแคว้นเบงกอลและเกาะชวา พุทธศตวรรษที่ 18 เจนละบกเสื่อมลง สาเหตุที่อาณาจักรฟูหนำหายไปและต่อมาได้ปรากฎชื่อ “ เจนละบกและเจนละน้ำ ” ก็คงมาจากการเมือง โดยมีความแตกต่างทางศาสนาเป็นเหตุ
สรุป 1. พระพุทธศาสนาระยะเริ่มแรก ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ เช่น การเมืองการปกครอง ความเชื่อที่มีอยู่เดิม การยอมรับจากเจ้าปกครอง การปรับให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เช่น กลืนวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทั้งหมด การประนีประนอม 2. พระพุทธศาสนาในลักษณะเริ่มแรกนี้มีประปรายอยู่ทั่วๆไป เช่น สุวรรณภูมิ (นครปฐม) ล้านนา ละโว้ เป็นต้น แต่ว่าหลักฐานทางพระพุทธศาสนาอาณาจักรอื่นยังไม่เด่นชัดเพียงพอเหมือนอาณาจักรฟูหนำ