กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยงไทย สุนัขไทย กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์
สุนัขไทยหลังอาน สุนัขไทยหลังอาน สุนัขพันธ์ไทยหลังอาน (Thai Ridgeback) เป็นสุนัขพันธุ์พื้นเมืองเก่าแก่ของประเทศไทยมีขนาดกลาง ขนสั้น หูตั้งเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายจมูกสีดำและปากรูปลิ่ม หางเรียวยาวเป็นรูปดาบ ลักษณะเด่นคือมีอานซึ่งเกิดจากขนขึ้นในแนวย้อนกับแนวขนปกติอยู่บนหลัง ถิ่นกำเนิดของสุนัขพันธุ์ไทยหลังอานอยู่ในภาคตะวันออก แถบจังหวัดจันทบุรีและตราด คนพื้นเมืองใช้สุนัขพันธุ์นี้ล่าสัตว์และติดตามเกวียนเพื่อคอยระวังภัย ระบบการคมนาคมที่ยังไม่ดีในสมัยก่อนทำให้ไทยหลังอานสามารถคงลักษณะดั้งเดิมอยู่ได้นาน สุนัขไทยหลังอาน
สุนัขไทยหลังอานถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกนี้ได้อย่างไร มีการวิเคราะห์และศึกษาจากผู้รู้คิดว่าสุนัขไทยหลังอานน่าจะมาจากสุนัขในกลุ่ม Wolf และ Jackal สุนัขไทยหลังอานเป็นสุนัขพันธุ์พื้นเมืองที่อยู่ในย่านเอเชียตะวันออกในเขตร้อน ซี่ง สุนัขพื้นเมืองในเขตนี้จะดูมีลักษณะคล้ายๆ กัน เช่น สุนัขในประเทศลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า มาเลเซีย บางแถบของประเทศจีน สุนัขในแถบนี้จะมีกะโหลกศีรษะเป็นสามเหลี่ยมรูปลิ่ม มีกรามใหญ่ที่แข็งแรง มีหูทั้งสองข้างตั้งชัน มีเส้นหลังตรง มีหางตั้งยกขึ้นเหมือนดาบหรือเคียวแต่สุนัขไทยหลังอานจะมีลักษณะพิเศษเฉพาะคือมีขนบริเวณหลังขึ้นในแนวย้อนกลับ ที่สุนัขพันธุ์อื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันของประเทศต่างๆ ไม่มี และนี่จึงเป็นที่มาของสุนัขไทยหลังอาน
น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) มาตรฐานพันธุ์ ขนาด เพศผู้ เพศเมีย ความสูง (เซนติเมตร) 52.5 - 62.5 47.5 - 57.5 น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) 22 - 24 20 - 22 ขน สุนัขไทยหลังอานจะมีขนสั้น แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบกำมะหยี่ ขนจะสั้นเกรียนติดผิวหนังและมีความนุ่ม และแบบสั้นแต่ไม่เกรียนติดหนัง สี สีควรเป็นสีเดียวทั้งตัว ส่วนสีที่พบได้ คือ น้ำตาล, น้ำตาลแดง, น้ำตาล อ่อน, น้ำตาลดำ, ขาว, กลีบบัว และสีสวาท
สุนัขไทยบางแก้ว ประวัติสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว ประวัติความเป็นมาของสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว จากข้อมูลที่ได้สอบถามจากประชาชน ตลอดจนผู้เฒ่าผู้แก่ที่บ้านบางแก้ว ตำบลท่านางงาม และบ้านชุมแสงสงคราม ตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก พอจะสรุปได้ว่า แหล่งกำเนิดของสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วนั้นอยู่ที่วัดบางแก้ว ตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม สภาพภูมิประเทศทั่วๆ ไปนั้นยังคงเป็นป่าพง ป่าระกำ ป่าไผ่ และต้นไม้ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าชนิดต่างๆ ชุกชุม เช่น ช้างป่าเป็นโขลงๆ หมูป่า ไก่ป่า สุนัขจิ้งจอก และหมาใน หลวงพ่อมาก เมธาวี เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 3 ของวัดบางแก้ว ที่วัดของท่านเลี้ยงสุนัขไว้ไม่ต่ำกว่า 20-30 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุนัขที่ดุขึ้นชื่อลือชา และชาวบ้านทราบกันดีว่า ใครที่เข้ามาในวัดแต่ละครั้งจะต้องตะโกนให้เสียงแต่ไกลๆ เพื่อให้อาจารย์มาก เมธาวี ท่านช่วยดูหมาเอาไว้ก่อน มิฉะนั้นจะถูกมันไล่กัด ด้วยกิตติศัพท์ในความดุของสุนัขที่วัดบางแก้วนี้เอง จึงมีผู้นิยมมาขอลูกสุนัขไปเลี้ยงไว้เฝ้าบ้าน เฝ้าเรือน เฝ้าเรือ เฝ้าแพ เฝ้าวัว เฝ้าควาย พื้นที่ที่สุนัข พื้นที่ที่สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วได้ขยายพันธุ์ไปมากที่สุดก็คือ ตำบลท่านางงามและตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก แต่ในปัจจุบันได้ขยายวงกว้างออกไปหลายจังหวัด
ลักษณะทั่วไปของสุนัขไทยบางแก้ว มีขนปุยยาว มีความสง่างาม ว่องไวและแข็งแรง เวลายืนมักเชิดหน้าและโก่งคอคล้ายม้า เป็นสุนัขขนาดกลาง รูปทรงตั้งแต่ช่วงขาหน้าถึงขาหลังเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส อกกว้างและลึกได้ระดับกับข้อศอก ไหล่กว้าง ท้องไม่คอดกิ่ว หน้าแหลม หูเล็ก หางพวง ขนมีสองชั้น นิสัยรักเจ้าของ ฉลาดปราดเปรียว กล้าหาญ ค่อนข้างดุ สามารถฝึกหัดได้ ชอบเล่นน้ำมาก ขนาดเท่าสุนัขไทยทั่วไป หรือเล็กกว่าเล็กน้อย ไม่อ้วน ความสูงวัดที่ไหล่ ตัวผู้พ่อพันธุ์สูง 42-53 เซนติเมตร ตัวเมียแม่พันธุ์ 38-48 เซนติเมตร น้ำหนักตัวผู้ 14-16 กิโลกรัม ตัวเมีย 13-15 กิโลกรัม
ลักษณะใบหน้า ลักษณะใบหน้า ลักษณะหน้าเสือ ใบหน้าดูคล้ายเสือ 2. ลักษณะหน้าสิงโต ลักษณะหน้าจิ้งจอก