กลุ่มที่ 1 พ.ต.ท.ยงยุทธ องอาจ ประธาน พ.ต.ท.สมบัติ สุวรรณโชติ รองประธาน พ.ต.ท.ยงยุทธ องอาจ ประธาน พ.ต.ท.สมบัติ สุวรรณโชติ รองประธาน นางพัชรา ไขแสง เลขานุการ พ.ต.ท.ทะนงศักดิ์ สุวรรณวัฒน์ พ.ต.ท.มหัคฆพันธ์ มงคลศิริ พ.ต.ท.สุทธิพงษ์ สมทวีศิลป์ พ.ต.ต.บันฑิต เตชะวงค์ นางสาวอรอนงค์ ทั่งศรี นายพุฒิพนธ์ ชาติกานนท์ นายจารุภัทร จัตตารีส์
สภาพปัญหาในพื้นที่ จังหวัดตราด/จันทบุรี ปัญหายาเสพติด ปัญหาแรงงานข้ามชาติ
2. แนวทางการบูรณาการปฏิบัติงานร่วมกัน 1. กรณีอยู่ระหว่างการสืบสวนคดีมูลฐาน ของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินคดี ขอให้ ปปง. ตรวจสอบ - ขยายผลการสืบสวนธุรกรรมทางการเงิน - ฐานข้อมูลการตรวจสอบทรัพย์สิน/ข้อมูลร้องเรียน เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมในคดีอาญาหลัก (สมคบ/ฟอกเงิน/คดีแพ่งตรวจสอบทรัพย์สิน
ระหว่างเข้าตรวจค้น กรณีพบของกลางในคดีอาญา - เจ้าหน้าที่ตำรวจควรระบุว่า ตรวจค้น ยึด พยานหลักฐานเกี่ยวกับทรัพย์สินต่างๆ จากที่ใด เพื่อความชัดเจนแน่นหนาในการดำเนินการในคดีอาญาตามมูลฐาน และในคดีตรวจสอบทรัพย์สิน (ปปง.) หากพบพยานหลักฐานแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินการเกี่ยวกับคดีตรวจสอบทรัพย์สิน ตามกฎหมายปปง. ก็ควรเก็บรวบรวมพยานหลักฐานดังกล่าวไว้ด้วย เช่น สลิปโอนเงิน ใบแจ้งหนี้ให้ชำระค่าน้ำ ไฟ โทรศัพท์ หรือชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์
กรณีไม่พบของกลางในคดีอาญา หากตรวจค้นแล้วไม่พบการกระทำผิด ไม่พบของกลางในคดีอาญาในเรื่องความผิดมูลฐานได้ แต่พบพยานแวดล้อมที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินคดียึดทรัพย์สินตามกฎหมายปปง. ก็จะเป็นประโยชน์มากหากเจ้าหน้าที่ตำรวจรวบรวมเอกสาร หรือพยานเท่าที่สามารถจะทำได้ ประมวลเรื่องส่งให้ปปง. ดำเนินการสืบสวนทางการเงิน และตรวจสอบทรัพย์สินต่อไป
3.ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการจัดตั้งจุดประสานงานที่ชัดเจน ปปง. ตั้งเจ้าหน้าที่ poc ที่มีผู้รับผิดชอบโดยเฉพาะ ตอบข้อหารือ ประสานการปฏิบัติได้ทันที มีอำนาจตัดสินใจ/เสนอ ลปง. ได้ทันที(กรณีขอกำลังร่วมปฏิบัติการ) ฝ่าย สตช. ตั้งชุดประสานงานตามกฎหมายฟอกเงินประจำจังหวัด 2. ควรมีการทำความตกลง ซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติ และขั้นตอนการปฏิบัติงานตามกฎหมายฟอกเงิน ระหว่าง ปปง.และ สตช. 3. ขอให้ ปปง. มีโครงการสนับสนุนด้านงบประมาณการสืบสวนสอบสวน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ