บทที่ 7 ศาสนา Religion
ศาสนา ศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวในการดำเนินชีวิตให้แก่มนุษย์ ทำให้มนุษย์มีที่พึ่งทางจิตใจ สามารถอดทนความยากลำบาก มีพลังที่จะทำความดี มีพลังที่จะต่อสู้เพื่อให้ตัวเองหลุดพ้นออกจากห้วงแห่งความทุกข์ ศาสนาสามารถเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของมนุษย์ได้เพราะเราได้รับการปลูกฝังให้เกิดศรัทธาว่าศาสนาที่เรานับถือเป็นสัจธรรม เป็นสิ่งจริงแท้
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ทำให้ศาสนาเป็นสิ่งที่จะถูกดูหมิ่นเหยียดหยามไม่ได้ เป็นสิ่งสูงสุดที่มนุษย์ต้องปฏิบัติตามโดยปราศจากคำถาม เราจำแนกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1. พลังอำนาจเหนือธรรมชาติ (supernatural force) 2. จิตวิญญาณ เทพเจ้าหรือสิ่งมีชีวิตที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ (supernatural beings) - เทพเจ้า และจิตวิญญาณ - ผี ปิศาจ และวิญญาณของผู้ล่วงลับไปแล้ว
1. คนทรง (Shaman) 2. พระ ( Priest) เชื่อกันว่าการที่มนุษย์จะติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยตรงมักเป็นไปไม่ค่อยได้ เนื่องจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีสภาวะที่สูงกว่ามนุษย์ เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงต้องมีคนกลางในการทำหน้าที่ติดต่อให้ 1. คนทรง (Shaman) 2. พระ ( Priest)
สิ่งศักดิ์สิทธิ์กับศาสนาเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก เมื่อพูดถึงศาสนาเราก็จะนึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วย เมื่อนึกถึงสิ่งศักดิ์เราก็มักจะนึกถึงศาสนาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยให้ศาสนาเป็นสิ่งที่น่าเกรงขาม ซึ่งตรงข้ามกับ secularization
ความหมายของศาสนา ศาสนาเป็นคำสอนที่ได้มาจากศาสดาผู้ค้นพบคำสอนนั้น โดยศาสดาได้รับมาจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด หรือโดยการค้นพบด้วยตนเอง และได้นำคำสอนนั้นมาเผยแพร่แก่ผู้คนในสังคม จนแพร่หลายกลายเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวในการดำเนินชีวิตแก่ผู้คนหลายยุคหลายสมัย
ศาสนามีหน้าที่อย่างไรต่อสังคมมนุษย์ 1. ทฤษฎีหน้าที่ คือ ส่งเสริมความเป็นหนึ่งของสังคม ควบคุมสังคม ตอบคำถามเรื่องชีวิต ช่วยเหลือคนให้พ้นความทุกข์ ส่งเสริมและต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสังคม รวมทั้งทำให้เกิดความแตกแยกกันระหว่างผู้ที่นับถือต่างศาสนากันด้วย 2. ทฤษฎีความขัดแย้ง เห็นว่าศาสนาศาสนามักถูกใช้เป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครองและชนชั้นสูงในการครอบงำความนึกคิดของคนระดับล่าง
ต้นกำเนิดของศาสนา นักสังคมศาสตร์ และผู้ที่ศึกษาศาสนาทั้งหลายพยายามหาคำตอบว่าอะไรเป็นสาเหตุให้เกิดศาสนาขึ้น บางกลุ่มกล่าวว่าศาสนาเกิดจากความไม่รู้ บางกลุ่มกล่าวว่าศาสนาเกิดจากความกลัว และบางกลุ่มกล่าวว่าศาสนาเกิดจากความต้องการรวมกลุ่มกันของสมาชิกสังคม
Malinowski อธิบายต้นกำเนิดของศาสนาตามแนวจิตวิทยาเอาไว้ว่า ศาสนาเกิดจากความพยายามในการลดความวิตกกังวล อารมณ์ตึงเครียด ความกลัว คือ ความวิตกกังวลถ้ามีมากเกินไปไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ มนุษย์จะต้องสร้างศรัทธาขึ้นมาเพื่อยึดเหนี่ยวเป็นที่พึ่ง ทำให้มนุษย์กล้าเผชิญกับความโชคร้าย ความไม่แน่นอนของชีวิต
Emile Durkheim นักสังคมวิทยา ให้ความหมายของศาสนาว่าคือ ระบบความเชื่อและการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศาสนาได้พัฒนามาจากประสบการณ์ของกลุ่ม โดยเขาได้จำแนกองค์ประกอบของศาสนาออกเป็น 3 องค์ประกอบ คือ 1. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ 2. ระบบความเชื่อ และการปฏิบัติ 3. ชุมชนและวัด
Aberle นำแนวคิดทั้งสังคมวิทยาและจิตวิทยามาผสมผสานกัน ศาสนาเกิดจากความรู้สึกกดดัน ความรู้สึกขัดแย้ง จากความไม่สมดุล ที่มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เมื่อเกิดความไม่สมดุลขึ้นสังคมจะพยายาม “ฟื้นพลัง” ตัวเองด้วยมาตรการและหนทางต่าง ๆ ศาสนาที่มีอยู่ดั้งเดิมไม่สามารถตอบคำถามที่สมาชิกประสบอยู่ได้
ศาสนาแบบต่าง ๆ ศาสนายุคแรก 1. Animism ศาสนาที่นับถือภูติผีปิศาจ 2. Shamanism ศาสนาที่มีคนทรงทำหน้าที่ติดต่อกับพระเจ้า 3. Totemism ศาสนาที่เชื่อในอำนาจของบรรพบุรุษ
ศาสนาแบบต่าง ๆ ศาสนาในปัจจุบัน 1. Polytheism ศาสนาที่นับถือเทพเจ้าหลายองค์ 2. Monotheism ศาสนาที่นับถือเทพเจ้าองค์เดียว 3. None God ศาสนาที่ไม่มีเทพเจ้า