วัฏจักรของสารในระบบนิเวศ วัฏจักรของน้ำ
วัฏจักรของน้ำ น้ำเป็นตัวอย่างของขบวนการต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิตรวมทั้งเป็นแหล่งให้ ไฮโดรเจนที่สำคัญ น้ำที่ปรากฏในโลกจะอยู่ในสภาพและแหล่งต่าง ๆ กัน ทั้งน้ำจืด น้ำเค็ม น้ำในดิน น้ำในอากาศในรูปของไอน้ำ และ น้ำแข็งที่ปกคลุมขั้วโลก ในจำนวนนี้มีการหมุนเวียนเป็นวัฏจักรโดย ส่วนใหญ่เป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างผิวโลก และบรรยากาศโดยการ ระเหยและการกลั่นตัวตกกลับสู่ผิวโลก วัฏจักรของน้ำ คือ การเกิดและ การหมุนเวียนของน้ำที่มีอยู่ในโลกโดยไม่มีการสูญหาย แต่จะเปลี่ยน รูปอยู่ในสภาพต่างๆ วนเวียนอยู่ในวัฏจักรของน้ำโดยไม่มีจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุด ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดขบวนการนี้คือ แสงแดด (solar energy)และแรงดึงดูดของโลก (gravity)
ไอน้ำที่มีอยู่ในบรรยากาศอาจจะอยู่ในรูปของ เมฆ หมอก (air mass) ซึ่งเกิดจากการระเหยของน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ บนผิว โลก เมื่อไอน้ำถึงจุดอิ่มตัว ก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำตกลงสู่ผิวโลก เรียก precipitation ถ้าเป็นของเหลว ก็คือ ฝน (rain) ถ้าเป็นผลึกก็คือหิมะ (snow) ถ้าเป็นของแข็ง ก็คือ ลูกเห็บ (hail, sleet) นอกจากนี้ก็อาจจะเป็น น้ำค้าง (dew) หรือ น้ำค้างแข็งตัว (frost)
น้ำฝนที่ตกถึงพื้นดิน บางส่วนก็จะซึมลงดินด้วยแรงดึงดูดของเม็ดดิน เรียกว่า การซึมลงสู่พื้นดิน (infiltration) โดยที่บางส่วนอาจจะซึมต่อลงไป (percolation) ถึงระดับน้ำใต้ดินเป็นน้ำบาดาล (ground water) น้ำใต้ดินมี หลายระดับชั้นจะค่อยๆ ไหลตามความลาดเทของชั้นดินไปสู่ที่ต่ำ อาจเป็น แหล่งขังน้ำใต้ดินอยู่หรืออาจไหลออกสู่แม่น้ำลำธาร ที่อยู่ในระดับชั้นจะ ค่อยๆ ไหลตามความลาดเทของชั้นดินไปสู่ที่ต่ำ อาจเป็นแหล่งขังน้ำใต้ดินอยู่ หรืออาจไหลออกสู่แม่น้ำลำธารที่อยู่ในระดับต่ำกว่าหรือออกสู่ทะเลโดยตรง แต่หากบางส่วนที่ซึมลงดินแล้วเกิดมีชั้นดินแน่นทึบวางอยู่น้ำ ในส่วนนี้จะ ไหลตามลาดเทใต้ผิวดิน และขนานไปกับชั้นดินแน่นทึบดังกล่าว เรียกว่า infer flow และสำหรับบางส่วนอาจจะไหลใต้ผิวดิน(subsurface flow) ซึ่ง อาจจะไหลออกสู่ผิวดินอีกก็ได้น้ำซับที่ค่อย ๆ ไหลซึมลงสู่ดินตามขั้นตอน ต่าง ๆ นั้นอาจจะถูกรากพืชดูดเอาไปใช้ในการเจริญเติบโตแล้วตายออกทาง ใบที่เรียกว่า การคายน้ำ (transpiration) ซึ่งจะเป็นจำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่ กับพืช
ส่วนน้ำฝนที่เหลือจากการซึมลงดิน เมื่ออัตราการตกของฝนมีค่าสูง กว่า อัตราการซึมลงดินก็จะเกิดการนองอยู่ตามพื้นดิน จากนั้นก็จะ รวมตัวกันไหลลงสู่ที่ต่ำเรียกว่า overland flow บางส่วนอาจไปรวมตัว อยู่ในที่ลุ่มบริเวณเล็กๆ เรียกว่า surface storage แต่ส่วนใหญ่จะ รวมตัวกันมีปริมาณมากขึ้น มีแรงเซาะดินให้เป็นร่องน้ำลำธารและ แม่น้ำตามลำดับ น้ำที่ไหลอยู่ในแม่น้ำลำธารเรียกว่า น้ำท่วม (surface runoff) น้ำท่วมนี้จะไหลออกสู่ทะเลมหาสมุทรไปในที่สุด ตลอดเวลาที่น้ำอยู่ในขั้นตอนต่าง ๆ ก็จะเกิดการระเหย เปลี่ยนสภาพ เป็นไอน้ำสู่บรรยากาศ ตลอดเวลาเรียกว่า การระเหย (evaporation)
สำหรับการระเหยของน้ำ คือ ขบวนการที่เกิดการระเหย และการ คายน้ำไปพร้อมๆ กันในทางปฏิบัติ การระเหยสามารถวัดได้ เฉพาะบนพื้นที่ผิวน้ำ หรือผิวดินที่ผิวน้ำ หรือผิวดินที่เปียกชุ่มด้วย น้ำหลังจากฝนตกใหม่ ๆ แต่หลังจากผิวดินเริ่มแห้งก็วัดได้ยาก การวัดการคายน้ำของพืชในสภาพธรรมชาติจะไม่สามารถทำได้ ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงดำเนินการวัดหรือประเมินค่าทั้ง 2 รวมกัน เรียกว่า การคายระเหยน้ำ (evapotranspiration)
ดังนั้นสามารถแบ่งน้ำตามแหล่งปรากฏออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. น้ำในบรรยากาศ (atmospheric or meteoric water) - ของเหลว : ฝน น้ำค้าง - ของแข็ง : ลูกเห็บ หิมะ - ไอ : เมฆ หมอก 2. น้ำผิวดิน (surface water) ได้จากน้ำในบรรยากาศ กลั่นตัวเป็นฝนตกลง บนพื้นโลก และถูกกักขังอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง สระ ทะเลสาบ ในลักษณะของน้ำจืด ตามทะเลมหาสมุทร และตามปากแม่น้ำ (estuaries) ในลักษณะของน้ำกร่อย 3. น้ำใต้ดิน (subsurface water) น้ำที่ไหลซึมผ่านชั้นดินลงไปกักเก็บอยู่ใต้ ผิวดิน ซึ่งรวมถึงน้ำบาดาลด้วย
จัดทำโดย เด็กหญิง บุษบา อุดใจ เลขที่ 23 ชั้น ม. 3/1 จัดทำโดย เด็กหญิง บุษบา อุดใจ เลขที่ 23 ชั้น ม. 3/1