การวิเคราะห์ความแปรปรวน

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การผลิตบ่อพัก ทำเอง ใช้เอง หจก. มภัสกาญ คอนสตรัคชั่น
Advertisements

ผู้เสนอ นางประภัสสร แก้วประสาน สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
พัฒนศักดิ์ จิณะวงค์ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่
การสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศของ นักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม นางสาวพัชรี นาคทอง วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู
เอื้อมพร ธาตุทำเล.
นางสาวปุณณภา ฉัตรเดชาพล
ชื่อเรื่องวิจัย การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำต่อวิชา ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น ระหว่างการเรียนแบบปกติและการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกหัดแผนที่ความคิด.
การศึกษาผลการเรียนรู้ด้านการพิมพ์ไทยด้วย คอมพิวเตอร์ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปี ที่ 1 แผนกบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี The education.
โดย นางสาวนิภาพร เถาคำแก้ว วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค.)
ชื่อเรื่อง ผลการใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนวิชางานวัดละเอียดช่างยนต์ของนักศึกษาชั้น ปวช.2 สาขางานยานยนต์ โรงเรียนโปลิเทคนิคลานนา.
การสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา
วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา
หลักการ เบื้องต้น ของการใช้สถิติ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจกลุ่ม 821
อาจารย์อัครชัย ปัญญาคม
นางนุชจรินทร์ แก้ววงวาล วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
นางปัจณี บุญส่งสวัสดิ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลพณิชยการ
วิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาธุรกิจทั่วไป
วิธีการสอนแบบกระบวนการเสนอ ด้วยข้อมูลมีความแตกต่าง โดย นางสาวธนภรณ์ นาวินวิจิต วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชล บริหารธุรกิจ (M-BAC)
สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน
กิตติญา ยังเจริญ วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ
นายหิรัญญพงษ์ โอวัฒนา โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย
ชื่อเรื่องวิจัย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 ที่เรียน จากการจัดกิจกรรมการเรียน โดยใช้การจัดลำดับ.
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
การทดสอบเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยและสัดส่วน
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ รายบุคคลทางการคำนวณและ การใช้สูตรฟังชั่นอย่างง่ายโดย โปรแกรม Microsoft Excel ในวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่องานอาชีพ ผู้วิจัย.
ประชิด เกิดมาก ผู้วิจัย. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียน การสอนด้วยจิกซอว์ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนก่อนเรียน.
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน วิชาการจัดเก็บเอกสารของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ ร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์กับการสอนแบบปกติ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคอมพิวเตอร์ เพื่อการออกแบบของ นักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 สาขางาน คอมพิวเตอร์กราฟิค วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ.
การศึกษาเจตคติต่อวิชาการเก็บเอกสาร ของผู้เรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. 206 วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชยการ ผู้วิจัย นางสุพัณณรัฎฐ์ ประชานิยม.
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์และการแปลผล
สถิติที่ใช้ในงาน การวิจัยเชิงปริมาณ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โดยใช้รูปแบบการ
วัตถุประสงค์การวิจัย
บทที่ 11 สถิติเชิงสรุปอ้างอิง
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
เรื่อง ความพึงพอใจต่อการให้บริการห้องสมุด
ทำการวิจัยโดย นางรุ่งนภา ทินช่วย
ชื่อผู้วิจัย นางสาวศุวรีย์ จำปามูล
ผู้วิจัย นายอภิสิทธิ์ แก้วฟู วิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี
ชื่อผลงานวิจัย การพัฒนาความสามารถด้านการพูดนำเสนอโปรแกรมท่องเที่ยวโดยใช้การสอนแบบบทบาทสมมุติ วิชาการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นปีที่
นำเสนอผลงานวิชาการ เรื่อง การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ สำหรับนักเรียน ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
โดย นางสาวนิรมล บุรกรณ์
คณิตศาสตร์ 1 รหัสวิชา
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
การนำเสนอผลงานการวิจัย
หลัก MAX MIN CON การออกแบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง
การวัดและประเมินผลด้านพุทธิพิสัย (ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของ Benjamin Bloom) รศ. บรรพต พรประเสริฐ.
BASIC STATISTICS MEAN / MODE / MEDIAN / SD / CV.
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ 8
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
Chapter 9: Chi-Square Test
ว่าที่ร้อยตรีศิริพงษ์ สายหยุด ผู้วิจัย
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 6
โครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียน ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (NT/O-NET)
กิจกรรมที่ 7 นายปรีชา ขอวางกลาง
งานวิจัยในชั้นเรียน ผู้วิจัย นางสาวนนทกานต์ ลีอุดมวงษ์ .
การวัดและประเมินผลด้านพุทธิพิสัย (ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของ Benjamin Bloom) รศ. บรรพต พรประเสริฐ.
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา การบัญชี อุตสาหกรรมและระบบใบสำคัญ ของนักศึกษาระดับ ปวช. 3 สาขาการบัญชี ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
ผู้วิจัย นายณัฐภูมิ จาระธรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร จังหวัดเชียงใหม่
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน การเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก
การทดสอบที่ไม่ใช้พาราเมตริก
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การวิเคราะห์ความแปรปรวน

การวิเคราะห์ความแปรปรวน หลักการวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยพิจารณาความแปรปรวนของกลุ่มรวมหรือความแปรปรวนทั้งหมด ซึ่งมีผลมาจากปัจจัย 2 ประการ คือ 1. ค่าเฉลี่ยของกลุ่มย่อย (between group variance) 2. ความแปรปรวนภายในกลุ่ม(within group variance) การวิเคราะห์ความแปรปรวน เป็นการพยายามเปรียบเทียบความแปรปรวนอันเกิดมาจากความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มกับความแปรปรวนภายในกลุ่ม หรือความคลาดเคลื่อนว่าตัวใดมีค่ามากกว่ากัน

การเขียนสมมุติฐานทางสถิติจึงเขียนได้ 2 ลักษณะ คือ 1. เขียนในรูปของผลการจัดกระทำ H0 : = = …= = 0 H1 : อย่างน้อยมีผลที่เกิดจากการจัดกระทำของประชากรหนึ่งกลุ่มมีค่า ไม่เท่ากับศูนย์ 2. เขียนในลักษณะของค่าเฉลี่ยประชากร H0 : = =…= H1 : มีค่าเฉลี่ยอย่างน้อย 1 คู่ที่แตกต่างกัน

การจะยอมรับหรือปฏิเสธ H0 พิจารณาค่า 2 ค่าดังนี้ 1. F ที่เป็นค่าวิกฤต(เปิดได้จากตาราง) 2. F ที่เกิดจากการคำนวณอัตราส่วนจากสูตร (8.1) กรณี 1 ถ้า F ที่คำนวณได้มีค่ามากกว่า F ที่เป็นค่าวิกฤตจะปฏิเสธ H0 กรณี 2 ถ้า F ที่คำนวณได้มีค่าน้อยกว่า F ที่เป็นค่าวิกฤตจะยอมรับ H0

การวิเคราะห์ความแปรปรวนเบื้องต้น ข้อตกลงเบื้องต้น 1. กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการสุ่มมาจากกลุ่มประชากรที่มีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ 2. ค่าความแปรปรวนของกลุ่มประชากรทุกกลุ่มมีค่าเท่ากัน นั่นคือ ความแปรปรวนของกลุ่มย่อยต้องเป็นเอกพันธุ์ (homogenelity variance) 3. กลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มจะต้องเป็นอิสระจากกัน 1. การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวเป็นการวิเคราะห์ความแปรปรวนที่มีตัวแปรอิสระเพียงตัวเดียว แต่แบ่งออกเป็นหลายประเภทหรือหลายระดับ เพื่อเปรียบเทียบว่าแต่ละประเภทนั้นส่งผลให้เกิดความแตกต่างกันหรือไม่

วิธีคำนวณหาค่าเริ่มต้นจากการคำนวณหาค่าผลรวมของความเบี่ยงเบนกำลังสอง(sum of squares) จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้ 1. ค่าผลรวมของความเบี่ยงเบนกำลังสองของกลุ่มรวม (sum of squares total :SSt ) เมื่อกำหนดให้ แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง คำนวณจากทุก ๆ ค่าในทุกกลุ่มตัวอย่าง nj แทน จำนวนตัวอย่างแต่ละกลุ่ม k แทน จำนวนกลุ่ม N แทน จำนวนตัวอย่างทั้งหมด T แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด

ถ้าพิจารณาหาค่า SSt จากทุกแหล่ง จะเห็นว่า 2. หาค่าผลรวมของความเบี่ยงเบนกำลังสองระหว่างกลุ่ม (sum of squares between : SSb) เมื่อกำหนดให้ T j แทน ผลรวมของคะแนน n ค่าในแต่ละกลุ่ม nj แทน จำนวนคะแนนในกลุ่มที่ j 3. หาค่าผลรวมของความเบี่ยงเบนกำลังสองภายในกลุ่ม (sum of squares within group : SSW) ถ้าพิจารณาหาค่า SSt จากทุกแหล่ง จะเห็นว่า SSt = SSb + SSW

4. หาค่าระดับขั้นความเสรี (degree of freedom) dft = N – 1 dfb = k – 1 dfw = N – k ซึ่ง dft = dfb - dfw เมื่อ N แทน จำนวนคะแนนทั้งหมด k แทน จำนวนกลุ่ม 5. หาค่าความแปรปรวนหรือค่าเฉลี่ยของผลรวมของความเบี่ยงเบนกำลังสอง (MS) ระหว่างกลุ่ม (MSb) และภายในกลุ่ม(MSw) โดย 6. หาค่าเอฟ โดย

จากวิธีการข้างต้นสรุปสูตรที่ใช้ในการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ดังนี้

ตัวอย่าง นิสิตปริญญาโท ทำการทดลองสอนนักเรียนด้วยวิธีสอน 3 วิธี คือ แบบบรรยาย ใช้สไลด์ และคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยสุ่มนักเรียนที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน มาจำนวน 18 คน โดยมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ดังนี้ กลุ่มที่ 1 สอนแบบบรรยาย 2 3 1 3 2 5 กลุ่มที่ 2 ใช้สไลด์ 4 3 2 4 2 กลุ่มที่ 3 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 9 8 6 8 7 6 5 จงทดสอบดูว่า วิธีสอนต่างกันทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันหรือไม่ ( = .05)

วิธีทำ 1. กำหนดสมมุติฐานทางสถิติ H0 : H1 : อย่างน้อยมีค่าเฉลี่ย 1 คู่ที่แตกต่างกัน 2. กำหนดระดับนัยสำคัญ = .05 3. เลือกสถิติที่ใช้ในการทดสอบ F-test แบบทางเดียว (one-way ANOVA) 4. หาจุดวิกฤต หาค่าเอฟจากตาราง 2 ในภาคผนวก ที่ = .05 dfb = k-1 = 3-1 = 2 dfw = N-k = 18-3 = 15 เปิดตาราง F.05(2,15) = 3.68

5. คำนวณค่าสถิติทดสอบ

ขั้นตอนที่ 1 หาค่า C.M. (correction for mean) = 355.56 ขั้นตอนที่ 2 แทนค่าในสูตร SSb = (42.6+45+343) – 355.56 = 75.04

ขั้นตอนที่ 3 แทนค่าในสูตร SSw = (22+ 32 +12 +32+22+52+42+32+22+42+22+92+82+62+82+72+62+52) – 355.56 = 100.44 ขั้นตอนที่ 4 หาค่า SSw SSw = SSt - SSb SSw = 100.44 - 75.04 = 25.40 ขั้นตอนที่ 5 แทนค่าในสูตร MSb

ขั้นตอนที่ 6 แทนค่าในสูตร MSw ขั้นตอนที่ 7 แทนค่าในสูตร F = 22.20

สรุปในตารางความแปรปรวนได้ดังนี้ (นำค่าที่คำนวณได้ข้างต้นมาใส่ในตาราง) 6.สรุปหรือตัดสินใจ ค่า F ที่คำนวณได้ (F=22.20) มีค่ามากกว่า F จากตาราง (F=3.68) ค่า F จึงตกอยู่ในเขตวิกฤต ดังนั้นจึงปฏิเสธสมมุติฐานว่าง นั่นคือ อย่างน้อยมีค่าเฉลี่ย 1 คู่ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. คำนวณค่าสถิติทดสอบ

2. การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางนี้ สำหรับการทำวิจัยที่มีตัวแปรอิสระพร้อมกัน 2 ตัว ซึ่งสามารถทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่จำแนกตามตัวแปรอิสระแต่ละตัว หรือแม้กระทั่งสามารถทดสอบผลที่เกิดร่วมกันของตัวแปรทั้ง 2 ซึ่งเรียกว่า ปฏิกิริยาร่วม(interaction) ลักษณะการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางมี 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 1 เรียกว่า การทดลองหรือการวัดผลครั้งเดียว ลักษณะที่ 2 เรียกว่า การทดลองหรือการวัดผลหลายครั้ง การทดสอบความแปรปรวนแบบสองทางจะทำการทดสอบสมมุติฐาน 3 ข้อ คือ 1. ทดสอบผลหลัก (main effect) ของการจัดกระทำว่าแตกต่างกันหรือไม่ 2. ทดสอบผลหลัก ของระดับ (level) ของการจัดกระทำว่าแตกต่างกันหรือไม่ 3. ทดสอบผลร่วมหรือปฏิกิริยาร่วม(interaction effect)ระหว่างตัวจัดกระทำและระดับ(treatment X level effect)

การเขียนสมมุติฐานทางสถิติจึงเขียนได้ดังนี้ คือ 1. ทดสอบผลหลักของการจัดกระทำ ( ) H0 : 0 สำหรับทุกค่าของ i H1 : 0 อย่างน้อยหนึ่งค่าของ i หรือ H0 : ... H1 : มีค่าเฉลี่ยอย่างน้อย 1 คู่ที่แตกต่างกัน 2. ทดสอบผลหลักของระดับของการจัดกระทำ ( ) H0 : 0 สำหรับทุกค่าของ j H1 : 0 อย่างน้อยหนึ่งค่าของ j หรือ H0 : ... H1 : มีค่าเฉลี่ยอย่างน้อย 1 คู่ที่แตกต่างกัน

3. ทดสอบผลร่วมหรือปฏิกิริยาร่วมระหว่างตัวจัดกระทำ และระดับ( ) H0 : 0 สำหรับทุกค่าของ i และ j H1 : 0 สำหรับทุกค่าของ i และ j หรือ H1 : มีค่าเฉลี่ยอย่างน้อย 1 คู่ที่แตกต่างกัน

1. ค่าเอฟสำหรับการทดสอบผลหลักของการจัดกระทำที่มีต่อตัวแปรตาม 2. ค่าเอฟสำหรับการทดสอบผลหลักของระดับที่แตกต่างกันที่มีต่อตัวแปรตาม 3. ค่าเอฟสำหรับผลร่วมหรือปฏิกิริยาร่วมระหว่างการจัดกระทำและระดับที่แตกต่างกันที่มีต่อตัวแปรตาม

1. หาค่า SSt ( sum of squares total )เป็นผลรวมของความเบี่ยงเบนกำลังสองของคะแนนแต่ละตัวจากทุกกลุ่มที่เบี่ยงเบนจากค่าเฉลี่ยของกลุ่มรวม (grand mean) 2. หาค่า SSα ( sum of squares treatment effect) เป็นผลรวมของความเบี่ยงเบนกำลังสองของค่าเฉลี่ยแต่ละกลุ่ม(ตามการจัดกระทำซึ่งมี c กลุ่ม)ที่เบี่ยงเบนออกจากค่าเฉลี่ยของกลุ่มรวม

3. หาค่า ( sum of squares level effect) 4. หาค่า ( sum of interaction effect)

5. หาค่า 6. หาค่าระดับขั้นความเสรี

7. หาค่าความแปรปรวนหรือค่าเฉลี่ยของผลรวมของความเบี่ยงเบนกำลังสอง (mean square : MS) 8. หาค่าอัตราส่วนเอฟ (F - ratio)

จากวิธีการข้างต้นสรุปสูตรที่ใช้ในการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ดังนี้

การพิจารณาความมีนัยสำคัญของความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของการวิเคราะห์แบบนี้มีดังนี้ 1. ถ้าปฏิกิริยาร่วมไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ หมายความว่า ลักษณะของความแตกต่างระหว่างทุกรายการในทุกระดับเป็นอย่างเดียวกัน และต่างมีลักษณะของความแตกต่างทำนองเดียวกันกับความแตกต่างในแถว หรือในสดมภ์โดยส่วนรวมตามที่ทดสอบได้ 2. ถ้าปฏิกิริยาร่วมมีนัยสำคัญทางสถิติ หมายความว่า ลักษณะของความแตกต่างของทุกระดับทั้งแนวสดมภ์และแนวแถวต่างไม่เหมือนกัน 3. ถ้าทดสอบได้ว่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยทุกค่าในแถวหรือในสดมภ์ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ(คือค่า ทุกค่าไม่แตกต่างกัน) และทดสอบได้ว่าไม่มีปฏิกิริยาร่วมแสดงว่าค่าเฉลี่ยทุกแถวหรือทุกสดมภ์ไม่แตกต่างกัน

4. ถ้าทดสอบได้ว่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยทุกค่าในแถว หรือในสดมภ์ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และทดสอบได้ว่ามีปฏิกิริยาร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต้องทำการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยในแถวของแต่ละสดมภ์ หรือในสดมภ์ของแต่ละแถวก่อนถ้าพบว่าค่าเฉลี่ยในแถวของสดมภ์ใด หรือในสดมภ์บางแถวใดมีความแตกต่างกัน ก็ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยระหว่างคู่ของแถวหรือสดมภ์นั้นต่อไป 5. ถ้าทดสอบได้ว่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยทุกค่าในแถวหรือในสดมภ์ มีนัยสำคัญทางสถิติและทดสอบได้ว่ามีหรือไม่มีปฏิกิริยาร่วมก็ตาม ก็ต้องทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างคู่

ตัวอย่าง ในการศึกษาวิธีสอนวิชาสถิติ 3 วิธี คือ สอนโดยครูเป็นศูนย์กลาง สอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และนักเรียนเป็นศูนย์กลางกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง ปานกลาง และต่ำ หลังจากทำการทดลองแล้วนำข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติสอบวัดกับกลุ่มตัวอย่างปรากฏผลดังนี้

จงทดสอบที่ระดับนัยสำคัญ .01 ตามหัวข้อต่อไปนี้ 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธีสอนต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติต่างกันหรือไม่ 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความคิดสร้างสรรค์ต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติต่างกันหรือไม่ 3. มีปฏิกิริยาร่วมกันระหว่างวิธีสอนกับความคิดสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติหรือไม่ วิธีทำ 1. กำหนดสมมุติฐานทางสถิติ 1.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธีสอนต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติต่างกันหรือไม่ H1 : อย่างน้อยมีค่าเฉลี่ย 1 คู่ที่แตกต่างกัน

1.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความคิดสร้างสรรค์ต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติต่างกันหรือไม่ H1 : อย่างน้อยมีค่าเฉลี่ย 1 คู่ที่แตกต่างกัน 1.3 มีปฏิกิริยาร่วมกันระหว่างวิธีสอนกับความคิดสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติหรือไม่ H1 : อย่างน้อยมีค่าเฉลี่ย 1 คู่ที่แตกต่างกัน 2. กำหนดระดับนัยสำคัญ 3. เลือกสถิติที่ใช้ในการทดสอบ F – test แบบสองทาง (two - way ANOVA)

4. หาจุดวิกฤต ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรสดมภ์ ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรแถว ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรทั้งสดมภ์และแถว

5. คำนวณค่าสถิติทดสอบ 5.1 หาผลรวมของความเบี่ยงเบนกำลังสอง (SS) ของแหล่งต่าง ๆ = 1446.07 = 910.51

= 378.29

5.2 หาค่าระดับขั้นความเสรี N – 1 = 27 – 1 = 26 c – 1 = 3 – 1 = 2 r – 1 = 3 – 1 = 2 (c – 1)(r – 1) = 2 x 2 = 4 N – rc = 27 – 9 = 18

5.3 หาค่าความแปรปรวนจากแหล่งต่าง ๆ = 455.26 = 189.15 = 7.15

5.4 หาค่า F = 63.67 = 26.45 = 1.00

5.5 นำค่าตัวเลขต่าง ๆ มาใส่ในตารางวิเคราะห์ความแปรปรวน

6. สรุปหรือตัดสินใจ 6.1 ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรสดมภ์ ค่า F คำนวณ (F=63.67) มีค่ามากกว่า ค่า F จากตาราง (F=6.01) ค่า F จึงตกอยู่ในบริเวณวิกฤต ดังนั้น จึงปฏิเสธสมมุติฐานว่าง 6.2 ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรแถว ค่า F คำนวณ (F=26.45) มีค่ามากกว่า ค่า F จากตาราง (F=6.01) ค่า F จึงตกอยู่ในบริเวณวิกฤต ดังนั้น จึงปฏิเสธสมมุติฐานว่าง 6.3 ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรทางสดมภ์และแถว ค่า F คำนวณ (F=1.000) มีค่าน้อยกว่า ค่า F จากตาราง (F=4.58) ค่า F จึงไม่ตกอยู่ในบริเวณวิกฤต ดังนั้น จึงยอมรับสมมุติฐานว่าง

ตัวอย่าง ในการสร้างเครื่องปั้นดินเผา 3 วิธี คือ เผาโดยเตาแก๊ส เผาโดยเตาถ่าน และเผาโดยแดด ที่อุณหภูมิออกซิเดชั่น และรีดักชั่น หลังจากทำการทดลองแล้วนำเครื่องปั้นดินเผามาตรวจคุณภาพ ปรากฏผลดังนี้

การเปรียบเทียบพหุคูณ จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนแล้ว เมื่อปรากฏผลออกมาแล้วว่าปฏิเสธ นั่นคือ จะยอมรับ H1 ที่ว่าอย่างน้อยมีค่าเฉลี่ย 1 คู่ที่แตกต่าง 1. การทดสอบแบบ HSD ของทูกี้ (Tukey’s HSD test) ทูกี้ (Tukey) ได้เสนอวิธีการทดสอบที่เรียกว่า HSD ซึ่งย่อมาจาก Honestly Significant Difference การทดสอบแบบนี้ออกแบบไว้เพื่อการทดสอบการเปรียบเทียบระหว่างค่าเฉลี่ยทุกคู่ โดยมีข้อตกลงการใช้เหมือนกับการวิเคราะห์ความแปรปรวน และ n ในแต่ละกลุ่มจะต้องเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน

2. การทดสอบแบบเชฟเฟ( Scheffe’s method) การทดสอบแบบเชฟเฟเป็นวิธีทดสอบแบบเปรียบเทียบพหุคูณแบบหนึ่ง เช่นเดียวกับการทดสอบแบบ HSD ของทูกี้ แต่ใช้ได้ทั้งกรณีที่จำนวนตัวอย่างในแต่ละกลุ่มจะเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ซึ่งมีสูตรดังนี้ 3. การทดสอบแบบนิวแมน – คูลส์ (Newman-Keuls test) การทดสอบแบบนิวแมน-คูลส์ เป็นการทดสอบที่มีพื้นฐานมาจากการทดสอบนัยสำคัญด้วยวิธีจัดลำดับ โดยเรียงอันดับของค่าเฉลี่ยแล้วแบ่งผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเป็นคู่ ๆ เช่น ผลต่างที่อันดับค่าเฉลี่ยห่างกัน 2 อันดับ 3 อันดับ 4 อันดับ เป็นต้น ดังนั้นค่าวิกฤตที่จะใช้ตัดสินผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของการทดสอบนี้จึงมีค่าต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับว่าค่าเฉลี่ยที่นำมาเปรียบเทียบกันนั้นอยู่ห่างกันกี่อันดับ สูตรที่ใช้คือ