เขียนบทความวิจัยอย่างไร ในวารสารวิชาการนานาชาติ จึงจะได้ลงพิมพ์ ในวารสารวิชาการนานาชาติ
หัวข้อบรรยาย ทำไมต้องตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ วารสารวิชาการนานาชาติเขาพิจารณาอะไร สิ่งที่จำเป็นก่อนการเขียน โครงสร้างของบทความวิจัย การเขียนบทความแต่ละหัวข้อ ขั้นตอนการเขียนบทความวิจัย การเลือกวารสาร เหตุผลที่ต้นฉบับถูกปฏิเสธ
บทความวิจัย คือรายงานการศึกษาหรือการทดลองที่ผู้เขียนเป็นผู้ทำ ต่างจากบทความวิชาการหรือบทความปริทัศน์ (review article) ซึ่งผู้เขียนไปรวบรวมผลงานที่ผู้อื่นทำไว้ มาประมวล วิเคราะห์ และเรียบเรียงใหม่ให้เป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ
ทำไมต้องตีพิมพ์บทความวิจัย ในวารสารวิชาการนานาชาติ มาตรฐานคุณภาพ (มี peer review ที่มีคุณภาพ) ขอบเขตการเผยแพร่ KPI ของหน่วยงาน
วารสารวิชาการนานาชาติ เขาพิจารณาอะไร
คำวิจารณ์จากผู้ประเมิน (1) เนื้อหาของบทความโดยรวมมีความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์ แม้เรื่องที่วิจัยจะไม่ใช่เรื่องที่ใหม่จริง ๆ วิธีการวิจัยและแผนงานวิจัยถูกต้อง การวิจารณ์ผลทำได้เหมาะสม วิธีการเขียนชัดเจน อย่างไรก็ตาม บทความนี้ยังมีส่วนที่ต้องแก้ไขอีก................
คำวิจารณ์จากผู้ประเมิน (2) งานวิจัยนี้มีการวางแผนอย่างดีและตรงไปตรงมา คำนำเขียนได้ตรงประเด็นและมีข้อมูลสนับสนุนเพียงพอ ที่มา เหตุผล และวัตถุประสงค์ ชัดเจน อุปกรณ์และวิธีการให้รายละเอียดเพียงพอ ผลและวิจารณ์อธิบายได้ชัดเจน และมีรายงานที่อ้างอิงอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อข้องใจในเรื่อง……………….
คำวิจารณ์จากผู้ประเมิน (3) ผู้เขียนควรจะต้องผูกเรื่องให้ดี อะไรที่ทำมาแล้วและอะไรที่ยังไม่ได้ทำต้องพูดให้ชัด รายงานนี้ไม่ได้ทำอย่างที่กล่าวข้างต้น ผู้เขียนจะต้องระบุให้ชัดเจนว่ามีอะไรใหม่ที่จะให้แก่วงวิชาการ ความใหม่ของข้อค้นพบจากงานวิจัยจะเป็นที่กังขา ถ้าเพียงแต่บอกว่างานนี้เป็นเพียงการยืนยันผลงานของคนอื่นที่ได้ทำมาแล้ว ที่มาและเหตุผลจะต้องมาก่อนวัตถุประสงค์
อะไรที่ผู้ประเมินมองหา ความใหม่ (ORIGINAL) ความถูกต้อง (CORRECT/ACCURATE) ความน่าสนใจ (INTERESTING) ความเป็นไปได้ในการทำซ้ำ (REPRODUCIBLE) การอ้างอิงผลงานที่ผ่านมา (REF. CITED)
สิ่งที่จำเป็นก่อนการเขียน ORIGINAL งานวิจัย CORRECT/ACCURATE งานวิจัย INTERESTING งานวิจัย/เขียน REPRODUCIBLE งานวิจัย/เขียน CITED งานวิจัย (review)/เขียน (cited)
จะให้รายงานได้รับการตีพิมพ์ งานวิจัยต้องมีคุณภาพได้มาตรฐาน การทำวิจัย มาก่อน การเขียนรายงานวิจัย จะให้รายงานได้รับการตีพิมพ์ งานวิจัยต้องมีคุณภาพได้มาตรฐาน ในการวางแผนงานวิจัย ต้องวางแผนการตีพิมพ์รายงานด้วย
การวิจัย ดี ไม่ดี การเขียน การเขียน ดี ไม่ดี ดี ไม่ดี ได้รับการตีพิมพ์ ไม่ได้รับการตีพิมพ์
โครงสร้างของบทความวิจัย ชื่อเรื่อง และผู้เขียน บทคัดย่อ คำสำคัญ คำนำ อุปกรณ์และวิธีการ/วิธีการวิจัย ผล (รวมทั้งตาราง และภาพ) วิจารณ์ และสรุป คำขอบคุณ เอกสารอ้างอิง
การเขียนบทความแต่ละหัวข้อ
การเขียนชื่อเรื่อง (Title) (1) การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียนชื่อเรื่อง (Title) (1) ชื่อเรื่องจะเป็นตัวบอกเนื้อหาในเรื่องด้วยคำไม่กี่คำ ชื่อเรื่องดีจะกระตุ้นความสนใจให้อยากอ่าน ชื่อเรื่องควรจะมีคำสำคัญที่เกี่ยวกับเรื่อง เมื่อผู้อ่านค้นคำสำคัญก็จะเจอเรื่องของเรา
การเขียนชื่อเรื่อง (Title) (2) การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียนชื่อเรื่อง (Title) (2) ควรจะกระชับ ตรงกับเนื้อเรื่อง ไม่ยาวมาก (ไม่เกิน 13 คำ) เสนอประเด็นที่สำคัญที่สุดในเรื่องเพียงประเด็นเดียว ละเว้นการใช้คำฟุ่มเฟือย เช่น "A study of ...", "Investigations of ...", "Observations on ...". การเขียนมีหลาย style
การเขียนชื่อเรื่อง (Title) (3) การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียนชื่อเรื่อง (Title) (3) Physiological determinants for pod yield of peanut lines (Crop Science) Yield stability evaluation of peanut lines: A comparison of an experimental versus a simulation approach (Field Crops Research) Weeds–friend or foe? The role of weed composition on stover nutrient recycling efficiency (Field Crops Research) Chlorophyll stability is an indicator of drought tolerance in peanut (J. Agronomy & Crop Science)
การเขียน Introduction (1) การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียน Introduction (1) เป็นส่วนที่สำคัญมาก เป็นส่วนสำคัญของการตัดสินว่า รายงานจะได้รับการตีพิมพ์หรือถูกปฏิเสธ มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้อ่าน และให้ข้อมูลพื้นฐานที่จะทำให้เข้าใจรายงานทั้งเรื่อง
การเขียน Introduction (2) การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียน Introduction (2) สาระสำคัญ สรุปปัญหาที่จะหาทางแก้ไข ให้เหตุผลความเป็นมาของเรื่อง วิเคราะห์วิจารณ์งานวิจัยที่ผ่านมาในเรื่องนี้ ชี้ให้เห็นชัดเจนว่างานวิจัยจะตอบปัญหาอะไร (โจทย์วิจัยคืออะไร) และทำไมจึงต้องศึกษาเรื่องนี้
การเขียน Introduction (3) การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียน Introduction (3) Introduction จะต้องตอบคำถามว่า จะทำอะไร ทำไปทำไม ทำไมต้องทำ เรื่องแบบนี้มีคนทำมาก่อนหรือไม่ ถ้ามี ทำไมต้องทำอีก ของเราต่างจากของเขาอย่างไร ปกติจะยาว 200-300 คำ (มากกว่าก็ได้) จึงต้องเขียนให้กระชับ วางโครงสร้างให้ดี
การเขียน Introduction (4) การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียน Introduction (4) เนื้อหา (1) เริ่มด้วยความนำเกี่ยวกับปัญหา ความสำคัญของปัญหา และแนวทางแก้ไขที่เป็นที่มาของการศึกษา สรุปการทบทวนเอกสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ เฉพาะที่ สำคัญ และ up to date บางกรณีอาจต้องเสนอกรอบแนวคิด (conceptual framework) หรือ สมมุติฐาน (hypothesis) ด้วย
การเขียน Introduction (5) ที่สำคัญก็คือต้องทำ local problem ให้เป็น การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียน Introduction (5) เนื้อหา (2) ชี้ให้เห็นว่ายังขาดองค์ความรู้หรือวิธีการอะไร (โจทย์วิจัย) และถ้ารู้แล้วจะได้ประโยชน์อย่างไร (ทำไปทำไม) จบลงด้วยเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา (ทำอะไร) ที่สำคัญก็คือต้องทำ local problem ให้เป็น generic หรือ international problem
การเขียน Introduction (6) การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียน Introduction (6) ทำปัญหาท้องถิ่นให้เป็นปัญหาสากล ในระบบการปลูกพืชหลายระบบ มักจะมีช่วงว่างเป็นเวลานานระหว่างการปลูกพืชแต่ละครั้ง ทำให้เสี่ยงต่อการสูญเสียธาตุอาหารและการเกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม ในประเทศในเขตอบอุ่น ช่วงว่างดังกล่าวมักจะอยู่ในช่วงฤดูหนาว แต่ในประเทศในเขตร้อน ช่วงว่างดังกล่าวมักจะเกิดในฤดูร้อน ตัวอย่างเช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย……….
อุตสาหกรรมไวน์ในนิวซีแลนด์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ การพัฒนาของอุตสาหกรรมไวน์ เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาการท่องเที่ยวโรงงานไวน์ (wine tourism)
ผลิตภัณฑ์ไวน์สัมพันธ์กับอาหาร จึงเกี่ยว ข้องกับกิจการโรงพยาบาล ร้านอาหาร ร้านบันเทิง และโรงแรม – กลุ่มลูกค้าคือผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจการเหล่านี้ นักท่องเที่ยวต่างประเทศมีมากขึ้น เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพ
ความเชื่อมโยงระหว่างไวน์กับการท่องเที่ยวไม่ใช่มีเฉพาะนิวซีแลนด์ ที่แคลิฟอร์เนีย ที่ชิลี ที่อิสราเอล ที่ปอร์ตุเกส ที่เทกซัส หรือที่ อ๊าฟริกาใต้ ก็มี
Wine tourism ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของการที่นักท่องเที่ยวจะไปเที่ยวชนบท ทั้งในออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ที่ผ่านมาได้มีการศึกษาเกี่ยวกับ wine tourism มาแล้วหลายแง่หลายมุม
การศึกษาที่ผ่านมาบ่งชี้ว่าผู้ไปเที่ยวโรงงานไวน์มีหลายกลุ่ม - ขยายความว่ามีกลุ่มไหนบ้างและมีอะไรบ้างที่ดึงดูดความสนใจของกลุ่มเหล่านั้น
ความรู้ในเรื่องกลุ่มต่าง ๆ ของผู้ไปเที่ยวโรงงานไวน์ และลักษณะของคนกลุ่มนั้น ๆ ที่ได้จากการวิจัย เป็นประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ประกอบการในธุรกิจไวน์
งานวิจัยเหล่านั้นยังชี้ให้เห็นศักยภาพของ wine tourism ที่จะมีต่อท้องถิ่นชนบท
งานวิจัยเหล่านั้นยังชี้ให้เห็นว่า ยังขาดความรู้อีกหลายด้าน ที่สำคัญคือ ยังขาดงานวิจัยเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้ไปเที่ยวโรงงานไวน์
มีงานวิจัยน้อยที่พยายามตอบคำถามเหล่านี้สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ท่านเคยไปเที่ยวโรงงานไวน์หรือไม่ ถ้าเคย อะไรเป็นสิ่งที่เห็นว่ามีคุณค่ามากที่สุด อะไรเป็นการท่องเที่ยวโรงงานไวน์ที่ดีที่สุด โรงงานไหนดีที่สุด ถ้าไม่เคยไป เพราะอะไรถึงไม่ไป การมาครั้งนี้จะไปเที่ยวโรงงานไวน์หรือไม่
การขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้ ทำให้ธุรกิจไวน์ไม่ได้ประโยชน์เต็มศักยภาพ การศึกษานี้จะศึกษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโรงงานไวน์จากมุมมองของผู้ที่ไปเที่ยวนิวซีแลนด์ที่ไม่ได้ไปเที่ยวโรงงานไวน์
คำสำคัญจึงไม่ควรจะซ้ำกับคำในชื่อเรื่องมิฉะนั้นจะเสียประโยชน์ การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียนคำสำคัญ คำสำคัญมีไว้สำหรับให้ผู้อ่านค้นหาบทความของเราพบ (search จากคำนั้นแล้วจะพบบทความของเรา) เป็นคำสั้น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของบทความ แต่อาจะครอบคลุมกว้างกว่า ในการ search ทาง internet โปรแกรมจะค้นหาคำในชื่อเรื่อง และในรายการคำสำคัญ คำสำคัญจึงไม่ควรจะซ้ำกับคำในชื่อเรื่องมิฉะนั้นจะเสียประโยชน์
การเขียนอุปกรณ์และวิธีการ หรือ วิธีการวิจัย (1) การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียนอุปกรณ์และวิธีการ หรือ วิธีการวิจัย (1) เป็นหัวข้อที่เขียนง่ายที่สุด จะต้องอธิบายว่าการศึกษานี้ ทำอย่างไร ให้ละเอียด เพียงพอที่ 1. ผู้อ่านสามารถประเมินความน่าเชื่อถือ ของผลการศึกษาได้ 2. ผู้อื่นสามารถทำซ้ำได้ แต่ก็ไม่ละเอียดจนเกินไป
การเขียนอุปกรณ์และวิธีการ หรือ วิธีการวิจัย (3) การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียนอุปกรณ์และวิธีการ หรือ วิธีการวิจัย (3) ใช้ past tense ตัวอย่างเช่น “The sample was incubated at 37oC for 3 days.” - NOT: “I incubate the sample at 37oC for 3 days.” วิธีการบางอย่างอาจใช้การอ้าง reference “การประมาณค่าสัมปสิทธิ์พันธุกรรมของพันธุ์พืช ดำเนินการโดยใช้วิธีการของ Boote (1999)”. เครื่องมือต้องระบุ บริษัท และ model “วัดความชื้นในดินในแปลงปลูกโดยใช้ neutron moisture meter (Model 503DR, CDN Instruments, California, USA”
การเขียนอุปกรณ์และวิธีการ หรือ วิธีการวิจัย (2) การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียนอุปกรณ์และวิธีการ หรือ วิธีการวิจัย (2) มีข้อมูลว่าทำการทดลองอะไร กับอะไร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร ใช้แผนการทดลองอะไร มีกี่ treatments อะไรบ้าง ทำกี่ซ้ำ กี่ฤดู/สถานที่ เก็บข้อมูลอะไร เก็บอย่างไร เมื่อไร บ่อยแค่ไหน ใช้เครื่องมืออะไร วิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร ทดสอบทางสถิติอย่างไร เรียงลำดับเป็นขั้นเป็นตอน ให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย อาจมีหัวข้อย่อยสำหรับการดำเนินงานแต่ละขั้นตอน
การเขียนผลการทดลอง/การศึกษา (1) การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียนผลการทดลอง/การศึกษา (1) หัวข้อนี้เป็นการเสนอผลที่สำคัญของการศึกษา ทดลองโดยยังไม่มีการแปลความหมาย บางวารสารอาจจะยอมให้เขียนรวมกับวิจารณ์ได้ ควรนำเสนอเป็นลำดับ สอดรับกันให้ เป็นเรื่องราว ใช้ Outlines ที่ได้ทำไว้เป็นกรอบในการเขียน เสนอเฉพาะผลที่เกี่ยวข้องกับการตอบคำถามที่ตั้งไว้ ในวัตถุประสงค์ ไม่จำเป็นต้องเสนอทั้งหมด
การเขียนผลการทดลอง/การศึกษา (2) ใช้ past tense ในการเขียนผล การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียนผลการทดลอง/การศึกษา (2) พิจารณาให้ดีว่าจะเสนอข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ กร๊าฟ หรือ ตาราง และออกแบบให้แสดงผลชัดเจน เรียงลำดับกร๊าฟ ภาพ และตาราง ตามเนื้อเรื่องที่วางไว้ สรุปผลที่สำคัญของแต่ละตาราง ภาพ หรือ กร๊าฟ ดู Format ของวารสาร สำหรับสัญลักษณ์ footnote ตรวจสอบความถูกต้องและ consistency ของข้อมูล เสนอผลการวิเคราะห์ทางสถิติ และรายงานค่า P ใช้ past tense ในการเขียนผล
การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียนวิจารณ์ (1) หัวข้อนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอการแปลความหมายและข้อคิดเห็นของผู้เขียน อธิบายความสำคัญและประโยชน์ที่จะได้รับจากข้อค้นพบ และเสนอแนะงานวิจัยที่ควรจะทำต่อไป สาระที่สำคัญคือการตอบคำถามที่ตั้งไว้ในวัตถุประสงค์ อธิบายว่าผลจากการศึกษาทดลองสนับสนุนคำตอบนั้นๆ อย่างไร คำตอบนั้นๆ สอดคล้องกับองค์ความรู้ที่มีอยู่ในเรื่องนั้นๆ หรือไม่
ควรกำหนดประเด็นว่าจะวิจารณ์อะไรบ้างและอย่างไร การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียนวิจารณ์ (2) ควรกำหนดประเด็นว่าจะวิจารณ์อะไรบ้างและอย่างไร ควรจะกำหนดเป็น outline เพื่อเป็นกรอบในการเขียน ส่วนนี้คือหัวใจของรายงานที่จะต้องคิดให้ดี และต้อง เขียนหลายรอบ เป็นส่วนสำคัญของการที่จะได้ตีพิมพ์หรือถูกปฏิเสธ เขียนให้กระชับ อ้างผลเพื่อสนับสนุนข้อวิจารณ์ แต่ อย่าให้ซ้ำซ้อนกับผล และระวังข้อความที่เป็นการ คาดเดา (speculative) โดยไม่มีข้อมูลสนับสนุน
เริ่มด้วยการกล่าวถึงสมมุติฐานที่จะทดสอบและตอบ การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียนวิจารณ์ (3) เริ่มด้วยการกล่าวถึงสมมุติฐานที่จะทดสอบและตอบ คำถามที่ตั้งไว้ในวัตถุประสงค์ สนับสนุนคำตอบด้วยผลการศึกษาทดลอง อธิบายว่าผลเป็นไปตามที่คาดหวัง และที่มีรายงาน ไว้ก่อนหรือไม่ อย่างไร อธิบายว่าทำไมผลจึงยอมรับได้ และสอดคล้องหรือ ขัดแย้งกับที่มีรายงานมาก่อน หากขัดแย้ง อธิบายเหตุผล
หากมีผลที่ให้คำอธิบายที่ขัดแย้งกัน ต้องวิจารณ์ การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียนวิจารณ์ (4) หากมีผลที่ให้คำอธิบายที่ขัดแย้งกัน ต้องวิจารณ์ ถ้ามีผลที่ไม่ได้คาดหวัง ต้องวิจารณ์ ชี้ให้เห็นข้อจำกัดและจุดอ่อน และวิจารณ์ว่าอาจจะ ส่งผลต่อความถูกต้องของข้อค้นพบอย่างไร ระบุถึงความสำคัญของการค้นพบต่อความรู้ความ เข้าใจในปัญหาที่ศึกษา รวมทั้ง ประโยชน์ และ แนวทางการนำไปใช้ เสนอแนะงานวิจัยที่ควรจะทำต่อไป (ไม่ควรเกิน 2 เรื่อง)
สรุปผลที่สำคัญอย่างกระชับ การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียนสรุป สรุปผลที่สำคัญอย่างกระชับ สรุปประเด็นสำคัญที่วิจารณ์
ดู Format ของแต่ละวารสาร ใน หรือ คำแนะนำสำหรับผู้เขียน การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียนเอกสารอ้างอิง ดู Format ของแต่ละวารสาร ใน Guide for authors หรือ คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
ขอบคุณผู้ช่วยเหลือ ขอบคุณแหล่งทุน การเขียนคำขอบคุณ การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียนคำขอบคุณ ขอบคุณผู้ช่วยเหลือ ขอบคุณแหล่งทุน
การเขียนรายงานแต่ละหัวข้อ การเขียนบทคัดย่อ บทคัดย่อควรประกอบด้วย ประเด็นปัญหา วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผล และประโยชน์ที่จะได้รับหรือขอบเขตของการนำไปใช้ ระบุให้ชัดว่าทำกับพืชหรือสิ่งมีชีวิตชนิดใด ชนิดของดิน สารเคมี และอื่น ๆที่เกี่ยวข้องกับผลการศึกษา ไม่ต้องมีการอ้างอิงเอกสาร Crop Science ความยาวแตกต่างกันแล้วแต่วารสาร ตั้งแต่ 250-400 คำ
ตัวอย่างบทคัดย่อ (Abstract) การประเมินความดีเด่นของสายพันธุ์พืชใหม่ ต้องทดสอบในหลายสภาพแวดล้อม ซึ่งสิ้นเปลืองทรัพยากร และเวลา และทำได้ในวงจำกัด แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืชน่าจะช่วยได้ (Problem statement) งานนี้จะประเมินว่าแบบจำลองจะสามารถใช้ช่วยได้จริงหรือไม่ (Objective) ทำโดยนำถั่วลิสง 17 สายพันธุ์ไปทดสอบใน 10 สถานที่ และจำลองผลผลิตของพันธุ์เหล่านั้นในทุกสถานที่ทดสอบ เปรียบเทียบผลจาก 2 วิธี โดย ดูพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง 50 % แรก และเปรียบเทียบเสถียรภาพของพันธุ์โดยวิธี GGE biplot (Materials & methods) ปรากฏว่าผลจากแบบจำลองสอดคล้องกันดีกับการทดสอบจริง (Result) แบบจำลองจึงน่าจะใช้ขยายขอบเขตของการทดสอบสายพันธุ์ได้ อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการคัดเลือกพันธุ์ (Implication)