งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเสนอโครงร่างโครงงานวิจัย (Research Proposal)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเสนอโครงร่างโครงงานวิจัย (Research Proposal)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเสนอโครงร่างโครงงานวิจัย (Research Proposal)
ประจำปีการศึกษา 2562 โครงการจัดตั้งภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน

2 รายละเอียด โครงงานวิจัยทางเคมี(Research Project in Chemistry) 2 หน่วยกิต สำหรับนิสิตรหัส 56 ขึ้นไป

3 นิสิตเลือกอาจารย์ที่ปรึกษา
พ.ค.62 นิสิตเลือกหัวข้อปัญหาพิเศษ/ โครงงานวิจัยทางเคมี มิ.ย.-ต.ค. 62 นิสิตส่งโครงร่างวิจัย แบบฟอร์มบนเว็บ เคมี ผู้จัดการรายวิชา บันทึกแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา และหัวข้อปัญหาพิเศษ 29 พ.ย. 62 นิสิตลงทะเบียนเรียนภาคปลาย นิสิตทำปฏิบัติการ นิสิตทำปฏิบัติการ ส่งร่างเล่มสมบูรณ์ นิสิตสอบความปลอดภัย เสนอผลงานวิจัย สอบปากเปล่า ภาคปลาย ปลายภาค 2/61 สอบจบ กำหนดรายละเอียดภายหลัง ส่งเล่มสมบูรณ์

4 กำหนดการ ประจำปีการศึกษา 2562
วัน เดือน ปี กำหนดการ หมายเหตุ 12 ก.ย. 62 การเขียนโครงร่างโครงงานวิจัย สอนเขียนโครงร่างโครงงานวิจัย กำหนดรูปแบบ 24 ต.ค. 62 อบรมความปลอดภัย ระเบียบการใช้สารเคมีและห้องปฏิบัติการอย่างปลอดภัย 28 ต.ค. 62 สอบความปลอดภัย และ ผจก.บรรยายเกี่ยวกับรายวิชาโครงงานวิจัยทางเคมี ข้อบังคับการทำปฏิบัติการ การขอใช้สารเคมีและอุปกรณ์ 30 ต.ค. 62 ประกาศผลสอบความปลอดภัย สอบผ่าน ทำบัตร ทำงานวิจัยได้ สอบไม่ผ่านต้องสอบใหม่ 29 พ.ย. 62 นิสิตส่งโครงร่างโครงงานวิจัย (proposal) แก่ผู้จัดการรายวิชา (รูปแบบที่ถูกต้อง) ภายใน น.ที่ห้องธุรการเคมี ในกล่องพร้อมทั้งลงนามนิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษา

5 ลักษณะงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
1. งานวิจัยแบบมีการทดลอง การศึกษาเอกสาร (literature review) การสังเกตภายใต้สภาวะธรรมชาติ (observation under natural condition) คำถาม และปัญหา ผลการทดลอง(results) วิเคราะห์ผล การทดลองโดยการเปรียบเทียบ (experimental comparison) สมมติฐาน (hypothesis) การคาดคะเน (prediction) การวางแผนการทดลอง (experimental design)

6 2. งานวิจัยแบบไม่มีการทดลอง
การศึกษาเอกสาร (literature review) การสังเกตภายใต้สภาวะธรรมชาติ(observation under natural condition) ผลการวิจัย (results) สมมติฐาน (hypothesis) การสังเกตในขั้นตอนต่อไป (further observation) การคาดคะเน (prediction)

7 ขั้นตอนการทำวิจัย กำหนดประเด็นปัญหาที่สนใจ
ทบทวนองค์ความรู้จากเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1. สภาพปัญหาอุปสรรคของประเด็นปัญหาที่สนใจ 2.2. เนื้อหา ทฤษฏีและแนวความคิดของประเด็นปัญหานั้น 2.3. ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.4. รูปแบบการวิจัย เทคนิคและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิจัย กำหนดหัวข้อเรื่องให้อยู่ในกรอบแนวคิด (Conceptual framework)

8 ขั้นตอนการทำวิจัย (ต่อ)
4. กำหนดกรอบแนวคิด 4.1 ประเด็นหลัก (Key words, main ideas) 4.2 ปัญหาของงานวิจัย 4.3 ตัวแปรการวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 4.4 ขอบเขตเกี่ยวกับประชากรหรืองานในการวิจัย 4.5 รูปแบบการวิจัย 4.6 ข้อตกลงเบื้องต้นและเงื่อนไขในการทำการวิจัย 5. ปรับหัวข้ออีกครั้งให้สอดคล้องกับกรอบแนวคิด

9 ขั้นตอนการทำวิจัย (ต่อ)
6. คุณค่าของงานวิจัย 6.1 เป็นประเด็นปัญหาใหม่ที่ไม่ซ้ำซ้อนกับคนอื่น 6.2 มีความสำคัญ ทั้งการเสริมสร้างความรู้ใหม่ และการนำเอาผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ 6.3 ประเด็นปัญหาน่าสนใจของทั้งตัวผู้วิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง 6.4 ไม่กว้างหรือแคบเกินไป มีเนื้อหาสาระมากพอสมควร

10 ขั้นตอนการทำวิจัย (ต่อ)
6.5 สามารถรวบรวมข้อมูลมาทดสอบได้และระยะเวลาที่พอเหมาะ 6.6 มีงบประมาณเพียงพอ 6.7 ไม่เสี่ยงอันตราย ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม 6.8 สามารถหาหรือสร้างทักษะพิเศษได้ (ถ้ามี) 6.9 มีที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัย

11 ขั้นตอนการทำวิจัย (ต่อ)
7. เลือกรูปแบบในการทำการวิจัย 8. กำหนดขนาดประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการทดลอง 9. สร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล หรือทดลอง 10. เก็บข้อมูล 11. จัดการและวิเคราะห์ข้อมูล 12. แปลผล สรุป และเขียนรายงาน 13. จัดทำเอกสารอ้างอิงและภาคผนวก

12 โครงร่างงานวิจัย (Proposal) คืออะไร
- แบบแผนในการแสวงหาความรู้ โดยแสดงให้เห็นความสำคัญและความเป็นไปได้ในการดำเนินการให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายได้ - เพื่อนำเสนอขอรับการสนับสนุนหรือความเห็นชอบในการอนุมัติให้ดำเนินการ

13 ทำไมต้องเขียนโครงร่างงานวิจัย
เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ในโครงร่างการวิจัย ให้ผู้วิจัยได้มีโอกาสชี้แจงรายละเอียดการศึกษาวิจัย และกรอบแนวคิดของงานวิจัย เป็นสื่อระหว่างผู้ร่วมทำโครงการวิจัย ให้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน

14 องค์ประกอบของโครงร่างงานวิจัย โครงการจัดตั้งภาควิชาเคมี
ทั่วๆ ไป โครงการจัดตั้งภาควิชาเคมี ชื่อเรื่อง ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คำถามของการวิจัย ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สมมุติฐานและกรอบแนวคิดในการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ระเบียบวิธีวิจัย ระยะเวลาในการดำเนินงาน เอกสารอ้างอิง ชื่อเรื่อง คำนำ ตรวจเอกสาร วัตถุประสงค์ อุปกรณ์และวิธีการ (อุปกรณ์ สารเคมี เครื่องมือ และวิธีการ) สถานที่และระยะเวลาการทำงานวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ งบประมาณและแหล่งทุนสนับสนุน เอกสารอ้างอิง

15 สิ่งต้องควรระวัง และเตือนใจ
ดาวโหลดแบบฟอร์มจากเว็บไซต์เคมี (หรือที่แก้ไขใหม่)—เขียนตามแบบฟอร์มที่ถูกต้องทุกประการ (ตัวอักษร ขนาดอักษร ระยะห่างระหว่างบรรทัด เคาะ เว้นวรรค การย่อหน้า และอื่นๆ) การลอกเลียนวรรณกรรม (Plagiarism) เป็นเรื่องต้องห้ามและมีโทษร้ายแรง ขอให้อ่านและประมวลความรู้ เพื่อเขียนเป็นประโยคของตัวเอง (เช่น การลอกผลงานรุ่นพี่มาเป็นผลงานตัวเอง หรือลอกจากเว็บไซต์ หรือจากแหล่งอื่นๆ)

16 ชื่อเรื่อง ต้องชัดเจนไม่สั้นหรือยาวเกินไป เป็นเรื่องแปลกใหม่ น่าสนใจและมีคุณค่า รวมทั้งมีความสามารถที่จะวิจัยได้ หัวข้อเรื่องที่ดีจะต้องเป็นหัวข้อที่สั้น แต่สามารถบ่งถึงสาระของงานวิจัยอย่างครบถ้วน หัวข้อภาษาไทยและหัวข้อภาษาอังกฤษ ควรสื่อ ความหมายชัดเจนและสอดคล้องกันทั้งสองภาษา หัวข้อภาษาไทย ทุกคำจะต้องเขียนเป็นภาษาไทย หากคำนั้น ไม่มีคำแปลหรือ ศัพท์บัญญัติ ก็ให้ใช้ทับศัพท์ โดยใช้เกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถาน เช่น ฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อหลอดลมของอนุพันธ์ฟีนิลอัลเคน (Relaxant Effects of Phenylalkane Derivatives on Tracheo-bronchial Muscles) ***ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน สามารถตรวจสอบได้ใน

17 ชื่อเรื่อง หัวข้อเป็นเพียงกลุ่มคำที่ให้การสื่อความหมายที่ดี ไม่ใช่ ประโยคที่สมบูรณ์ จึงไม่ควรกังวลเกี่ยวกับหลักไวยากรณ์ มากนัก หัวข้อจะต้องมี keyword ที่บ่งถึงเนื้อหาของงานวิจัย การใช้ comma ในหัวข้อ ใช้ได้เมื่อจำเป็น เช่น Separation, Quality Control and Health Product Development of Mucilage from Hairy Basil Seeds

18 คำนำ คำนำควรให้ครอบคลุมถึง ความสำคัญของงานวิจัย วัตถุประสงค์ สมมติฐาน ขอบเขตการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย และผลที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา: เป็นการบรรยายเรื่อง ดังนี้ 1) มีความเป็นมาของงาน จึงต้องทําการวิจัย ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร 2) มีความสําคัญรวมทั้งความจําเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหา และวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึงมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง 3) ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และผลการศึกษา โดยที่การศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่าต่องานวิจัยนี้อย่างไร

19 บทนำ สมมติฐานของการวิจัย : เป็นการคาดคะเนผลที่จะได้จากการวิจัย โดยการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ทดสอบหรือพิสูจน์ได้ ซึ่งต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัย ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพจะไม่เขียนสมมติฐานการวิจัย ขอบเขตการวิจัย : เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงควรกําหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทําได้โดยกําหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกําหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา

20 การตรวจเอกสาร (review of literature)
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เป็นส่วนที่สรุปข้อมูลหรือผลงานที่มีผู้วิจัยมาแล้วและมีความสําคัญต่องานวิจัยนี้ โดยเรียบเรียงเป็นภาษาเขียนที่สละสลวยอ่านใจความถูกต้องตรงตามเอกสารต้นฉบับแต่ไม่ควรคัดลอก เป็นการทบทวนงานวิจัย ที่ใกล้เคียงกับของเรา ซึ่งอาจใกล้เคียงในกับความสําคัญของปัญหาการวิจัยหรือวิธีวิจัย การเขียนจะต้องเรียบเรียงความคิดให้เป็นระบบ มีการสรุปในตอนท้ายของแต่ละตอนและให้เชื่อมโยงกับย่อหน้าต่อไปด้วย หลังจากที่ผู้วิจัยได้เขียนเรียบเรียงการทบทวนวรรณกรรมแล้ว ควรมีการประเมินงานเขียน เรียบเรียงนั้นอีกครั้งหนึ่ง ว่ามีความสมบูรณ์ทั้งเนื้อหา ภาษา และความต่อเนื่องมากน้อยแค่ไหน

21 *ข้อบกพร่องที่พบเสมอ คือ การคัดลอกข้อความมาทั้งหมดแล้วนํามาพิมพ์ต่อกันโดยไม่มีข้อความเชื่อมโยงทําให้ไม่ต่อเนื่อง ดังนั้นจึงควรอ่านเอกสารให้เข้าใจและเรียบเรียงขึ้นใหม่เป็นสํานวนของตนเอง

22 วัตถุประสงค์ เป็นการบอกจุดมุ่งหมายของงานวิจัย วัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยตั้งใจ จะตอบปัญหาการวิจัยที่เขียนขึ้นมาทุกประเด็น เป็นส่วนที่อธิบายถึงจุดมุ่งหมายของการวิจัย ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาที่ระบุไว้ในคำนำอย่างชัดเจนและมีขอบเขตที่แน่นอน ในกรณีที่มีจุดมุ่งหมายหลายอย่างควรแยกเป็นข้อ ๆ เช่น เพื่อศึกษา….เพื่อเปรียบเทียบ….เพื่อสังเคราะห์… เพื่อประเมิน….เพื่อพัฒนา…

23 วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีดำเนินการทดลอง
อาจแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ 1. วัสดุและอุปกรณ์ 2. วิธีการดำเนินการทดลอง วัสดุและอุปกรณ์ เป็นส่วนที่กล่าวถึงอุปกรณ์เฉพาะที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการวิจัย ในบางกรณีควรบรรยายรายละเอียดของวัสดุและอุปกรณ์นั้นด้วย วิธีการ เป็นส่วนที่กล่าวถึงวิธีดำเนินการวิจัย เช่น แผนการทดลอง ตัวอย่างที่จะทดสอบ พืชที่จะปลูก ชนิดของสัตว์ที่ศึกษา การเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ วิธีสกัด วิธีวิเคราะห์ เป็นต้น หากเป็นวิธีที่มีผู้เสนอไว้แล้วให้อ้างอิงถึงเอกสารที่ได้อธิบายหรือบรรยายถึงวิธีการด้วย เป็นเอกสารอ้างอิง

24 สถานที่/ระยะเวลา/แผนการดำเนินงาน

25 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ/แหล่งทุนสนับสนุน
ประโยชน์ที่ได้รับ : เป็นส่วนที่อธิบายถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากผลการวิจัยทั้งในด้านของการแก้ปัญหา และประโยชน์ของผลการวิจัยที่จะนำไปประยุกต์ใช้ แหล่งทุนสนับสนุน : ถ้ามีแหล่งทุนสนับสนุน ให้ระบุหน่วยงานที่ให้ทุนและจำนวนเงินที่ได้รับ (เช่น กองทุนพัฒนานิสิต, โครงการจัดตั้งภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์)

26 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
วิธีพิมพ์รายนามอาจารย์ (ที่ปรึกษา)ใน โครงร่างโครงงานวิจัยทางเคมี ที่ปกหน้า คํานําหน้านาม: ให้ใส่ตําแหน่งทางวิชาการด้านหน้าชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา เช่น อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ คุณวุฒิ: หากอาจารย์ที่ปรึกษาสำเร็จการศึกษาปริญญาเอก ให้ระบุ ดร. ตามหลังคำนำหน้านาม 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีนาวรรณ สมผล 2) รองศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ 3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติยา แซ่ปัง 4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลทิพย์ ขัตติยะวงศ์ 5) ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิพงษ์ ศิลปวิศาล 6) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิเชษฐ อนุรักษ์อุดม 7) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรมลล์ ไวลิขิต 8) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนันท์ ทิพย์ทิพากร

27 9) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญเดช เบิกฟ้า
10) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พจมาน พูลมี 11) อาจารย์ ดร.วันเพ็ญ เหล่าศรีไพบูลย์ 12) อาจารย์ ดร.นงพงา จรัสโสภณ 13) อาจารย์ ดร.น้ำฝน ทองทวี 14) อาจารย์ ดร.วรางคณา จิตตชุ่ม 15) อาจารย์ ดร.ทรงธรรม เรืองชัยทวีสุข 16) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ตรีสุกล 17) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทร ลอยสรวงสิน 18) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวดี บุญญะอุทธยาน 19) อาจารย์ ดร.ธนา ไม้หอม 20) อาจารย์นวลจันทร์ มัจฉริยกุล 21) อาจารย์วิไลลักษณ์ ขวัญยืน 22) อาจารย์ ดร.ทิพย์วรรณ รุ่งสว่าง

28 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
วิธีพิมพ์รายนามอาจารย์ (ที่ปรึกษา) ในโครงงานวิจัยทางเคมี (ที่ปกหน้า) คํานําหน้านาม: ให้ใส่ตําแหน่งทางวิชาการ ยศ และราชทินนาม เรียงตามลําดับ หากไม่มีทั้งตําแหน่งทางวิชาการ ยศ และราชทินนาม ให้ใช้คําว่าอาจารย์ในภาษาไทย โดยใช้คำเต็ม และใช้คําว่า Mr. Mrs. หรือ Ms. ในภาษาอังกฤษ คุณวุฒิ: ให้ระบุชื่อย่อของปริญญาสูงสุดที่ได้รับ หลังนามสกุล เช่น 1) ศาสตราจารย์สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์, Ph.D. (Professor Suntaree Yingchatchaval, Ph.D.) 2) รองศาสตราจารย์จิตราภรณ์ ธวัชพันธุ์, วท.ม. (Assistant Professor Jitraporn Tawatpun, M.S.) 3) อาจารย์นวลจันทร์ มัจฉริยกุล, วท.ม. (Miss Nuanjan Matchariyakul, M.Sc)

29 การอ้างอิงในเนื้อหา ถ้าเขียนประโยค โดยมีส่วนที่สรุปข้อมูลหรือผลงานที่มีผู้วิจัยมาแล้ว…ต้องมีการอ้างอิงในเนื้อหาถึงบทความนั้นๆ เช่น การพัฒนายา A ได้มีการศึกษาโดยวิธีตกตะกอนร่วม (Somphon and Haller, 1999) และต่อมาได้มีการศึกษาเพิ่มเติม โดยใช้วิธีทางความร้อน (Somphon et. al., 2004)

30 การเขียนเอกสารอ้างอิงในเนื้อหา
เอกสารอ้างอิงในเนื้อหาจะต้องตรงกับเอกสารอ้างอิงในส่วนอ้างอิงท้ายเรื่อง

31

32

33

34

35

36

37

38 การเขียนเอกสารอ้างอิงในท้ายเล่ม (รายละเอียดใน Manual Special Problem)
ภาษาไทยก่อนอังกฤษ เรียงตามลําดับตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ผู้แต่งคนเดียว ก่อน ผู้แต่งหลายคน

39 ACT on Alzheimer’s Alzheimer’s disease curriculum module 1: Disease description. Retrieved from Bhatt, N. and S. Goyal Sustained-release matrix tablets of nitrofurantoin: formulation and evaluation. Int. J. Chem. Tech. Res. 5: Factora, R Aging and preventive health. Retrieved from Imai, A., H. Watanabe, T. Kajima, Y. Ishihama, A. Ohtsuka, T. Tanaka and Y. Narabu Polymorphs of donepezil hydrochloride and process for production. US patent US A. 31 Oct

40 นิตยสาร ผู้แต่งคนเดียวกัน (คนที่ 2 ต่างกัน)

41 ผู้แต่งนามสกุลเหมือนกัน
อ้าง สารานุกรม/Encyclopedia

42

43 กฎระเบียบและข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการทำงาน กับสารเคมี
นิสิตและบุคลากรที่เข้าปฏิบัติการหรือปฏิบัติงานกับสารเคมีอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 2 เดือนต้องเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตร “ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี” และผ่านการทดสอบ “SAFETY TEST” เพื่อใช้ขออนุญาตเข้าปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ นิสิตที่ผ่านการสอบ Safety จึงทำบัตรเข้าห้องปฏิบัติการได้ ให้ติดบัตรนี้ทุกครั้งที่มาทำงาน นิสิตและบุคลากรทุกคนต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับด้านการใช้ห้องปฏิบัติการอย่างเคร่งครัดและห้ามอย่างเด็ดขาดในการสูบบุหรี่ ดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่ม รับประทานอาหารหรือขนมของว่าง และนำสัตว์เลี้ยงเข้ามา ในห้องปฏิบัติการ

44 4. สวมเสื้อปฏิบัติการ (เสื้อกาวน์) รองเท้าหุ้มปลายและส้นเท้า และใช้ที่ครอบตา เมื่อทำงานกับสารเคมีและใช้อุปกรณ์ป้องกันแต่ละบุคคลที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน 5. ต้องปฏิบัติตามกฎของการทำงานในระบบ Buddy system โดยมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าปฏิบัติงานนอกเวลาทำการไม่น้อยกว่าสองคนและต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้าห้องปฏิบัติการหรืออาจารย์ที่ปรึกษาเรียบร้อยแล้ว 6. ห้ามนำเครื่องมืออุปกรณ์ออกไปใช้นอกห้องปฏิบัติการ หรือวัสดุอุปกรณ์เข้ามา หรือออกไปจากห้องปฏิบัติการโดยไม่ได้รับอนุญาต 7. นิสิตและบุคลากรทุกคนต้องปฏิบัติตามคู่มือความปลอดภัยประจำห้องปฏิบัติการ คู่มือการจัดการอุบัติเหตุและการระงับเหตุฉุกเฉินประจำห้องปฏิบัติการอย่างเคร่งครัด

45 การเตรียมความพร้อมของนิสิตที่เข้าปฏิบัติงานเพื่อความ ปลอดภัยนิสิตควรปฏิบัติตนดังนี้
ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติงานตามขั้นตอนปฏิบัติการที่อาจารย์/ผู้สอน/อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานกำหนดหรืออนุญาต อย่างเคร่งครัด แจ้งเหตุและรายงานอาจารย์/ผู้สอน/เจ้าหน้าที่ ทุกครั้งที่ประสบอุบัติเหตุหรือพบเห็นสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เรียนรู้ถึงวิธีการเพื่อความปลอดภัยและวิธีแจ้งเหตุ/ระงับเหตุฉุกเฉินเบื้องต้น รู้วิธีการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉิน อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยอย่างถูกต้องและเหมาะสม

46 ส่งแบบขอใช้อาคารเป็นรายเดือนที่ธุรการเคมี และจะแจ้งให้มาสแกนนิ้วเพื่อเข้าอาคารเมื่อได้รับอนุญาต
ส่งแบบขอยืมเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เป็นรายเดือนที่ธุรการเคมี ส่งแบบขอเบิกเครื่องแก้วในวันจันทร์ อังคาร ได้รับของวันพุธ ส่งวันพุธ พฤหัส ได้รับของวันศุกร์ ที่พี่ศรัณย์ธร งามดี (พี่น้ำ) ส่งแบบขอเบิกสารเคมีในวันจันทร์ อังคาร ได้รับของวันพุธ ส่งวันพุธ พฤหัส ได้รับของวันศุกร์ ที่พี่จันทร์จิรา เจริญสุข (พี่ม่วย) เครื่องมือบางชนิด จะให้ยืมตามกำหนดเวลา เพราะต้องแบ่งกันใช้ รวมทั้งต้องใช้ในวิชาอื่น ห้ามใช้เครื่องมือที่เพื่อนยืมจนกว่าจะได้ขออนุญาตแล้ว

47 วิธีปฏิบัติตนเมื่อพบเห็นอุบัติเหตุ
มีสติ แจ้งหรือโทรแจ้งหัวหน้าห้องปฏิบัติการทันทีโดยระบุ ชื่อผู้แจ้งสถานที่เกิดเหตุพร้อมสาเหตุหากทราบ ในกรณีที่ไม่ผ่านการฝึกอบรมการใช้ถังดับเพลิงห้ามใช้ถังดับเพลิงไปดับไฟเองเพราะอาจเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติ ในกรณีที่พบเห็นไฟลุกลามในห้องปฏิบัติการให้ทุกคนออกจากห้องปิดประตู โทรแจ้งและอพยพออกจากอาคารทันที หากพบเห็นนอกเวลาทำการให้กดกริ่งสัญญาณเตือนภัยเพื่อให้ทุกคนในอาคารอพยพหนีภัยตามคู่มือ ในกรณีนอกเวลาทำการ (เจ้าหน้าที่ไม่อยู่) หรือ ระงับเหตุเองไม่ได้ ให้รีบโทรแจ้ง อาจารย์ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษ หรือ อ.ฐิติยา ( ) / ประธานโครงการจัดตั้งภาควิชาเคมี อ.วรางคณา ( ) หากพบนิสิตไม่ปฏิบัติตามระเบียบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ มีบทลงโทษคือ “งดปฏิบัติเป็นเวลา 1 สัปดาห์”


ดาวน์โหลด ppt การเสนอโครงร่างโครงงานวิจัย (Research Proposal)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google